onsdag 19 november 2014

ก่อนนั้นบอกว่าพวกเดียวกัน..ช่วยกันปล้นทำลายอำนาจรัฐจากประชาชน .".วันนี้กลับเป็นอื่น .".. ประชาชนโปรดรอชมเรื่องราวจะจบลงอย่างไร?เมื่อ "เอาพวกไม่เอาภาพ" หรือ "เอาภาพไม่เอาพวก"


คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12
matichon  Oline

ฐากูร บุนปาน : สนิมเหล็ก

นี่ยังไม่นับว่ายังมีมวลชนอีกครึ่งประเทศที่นั่งอยู่เฉยๆ อยู่อย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว หรือถูกปืนจี้เอาไว้ให้พับเพียบเรียบร้อย

ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วก็ถูกแรงกดดันจากฝ่ายทหารไม่น้อยไปกว่าฝ่ายพันธมิตรทหาร
...

มีคนรวบรวมสถิติเอาไว้ว่า แค่ครึ่งเดือนแรกของพฤศจิกายน กองทัพต้อง "ขอความร่วมมือ" ให้ชาวบ้าน-นักวิชาการงด-ระงับการจัดงานที่ฝ่ายทหารเห็นว่า "ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์" ไปแล้วถึง 8 งานhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1416379261


ถึงวันนี้ คสช.คงเข้าใจเสียยิ่งกว่าเข้าใจแล้วว่า แรงเสียดทานที่จะส่งผลต่อการทำงานของ คสช.นั้น มากจาก "ภายใน" หรือฝ่ายที่เคย "เป็นพวกเดียวกัน" เป็นหลัก
ประวัติศาสตร์นอกห้องเรียนสอนเอาไว้ว่า การเมืองหลังการยึดอำนาจนั้นจะเป็นของสงครามหรือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ในซีกของผู้ชนะแทบทั้งสิ้น
ไม่เชื่อก็ลองไล่ดู

สนช.ตั้งมาเองกับมือแท้ๆ ประกาศชัดเจนว่า "เอาพวกไม่เอาภาพ" แท้ๆ ก็ยังต้องออกกฎเหล็กควบคุมแม้กระทั่งเรื่องเวลาการประชุม ยังไม่นับเนื้อหาหรือว่าแนวทางที่เริ่มแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น

สปช.ยิ่งไม่ต้องพูด เมื่อ "เอาภาพไม่เอาพวก" ก็ได้ภาพเต็มที่ ขนาดกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญยัง "ชี้ตัว" กันไม่ได้ ยังไม่รู้ว่าข้างหน้าจะมีอะไรพิสดารกว่านี้
องค์กรอิสระ ที่เคยเป็นแนวร่วมของกองทัพ วันนี้ต่างคนต่างก็ "มีองค์" กันขึ้นมาทั้งนั้น สั่งหันขวาก็หันซ้ายให้ดู-จะทำไม จะทำอะไรได้?
มวลชนสุดโต่ง นี่ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ พอไม่ทำตามใจก็จิกหัวด่ากันแล้ว

ล่าสุด ก็กรณี สื่อนกหวีด เคยร่วมขบวนเป่าปรี๊ดๆ เรียกหากันอยู่เมื่อไม่กี่วันนี้ ก็เริ่มฮึ่มฮั่มงึ่มงั่ม นัยว่าไม่สบอารมณ์เพราะเริ่มโดนผลกระทบเข้ากับตัวเองบ้างแล้ว

ฯลฯ

และเรื่องจุกจิก หงุดหงิด ความไม่พอใจทั้งหมดนี้ มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นมากขึ้นมากกว่ากลับไปจูบปากจ๊วบจ๊าบกันใหม่

และบรรดาความจุกจิก หงุดหงิดทั้งหลายนี้ เมื่อไปประสบกับเรื่องอื่นๆเข้า จะยิ่งทำให้การทำงานของ คสช. เป็นไปได้ยากขึ้น หรืออย่าง้อยก็ได้รับการสนับสนุนน้อยลง

นี่ยังไม่นับว่ายังมีมวลชนอีกครึ่งประเทศที่นั่งอยู่เฉยๆ อยู่อย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว หรือถูกปืนจี้เอาไว้ให้พับเพียบเรียบร้อย

ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วก็ถูกแรงกดดันจากฝ่ายทหารไม่น้อยไปกว่าฝ่ายพันธมิตรทหาร

มีคนรวบรวมสถิติเอาไว้ว่า แค่ครึ่งเดือนแรกของพฤศจิกายน กองทัพต้อง "ขอคามร่วมมือ" ให้ชาวบ้าน-นักวิชาการงด-ระงับการจัดงานที่ฝ่ายทหารเห็นว่า "ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์" ไปแล้วถึง 8 งาน

นี่ขนาดรัฐธรรมนูญยังไม่เข้าไคล

ถ้า คสช. ประเมินเอาไว้ตั้งแต่ต้น ทำใจมาตั้งแต่ก่อนที่จะรัฐประหาร

วันนี้ก็ต้องท่องคาถาบทเดิมเอาไว้

ถ้ายัง ก็ควรจะเริ่ม "ภาวนา" ตั้งสติเอาไว้ได้
เพราะอย่างไรเสียก็หนีไม่พ้น

ป.ล.ในฐานะร่วมวิชาชีพเดียวกัน ถ้าไม่พูดถึงองค์กรวิชาชีพที่เริ่มจะกลับมาเป็นคนธรรมดา หลังจากมีสภาพเป็นคนความรู้สึกช้าหรือเป็นง่อยอยู่เสียครึ่งปีก็จะกะไร
ไหนๆ จะกลับมาปกติแล้ว ขอโมทนาให้ปกติจริง
อย่าส่งเสียงดังเฉพาะกรณีเพื่อนหรือพวกของตัวเอง

จำไม่ได้หรือว่าพวกที่แท้จริงของสื่อน่ะคือชาวบ้าน


หรือวันนี้ไม่ใช่แล้ว?

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar