กฎหมายไม่สร้างความกระจ่าง
กฎเกณฑ์และราชประเพณีเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ของราชวงศ์ไทยนั้นมีอยู่มากมาย แต่ไม่มีกฎใดเป็นหลัก ซึ่งหมายความว่าไม่มีกฎที่ตายตัว ในหนังสือ Siamese State Ceremonies ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2474 เอช จี ควอริช เวลส์ นักวิชาการอังกฤษระบุว่าแม้ว่าการสืบราชสันตติวงศ์ ไทยจะเป็นเพียงทฤษฎีที่ถูกร่างขึ้นตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ในสมัยอยุธยาเมื่อ 600 กว่าปีก่อน แต่ในทางปฏิบัติไม่มีใครทำตามกฎอย่างเคร่งครัดและการแก่งแย่งชิงดีเพื่อสืบราชสันตติวงศ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติในประวัติศาสตร์ไทย
ไม่ว่ากฎมณเฑียรบาลจะระบุไว้อย่างไร กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการประกาศว่าใครจะเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์ หากตัวเลือกรัชทายาทไม่ตรงกับกฎ กษัตริย์ก็สามารถเปลี่ยนกฎได้เพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์
ในปี พ.ศ. 2467 หนึ่งปีก่อนสวรรคต กษัตริย์วชิราวุธ หรือ รัชกาลที่ 6 ประกาศแก้ไขกฎมณเฑียรบาลเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 เขียนขึ้นโดยวชิราวุธเป็นหลักเพื่อกีดกันไม่ให้น้องชายต่างมารดา เจ้าฟ้าบริพัตร ที่วชิราวุธเกลียดมีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ และเปิดโอกาสให้น้องชายร่วมมารดามีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการขึ้นครองราชย์แทน การแก้ไขเจาะจงที่กฎการสืบราชสันตติวงศ์ในกรณีที่กษัตริย์มีลูกชายหลายคนจากราชินีหลายองค์ แม้ว่าจะเป็นที่รู้กันดีว่าวชิราลงกรณ์จะเป็นกษัตริย์องค์แรกหลังจากวชิราวุธที่มีราชินีมากกว่าหนึ่งองค์ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ก็ไม่สามารถสร้างความกระจ่างได้ว่าใครจะขึ้นครองราชย์ต่อจากเขา อย่างไรก็ตาม มีประเด็นเกี่ยวข้องที่ควรกล่าวถึงอยู่สองสามประเด็น
ประการแรก กฎระบุไว้อย่างชัดเจนว่ากษัตริย์สามารถประกาศชื่อแคนดิเดตคนใดก็ได้ที่ต้องการให้สืบทอดราชบัลลังก์ กฎใหม่จะถูกนำมาใช้ในกรณีที่กษัตริย์สวรรคตโดยที่ยังไม่ได้ประกาศชื่อรัชทายาท ประการที่สองซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญ กฎระบุว่ามีเพียงรัชทายาทเพศชายที่สามารถขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ได้ ในมาตรา 13 ของกฎปี 2467 ระบุว่า
ในกาลสมัยนี้ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เปนสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถ ผู้ทรงสำเร็จราชการสิทธิ์ขาด
ในทางทฤษฎี การสืบราชสันตติวงศ์ยังถูกกำกับโดยรัฐธรรมนูญไทย ในทางปฏิบัติ วชิราลงกรณ์ได้แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่าไม่ยอมรับการปฏิวัติ 2475 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นยุคสมัยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถละเมิดกฎหมายด้วยการนิรโทษกรรมตัวเองและสั่งการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามใจชอบ เขาแทรกแซงการเมืองโดยการสั่งให้แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่ไม่แตะกฎการสืบราชสันตติวงศ์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่สิ่งที่จะหยุดวชิราลงกรณ์ได้จากการวางแผนว่าใครจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากเขา อย่างไรก็ตาม เราควรกล่าวประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญไทย
โดยส่วนใหญ่กฎเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ในรัฐธรรมนูญไทยจะอ้างอิงกฎมณเฑียรบาล หากกษัตริย์แต่งตั้งรัชทายาทในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ รัชทายาทก็จะขึ้นครองราชย์หลังจากกษัตริย์สวรรคต และรัฐสภาจะต้องจัดการให้มีพิธีขึ้นครองราชย์และประกาศพระนามกษัตริย์พระองค์ใหม่ หากกษัตริย์สวรรคตโดยไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาท องคมนตรี ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการชายในพระองค์ที่มีหน้าที่คอยให้คำปรึกษาแก่กษัตริย์ จะต้องเสนอชื่อแคนดิเดตที่เหมาะสมที่สุดให้รัฐสภา
ใน พ.ศ. 2517 มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎการสืบราชสมบัติในรัฐธรรมนูญที่น่าสนใจ ซึ่งถูกใช้มาถึงปัจจุบัน มีใจความว่าหากกษัตริย์ไม่มีพระราชโอรส องคมนตรีจะได้รับการทาบทามให้เสนอชื่อกษัตริย์องค์ใหม่โดย "ให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ก็ได้"
ประเด็นนี้ดูเหมือนจะขัดกับกฎมณเฑียรบาลซึ่งประกาศห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นครองราชย์อย่างชัดเจน แต่กฎมณเฑียรบาลก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยกษัตริย์เอง และถึงแม้ว่ากษัตริย์ไม่แก้ไขกฎและสวรรคตโดยไม่ได้แต่งตั้งผู้สืบราชสันตติวงศ์ ประธานองคมนตรี ซึ่งปัจจุบันคือ สุรยุทธ จุฬานนท์ จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนและมีอำนาจในการแก้ไขกฎเพื่อแต่งตั้งสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2517 เพื่อให้ไทยสามารถมีสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถเป็นความต้องการที่มาจากในวังเอง ในยุคที่กษัตริย์มีคู่ครองคนเดียว ราชวงศ์จักรีใช้แนวปฏิบัติเหมือนราชวงศ์ต่างประเทศทั่วโลกที่อนุญาตให้ลูกสาวเป็นรัชทายาทได้ เพื่อแก้ปัญหาความเสี่ยงที่ราชวงศ์ไม่มีลูกชาย มีแต่ลูกสาวสืบราชสมบัติ
อาจเป็นไปได้ว่าภูมิพลผลักดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งสอนแกมขู่วชิราลงกรณ์ว่าพี่น้องผู้หญิงของเขาอาจได้ขึ้นครองราชย์แทนหากเขาไม่ปรับปรุงตัว นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่นำไปสู่การแต่งตั้งสิรินธร น้องสาวของเขาให้มีตำแหน่งมกุฎราชกุมารีในปี พ.ศ. 2520 แต่การขู่นี้ก็ไม่เป็นผลเพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าภูมิพลไม่สามารถเข้าใจหรือควบคุมลูกชายของตัวเองได้เลย
โดยภาพรวม ทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎมณเฑียรบาลนั้นเปิดกว้างให้กับคำตอบว่าใครจะเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป อาจจะเป็นชาย หรืออาจจะเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทยที่กษัตริย์จะเป็นหญิง ทุกอย่างล้วนเป็นไปได้
ตัวเลือกมีใครบ้าง?
ดังที่รู้กันโดยทั่วไป วชิราลงกรณ์มีทายาท 7 คน ซึ่งหากมองย้อนไปถึงชีวิตเสือผู้หญิงของเขา ถือว่าค่อนข้างแปลกเพราะเขาน่าจะมีลูกมากกว่านี้ อย่างไรก็ตามจากที่เราได้เห็นความยากลำบากในการมีลูกกับศรีรัศมิ์ สุขภาพของเขาคืออุปสรรคสำคัญในการมีลูกเพิ่ม
ลูกทั้ง 7 คนที่เรารู้จักได้แก่
พัชรกิตติยาภา เกิดวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 กับโสมสวลี
จุฑาวัชร เกิดวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2522 กับยุวธิดา
วัชรเรศร เกิดวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 กับยุวธิดา
จักรีวัชร เกิดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 กับยุวธิดา
วัชรวีร์ เกิดวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2528 กับยุวธิดา
บุษย์น้ำเพชร หรือ สิริวัณณวรี เกิดวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 กับยุวธิดา
ทีปังกร เกิดวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 กับศรีรัศมิ์
บ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ไทยที่พี่หรือน้องชายของกษัตริย์จะได้ขึ้นครองราช์ต่อ แทนลูกชาย แต่วชิราลงกรณ์ไม่มีพี่น้องผู้ชาย มีแต่พี่น้องผู้หญิงสามคน ได้แก่
อุบลรัตนฯ เกิดวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494
สิรินธร เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
จุฬาภรณ์ เกิดวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500
ในบรรดา 3 คน มีเพียงสิรินธรที่น่าจะมีบทบาทในการตัดสินใจว่าการสืบราชสันตติวงศ์จะเป็นไปในทางใด
หากพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันแคนดิเดตที่น่าจะได้ขึ้นครองราชย์มากที่สุดคือทีปังกรและพัชรกิตติยาภาแต่อย่างไรก็ตามยังมีความเป็นไปได้อื่นอีก
เด็กชายที่คล้ายจะเป็นรัชทายาท
หากอิงกฎมณเฑียรบาลเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ ทีปังกรจะได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป ด้วยความที่เป็นลูกชายเพียงคนเดียวของวชิราลงกรณ์ที่ไม่ถูกเนรเทศออกจากราชวงศ์ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาน่าจะได้เป็นรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังก์จักรี แต่มีปัจจัย 3 ข้อที่ทำให้เรายังไม่สามารถฟันธงได้ว่าทีปังกรจะได้ขึ้นครองราชย์
ข้อแรกและเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุด ทีปังกรมีปัญหาเรื่องพัฒนาการทางร่างกายอย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะเป็นภาวะออทิซึ่มหรือภาวะเกี่ยวข้องอื่นๆ ณ ปัจจุบันเขาอายุ 15 ปี และแม้ว่าเราจะเห็นภาพของเขาจากข่าวพระราชสำนักอยู่บ่อยครั้งแต่เราไม่เคยเห็นเขาพูดเต็มประโยคแบบคนปกติเลยสักครั้ง เขาเข้าโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษในเยอรมนี และต่างจากลูกคนอื่นๆของวชิราลงกรณ์ เช่น พัชรกิตติยาภาและศิริวัณณวรี ที่มักจะได้รับการยกย่องความเป็นเลิศด้านต่างๆที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อของวังตั้งแต่ยังเด็ก ไม่มีการนำเสนอว่าทีปังกรมีความสามารถในด้านใดเลย
ข้อที่สอง ศรีรัศมิ์ แม่ของทีปังกร ถูกประนาม ถอดยศ เนรเทศ และคุมขังอยู่ในบ้านพักโดยวชิราลงกรณ์ ส่วนพ่อแม่ พี่น้อง ลุงของเธอ พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และญาติพี่น้องอีกหลายคนถูกสั่งขังโดยวิชราลงกรณ์ หากทีปังกรได้ขึ้นครองราชย์จะก่อให้เกิดความรู้สึกตะขิดตะขวงใจต่อหลายฝ่ายเป็นอย่างมาก จะเกิดอะไรขึ้นกับศรีรัศมิ์?
ข้อที่สาม ปัญหาเรื่องพัฒนาการทางร่างกายของทีปังกรนำไปสู่คำถามว่าเขาจะสามารถแต่งงานและมีทายาทได้หรือไม่ หากเขาเป็นกษัตริย์ อนาคตของราชวงศ์จะไปสู่ทางตันหรือไม่ ใครจะสืบราชสมบัติต่อจากทีปังกร หากเขาสวรรคตโดยไร้ทายาท?
แต่การที่ทีปังกรจะได้ขึ้นครองราชย์ก็มีความเป็นไปได้ แม้ว่าเขาจะไม่พร้อมทำหน้าที่ในฐานะกษัตริย์ แต่เขาก็เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับกองทัพและเหล่าอำมาตย์ที่ต้องการผู้ปกครองที่เชื่อฟังว่าง่าย ภูมิพลเคยได้รับความนิยมอย่างล้นหลามแม้ว่าจะเป็นกษัตริย์ที่ไร้ความทะเยอทะยานและมีภาวะซึมเศร้า มักจะพูดอะไรเป็นปริศนาน่าพิศวงและถูกคนรอบข้างชักใย ดูเป็นคนอ่อนโยนและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นจนทำให้คนไทยจำนวนมากรักเขา ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่กองทัพจะใช้ทีปังกรเป็นหุ่นเชิดแบบเดียวกัน
นอกจากนั้น หากศรีรัศมิ์ยังมีชีวิตอยู่หลังจากวชิราลงกรณ์สวรรคต การที่เธอจะได้รับการอภัยโทษและคืนยศก็เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ หากดูจากกรณีของ “ก้อย” สินีนาฏ วงศ์วชิ ราภักดิ์ ที่ถูกถอดยศและขังคุกในปี พ.ศ. 2562 และในปีถัดมาได้รับอภัยโทษและคืนยศ หลังจากนั้นไม่นานเธอได้เลื่อนยศและยังคงเป็นคนโปรด ดังนั้นแม้ว่าจะมีแม่ที่มีมลทินมัวหมอง ทีปังกรก็อาจจะยังได้ขึ้นครองราชย์
สมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถองค์แรก?
หากเธอเป็นชาย หรือหากย่าของเธอยังมีอิทธิพลในราชวงศ์ เจ้าหญิงพัชรกิตติยาภาจะต้องได้ขึ้นครองราชย์เป็นคนต่อไปอย่างแน่นอน
ทั้งปูมหลังไร้ที่ติ แม่ของเธอเป็นราชนิกุล ไม่เหมือนทายาทคนอื่นที่เกิดจากสามัญชนซึ่งเป็นสิ่งที่พวกชนชั้นนำรับไม่ได้
หลังจากแน่ใจแล้วว่าวชิราลงกรณ์จะไม่สามารถมีลูกชายกับโสมสวลีได้อีก สิริกิติ์ได้พยายามทุกวิถีทางในการผลักดันให้พัชรกิตติยาภาได้สืบราชสมบัติต่อจากพ่อ รวมถึงการเนรเทศลูกชายทั้งสี่ของยุวธิดา ด้วยปูมหลังที่เป็นสายเลือดกษัตริย์ การขึ้นครองราชย์ของพัชรกิตติยาภาได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากตระกูลยุคล สนิทวงศ์ และกิติยากร
ราชสำนักพยายามปลุกปั้นพัชรกิตติยาภาให้พร้อมสำหรับการขึ้นครองราชย์ เช่น ส่งเธอไปเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล และแต่งตั้งให้เธอมีตำแหน่งในสำนักงานอัยการ ครั้งแรกในกรุงเทพฯและต่อมาคืออุดรธานี ทั้งยังมีการสร้างภาพลักษณ์นักกิจกรรมรณรงค์การปฏิรูปเรือนจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของผู้ต้องขังหญิง และราชสำนักยังประชาสัมพันธ์โฆษณาชวนเชื่อว่าเธอเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างความร่วมมือกับสหประชาชาติในการผลักดันโครงการ Bangkok rules ซึ่งเป็นโครงการสร้างมาตรฐานชีวิตให้ผู้ต้องขังหญิง (ไม่นานมานี้ วชิราลงกรณ์มอบหมายงานให้สนมเอกก้อยไปดูแลความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง หลังจากที่เธอออกจากคุกได้ไม่นาน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าวชิราลงกรณ์ใช้สมาชิกราชวงศ์เป็นฉากบังหน้าเพื่อแสร้งทำเป็นใส่ใจปัญหาเรื่องเรือนจำในขณะที่ออกใบสั่งให้จับกุมคุมขังฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง)
พัชรกิตติยาภาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฑูตประจำออสเตรียในปี พ.ศ. 2555 และในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาลทหารได้จัดการให้เธอมีบทบาทในสำนักงานสหประชาชาติในเรื่องยาเสพติดและอาชญากรรมด้วยตำแหน่งทูตสันถวไมตรีด้านหลักนิติธรรมของอาเซียนในขณะที่พ่อของเธอก่ออาชญากรรมมากมายต่อประชาชนและข้าราชบริพารของตัวเอง เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาพัชรกิตติยาภาได้รับการแต่งตั้งเป็นพลเอกหญิงในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าพ่อสนับสนุนเธอ แม้ว่าตำแหน่งทางการทหารของเธอจะได้รับการเลื่อนขั้นช้าว่าเหล่านางสนมของพ่อมาก เพราะแค่พวกเธอเข้ามาอยู่ในฮาเร็มก็ได้รับตำแหน่งแล้ว
แม้ว่าไร้ผู้สนับสนุนหลักอย่างสิริกิติ์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว แต่ในปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องชิงสุกก่อนห่ามที่ไทยจะมีสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถ และพัชรกิตติยาภาก็เป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบ เธอได้รับการหนุนหลังจากเหล่าสมาชิกราชวงศ์สายตระกูลต่างๆ มีแม่ที่เป็นราชนิกุลเต็มตัว นอกจากนั้นการเป็นผู้หญิงในยุคศตวรรษที่ 21 ก็ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับเธอเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2517 แสดงให้เห็นว่าราชสำนักเริ่มเปิดรับโลกสมัยใหม่ในแง่ที่ว่าไม่มีเหตุผลใดที่กษัตริย์จะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น
แฮนด์ลีย์กล่าวไว้ใน The King Never Smiles ว่า
ก่อนศรีรัศมิ์จะให้กำเนิดลูกชาย การศึกษาและการเข้าร่วมงานพิธีต่างๆของพัชรกิตติยาภา รวมถึงการสนับสนุนจากเจ้าหญิงสิรินธรผู้เป็นอา ชี้ไปในทางเดียวกันว่าพัชรกิตติยาภาน่าจะได้ครองราชย์ต่อจากพ่อ แต่ถึงตอนนี้ที่ทางของเธอในวังเริ่มไม่ชัดเจนดั่งเช่นในอดีต
กลุ่มคนหัวเก่าในวังจำนวนมากไม่เชื่อว่าผู้หญิงจะสามารถขึ้นครองราชย์ได้ หนึ่งในนั้นคือภูมิพล ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เขาไม่สนใจแรงกดดันจากราชวงศ์ฝั่งที่ต้องการสนับสนุนสิรินธรให้สืบราชสมบัติแทนวชิราลงกรณ์ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการต่อรองให้ทีปังกรขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 11 และให้พัชรกิตติยาภาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน แต่หากสถานการณ์นี้ไม่เกิดขึ้น ผมคิดว่าพัชรกิตติยาภาน่าจะได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระแม่อยู่หัวบรมราชินีนาถ ไม่ใช่ทีปังกร
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้พัชรกิตติยาภาอายุ 42 ปีแล้วและยังไม่แต่งงาน ยังไม่มีทายาท แม้ว่าจะมีภาพถ่ายที่ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2562 กับพันเอกปริทัศน์ บุนนาค สมาชิกชั้นสูงจากราชสกุลเก่าแก่ แต่ข่าวการหมั้นก็เป็นเพียงข่าวลือ หากพัชรกิตติยาภาได้ขึ้นครองราชย์ ใครจะเป็นรัชทายาทคนต่อไป นี่ก็เป็นทางตันอีกทางเช่นกัน
บัตรผ่านพิเศษ?
สิ่งที่เป็นตลกร้ายในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ไทยปัจจุบันคือ การที่ลูกชายทั้งสี่คนที่วชิราลงกรณ์เนรเทศออกไปพร้อมแม่ยุวธิดาได้เติบโตขึ้นมาอย่างน่าประทับใจที่สุดในบรรดาเหล่าทายาท หลังออกจากการโอบอุ้มของวังและถูกบังคับให้ต้องหาเลี้ยงดูแลตัวเองในอเมริกาด้วยเงินที่จำกัด พวกเขามีการงานที่มั่นคงและประสบความสำเร็จอย่างมาก
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 พวกเขาเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกเพื่อเตือนความจำคนไทยว่าพวกเขายังอยู่และเล่าว่าตัวเองประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างไรบ้าง
Dear Friends,
This year marks the fifteenth year that we have been living abroad. Over the years, we have received many kind words of encouragement and well wishes over the Internet and elsewhere from the people of Thailand; both from within Thailand and around the world.
We would like to express our heartfelt gratitude for your kind regards, and we are thankful that so many of you have not forgotten us. We have realized that some people were curious or had questions regarding our whereabouts over the years. To eliminate confusion and false rumors, we have decided to take this opportunity to disclose our situation.
When we were younger, we did not understand the drastic change in our lives, nor could we comprehend why we must live our lives outside of our beloved country. Our mother would remind us that we have to follow the orders of the Royal Family, and to show our gratitude and respect. Our situation, at times, was not at all easy. However, we did not stand idle. Instead we learned to push ourselves to our highest potential, and to behave in a manner that would not bring shame upon the Royal Family.
Juthavachara received a bachelor’s degree in avionics and maintenance and a master’s degree in aeronautical science. After working in the aviation industry, he is now attending law school in pursuit of a Juris Doctor degree. Vacharaesorn, after receiving his bachelor’s degree in political science, a Juris Doctor, and a Master of Law (LLM), is now a practicing attorney. Chakriwat received his bachelor’s degree in psychobiology with chemistry minor, he is currently attending medical school, and will soon begin his clinical rotations. Vatchrawee double-majored in International Business and Finance, and has a Master of Business Administration. He is now attending law school in pursuit of a Juris Doctor degree.
We are also aware of the many rumors being circulated regarding Chakriwat’s health. The truth is Chakriwat has been battling Neurofibromatosis (type II) since he was thirteen years old. The disease causes tumors to appear along his nervous system, and surgery or radiation treatment is required every year or so to remove or otherwise treat these tumors. Due to numerous radiation treatments he has received, there has been some damage to his acoustic nerve, and he became deaf in one ear. He will receive another surgery in August of this year. Despite having to undergo these exhausting procedures on a regular basis, Chakriwat is determined to complete his medical training.
Many people continue to speculate regarding our situation or to spread false and malicious rumors about us. Rather than addressing these issues in the open, and risk offending the institution, we have chosen to remain silent. We merely wanted to use this correspondence as an opportunity to thank the many Thais who still care about us and remember us, and to state clearly that, every day, we wish to return to Thailand. For fifteen years, we have never set foot in our country, and we miss it far too much. Until we are permitted to return, however, we will remain loyal to the Royal Family, and pray for the future of our country.
We remain faithfully yours,
Juthavachara, Vacharaesorn, Chakriwat, Vatchrawee
หลังจากนั้นพวกเขาก็ตั้งแฟนเพจในเฟสบุ๊ค เพื่ออัพเดทข่าวคราวเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง วัชรเรศรเป็นทนายแถวหน้าในนิวยอร์ก เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับบริษัทโกลด์เบิร์ก เซกัลลา ซึ่งเป็นบริษัทกฎหมายชื่อดัง ส่วนจักรีวัชรเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียง แม้จะกำลังป่วยหนักจากอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
หากใครได้ติดตามชีวิตของพวกเขาจะทราบดีว่าความสำเร็จของพวกเขาช่างแตกต่างจากพระอัจฉริยภาพจอมปลอมของพัชรกิตติยาภาและสิริวัณณวรีอย่างฟ้ากับเหว องค์หญิงทั้งสองไม่เคยแสดงความสามารถพิเศษใดๆ ยิ่งไปกว่านั้นแบรนด์เสื้อผ้าของสิริวัณณวรียังใช้งบประมาณจากเงินภาษีของประชาชนจำนวนมาก ทั้งหมดนี้เป็นความน่าอับอายของราชวงศ์ไทย
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ว่าวชิราลงกรณ์จะพาลูกชายที่ถูกเนรเทศกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่มีสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ บันทึกลับทางการฑูตสหรัฐฯฉบับหนึ่งระบุถึงข่าวลือว่ามีความพยายามจากกลุ่มต่างๆในวังในการติดต่อทาบทามลูกชายของเขา
อย่างไรก็ตาม ลูกชาย 3 ใน 4 คนได้ออกมาประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่มีความตั้งใจจะกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ แม้ว่าพวกเขาอยากได้รับการยอมรับจากพ่อในฐานะลูกและได้รับอนุญาตให้กลับประเทศไทยหลังจากถูกเนรเทศออกมากว่า 20 ปี ในปี พ.ศ. 2556 ลูกชายคนโต จุฑาวัชรแต่งงานกับหญิงอเมริกัน ทำให้เขาหมดสิทธิ์ขึ้นครองราชย์ยกเว้นว่ามีการแก้ไขกฎหมายเพราะมีกฎห้ามให้ทายาทที่แต่งงานกับชาวต่างชาติขึ้นครองราชย์ ลูกชายคนที่สาม จักรีวัชร มีโปรไฟล์และแฟนเพจในเฟสบุ๊คในบทบาทแพทย์ที่แชร์ความรู้ทางการแพทย์และอัพเดทการต่อสู้กับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง แต่ไม่ต้องการมีบทบาททางการเมืองในไทย
วัชรเรศรเป็นข้อยกเว้น เขาเป็นลูกชายคนที่สองที่โดยทฤษฎีแล้วได้ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในการสืบราชสมบัติหลังจากที่พี่ชายแต่งงานกับชาวต่างชาติ เขาเป็นทนายความที่ประสบความสำเร็จในนิวยอร์ก มีโปรไฟล์ในเฟสบุ๊ค และจัดงานระดมทุนให้กับองค์กรการกุศลต่างๆมานานหลายปี หลายคนจึงมองว่ามีความเป็นไปได้ที่เขาจะมีโอกาสได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพ่อ
ที่ทางของนางฟ้า?
จากการที่วชิราลงกรณ์เริ่มสูญเสียความนิยมตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา คนไทยจำนวนมากอยากให้ สิรินธร หรือ “พระเทพ” น้องสาวของเขาขึ้นครองราชย์แทนหลังจากภูมิพลสวรรคต สมาชิกราชวงศ์ระดับสูงหลายคนได้แสดงออกถึงความต้องการนี้อย่างชัดเจน และตามที่ระบุในบันทึกลับทางการฑูตสหรัฐฯฉบับหนึ่งในปี พ.ศ. 2553 สิทธิ เสวตศิลา องคมนตรีอาวุโสเคยกล่าวว่า “หากมกุฎราชกุมารสวรรคต อะไรก็เกิดขึ้นได้ และพระเทพอาจจะขึ้นได้ครองราชย์” วชิราลงกรณ์รู้ดีว่ามีคนนิยมน้องสาวของเขามากกว่า และรู้สึกไม่พอใจต่อน้อง ฑูตอเมริกันหลายคนยังเคยคาดการณ์ว่าเธออาจจะต้องหนีออกจากประเทศเพื่อความปลอดภัยของตัวเองหลังจากพี่ชายขึ้นครองราชย์ โดยกล่าวว่า “ผู้สนใจเรื่องราวในราชวงศ์ส่วนใหญ่รวมถึงหลายคนที่รู้จักพระเทพดีคาดการณ์ว่าเธออาจจะต้องออกไปจากไทยเงียบๆเมื่อพ่อสวรรคต เพื่อความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของตัวเอง ลงไปจากเวทีเพื่อหลีกทางให้พี่ชาย”
แต่ถึงตอนนี้สิรินธรก็ยังอยู่ไทยและกลุ่มรอยัลลิสต์อาวุโสหลายคนยังหวังให้เธอช่วยต่อลมหายใจให้สถาบันกษัตริย์ อาจจะในบทบาทผู้สำเร็จราชการแทนหากทีปังกรได้ขึ้นครองราชย์ แต่สถานการณ์นี้เกิดขึ้นได้ยาก วชิราลงกรณ์เกลียดเธอ และคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้เคารพบูชาเธอ การที่เธอจะเข้ามามีบทบาทในการสืบราชสมบัติแทนวชิราลงกรณ์จึงแทบเป็นไปไม่ได้
ตัวเลือกอื่น?
ชีวิตส่วนตัวของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ยังคงเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ความขัดแย้งระหว่างเมียคนล่าสุดและสนมเอกคนโปรด สุทิดา กับ สินีนาฏ ทำให้เกิดดราม่าใหญ่ในราชสำนัก ยังมีความเป็นไปได้ที่สุทิดา สินีนาฏ หรือคนอื่นๆในฮาเร็มของวชิราลงกรณ์จะตั้งท้อง ซึ่งจะเป็นตัวเปลี่ยนเกม ในขณะที่เวลาผ่านไปสถานการณ์นี้ก็ดูจะเกิดขึ้นได้ยากขึ้นทุกที
จุดจบของตระกูลมหิดล?
ปัจจุบันวชิราลงกรณ์อายุ 68 ปีและดูอ่อนแอลงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่เราไม่รู้ว่าเขาจะอยู่ได้อีกกี่ปี เขาอาจจะอยู่ต่อไปอีกเป็นสิบปีหรืออาจจากไปก่อนที่จะได้ประกาศชื่อรัชทายาท
แต่ไม่ว่าใครจะเป็นคนต่อไปในการสืบราชสมบัติ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าราชวงศ์มหิดลกำลังจะเผชิญวิกฤติครั้งใหญ่หลังการสวรรคตของกษัตริย์องค์ปัจจุบัน วชิราลงกรณ์มีลูก 7 คน แต่ยังไม่มีหลาน มีโอกาสสูงมากที่สายเลือดตระกูลมหิดลจะจบลงภายในศตวรรษที่ 21 สายตระกูลอื่น อาจจะเป็นยุคล อาจกลายเป็นสายตระกูลใหม่ในการครองราชย์ แต่การเปลี่ยนแปลงนี้จะลดทอนความนิยมของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์อย่างมาก
นอกเหนือจากวิกฤติของตระกูลมหิดล สถาบันกษัตริย์โดยรวมกำลังสูญเสียอำนาจและหมดอิทธิพลลงไปเรื่อยๆ ไม่มีรัชทายาทของวชิราลงกรณ์คนใดเลยที่มีความสามารถจะสร้างความกลัวและควบคุมกองทัพอย่างที่พ่อพยายามทำ อย่างที่ผมได้เขียนไว้ในการวิเคราะห์อนาคตของประเทศไทย:
จนถึงตอนนี้ ยังไม่มีทายาทองค์ใดจะสามารถปกครองไทยด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์แบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 อำนาจของสถาบันกษัตริย์จะตายไปพร้อมกับวชิราลงกรณ์ และไทยจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ถูกผ่อนผันมาอย่างยาวนานในอีกไม่ช้า
หนทางสู่การต่อลมหายใจให้อำนาจของสถาบันกษัตริย์หลังยุคสมัยของวชิราลงกรณ์ยังมืดมน ไม่ว่าใครจะได้ขึ้นครองราชย์เป็นคนต่อไป ยุคกษัตริย์นิยมจะจบลงอย่างแน่นอน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar