ออง
ซาน ซู จี ได้รับการปล่อยตัวในปี 2010 แทนที่จะสู้รบตบมือกับผู้นำทางทหาร
เธอเลือกที่จะเจรจาและทำงานร่วมกับพวกเขาเพื่อให้เกิดการปฏิรูป
ขณะนี้เธอถูกจับกุมตัวอีกครั้งหนึ่ง
กองทัพเมียนมากลับมาควบคุมประเทศอีกครั้ง และผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของเมียนมาก็ถูกควบคุมตัวอีกครั้งหนึ่ง เราลองมาดูความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของนางออง ซาน ซู จี กับกองทัพในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
ออง ซาน ซู จี ถูกจับตัวอีกครั้งหนึ่ง ผู้นำของเมียนมาได้รับอิสรภาพมานานกว่า 10 ปี นับตั้งแต่ได้รับการปล่อยตัวในปี 2010 จากการถูกควบคุมตัวไว้ในบ้านพัก แต่รัฐประหารของกองทัพเมื่อ 1 ก.พ. ทำให้เธอต้องถูกควบคุมตัวอีกครั้ง พร้อมกับสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) อีกหลายคน
หลังจาก ออง ซาน ซู จี ได้รับการปล่อยตัวในปี 2010 เธอได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ แทนที่จะสู้รบตบมือกับผู้นำทางทหาร เธอเลือกที่จะเจรจาและทำงานร่วมกับพวกเขาเพื่อให้เกิดการปฏิรูป
รัฐธรรมนูญห้ามเธอไม่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เธอก็ถูกมองว่าเป็นผู้นำในทางพฤตินัยของเมียนมา
ในการเลือกตั้งปี 2015 พรรคของเธอ ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย แต่รัฐบาลของเธอก็ถูกจำกัดอำนาจ กองทัพยังคงควบคุมด้านกลาโหมความมั่นคง และการโยกย้ายถิ่นฐาน
ความสัมพันธ์ของเธอกับกองทัพมีความซับซ้อน ในช่วงเกิดวิกฤตโรฮิงญา เธอสนับสนุนเหล่านายพลของเมียนมา ชาวมุสลิมหลายแสนคนหนีออกนอกประเทศในปี 2017 หลังจากมีการปราบปรามอย่างรุนแรงของกองทัพเมียนมา
ออง ซาน ซู จี ปฏิเสธที่จะประณามความโหดร้ายเหล่านั้น ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเรียกว่า "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์"
ในต่างประเทศ เธอเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ในประเทศ เธอยังคงได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในหมู่ชาวพุทธซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของเมียนมา ในการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ย. พรรคของเธอได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายอีกครั้งหนึ่ง แต่การหาจุดร่วมกับกองทัพ มีปัญหาอย่างมาก
เหล่านายพลจึงกลับมาควบคุมประเทศอย่างเต็มที่อีกครั้ง
พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย คือผู้นำคนใหม่ของเมียนมา เขาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพเมียนมา ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางทหาร ตั้งแต่รับตำแหน่งนี้ในปี 2011 ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่เมียนมาเดินหน้าสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย เขาต่อต้านความพยายามต่าง ๆ ที่จะจำกัดอำนาจของกองทัพ
ด้วยวัย 64 ปี ก่อนหน้านี้คาดว่า เขาจะเกษียณอายุในเดือน ก.ค.นี้ แต่ดูเหมือนว่า เขาจะยังคงทำหน้าที่ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ปี หรือนานกว่านั้น ขณะที่เมียนมามุ่งหน้าสู่หนทางที่ไม่ทราบว่าจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar