ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามนายกฯ ใช้ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ห้ามเผยแพร่ข่าวที่ทำให้ "หวาดกลัว"
.
ศาลแพ่งมีคำสั่งดังกล่าวภายหลังตัวแทนสื่อมวลชนออนไลน์ 12 ราย
และภาคีนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
(ศบค.) ให้ถอนคำสั่งการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อกำหนดที่ 29
อันมีสาระสำคัญห้ามไม่ให้นำเข้าข้อความที่ทำให้ประชาชนข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว
หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร และให้อำนาจ กสทช. ระงับบริการอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 2 ส.ค.
.
เนื้อหาของคำสั่งศาลแพ่ง ระบุว่า ข้อกำหนดข้อ 1
ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว
ไม่ได้จำกัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จ
ดังเหตุผลและความจำเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกำหนดดังกล่าว
ข้อกำหนดนี้ย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้ง 12
ซึ่งเป็นสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชน ตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 คุ้มครองไว้
.
ส่วนข้อกำหนด ข้อ 2 ที่ให้อำนาจ กสทช. ระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต
ศาลระบุว่า ไม่ปรากฏว่าในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจนายกฯ
ในการออกข้อกำหนดเช่นนี้ ดังนั้น
ข้อกำหนดให้ดำเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลเห็นว่า
การระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่น่าเป็นอุปสรรคแก่การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐหรือแก่ประโยชน์สาธารณะ
เพราะยังมีกฎหมายฉบับอื่นที่บังคับใช้ได้
.
ฐปนีย์ เอียดศรีไชย
จากสำนักข่าวเดอะรีพอตเตอร์ส หนึ่งในสื่อที่ร่วมยื่นฟ้องบอกว่า
คำสั่งตามข้อกำหนดที่ระบุว่าห้ามการโพสต์ข้อความที่สร้างความหวาดกลัวเป็นข้อความที่ไม่มีความชัดเจน
ในฐานะสื่อต้องการใช้สิทธิเสรีภาพในการทำหน้านี้เพื่อช่วยให้ประชาชนผ่านสถานการณ์ของโรคโควิด-19
ไปให้ได้
.
"เมื่อศาลให้ความคุ้มครอง
เราก็ใช้สิทธิเสรีภาพเราอย่างรับผิดชอบด้วย...
เราคงไม่ดำเนินการหรือทำอะไรที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว หรือเฟคนิวส์"
fredag 6 augusti 2021
ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามนายกฯ ใช้ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ห้ามเผยแพร่ข่าวที่ทำให้ "หวาดกลัว"
Prenumerera på:
Kommentarer till inlägget (Atom)
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar