måndag 24 november 2014

ข่าว “ อ.วรเจตน์” ขึ้นศาลทหารฯ ทรัพยากรมนุษย์ผู้ทรงคุณค่า ที่ถูกพวกเผด็จการทรราชข่มเหงรังแก..เป็นกำลังใจยืนอยู่เคียงข้างอาจารย์เสมอ ขอให้อดทนอีกไม่นานความถูกต้องยุติธรรมต้องบังเกิดในประเทศไทยอย่างแน่นอน

“วรเจตน์” ขึ้นศาลทหารฯ นัดตรวจพยานสู้คดีขัดคำสั่งคสช. ทำคำร้องส่งศาลรธน.พิจารณา




 เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 24 พ.ย. ที่ศาลทหารกรุงเทพ กรมพระธรรมนูญ ถ.หลักเมือง คณะตุลาการศาลทหารกรุงเทพนัดตรวจพยานหลักฐานคดีหมายเลขดำ 32 ก./2557 ที่อัยการทหารเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ เป็นจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัวตามประกาศคสช.ฉบับที่ 5/2557 ลงวันที่ 24 พ.ค.2557 และฉบับที่ 57/2557 ลงวันที่ 9 มิ.ย.2557 ซึ่งความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยอัยการทหารยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา

 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการนัดตรวจพยานหลักฐานครั้งนี้ คณะตุลาการศาลฯ อนุญาตให้ตัวแทนสื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่สถานทูตฝรั่งเศสและเยอรมัน เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีดังกล่าวด้วย แต่ไม่อนุญาตให้นำอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องบันทึกเทป หรือสมุดจดเข้าไปในห้องพิจารณาคดีเด็ดขาด

 เวลา 11.00 น. นายวรเจตน์ ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการนัดตรวจพยานหลักฐานฝ่ายโจทย์ ส่วนทางตนและทนายความได้ยื่นคำร้องในประเด็นที่ว่า ประกาศของคสช.ฉบับที่ 37/2557 และ 38/2557 ที่ให้คดีอยู่ในอำนาจของศาลทหารกรุงเทพนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เนื่องจากไทยเป็นภาคีประเทศสมาชิกของกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์) ซึ่งในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้พันธะกรณีที่ไทยมีอยู่นั้นต้องผูกพันด้วย ทั้งนี้ในไอซีซีพีอาร์ระบุว่าศาลต้องเป็นอิสระ และในคดีอาญาทางจำเลยต้องมีโอกาสอุทธรณ์คำตัดสิน ในกรณีของตนนั้นมีปัญหาเรื่องความเป็นอิสระของศาล เพราะศาลทหารกรุงเทพเป็นองค์กรอยู่ในกระทรวงกลาโหม อาจไม่สอดคล้องกับไอซีซีพีอาร์ อีกทั้งคดีดังกล่าวเป็นการขึ้นศาลทหารฯ ช่วงที่ประกาศกฎอัยการศึก เมื่อศาลทหารฯ ตัดสินคดีก็จะจบทันที ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาได้

 นายวรเจตน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญฯ บัญญัติให้ประกาศหรือคำสั่งของคสช. ชอบตามรัฐธรรมนูญฯ และเป็นที่สุด ทำให้สงสัยว่าจะสามารถโต้แย้งได้อย่างไร แต่มีประเด็นว่าในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญฯ นั้นบัญญัติให้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล จะต้องพิจารณาพิพากษาด้วยความยุติธรรมตามกฎหมาย ดังนั้น การตีความของรัฐธรรมนูญจะต้องมีเรื่องความยุติธรรมด้วยการตัดสินคดีโดยศาลชั้นเดียวไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม ดังนั้นประกาศของคสช. จึงถูกรับรองตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 47 ซึ่งคาดว่าจะขัดกับมาตรา 4 และมาตรา 26 ตนจึงทำคำร้องขอให้ศาลทหารส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ประกอบพ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ซึ่งศาลทหารได้รับคำร้องนี้ไว้ และจะมีคำสั่งในวันที่ 26 ม.ค.2558 พร้อมกับนัดตรวจพยานโจทย์

 “วันนี้เราพูดถึงเรื่องประกาศของคสช. และอำนาจของศาลทหาร ที่ต้องดูว่าศาลทหารจะพิจารณาอย่างไรต่อไปเพราะยังไม่ทราบต้องรอวันที่ 26 ม.ค.2558 ว่าจะเดินสถานะใดต่อไป ประกาศคสช.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว และเขียนข้อความทำให้เห็นได้ว่ามีการขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นต้องมีองค์กรชี้ก่อนว่า ประกาศคสช.ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่” นายวรเจตน์ กล่าว

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar