"นิตยสารบรรดาเรา" ฉบับวันที่ 8 มี.ค. 2563 จัดทำโดยสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ คือหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น "คนดีศรีสวนฯ ประจำปี 2563" ในฐานะศิษย์เก่าที่จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบรุ่นที่ 82 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย อดีตรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ และอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ในวัย 72 ปี ศิษย์เก่าดีเด่นสวนกุหลาบ-ม.เชียงใหม่ และข้าราชบริพารผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด
พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล มีอายุครบ 6 รอบ หรือ 72 ปี ในวันที่ 2 ม.ค. 2564 เขาเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารอาวุโสที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ 10 มาตั้งแต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จนทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น เลขาธิการพระราชวัง ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และยังเป็นผู้แทนพระองค์ในโอกาสต่าง ๆ
ทว่าชีวิตส่วนตัวของข้าราชบริพารรายนี้กลับไม่ปรากฏตามสื่อมากนัก ทราบเพียงว่าเขาเป็นพี่ชายของ พล.ต.ท. ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) มีพื้นเพเป็นชาวเพชรบุรี โดย พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์เป็นลูกชายคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 5 คนในครอบครัว ส่วน พล.ต.ท. ต่อศักดิ์เป็นลูกชายคนสุดท้อง
"นิตยสารบรรดาเรา" ฉบับวันที่ 8 มี.ค. 2563 จัดทำโดยสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ คือหนึ่งในผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น "คนดีศรีสวนฯ ประจำปี 2563" ในฐานะศิษย์เก่าที่จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบรุ่นที่ 82 รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ. จุมพล มั่นหมาย อดีตรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง ฝ่ายความมั่นคงและกิจกรรมพิเศษ และอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)
- ต่อศักดิ์ สุขวิมล: ผู้บัญชาการ ตร. สอบสวนกลางคนใหม่ กับคติ "ทำงานในตำแหน่งที่เราได้รับให้ดีที่สุด"
- พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย คือใคร?
- ลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี จุมพล มั่นหมาย หลังสารภาพคดีรุกป่าทับลาน
- จากฟ้าสู่เหว ย้อนชีวิต "คนทำผิด" ใกล้ชิดเบื้องสูง
- ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ : "ทหารคอแดง" ผู้จงรักภักดี ผงาดนั่งเก้าอี้ ผบ.ทบ. คนที่ 42
27 ก.พ.2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ถอด พล.ต.อ. จุมพล ออกจากยศตำรวจ หลังถูกดำเนินคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน และไม่ถึง 2 สัปดาห์ต่อมา ศาลจังหวัดนครราชสีมาตัดสินลงโทษจำคุก 6 ปีแก่นายจุมพล ในความผิดฐานบุกรุกป่า สร้างบ้านในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมา ร่วมกับ พล.ต.ต. พงษ์เดช พรหมมิจิตร อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ขณะที่นายจุมพล เป็นจำเลยที่ 2 แต่คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา พร้อมสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากพื้นที่ที่บุกรุกป่า และชดใช้ค่าเสียหายให้กับทางราชการเป็นเงิน 892,000 บาท
ศิษย์เก่าดีเด่น มช.
หลายคนไม่ทราบว่า พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการสื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในปี 2515
คณะกรรมการสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชุมมีมติคัดเลือกนักศึกษาเก่าฯ จากคณะต่าง ๆ ที่มีผลงานสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย เชิดชูยกย่องให้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์เป็น 1 ใน 19 นักศึกษาเก่าดีเด่นประจำปี 2560 โดยเขาได้รับในสาขา "บริหารราชการ" เข้ารับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณฯ จากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.อาวุธ ศรีศุกรี รักษาการแทนอธิการบดี มช. ณ หอประชุม มช. เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2561
นอกจากนี้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ศิษย์เก่าด้านสื่อสารมวลชน รหัสประจำตัว 121522 ยังได้รับการยกย่องจากคณะการสื่อสารมวลชน มอบรางวัลแก่ศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2560 "ด้านความสำเร็จ ในอาชีพ/หน้าที่การงาน" ให้แก่เขาด้วย แต่เจ้าตัวไม่ได้มารับรางวัลทั้งของมหาวิทยาลัยและของคณะ
ศิษย์การบินกำแพงแสน
แม้ไม่ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ได้เข้าอบรมหลักสูตรด้านการบินและกิจการของกองทัพอากาศอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลจากธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจี ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ เป็นศิษย์การบินรุ่น น.54-16-3 โรงเรียนการบินกำแพงแสน และเข้าอบรมที่โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง รุ่นที่ 43 ตามมาด้วยโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่น 29 และวิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 27
ย้อนเส้นทางสู่การเป็นราชองครักษ์
ชื่อของ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ปรากฏต่อสาธารณะบนระบบของเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาครั้งแรกเมื่อปี 2542 ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งพลอากาศตรี เป็นราชองครักษ์ประจำกรมราชองค์รักษ์ โดยประกาศดังกล่าวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นราชองครักษ์ประจำ กรมราชองครักษ์ พร้อมเลื่อนยศเป็น พล.อ.ท. ด้วย เพื่อให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2542 โดยมีผู้รับสนองพระราชโองการคือ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ต่อมาไม่ถึงสองปี ในวันที่ 24 เม.ย. 2544 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารให้แก่นายทหารสัญญาบัตร สังกัดกระทรวงกลาโหมจำนวน 7 นาย หนึ่งในรายชื่อนั้นคือ พล.อ.ท. สถิตย์พงษ์ ให้เลื่อนยศมาเป็น พล.อ.อ. โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2544 โดยผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการคือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ระบุเหตุผลการพระราชทานยศดังกล่าวคือ "รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นผลดีแก่ทางราชการ"
ภายในปีเดียวกันนั้น ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 ก.ย. 2544 พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ปรากฏในตำแหน่ง "ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์" ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น "รองสมุหราชองครักษ์" ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการสนองพระเดชพระคุณจำนวน 7 นาย (แบ่งเป็นตำแหน่งรองสมุหราชองครักษ์ 6 นาย และเสนาธิการกรมราชองค์รักษ์อีก 1 นาย)
ต่อมาในวันที่ 12 ม.ค. 2549 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานราชานุมัติปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและโอนข้าราชการ สังกัดกรมราชองครักษ์ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์สังกัดสำนักพระราชวัง เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายจำนวน 2 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำสำนักพระราชวังพิเศษ เทียบเท่าตำแหน่ง "รองเลขาธิการพระราชวัง" ราชการบริหารส่วนกลางและรับเงินเดือนอันดับ ท. 11 ซึ่งมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2548 เป็นต้นไป ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยมี พ.ต.ท. ทักษิณ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ราชเลขานุการในพระองค์รัชทายาท
พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ เริ่มเป็นที่สนใจของสาธารณะและสื่อมวลชนมากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2555 เมื่อมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสาระสำคัญคือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชาทานพระบรมราชานุมัติให้สำนักพระราชวังดำเนินการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ราชการบริหารส่วนกลางที่ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ครองอยู่ เป็นตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูงราชการบริหารส่วนกลาง ให้เลื่อนและแต่งตั้งให้ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นพิเศษเฉพาะราย
โดยตำแหน่งที่ได้รับใหม่คือ "ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร กำกับดูแล บังคับบัญชากองกิจการภายในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร กองงานพระวรชายาในพระองค์ และราชการในพระองค์ โดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2554
ในขณะเดียวกันระหว่างปี 2552 - 2559 พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกด้วย
ขึ้นสู่รัชกาลใหม่กับบทบาทใหม่
นับตั้งแต่ รัชกาลที่ 10 ขึ้นทรงราชย์เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2559 บทบาทที่ได้รับของ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ต่อราชสำนักไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
เริ่มต้นในวันที่ 27 ม.ค. 2560 รัชกาลที่ 10 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ เป็นผู้รักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์ โดยอาศัยตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491
ในวันที่ 6 มิ.ย. 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ทั้งหมด 10 ตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือ พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ ซึ่งได้รับตำแหน่งสำคัญที่สุดคือ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 11 เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งหมายเลข 1 และเป็นประธานข้าราชบริพารในพระองค์ โดยตำแหน่งก่อนหน้านั้นที่เขาได้รับคือ รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายบริหารนโยบายและปฏิบัติการ
หนึ่งเดือนถัดมาเมื่อ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 16 ก.ค. 2560 เพื่อเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนให้ประธานมาจากบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งได้ จากเดิมที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานโดยตำแหน่ง และการควบรวมทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยไม่มีการแบ่งแยกแล้ว
ในวันที่ 17 ก.ค. รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ชุดใหม่ ประกอบด้วยคณะกรรมการ 8 ราย มี พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ เป็นประธาน โดยหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้คือควบคุมดูแลการดำเนินการของ "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใด อันเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์
ต่อมา ในเดือน ต.ค. ปีเดียวกัน พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ พร้อมด้วยนายทหารอีก 5 นาย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า โดยเขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า
ดูแลกิจการในพระองค์แบบครบวงจร
ย่างเข้าสู่ปี 2661 ซึ่งถือเป็นปีที่ 3 ของรัชกาลที่ 10 พลอากาศเอกรายนี้กลับได้รับบทบาทและหน้าที่สำคัญ ๆ มากยิ่งขึ้น โดยในวันที่ 11 มี.ค. 2561 เขาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น "เลขาธิการพระราชวัง" และ "ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แทนนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา.ซึ่งพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว หลังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีก่อนหน้านี้
จากข้อมูลที่ปรากฏ รัชกาลที่ 10 ทรงไว้วางพระราชหฤทัย พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ให้รับผิดชอบในตำแหน่งสำคัญ ๆ อย่างน้อย 6 ตำแหน่ง ประกอบด้วย
1.ประธานข้าราชบริพารในพระองค์
2.เลขาธิการพระราชวัง
3.ราชเลขานุการในพระองค์
4.ผู้รักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์
5.ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
6.ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์
นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสหลังถูกออกหมายจับตามความผิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ได้ตั้งข้อสังเกตต่อการได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังกล่าวของ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ผ่านเฟซบุ๊ก Somsak Jeamteerasakul เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2561 ว่า "เป็นอะไรที่รัชกาลที่แล้ว ไม่เคยทำมาก่อน"
นอกเหนือจากตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังกล่าวแล้ว ในฐานะผู้รักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคมอีกรวมกว่า 10 แห่ง โดยเริ่มดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย
1.ประธานกรรมการและกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รัชกาลที่ 10 ทรงถือหุ้น 33.64%
2.กรรมการ และกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารไทยพาณิชย์ รัชกาลที่ 10 ทรงถือหุ้น 23.38%
3.ประธานกรรมการ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) รัชกาลที่ 10 ทรงถือหุ้น 96.68%
4.ประธานกรรมการ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ธุรกิจด้านการลงทุนในเครือของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
5.ประธานกรรมการ บริษัท บ้านบึงเวชกิจ จำกัด ดำเนินธุรกิจสถานพยาบาล
6.ประธานกรรมการ บริษัท ศรีพัฒน์ จำกัด ดำเนินกิจการให้เช่าและดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
7.ประธานกรรมการ บริษัท ศรีธรณี จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเช่าและการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่พักอาศัย
8.ประธานกรรมการ บริษัทสยามสินธร จำกัด ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการเช่าและการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่พักอาศัย
9.ประธานกรรมการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเชิงทดลองด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอื่น ๆ
10.ประธานกรรมการ บริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด จัดจำหน่ายและส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์ให้กับ บริษัท สยามไบโอไซแอนซ์ จำกัด
11.ประธานกรรมการ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
12.รองประธานกรรมการ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar