หวังยุติข้อพิพาท “คิงส์เกต” อุตฯจ่อให้ “ริชภูมิ” สำรวจแร่
เมืองจันท์ต้านเหมืองแร่ หลัง กพร.ออกหนังสือแจงคำคัดค้านออกอาชญาบัตรพิเศษของริชภูมิ ไมนิ่ง ไม่เป็นผล ควงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่กล่อมให้ยอมรับ วงการเหมืองตั้งข้อสังเกตการออกอาชญาบัตรเป็นบันไดขั้นแรกที่เปิดช่องให้อัครากลับมาทำเหมืองทองคำในไทยต่อไป แลก “คิงส์เกต” บริษัทแม่ถอนฟ้อง
ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ระลอก 2 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) โดยเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่จังหวัดจันทบุรีได้รับ “จดทะเบียน” คำขออาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำของบริษัทริชภูมิ ไมนิ่ง จำกัด บริษัทในเครือของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส เจ้าของสัมปทานเหมืองทองคำชาตรี จ.พิจิตร ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ที่กำลังมีข้อพิพาทกับรัฐบาลไทย กรณีถูกยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมทั้งคำขอต่ออายุประทานบัตรทั้งหมดมาตั้งแต่ปี 2560
โดยการรับจดทะเบียนอาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำ 2 คำขอ (8/2549-9/2549) เนื้อที่ 14,650 ไร่ ตำบลพวากับตำบลสามพี่น้อง อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี นับเป็นขั้นแรกในการกลับมาได้รับ “อาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำ” ของกลุ่มบริษัทอัครา รีซอร์สเซส หลังจากที่บริษัทต้องยุติการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำมาไม่ต่ำกว่า 4 ปี
ขณะที่วงการเหมืองแร่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การได้กลับมาสำรวจแร่ทองคำครั้งนี้จะมีผลโดยตรงต่อความเป็นไปได้ในการ “ยุติข้อพิพาท” ระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทคิงส์เกต ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการในขณะนี้
กพร.ดันออกอาชญาบัตรต่อ
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้ นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)ได้ทำหนังสือถึงนายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี ผู้คัดค้านการออก อาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำเพื่อทำการสำรวจแร่ของบริษัทริชภูมิ ไมนิ่ง ในท้องที่ อ.แก่งหางแมว
โดย กพร.เห็นว่าการสำรวจแร่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่บริษัท (ริชภูมิ ไมนิ่ง) ทำการสำรวจแร่ โดยการยื่นคำขออาชญาบัตรพิเศษเป็นการ “ขอสิทธิ”ในการสำรวจแร่ในพื้นที่ที่กำหนดและการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษจึงไม่ใช่การอนุญาตหรือการให้สิทธิในการครอบครองพื้นที่
ด้าน นางอินทิรา มานะสกุล รองประธานอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จันทบุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคีเครือข่าย-องค์กรภาคประชาชนจังหวัดจันทบุรีได้ยื่นเรื่องคัดค้านและขอให้ยุติการพิจารณาการออกอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำมาโดยตลอด ทั้งการยื่นหนังสือคัดค้านจากการรวบรวมรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยถึง 58,307 รายชื่อ การยื่นเรื่องเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และให้ข้อมูล ส.ส.ในพื้นที่ แต่ก็ไม่สามารถล้มเลิกกระบวนการในการจดทะเบียนคำขออาชญาบัตรพิเศษของบริษัทริชภูมิ ไมนิ่ง ได้
ะชุมชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 43(2)(3) ต่อไปคือ คัดค้านการออกอาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำของ บริษัทริชภูมิ ไมนิ่งต่อไป และหาก กพร.ยังเพิกเฉยและดำเนินการต่อไป เครือข่ายคนจันท์ต้านเหมืองและพี่น้องชาวจันทบุรีก็จะใช้สิทธิบุคคลและชุมชนไม่ยินยอมให้บริษัทเข้าทำการสำรวจแร่ทองคำในพื้นที่จันทบุรีโดยเด็ดขาด” นางอินธิรากล่าว
เครือข่ายคนจันท์ไม่ยอม
นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ในตอนท้ายหนังสือของนายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้อ้างนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมให้ กพร.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงบริษัทริชภูมิ ไมนิ่งลงพื้นที่เพื่อชี้แจงและ “ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่” เพื่อประมวลข้อคัดค้านเสนอต่อคณะกรรมการแร่ประกอบการพิจารณาการออกอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ
ดังนั้นทางเครือข่ายคนจันท์ต้านเหมืองทองจึงตัดสินใจทำหนังสืออีกฉบับส่งถึงอธิบดี กพร.-รมว.อุตสาหกรรม-ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน รัฐสภา และ นายกรัฐมนตรี เพื่อยืนยันข้อเรียกร้องของเครือข่าย 2 ข้อเดิมคือ 1) คัดค้านการออกอาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำของบริษัทริชภูมิ ไมนิ่ง และ 2) หากยังเพิกเฉยและอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำต่อไป เครือข่ายจะไม่ยอมให้บริษัทเข้าทำการสำรวจแร่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีโดยเด็ดขาด
คิงส์เกตท่าทีดีขึ้น
แหล่งข่าวจากวงการเหมืองแร่ตั้งข้อสังเกตว่า การรับจดทะเบียนอาชญาบัตรพิเศษแร่ทองคำของบริษัทริชภูมิ ไมนิ่ง เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับทั้ง 2 คู่พิพาทคือ บริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ดกับ รัฐบาลไทยกำลังเปิดการเจรจาภายใต้คณะกรรมการดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัทคิงส์เกตฯ ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อหาข้อยุติที่ยอมรับร่วมกันก่อนที่คณะอนุญาโตตุลาการจะมีคำตัดสินชี้ขาดในเรื่องที่รัฐบาลไทยโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สั่งให้ กพร.ยุติสัมปทานเหมืองแร่ทองคำของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส
“ประเด็นสำคัญตอนนี้ก็คือ ฝ่ายไทยตั้งโจทย์ไม่อยากถูกฟ้องบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายจากคำสั่งของ คสช. ในขณะที่ทางคิงส์เกตยืนยันมาโดยตลอดว่า บริษัทอัคราฯปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เหมืองแร่มาโดยตลอดและยังไม่มีข้อยุติทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนในข้อกล่าวหาที่ว่า กระบวนการทำเหมืองก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นทางเดียวที่จะยุติข้อพิพาทเรื่องนี้ได้ก็คือ ทำอย่างไรจะให้บริษัทอัคราฯสามารถกลับมาเปิดเหมืองทองคำชาตรีที่พิจิตรและขอประทานบัตรหรือขอต่ออายุประทานบัตรตาม พ.ร.บ.เหมืองแร่ฉบับใหม่ได้” แหล่งข่าวกล่าว
โดย นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า ขณะนี้กระบวนการพิจารณายังอยู่ในขั้นตอนของคณะอนุญาโตตุลาการ ส่วนการที่บริษัทคิงส์เกตฯจะถอนฟ้องในช่วงเดือนมกราคมหรือไม่นั้น “ยังต้องรอความชัดเจน” แต่ยอมรับว่า “มีท่าทีที่ดีขึ้น” เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายได้เปิดการเจรจากันมาตั้งแต่ต้นเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกันให้ได้
“หากคิงส์เกตถอนฟ้องรัฐบาลไทยจริง และบริษัทสามารถทำตามเงื่อนไขภายใต้ พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ได้ บริษัทอัคราในฐานะบริษัทลูกของคิงส์เกตก็สามารถยื่นขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำและยื่นขออาชญาบัตรสำรวจแร่ทองคำได้” นายวิษณุกล่าว
..............................................................
บีซีไทย - BBC Thai
ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯ ทอดพระเนตรสารคดีเฉลิมพระเกียรติฯ ขณะทรงศึกษาที่ออสเตรเลีย
.
วันนี้ (15 ก.พ.) เวลา 19.23 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง
จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ไปทอดพระเนตรวีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย
ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย เขตปทุมวัน โดยมี
นายแอลลัน เจมส์ มักคินนัน เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การทูต และเจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูต และคู่สมรส เฝ้าฯ รับเสด็จ
.
จากนั้น เสด็จเข้าห้องประทับรับรอง ทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย
ในสมุดที่ระลึก แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องพิธี
เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย
กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติดื่มถวายพระพรแด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
.
ต่อจากนั้น เอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย ทูลเกล้าฯ
ถวายของที่ระลึก
และกราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย
พร้อมทั้งกราบบังคมทูลเชิญทอดพระเนตรวีดิทัศน์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ
และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการภาพถ่าย
“การเสด็จพระราชดำเนินเยือนเครือรัฐออสเตรเลียของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อปี 2505 และ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเครือรัฐออสเตรเลีย”
.
สำหรับวีดิทัศน์สารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะทรงศึกษาในเครือรัฐออสเตรเลีย
จัดทำโดยสถานเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำประเทศไทย
มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะทรงศึกษาระดับเตรียมทหาร ณ คิงส์สกูล เขตพารามัตตา นครซิดนีย์
และวิทยาลัยการทหารชั้นสูง ที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา
โดยนำเสนอภาพเหตุการณ์ในขณะนั้น
และบทสัมภาษณ์พระสหายร่วมชั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งในเวลาต่อมา พระสหายร่วมชั้นหลายคน
ได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกองทัพและรัฐบาลออสเตรเลีย
....................................................
จากเยอรมันมองฐานใหม่ออสเตรเลีย, เคลียร์เหมืองทอง / เกาะติดคิดทันข่าว ตอนที่1
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar