lördag 22 november 2014

รัฐประหารแบบไทยๆ.. ปิดประเทศ ใช้อำนาจ.." ไล่ล่า ข่มขู่ จับกุม คุมขัง " คนที่ต่อต้าน.. " ระวังคุกแตก" เหมือนการปฎิวัติของประชาชนฝรั่งเศสในอดีตเมื่อสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่ทำให้สถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสล่มสลาย..เหลือไว้แค่เรื่องราวบันทึกในประวัติศาสตร์ให้โลกได้ศึกษาเรียนรู้เท่านั้น....

ใบตองแห้ง : ลมหายใจเสรี 
 




ที่มา ข่าวสดออนไลน์

 
เมืองไทยเมืองพุทธ ถึงรัฐประหารก็ยังมีผู้นำเป็นทหารประชาธิปไตย ไม่ใช่โลกยุคมืดภายใต้เผด็จการแคปปิตอล ที่ใครชู 3 นิ้วเป็นต้องตาย ฉะนั้นนักศึกษาขอนแก่นที่ชู 3 นิ้วให้ท่านผู้นำ จึงโดนแค่หิ้วตัวเข้าค่ายทหาร จับถอดเสื้อ ให้ยืนชิดกำแพง ให้รับผิด เอาพ่อแม่มาเกลี้ยกล่อมให้เซ็นยินยอมหยุดเคลื่อนไหวไม่งั้นจะตัดชื่อจาก มหาวิทยาลัย ฯลฯ เพียงแต่ท้ายที่สุด เมื่อไม่ยอมเซ็นจริงๆ ก็ปล่อยตัวโดยไม่ตั้งข้อหา ถือเสียว่าเล่นกระตั้วแทงเสือ

คุยได้นะครับว่ารัฐประหารแบบไทยๆ ไม่เหมือนใคร ชี้แจงชาวโลกได้ จีน เขมร พม่า ปาปัวนิวกินี ฯลฯ เข้าใจ ส่วนที่ห้ามฉายรอบพิเศษ The Hunger Games ก็ไม่เป็นไร ฮอลลีวู้ดชอบ มีคนช่วยโปรโมตให้ฟรีๆ

แต่เราจะอยู่กันแบบนี้อีกเป็นปีหรือ จะไหวไหม เพราะความเคลื่อนไหวเริ่มถี่ยิบ ไม่ใช่แค่นักศึกษาขอนแก่น ธรรมศาสตร์ ที่อาจแค่หยิบมือ ก่อนนี้ก็มีเครือข่ายปฏิรูปที่ดินที่เชียงใหม่ มีนิสิตเกษตรฯ เคลื่อนไหวคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ มีกรณีพิธีกรไทยพีบีเอส มีกรณีปิดเฟซบุ๊กเครือข่ายปากมูล มีคำแถลงเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกจาก NGO ทุกภาค ล่าสุด ก็มีภาคประชาสังคมเข้าชื่ออีก 102 คน

รัฐบาลจะทำอย่างไร เพราะทหารยุคนี้ใช่จะกล้าจับคนยัดคุกง่ายๆ ถ้าไม่ใช้ ม.112 แถมนักศึกษาขอนแก่นยังชนะเกม "วัดใจ" ไม่เซ็นข้อตกลงหยุดเคลื่อนไหว ท้าให้ตั้งข้อหา ทหารที่ทำท่าขึงขังก็กลายร่างเป็นนางสาวละม่อม ยอมปล่อยตัวไป

รัฐบาลอยู่บน "เขาควาย" เพราะต้องปิดกั้นการเคลื่อนไหว แต่จะใช้ความรุนแรงก็ไม่ได้ กลัวคนยิ่งไม่พอใจ กระนั้นจะปิดกั้นความเห็นตลอดได้อย่างไร ในเมื่อท่านเปิดให้ปฏิรูปและยกร่างรัฐธรรมนูญ จะปิดประตูปฏิรูปมุบมิบกันข้างเดียวหรือ กระทั่ง สปช.บางคนก็ยังเสนอยกเลิกกฎอัยการศึก

ถ้าแยกแยะความเคลื่อน ไหวในช่วงที่ผ่านมา อาจแยกได้ว่ามี 3 กลุ่มคือ กลุ่มไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ซึ่งหลัง ถูกกำราบช่วงยึดอำนาจใหม่ๆ ส่วนใหญ่ก็เคลื่อนไหวบน เฟซบุ๊ก มีกิจกรรมนักศึกษาแค่หยิบมือ เช่นจัดอภิปรายเสวนาซึ่งก็ไม่เป็นข่าวใหญ่จนทหารเข้าไปห้าม กลุ่มนี้ไม่ต้องห่วง เพราะ"ของจริง"ยัง wait ยังไม่ออกมา ฮิฮิ

กลุ่มที่สองคือขาประจำพันธมิตรนกหวีด ซึ่งอ้างว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารเช่นกัน เนื่องจาก คสช.ไม่ได้ดังใจ ทั้งไม่ไล่ล่าคนโกง ไม่กวาดล้างฝ่ายตรงข้าม และไม่ปฏิรูปตามต้องการ เช่น ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน กลุ่มนี้น่าห่วงตรงที่พวกเขาคิดว่าเป็นผู้ชนะ มีพลังฮึกเหิม หวังว่าทหารจะทำตามความต้องการแต่ผิดหวัง

กลุ่มที่สามคือ ความเดือดร้อนที่เป็นจริง จากปัญหาต่อเนื่อง พอ คสช.เข้ามาก็แก้ไขตามระบบราชการซึ่งแข็งตัวไม่เข้าใจชาวบ้าน NGO พื้นที่ต่างๆ จึงลุกขึ้นมาโวยโดยมีทุกสี เช่นนักศึกษาขอนแก่นกลุ่มดาวดินก็ร่วมกับชาวบ้านคัดค้านเหมืองแร่ที่เมืองเลย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินต้องการให้หยุดแผนแม่บทป่าไม้ เพราะไล่รื้อชาวบ้านตั้งแต่ชัยภูมิไปถึง สุราษฎร์ฯ นี่ยิ่งสนุกครับ อ.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อยู่ในสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย แต่ที่เห็นๆ ส่วนใหญ่เป็นแกนนำพันธมิตรรุ่นสองรุ่นสามรุ่นสี่ ต้องสดุดี คสช.ช่วยปรองดอง

สังคมไทยเปิดกว้างเป็นประชาธิปไตยมายาวนาน "ทหารประชาธิปไตย" เข้าใจหรือเปล่าว่าประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่สำคัญที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการแสดงออก ซึ่งกลายเป็นลมหายใจของคนไทยทุกขั้วทุกสี ที่ใครก็ปิดกั้นไม่ไหว ประชาชนไม่ใช่แค่ต้องการแสดงความเห็นต่อการปฏิรูป ต่อร่างรัฐธรรมนูญ แต่การดำเนินนโยบายต่างๆ ก็มีทั้งคนได้คนเสีย คนเห็นด้วยคนคัดค้าน เช่นจะสร้างเขื่อนไหม จะเวนคืนรางรถไฟอย่างไร จะลดเบนซินจะขึ้นแอลพีจี ฯลฯ มีคนเดือดร้อนทั้งสิ้น

ปัญหาของรัฐบาลจึงอยู่ที่จะเปิดให้มี เสรีภาพเพียงไร ในระดับสมดุลกับการใช้อำนาจควบคุมให้เป็นไปตามโรดแม็ป เพราะไม่สามารถปิดกั้นเบ็ดเสร็จ ถ้าปิดหมดก็เหมือนกาไอน้ำไม่มีรูระบาย แต่ถ้าเปิดก็กลัวจะเหมือนรูรั่วในเขื่อนที่มีแรงดันน้ำอยู่มหาศาล

นี่คือ dilemma หาทางออกให้ดีนะครับ ผมยังอยากให้ ท่านอยู่ยาวๆ เข้าใจด้วยว่าแม้วันนี้สังคมไทยอาจยังไม่อยากกลับสู่เลือกตั้ง แต่คนส่วนใหญ่ต้องการเสรีภาพ ต้องการมีส่วนร่วม นี่สิจะทำไง

และขอร้อง ลูกน้องอย่าพูดว่าท่านมีคนรักคนนิยมตั้งมาก ยังไม่อยากเถียงว่าจริงไหม เลิกอัยการศึกก่อนค่อยทำโพลใหม่ แต่อย่างน้อยเมื่อมีคนรักก็ต้องมีคนไม่รัก มีคนชอบก็ต้องมีคนเกลียด นี่อยู่ในพุทธธรรม ท่านเป็นใครถึงจะห้ามคนเกลียดได้

ooo


...............................................................................................................................................................

ฝากให้อ่าน..."ปฎิวัติฝรั่งเศส"  เรื่องราวต่างยุคต่างสมัย   การปฎิวัติในฝรั่งเศสกับการสั่งปิดปฎิรูปประเทศของ "อำมาตย์ไทย." ความเหมือนที่ไม่แตกต่างของระบอบเผด็จการกษัตริย์โบราณที่กำลังเสื่อมโทรมสุดๆก่อนล่มสลาย)

ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก

การยุติเอกสิทธิ

สมัชชาแห่งชาติประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และเลิกเอกสิทธิการงดเว้นภาษีของนักบวช รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมในการประกอบอาชีพ ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม ค.ศ. 1789 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา

คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง

เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญาในยุคเรืองปัญญา และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายและเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสมัชชาแห่งชาติ ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น

การปฏิรูปครั้งใหญ่

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี ค.ศ. 1789 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
  • ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
  • ยุบมณฑลต่าง ๆ, แบ่งประเทศออกเป็น 83 จังหวัด (départements)
  • ก่อตั้งศาลประชาชน
  • ปฏิรูปกฎหมายฝรั่งเศส
  • การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ

การปฏิรูปสถานะของนักบวช

นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองคริสตจักรในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคริสตจักรฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนมุขนายก (évêque) ไว้มุขมณฑลละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครมุขนายก (archévêque) 1 ท่าน โดยมุขนายกและอัครมุขนายกแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นนักบวชในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย

การจับกุม ณ วาเรนน์

ดูบทความหลักที่: การเสด็จสู่วาเรนน์
มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อ็องตัวแน็ตนั้น ได้แอบติดต่อกับพระเชษฐา คือจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะให้ทรงยกทัพมาตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ ฝ่ายพระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้ทรงพยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเลอรีส์ในคืนวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1791 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาเรนน์ ในวันต่อมา ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส

การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ

แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม[ต้องการอ้างอิง] แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า หากกระทำการใด ๆ ที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือกระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌัก ปีแยร์ บรีโซ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเลอรีแล้ว[ต้องการอ้างอิง] ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาในช็องเดอมาร์สเพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ภายใต้การบัญชาการของเดอ ลา ฟาแย็ต ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน[ต้องการอ้างอิง]
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่าง ๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย เช่น หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (L'Ami du Peuple) ของฌ็อง-ปอล มารา บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่นมาราและกามีย์ เดมูแล็ง ต่างพากันหลบซ่อน ส่วนฌอร์ฌ ด็องตง หนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสมัชชาแห่งชาติ หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน.






Inga kommentarer:

Skicka en kommentar