onsdag 17 mars 2021

อธิบดีราชทัณฑ์นำทีมแถลงซ้ำ กรณีตรวจโควิด 4 แกนนำ "ราษฎร" กลางดึก

หลายฝ่ายในสังคมยังคงตั้งข้อสงสัย ถึงความโปร่งใสของกรมราชทัณฑ์ โดยเฉพาะการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในยามวิกาล

ม.112: กรมราชทัณฑ์แจงข้อสงสัย กรณีจดหมาย อานนท์ เกิดอะไรขึ้นในคืนวันที่ 15 มี.ค.

กรมราชทัณฑ์เผยลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรือนจำของคืนวันที่ 15-16 มี.ค.ที่ผ่านมา หลังเฟซบุ๊กของ นายอานนท์ นำภา เผยแพร่ข้อความอ้างว่าพบความผิดปกติของเจ้าหน้าที่เรือนจำที่พยายามแยกแกนนำกลุ่มราษฎรออกจากกลุ่มผู้ต้องขังคนอื่นในยามวิกาล จนเกรงว่าจะได้รับอันตรายแก่ชีวิต

ขณะเดียวกันวันนี้ (17 มี.ค.) ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษกได้ดำเนินการไต่สวน กรณีที่นายอานนท์ เขียนคำร้องคุ้มครองความปลอดภัย หวั่นเกิดอันตรายในเรือนจำจากเหตุที่มีเจ้าหน้าที่เข้าตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในยามวิกาล โดยมีตัวแทนของกรมราชทัณฑ์ร่วมการไต่สวนด้วย แต่ยังไม่แล้วเสร็จจะมีการนัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 22 มี.ค.

ด้านมารดาของ 4 แกนนำคณะราษฏร ประกอบด้วย แม่ของนายอานนท์ แม่ของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ แม่ของนายจตุภักร์ บุญภัทรรักษา และแม่ของน.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ร่วมกับตัวแทนสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ยื่นหนังสือร้องเรียนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

กรมราชทัณฑ์

สำหรับประเด็นสำคัญของการชี้แจงของกรมราชทัณฑ์ในวันนี้ ประกอบด้วยการอธิบายถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งอธิบายถึงประเด็นที่สังคมกำลังสงสัย

ลำดับเหตุการณ์เป็นอย่างไร จากฝั่งกรมราชทัณฑ์

วันที่ 15 มี.ค.

  • 18.40 น. เรือนจําพิเศษกรุงเทพมหานครได้นําตัว นายภาณุพงศ์ จาดนอก นายจตุภัทร บุญภัทรรักษา และนายปิยรัฐ จงเทพ มาคุมขังรวมกับนายอานนท์ นำภา และผู้ต้องขังอื่น ๆ รวม 16 คน เนื่องจากต้องเก็บสารคัดหลั่งเพื่อนําไปตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) เป็นขั้นตอนปกติของเรือนจํา ตามมาตรการการคัดกรองของกระทรวงสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวไรโคโรนํา 2019
  • 22.00 น. บุคลากรทางการแพทย์จากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เวรนอกเวลาราชการ และได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เป็นศูนย์การตรวจโควิดที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยตลอด 24 ชั่วโมง ได้เข้ํามาทําการเก็บสารคัดหลั่ง บุคลากรดังกล่าวได้เตรียมอุปกรณ์ป้องกัน (ชุด PPE) และชุดตรวจหาเชื้อทางโพรงจมูกจนแล้วเสร็จ จึงได้เข้าตรวจเวลา 23.00 น. ปรากฏว่ามีผู้ต้องขัง รวม 7 ราย ได้แก่ นายอานนท์ นายภาณุพงศ์นายจตุภัทร นายปิยรัฐ นายพริษฐ์ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ นายปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานเรือนจำเก็บสารคัดหลั่ง สําหรับ ผู้ต้องขังที่เหลือ จํานวน 9 ราย ให้ความร่วมมือในการเก็บสํารคัดหลั่งเป็นอย่างดี เจ้าพนักงานเรือนจาได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลําดับ

วันที่ 16 มี.ค.

  • 01.00 น. เจ้าพนักงานเรือนจําได้เข้าไป เก็บสารคัดหลั่งอีกครั้ง แต่ผู้ต้องขังทั้ง 7 ราย ยังไม่ยอมให้ความร่วมมือ ผู้บังคับบัญชาจึง สั่งการให้แยกกํารคุมขังผู้ต้องขัง จํานวน 9 รําย ที่ให้ควํามร่วมมือในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเรือนจําไป ควบคุมไว้ในห้องขังอื่นเพื่อแยกการติดตามผลการตรวจและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด- 19 จาก กลุ่มที่ปฏิเสธกํารตรวจคัดกรอง

เมื่อ "เพนกวิน" ประท้วงอดอาหาร ราชทัณฑ์ทำอย่างไร

นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า การที่นายพริษฐ์ หรือ "เพนกวิน" ที่ต้องการประท้วงในเรือนจำด้วยการอดอาหาร โดยประสงค์จะดื่มน้ำหวานและเกลือแร่เท่านั้น เบื้องต้นพนักงานเรือนจำจัดผงเกลือแร่จำนวน 6 ซอง และนมเพิ่มให้กับผู้ต้องขัง

นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์
คำบรรยายภาพ,

นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในห้องขังเพื่อสังเกตอาการผู้ต้องขังเพื่อป้องกันเหตุเจ็บป่วยหรือการทำร้ายตัวเอง และยังได้เตรียมพร้อมทีมแพทย์และนักจิตวิทยาไว้ตรวจอาการเป็นประจำทุกวัน

เตรียมสืบสวนความเชื่อมโยงการโพสต์เฟซบุ๊กของผู้ต้องขัง

สำหรับประเด็นการสื่อสารระหว่างบุคคลต้องขังและสื่อสังคมออนไลน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า ขณะนี้ทางฝ่ายกฎหมายได้แจ้งความแล้ว 2 ครั้ง เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊กในชื่อ "อานนท์ นำภา" ที่มีการนำข้อความผู้ต้องขังออกไปเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ตรวจสอบทุกครั้งเมื่อผู้ต้องขังเข้าออกเรือนจำ

ส่วนกรณีล่าสุดที่เฟซบุ๊คแฟนเพจในชื่อ "อานนท์ นำภา" โพสต์ข้อความอธิบายถึงเหตุที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมาภายในเรือนจำ ด้านเจ้าพนักงานเรือนจำก็ได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสืบสวนที่มาที่ไปความเชื่อมโยงในกรณีดังกล่าวแล้ว

เหตุใดจึงต้องเข้าตรวจในช่วงหลัง 23.00 น.

นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายปฏิบัติการและผู้รับผิดชอบการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ชี้แจงว่า การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและมีผลสำเร็จอย่างชัดเจน โดยไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างบุคคลในเรือนจำเลย มีแต่เพียงกลุ่มที่ติดเชื้อมาจากภายนอก ซึ่งหากตรวจพบก็ได้นำแยกออกไปรักษายังโรงพยาบาลภายนอกจนหายดีและค่อยนำกลับมาในเรือนจำ

นายวีระกิตติ์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ต้องขังรายหนึ่งก็ได้พูดกับเจ้าหน้าที่ว่า "พรุ่งนี้มีเรื่องแน่"
คำบรรยายภาพ,

นายวีระกิตติ์ กล่าวว่า กลุ่มผู้ต้องขังรายหนึ่งก็ได้พูดกับเจ้าหน้าที่ว่า "พรุ่งนี้มีเรื่องแน่"

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนดังกล่าว เป็นเหตุการณ์หลังจากศาลมีคำสั่งให้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำธนบุรีมายังเรือนจำกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเดินทางมาถึงในเวลา 18.40 น. หลังจากนั้นก็ได้เข้าสู่กระบวนการจำแนกผู้ต้องขังรายใหม่ ซึ่งทุกรายจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนนี้ในแดนกักกัน หรือในแดนสอง ซึ่งจะมีพื้นแต่ละห้องตามวันที่เข้ามา และผู้ต้องขังสามรายมาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนัก จึงได้มีการประสานแจ้งผู้คุมเจรจากับผู้ต้องขัง ข้อร้องให้ย้ายไปยังห้องในแดนเดียวกัน

"การขอร้องปรากฏไม่เป็นผล ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุส่วนตัว ทางกรมราชทัณฑ์ก็พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งของกลุ่มบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันดีในสังคม จึงใช้ความละมุนละม่อม ในเมื่อไม่ยอมแยกออกจากห้องทั้งหมดที่มีซึ่งมีประชาชนทั่วไปร่วมอยู่ด้วย 9 คน และกลุ่มที่รับทราบชื่อเสียงกันดีอีก 7 คน จึงจำเป็นต้องเชิญแพทย์จากโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาทำงานในเวลานอกราชการ" นายวีระกิตติ์ กล่าว

รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์รายนี้ยืนยันว่า การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ดำเนินการนอกเวลาราชการ มีการตรวจอยู่บ่อยครั้ง

อ้างผู้ต้องขังขู่ "พรุ่งนี้มีเรื่องแน่"

หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์จึงได้หารือกันว่า เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้นเหมือนการจลาจลในเรือนจำในต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องแยกกลุ่มคนที่ยอมตรวจหาเชื้อแล้วออกไปจากห้องรวม 16 คน ซึ่งดำเนินการหลังเจรจาครั้งที่สองแล้วแต่ไม่เป็นผล เพราะผู้ต้องขัง 7 รายดังกล่าวปฏิเสธจะออกไป จึงทำให้ต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่เรือนจำเองและเจ้าหน้าที่เสริมเข้ามาดูแลผู้ต้องขังรายอื่นที่ยินยอม 9 ราย ออกจากห้องดังกล่าวไปแทน

เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ นายวีระกิตติ์ ยังได้กล่าวถึง เหตุการณ์ระหว่างการต่อรองกับผู้ต้องขัง 7 รายอีกว่า ในตอนเจรจาขอย้ายห้องนั้น พวกเขาเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าทำร้าย โดยกลุ่มผู้ต้องขังรายหนึ่งก็ได้พูดกับเจ้าหน้าที่ว่า "พรุ่งนี้มีเรื่องแน่"

อย่างไรก็ตาม แนวทางต่อไปคือ การกักตัวพวกเขาทั้ง 7 คนต่อไปอีก 14 วัน

ข้อกังขาความโปร่งใสต่อกรมราชทัณฑ์

ตามที่กระทรวงยุติธรรมประกาศว่าจะเตรียมจัดตั้งคณะกรรมการประมวลข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์ที่ประชาชนสนใจ เพื่อประมวลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกรมราชทัณฑ์นั้น กลุ่มแม่ของผู้ต้องขัง 4 คน (นายพริษฐ นายจตุภัทร์ นายภาณุพงศ์ น.ส.ปนัสยา และนายอานนท์ ได้ตั้งเรียกร้องให้มีบุคคลภายนอกและนักกฎหมาย ในคณะกรรมการชุดดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยและความโปร่งใสในการทำงาน

เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ผ่านมา ตัวแทนสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและบรรดาแม่ผู้ต้องขังดังกล่าว ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่อประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

ส่วนประเด็นการเรียกร้องให้เปิดเผยภาพที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิดภายในเรือนจำนั้น อธิบดีกรมราชทัณฑ์ชี้แจงในการแถลงข่าววันนี้ว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะภายในเรือนจำถือเป็นเขตของความมั่นคง อย่างไรก็ตาม สามารถสำแดงให้ศาลยุติธรรมหากมีการร้องขอเพื่อเป็นหลักฐานได้

ด้านนายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ อดีตนักการเมืองและอดีตผู้ต้องขังภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาก่อนและเคยอธิบายชีวิตในเรือนจำผ่านหนังสือ "เหลี่ยมคุก" โพสต์ข้อความตั้งข้อสังเกตผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องจดหมายจากนายอานนท์ว่า เขามีโอกาสเขียนข้อความเพื่อส่งให้ทนายได้อย่างไร

นายชูวิทย์ตั้งข้อสังเกตว่าการนำแกนนำกลุ่มราษฎร ซึ่งมีสถานะผู้ต้องขังไปรวมกับกลุ่มนักโทษที่คดีสิ้นสุดแล้ว ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องตามหลัก ทั้งกฎหมาย และสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
คำบรรยายภาพ,

นายชูวิทย์ตั้งข้อสังเกตว่าการนำแกนนำกลุ่มราษฎร ซึ่งมีสถานะผู้ต้องขังไปรวมกับกลุ่มนักโทษที่คดีสิ้นสุดแล้ว ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องตามหลัก ทั้งกฎหมาย และสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้เขายังตั้งคำถามถึงการนำแกนนำกลุ่มราษฎร ซึ่งมีสถานะผู้ต้องขังไปรวมกับกลุ่มนักโทษที่คดีสิ้นสุดแล้ว ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องตามหลัก ทั้งกฎหมาย และสิทธิตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการที่ต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในยามวิกาลเป็นเรื่องผิดวิสัย เพราะปกติเรือนจำจะปิดขังตั้งแต่15.00 น. จนถึง เวลา 6.00 น. ของอีกวัน

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar