torsdag 18 februari 2021

ไม่สู้ก็อย่าหวังเค้าจะปล่อย

Thai E-News

เปิดหน้า สันติ บุตรดี ผู้พิพากษา ไม่อนุมัติให้ประกันตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม, อานนท์ นำภา และพริษฐ์ ชิวารักษ์ ครั้งล่าสุด ในคดีที่ถูกอัยการสั่งฟ้องตามสิ่งที่เรียกกันว่ากฎหมายมาตรา 112


Thanapol Eawsakul
17h ·

นายสันติ บุตรดี ผู้พิพากษา ไม่อนุมัติให้ประกันตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม, อานนท์ นำภา และพริษฐ์ ชิวารักษ์ ในคดีที่ถูกอัยการสั่งฟ้องตามสิ่งที่เรียกกันว่ากฎหมายมาตรา 112 ในวงเงินคนละสามแสนบาท และอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใช้ตำแหน่งยื่นประกันพริษฐ์ในคดี 112 อีกคดีหนึ่งด้วย
ดัวยเหตุผลว่า "ไม่มีเหตุผลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง"
...............
แปลว่า จะไม่ให้ประกัน มีอะไรไหม




Thanapol Eawsakul
19h ·


คุณสมบติพื้นฐานในโลกสมัยใหม่
คือ เชื่อมั่นในะระบอบประชาธิปไตย เตารพนิติรัฐ หลักสิทธิมนุษยชน
ใครไม่ผ่านคุณสมบัตินี้ไม่ควรดำรงตำแหน่งใด ๆ ทั้งสิ้น
.........................
‘หมอเหรียญทอง’ลุยแล้ว!ตรวจสอบคุณสมบัติผู้พิพากษา
จงรักภักดีสถาบันจริงหรือไม่
https://www.thaipost.net/main/detail/93304..

ไม่สู้ก็อย่าหวังเค้าจะปล่อย


 

Atukkit Sawangsuk
6h
·

ถามตรงๆ ว่าศาลยังยึดหลักกฎหมายหรือไม่


"การให้เหตุผลของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามว่ามีความสอดคล้องกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์เพียงใด เพราะการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่าศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามที่ถูกฟ้องไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่า 1. จำเลยทำจริงหรือไม่ 2. การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่ และ 3. จำเลยมีอำนาจกระทำตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อยังไม่ได้มีการพิจารณาสืบพยานจนสิ้นข้อสงสัย..."

ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13h ·


แถลงการณ์คณาจารย์นิติศาสตร์ เรื่อง คำสั่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว

หลักประกันสิทธิอันสำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาคือการที่ศาลต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ และด้วยเหตุดังกล่าวศาลจะพิพากษาจำเลยว่ามีความผิดได้ก็ต่อเมื่อศาลได้รับฟังพยานหลักฐานจนสิ้นข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ซึ่งกระบวนการรับฟังพยานหลักฐานนั้นต้องชอบด้วยกฎหมายทั้งในเชิงเนื้อหาและรูปแบบ

สิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้ถูกรับรองไว้อย่างชัดเจนในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) อันเป็นหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับที่สำคัญที่สุด และไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และสิทธิดังกล่าวยังได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรค 2 และในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227

สิทธิที่จะถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์มีขึ้นเพราะกฎหมายอาญาเป็นดาบสองคมที่รัฐอาจใช้ได้ทั้งเพื่อจัดการผู้กระทำความผิด และทิ่มแทงประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งรวมทั้งประชาชนที่ใช้สิทธิตามกฎหมายไปในทางที่ขัดแย้งกับรัฐบาล ดังนั้นศาลในฐานะหนึ่งในเสาหลักแห่งอำนาจอธิปไตยจึงต้องเป็นผู้คุ้มครองสิทธิของประชาชน ซึ่งประชาชนในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะประชาชนที่เป็นผู้เสียหาย แต่ยังรวมถึงประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญาอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกละเมิดสิทธิโดยอำนาจรัฐ หากศาลไม่ยึดถือหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัด แล้วใครเล่าจะเป็นผู้ปกป้องประชาชนจากรัฐบาล (who guards the guardians?) ศาลที่เป็นอิสระ (independence) และเที่ยงธรรม (impartiality) จึงต้องวางใจเป็นกลาง ไม่เชื่อหรือมีอคติตั้งแต่ต้นว่าจำเลยกระทำความผิดจนกว่าจะได้รับฟังพยานหลักฐานอย่างครบถ้วนจากทุกฝ่ายจนไม่มีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา โดยไม่มีอำนาจหรือสิทธิที่จะกระทำเช่นนั้น

แม้ว่ารัฐจะมีหน้าที่พื้นฐานอีกประการ คือหน้าที่ในการสอบสวนและนำตัวผู้กระทำความผิดอาญามาลงโทษ แต่รัฐต้องหาสมดุลระหว่างหน้าที่พื้นฐานนี้กับหลักการสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ เพื่อให้รัฐสามารถดำเนินการเพื่อค้นหาและลงโทษผู้กระทำความผิดได้ โดยผู้ที่ถูกกล่าวหาต้องไม่ถูกกระทบสิทธิเกินสมควร ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าการควบคุมตัวจำเลยระหว่างการพิจารณาคดีจึงเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่การควบคุมตัวต้องทำอย่างได้สัดส่วนและด้วยความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น กล่าวคือ การคุมตัวในชั้นก่อนพิจารณาคดีและระหว่างพิจารณาคดีต้องทำในเวลาจำกัดไม่ปล่อยเนิ่นช้าจนเกินไป และต้องไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการควบคุมตัวจำเลยไว้ ทั้งนี้ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 107 และ 108/1 "จำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว" โดย "การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อ” เหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ บทบัญญัติกฎหมายนี้แสดงให้เห็นว่าการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นโดยหลักทำไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุผลตามที่มาตรา 108/1 กำหนด อันได้แก่การหลบหนี การไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน การไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ หรือเป็นอุปสรรคการการสอบสวนหรือพิจารณาคดี จะเห็นได้ว่าเหตุทั้งห้าประการนี้ล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานบ่งชี้ว่าจำเลยจะไปทำอะไรในอนาคต ไม่ใช่เพราะจำเลยได้กระทำความผิดใดตามที่ได้ถูกกล่าวหา ความประพฤติของจำเลยที่พิสูจน์แล้วอาจนำมาใช้ชั่งน้ำหนักในการพิจารณาสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เพียงในฐานะที่เป็นข้อบ่งชี้ประกอบถึงสิ่งที่จำเลยอาจจะไปทำสิ่งใดในอนาคตเท่านั้น

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำร้องที่ ปอ 61/2564 โดยมีการให้เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวส่วนหนึ่งว่า “การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวายขึ้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจำเลยที่ 3 ขึ้นปราศรัยด้วยถ้อยคำที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของปวงชนชาวไทยผู้จงรักภักดีอย่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และมีลักษณะชักนำประชาชนให้ล่วงละเมิดต่อกฎหมายของแผ่นดิน” ซึ่งถ้อยคำลักษณะเดียวกันนั้นปรากฏในคำสั่งคำร้องที่ ปอ 62/2564 และ ปอ 63/2564 ที่ศาลได้อ่านในวันเดียวกันด้วย

การให้เหตุผลของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามว่ามีความสอดคล้องกับหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์เพียงใด เพราะการให้เหตุผลลักษณะดังกล่าวทำให้เข้าใจได้ว่าศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามที่ถูกฟ้องไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่า 1. จำเลยทำจริงหรือไม่ 2. การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่ และ 3. จำเลยมีอำนาจกระทำตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อยังไม่ได้มีการพิจารณาสืบพยานจนสิ้นข้อสงสัย การวินิจฉัยการกระทำของจำเลยและหยิบข้อวินิจฉัยมาเป็นเหตุผลในการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จึงขัดต่อหลักสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ขัดแย้งกับพันธกรณีที่ไทยมีต่อนานาประเทศ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันล้วนแต่เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
 
ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ ดังมีรายนามแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้ผู้พิพากษาทุกท่านได้ยึดมั่นในหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักการของกฎหมายอย่างซื่อตรงและเป็นธรรม และเป็นเสาหลักที่มั่นคงในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสภาวะที่สังคมไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตรอบด้านและประชาชนจำนวนมากมองเห็นศาลเป็นที่พึ่งสุดท้าย

อ่านรายชื่อผู้ลงนามที่
https://www.facebook.com/tulawcenter.org/photos/a.909545302415660/3670398082997021/

รุ้ง - ไมค์ ประกาศนัดชุมนุมซักฟอกรัฐบาลนอกสภา 19 - 20 ก.พ. นี้ : Matichon TV

Feb 17, 2021

รุ้ง - ไมค์ ประกาศนัดชุมนุมซักฟอกรัฐบาลนอกสภา 19 - 20 ก.พ. นี้ (คลิป)

แกนนำราษฎร เข้าพบพนักงานอัยการคดีชุมนุม 19 กันยา พร้อมประกาศนัดหมายมวลชนร่วมชุมนุม อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยประชาชน




Inga kommentarer:

Skicka en kommentar