onsdag 24 februari 2021

ร.ม.ต. ต่างประเทศอินโดนีเชีย ไทย และ พม่า พบกันที่กรุงเทพฯวันนี้

Indonesian and Thai foreign ministers Retno Marsudi and Don Pramudwinai met their Myanamar junta counterpart Wunna Maung Lwin in Bangkok today. We know why the Thai regime is keen to legitimise the coup, but disappointing that Indonesia is doing so too. #WhatsHappeningInMyanmar
 

Bild

..................................................................................
บีบีซีไทย - BBC Thai
6 tim

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้น หลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยแสดงบทบาทมากกว่าการประกาศว่าเห็นคล้อยตาม "จุดยืนอาเซียน"


รัฐประหารเมียนมา: อินโดนีเซียเล่นบทนำอาเซียนหาทางออกวิฤต พบ รมว. ตปท. เมียนมาในไทย

ผู้ชุมนุมชาวเมียนมา
คำบรรยายภาพ,

ผู้ชุมนุมชาวเมียนมาถือป้ายประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้ง 24 ก.พ. 2564

อินโดนีเซียเล่นบทผู้นำอาเซียนเจรจาทั้งกับฝ่ายทหารและฝ่ายประชาธิปไตยหาทางออกวิกฤตการณ์ในเมียนมา ส่วนนายกฯไทย พบกับ รมว. ต่างประเทศเมียนมา ขณะบินมาพบ รมว. ต่างประเทศอินโดนีเซียในกรุงเทพฯ

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทย กล่าวเมื่อ 24 ก.พ. ว่า นายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา เดินทางเยือนไทย และได้พบกับนางเร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นชาติแกนนำในความพยายามคลี่คลายวิกฤตในเมียนมา

ความพยายามของรัฐบาลจาการ์ตา ถูกตั้งข้อสงสัยจากฝั่งนักกิจกรรมที่เรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมาว่า การข้องเกี่ยวกับคณะรัฐประหารจะเป็นการสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้น แล้วนำไปสู่การยกเลิกผลการเลือกตั้งเมื่อ พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งพรรคของนาง ออง ซาน ซู จี ชนะท่วมท้น

"เราเรียกร้องให้ทุกฝ่ายมีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ใช้ความรุนแรง... เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียและการนองเลือด" นางเร็ตโน กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงเทพฯ หลังหารือกับ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว. ต่างประเทศของไทย และย้ำว่า สวัสดิภาพของประชาชนเมียนมาเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในขณะนี้

A demonstrator holds a placard reading "A good neighbour will not support a military coup" during a protest against the Myanmar military coup, outside the Embassy of Thailand in Yangon, Myanmar, 24 February 2021.
คำบรรยายภาพ,

ผู้ประท้วงถือป้ายขอไทยไม่ให้การยอมรับรัฐบาลทหารเมียนมา ที่ด้านหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในนครย่างกุ้ง วันที่ 24 ก.พ.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพบกับ รมว. ต่างประเทศของเมียนมา เป็นเวลาสั้น ๆ โดยไม่ให้ผู้สื่อข่าวทราบ หลังพิธีต้อนรับวัคซีนโควิด-19 จากจีน

"บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ไม่เป็นทางการ เข้าใจไหม ถามทุกเรื่อง เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการอยู่แล้ว เราเป็นมิตรประเทศก็ต้องรับฟังซึ่งกันและกัน... เราก็เป็นกำลังใจ เป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่ต้องทำให้เกิดความร่วมมือ แล้วก็ส่งกำลังใจให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แค่นั้นก็พอแล้วข่าว" พล.อ.ประยุทธ์ ตอบสัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) หลังถูกถามในเรื่องนี้

FILE PHOTO: Myanmar"s Foreign Minister Wunna Maung Lwin October 2, 2015.
คำบรรยายภาพ,

การมาไทยของนายวันนะ หม่อง ลวิน ถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมานับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ.

ก่อนหน้านี้ รอยเตอร์รายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวในรัฐบาลไทยว่า นายวันนะ หม่อง ลวิน เดินทางเยือนไทยท่ามกลางความพยายามทางการทูตของชาติสมาชิกอาเซียนที่ต้องการคลี่คลายวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยนางออง ซาน ซู จี เมื่อวันที่ 1 ก.พ. โดยการมาไทยครั้งนี้ถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมานับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศ และเขาเลือกมาประเทศไทยในการมาเยือน

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า นางมาร์ซูดี ได้ล้มเลิกแผนการเยือนเมียนมาร์ในวันที่ 25 ก.พ. โดยระบุว่า "หลังจากประเมินความคืบหน้าของสถานการณ์ในเมียนมา และข้อมูลที่ได้จากบรรดาชาติสมาชิกอาเซียน จึงมีความเห็นว่าขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาเหมาะสมที่จะเดินทางเยือนเมียนมา"

ผู้ชุมนุมชาวเมียนมาถือป้ายประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้ง 24 ก.พ. 2564
คำบรรยายภาพ,

ผู้ชุมนุมชาวเมียนมาถือป้ายประท้วงที่หน้าสถานทูตไทยในย่างกุ้ง 24 ก.พ. 2564

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียระบุ อินโดนีเซียได้พูดคุยกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวิกฤตทางการเมืองของเมียนมา และไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ถึงการเดินทางเยือนในอนาคต เนื่องจากนางมาร์ซูดียังคงมีแผนการจะเข้าร่วมการประชุมพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียในเมียนมา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการประกาศว่าจะมีขึ้นเมื่อใด

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้การต้อนรับนางเร็ตโน มาร์ซูดี (Retno Marsudi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย
คำบรรยายภาพ,

นายดอน ปรมัตถ์วินัย ให้การต้อนรับนางเร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและคณะ วันที่ 24 ก.พ.

ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศไทยแถลงว่าในการพบปะกันระหว่างนายดอน และนางมาร์ซูดี ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลางและเห็นพ้องกันถึงบทบาทที่สำคัญของอาเซียนในการส่งเสริมเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยและอินโดนีเซียมีความเห็นสอดคล้องกันว่าเมียนมาเป็นประเทศสมาชิกที่สำคัญของครอบครัวอาเซียนและอาเซียนสามารถเป็นเวทีการหารืออย่างสร้างสรรค์ระหว่างเมียนมากับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ โดยคำนึงถึงหลักการของกฎบัตรอาเซียนและประโยชน์ของประชาชนเมียนมา

Muslim demonstrators hold placards during a protest against the Myanmar military coup, outside the Embassy of Thailand in Yangon, Myanmar, 24 February 2021.
คำบรรยายภาพ,

ผู้ประท้วงถือป้ายขอไทยไม่สนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมา ที่ด้านหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในนครย่างกุ้ง

ไทยขยับ หลังสหรัฐฯสะกิด

ความเคลื่อนไหวของไทยมีขึ้น หลังความพยายามทางการทูตของสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้ไทยแสดงบทบาทมากกว่าการประกาศว่าเห็นคล้อยตาม "จุดยืนอาเซียน"

เมื่อค่ำวันที่ 23 ก.พ. พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมแถลงว่า พล.อ. ลอยด์ ออสติน รมว.กลาโหม สหรัฐฯ ได้หารือร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะ รมว.กลาโหม ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกล ที่ทำเนียบรัฐบาล

โดยทั้งสองฝ่ายได้ชื่นชมความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างกันที่มีมายาวนาน ในฐานะไทยเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาค พร้อมทั้งได้หารือสานต่อความร่วมมือทางทหารและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน โดย พล.อ.ออสตินขอให้ไทยใช้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ช่วยแก้ปัญหาสถานการณ์ในภูมิภาค โดยสหรัฐฯยึดมั่นในหลักกฎหมายและหลักมนุษยธรรม และพร้อมให้การสนับสนุนไทย

ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่าไทย ยึดมั่นในกฎบัตรอาเซียนและวิถีประชาธิปไตยและสนับสนุนการแก้ปัญหาในภูมิภาคตามหลักสันติวิธี โดยพร้อมที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกด้านกับสหรัฐให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และพร้อมสนับสนุนสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาในภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์ เพื่อความสงบมั่นคงและประโยชน์ของภูมิภาคร่วมกัน

ก่อนหน้านี้เมื่อ 8 ก.พ. นายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ พล.อ. ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยเน้นย้ำถึงความเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ และไทยที่มีมายาวนานบนพื้นฐานในการสร้างความสงบสุขและเสถียรภาพในภูมิภาค พร้อมแสดงความห่วงใยสถานการณ์ในเมียนมา แต่ พล.อ. ณัฐพล กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ไม่มีการหารือเรื่องเมียนมา

A demonstrator holds a placard during a rally against the military coup in front of Indonesian embassy in Yangon, Myanmar, February 24, 2021
คำบรรยายภาพ,

ผู้ประท้วงถือป้ายขออินโดนีเซียไม่สนับสนุนผู้นำเผด็จการในเมียนมา ที่ด้านหน้าสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในนครย่างกุ้ง วันที่ 24 ก.พ.

โลกตะวันตกเพิ่มความกดดัน

23 ก.พ. กลุ่มรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ จี7 ได้ออกแถลงการณ์ประณามการข่มคู่คุกคามและกดขี่ประชาชนที่ออกมาประท้วงต่อต้านการทำรัฐประหาร โดยระบุว่า "ใครก็ตามที่ใช้ความรุนแรงตอบโต้การประท้วงอย่างสันติจะต้องได้รับการลงโทษ"

ในสัปดาห์นี้บรรดาชาติตะวันตกต่างเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลทหารเมียนมา โดยสหภาพยุโรป (อียู) เตือนว่าจะพิจารณาคว่ำบาตรธุรกิจต่าง ๆ ที่กองทัพเมียนมาเป็นเจ้าของ ขณะที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรสมาชิกรัฐบาลทหารเมียนมาเพิ่มอีก 2 คน พร้อมเตือนจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอีก

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ต้องออกมาเรียกร้องอีกครั้ง เมื่อ 23 ก.พ. ให้กองทัพเมียนมายุติการปราบปรามประชาชน ปล่อยนักโทษการเมือง และหยุดการใช้ความรุนแรงในทันที รวมทั้งเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและเจตจำนงของประชาชนที่ได้แสดงออกในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา

"ไม่มีที่ให้รัฐประหารในโลกสมัยใหม่" เลขาฯ ยูเอ็นระบุในข้อความที่โพสต์ทางทวิตเตอร์

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

ขณะที่บรรยากาศในวันที่ 24 ก.พ. ชาวเมียนมายังคงออกมาประท้วงการทำรัฐประหารอย่างต่อเนื่องในเมืองใหญ่ของประเทศ ทั้งนครย่างกุ้ง และเมืองเมืองมัณฑะเลย์ หลังจากเมื่อวานนี้มีประชาชนหลายหมื่นคนออกมาประท้วง รวมถึงห้างร้านทั่วประเทศก็ต่างพากันหยุดกิจการ เพื่อร่วมต่อต้านในครั้งนี้เช่นกัน

Demonstrators gather during a protest against the military coup, at Hledan Junction in Yangon, Myanmar, 24 February 2021
คำบรรยายภาพ,

ชาวเมียนมายังออกมาชุมนุมประท้วงการยึดอำนาจของทหารอย่างต่อเนื่องในนครย่างกุ้ง

"ได้รับฟังโดยตรง" จากเมียนมา

ช่วงค่ำของ 24 ก.พ. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่าการหารือระหว่างนายดอนกับ รมว. ต่างประเทศของอินโดนีเซียนั้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal ASEAN Foreign Ministers' Meeting) ในเดือนสิงหาคม

ส่วนการเดินทางเยือนไทยของ รมว. ต่างประเทศ เมียนมา นั้น เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการทางการทูต ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีพรมแดนทางบกร่วมกันกว่า 2,400 กิโลเมตร และเป็นโอกาสดี ที่ฝ่ายไทยจะได้รับฟังโดยตรงจากฝ่ายเมียนมาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เมียนมาให้ความสำคัญ และแลกเปลี่ยนความเห็นกันระหว่างเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับประเด็นที่มีความสำคัญสำหรับประชาชนของทั้งสองฝั่งชายแดน อาทิ ความร่วมมือสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความร่วมมือด้านแรงงาน

"ไทยได้ใช้โอกาสนี้ยืนยันการสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพในเมียนมา และความหวังที่จะเห็นสถานการณ์ในเมียนมาได้รับการคลี่คลายโดยสันติเพื่อประโยชน์ของประชาชนเมียนมา ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของอาเซียนและเป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศปรารถนา" นายธานีกล่าว

ส่วนการพบกัน3 ฝ่าย ของ รมว. ต่างประเทศ ไทย อินโดนีเซีย และ เมียนมา นั้น เกิดขึ้นเนื่องจาก การที่ รมว. ต่างประเทศ เมียนมา มาเยือนไทย วันเดียวกับที่ รมว. ต่างประเทศ อินโดนีเซีย มาเยือน ทางไทยจึงได้ประสานจัดให้ทั้งสองได้พบกัน เป็นการพูดคุยในฐานะมิตรประเทศสมาชิกอาเซียน

"โดยที่ฝ่ายเมียนมามาเยือน ซึ่งเมียนมาเป็นเพื่อนบ้านและหนึ่งในสมาชิกครอบครัวอาเซียน และนายกรัฐมนตรีไทยก็มีความห่วงใยในสถานการณ์ จึงได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาเยี่ยมคารวะ" นายธานีกล่าว

รูปภาพ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar