ตกยุค .
โดย ปราปต์ บุนปาน
คลิกอ่าน-ตกยุค โดย ปราปต์ บุนปาน
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12/มติชนรายวัน 3 สิงหาคม 2558
คนบางคนหรือกลุ่มคนบางกลุ่มนั้น อาจมีบทบาทหน้าที่สำคัญ ในบางช่วงเวลาหรือบางยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง สภาพปัญหาและการเผชิญหน้าได้คลี่คลายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง บทบาทหน้าที่ที่เคยมีความสำคัญ ก็กลายสถานะเป็น "สิ่งไม่จำเป็น"
เช่นเดียวกันกับคนหรือกลุ่มคน ผู้เคยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
คงไม่ต่างอะไรกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ที่จำแลงแปลงกายมาจาก กปปส.
มูลนิธิที่เปิดตัวพร้อมกับการกลับคืนสู่ทางโลกย์อย่างเป็นทางการของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
เป็นการกลับมาพร้อมข้อเสนอหลักเดิมๆ คือ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" โดยไม่จำกัดระยะเวลา
แม้จะเรียก "เสียงขานรับ" ได้พอสมควร แต่ก็มี "ความเห็นต่าง" ปรากฏขึ้นไม่น้อย
ไม่ต้องอื่นไกล กระทั่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังต้องออกมาย้ำว่า อย่างไรเสีย คสช.ควรดำเนินการตามโรดแมปที่วางไว้ โดยรัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญของการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง
แต่ไม่ใช่ต้องเร่งปฏิรูปทุกๆเรื่อง เพราะหน้าที่การปฏิรูปประเทศในระยะยาวนั้น คสช.ควรส่งมอบภาระให้แก่นักการเมือง (ที่จะถูกกดดันจากสังคม) เป็นผู้สานต่อ
แม้แต่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ เอง ก็ต้องรีบออกมาชี้แจงว่า การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง มิใช่การเลื่อนเลือกตั้งหรือปรับเปลี่ยนโรดแมป ซึ่งการตัดสินใจในเรื่องนั้นเป็นอำนาจของ คสช.
ทว่า สิ่งที่มูลนิธิเสนอ ก็คือ การอยากเห็นความคืบหน้าในการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนหน้าการเลือกตั้งตามกำหนดการในโรดแมป
จึงกลายเป็นว่า ข้อเสนอ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ที่ถูกจุดพลุซ้ำขึ้นมาอีกครั้ง ได้ถูก "ลดโทน" ลง ในเวลาคล้อยหลังเพียงไม่กี่วัน
ไม่ใช่แค่คนของมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ และคนของพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นหรอก ที่เห็นถึงความจำเป็นในการต้องออกมาลดโทนข้อเสนอสุดโต่งดังกล่าวลง
และไม่ต้องไปไล่ถามความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร กลับคืน
แต่แค่ลองไปถามคนในรัฐบาลหรือคนใน คสช. ที่กำลังทำงานเหนื่อยหนัก ตลอดจนคนชั้นกลางระดับบน-เครือข่ายคนชั้นสูง ใน กทม. ที่เคยสนับสนุน กปปส.อย่างแข็งขัน ดูก็ได้
ว่ากับสภาพปัญหารอบด้านที่ประเทศต้องเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ ทั้งปัญหาการเมืองภายใน, ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ
จะมีใครสักกี่คน ที่ยังอยากจะอยู่ปฏิรูปยาวๆ เว้นวรรคจากระบอบประชาธิปไตยยาวๆ นำ "คนดีๆ" มาบริหารบ้านเมืองกันแบบยาวๆ ก่อนหน้าการเลือกตั้ง ซึ่งอาจถูกเลื่อนออกไปไร้กำหนด
แน่นอน ชนชั้นนำไทยจำนวนมากอาจจะพยายามชะลอเวลา เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม-การเมือง อันถาโถมเข้ามาโดยไม่หยุดหย่อน
แต่ในเวลาปีกว่าๆ หลังรัฐประหาร คงเหลือชนชั้นนำไม่กี่คน ที่ยังหลงคิดว่าตนเองสามารถหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินกลับหลังไปยังหมุดหมายเดิมๆ ตามใจปรารถนาได้
มิฉะนั้น เราคงไม่ได้ยินข่าวคราวแนวโน้มการ "ปรับเปลี่ยน" คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. หรือคงไม่ได้ยินผู้นำทหารยืนกรานที่จะปฏิบัติตามโรดแมปซึ่งวางเอาไว้
ส่วนข้อเสนอที่พยายามจะยื้อหยุดฉุดเวลาให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ว่าจะมาจากผู้นำมวลมหาประชาชน หรือ สปช.คนไหน
ก็อาจจะต้องกลายเป็น "ของตกยุค" หรือค่อยๆ กลายสถานะเป็น "สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์" ไปในท้ายที่สุด
คนบางคนหรือกลุ่มคนบางกลุ่มนั้น อาจมีบทบาทหน้าที่สำคัญ ในบางช่วงเวลาหรือบางยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง สภาพปัญหาและการเผชิญหน้าได้คลี่คลายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง บทบาทหน้าที่ที่เคยมีความสำคัญ ก็กลายสถานะเป็น "สิ่งไม่จำเป็น"
เช่นเดียวกันกับคนหรือกลุ่มคน ผู้เคยปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
คงไม่ต่างอะไรกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ที่จำแลงแปลงกายมาจาก กปปส.
มูลนิธิที่เปิดตัวพร้อมกับการกลับคืนสู่ทางโลกย์อย่างเป็นทางการของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
เป็นการกลับมาพร้อมข้อเสนอหลักเดิมๆ คือ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" โดยไม่จำกัดระยะเวลา
แม้จะเรียก "เสียงขานรับ" ได้พอสมควร แต่ก็มี "ความเห็นต่าง" ปรากฏขึ้นไม่น้อย
ไม่ต้องอื่นไกล กระทั่ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังต้องออกมาย้ำว่า อย่างไรเสีย คสช.ควรดำเนินการตามโรดแมปที่วางไว้ โดยรัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญของการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง
แต่ไม่ใช่ต้องเร่งปฏิรูปทุกๆเรื่อง เพราะหน้าที่การปฏิรูปประเทศในระยะยาวนั้น คสช.ควรส่งมอบภาระให้แก่นักการเมือง (ที่จะถูกกดดันจากสังคม) เป็นผู้สานต่อ
แม้แต่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ เอง ก็ต้องรีบออกมาชี้แจงว่า การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง มิใช่การเลื่อนเลือกตั้งหรือปรับเปลี่ยนโรดแมป ซึ่งการตัดสินใจในเรื่องนั้นเป็นอำนาจของ คสช.
ทว่า สิ่งที่มูลนิธิเสนอ ก็คือ การอยากเห็นความคืบหน้าในการปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม ก่อนหน้าการเลือกตั้งตามกำหนดการในโรดแมป
จึงกลายเป็นว่า ข้อเสนอ "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" ที่ถูกจุดพลุซ้ำขึ้นมาอีกครั้ง ได้ถูก "ลดโทน" ลง ในเวลาคล้อยหลังเพียงไม่กี่วัน
ไม่ใช่แค่คนของมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ และคนของพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นหรอก ที่เห็นถึงความจำเป็นในการต้องออกมาลดโทนข้อเสนอสุดโต่งดังกล่าวลง
และไม่ต้องไปไล่ถามความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิเลือกตั้งผู้แทนราษฎร กลับคืน
แต่แค่ลองไปถามคนในรัฐบาลหรือคนใน คสช. ที่กำลังทำงานเหนื่อยหนัก ตลอดจนคนชั้นกลางระดับบน-เครือข่ายคนชั้นสูง ใน กทม. ที่เคยสนับสนุน กปปส.อย่างแข็งขัน ดูก็ได้
ว่ากับสภาพปัญหารอบด้านที่ประเทศต้องเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ ทั้งปัญหาการเมืองภายใน, ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ
จะมีใครสักกี่คน ที่ยังอยากจะอยู่ปฏิรูปยาวๆ เว้นวรรคจากระบอบประชาธิปไตยยาวๆ นำ "คนดีๆ" มาบริหารบ้านเมืองกันแบบยาวๆ ก่อนหน้าการเลือกตั้ง ซึ่งอาจถูกเลื่อนออกไปไร้กำหนด
แน่นอน ชนชั้นนำไทยจำนวนมากอาจจะพยายามชะลอเวลา เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม-การเมือง อันถาโถมเข้ามาโดยไม่หยุดหย่อน
แต่ในเวลาปีกว่าๆ หลังรัฐประหาร คงเหลือชนชั้นนำไม่กี่คน ที่ยังหลงคิดว่าตนเองสามารถหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินกลับหลังไปยังหมุดหมายเดิมๆ ตามใจปรารถนาได้
มิฉะนั้น เราคงไม่ได้ยินข่าวคราวแนวโน้มการ "ปรับเปลี่ยน" คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล คสช. หรือคงไม่ได้ยินผู้นำทหารยืนกรานที่จะปฏิบัติตามโรดแมปซึ่งวางเอาไว้
ส่วนข้อเสนอที่พยายามจะยื้อหยุดฉุดเวลาให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ว่าจะมาจากผู้นำมวลมหาประชาชน หรือ สปช.คนไหน
ก็อาจจะต้องกลายเป็น "ของตกยุค" หรือค่อยๆ กลายสถานะเป็น "สิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์" ไปในท้ายที่สุด
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar