onsdag 13 januari 2021

กษัตริย์กับการก้าวก่ายกิจการบ้านเมือง

ThaiE-News

 

เมื่อวานนี้ (11 มกราคม 2563) ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ "พระราชหัตถเลขา" เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยมีไฮไลท์อยู่ที่การตั้ง "เจ้าคุณพระสินีนาฏ" เป็นรองประธานที่ปรึกษาโครงการ
.
เมื่อดูข้อมูลย้อนกลับไป เราจะพบว่าโครงการดังกล่าวมีการประกาศตั้ง/เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยในทุกครั้งจะมีกษัตริย์วชิราลงกรณ์เป็นประธานที่ปรึกษา เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาเป็นประธานกรรมการ รวมถึงมีองคมนตรีและข้าราชการในพระองค์อีกจำนวนหนึ่งเป็นกรรมการด้วย นอกจากนี้ในการประกาศก่อนหน้านี้ยังเคยปรากฏชื่อ "ราชินีสุทิดา" ร่วมเป็นประธานที่ปรึกษาด้วย (แต่ถูกถอดชื่อไปในประกาศล่าสุด)
.
ทั้งนี้ การประกาศทั้งสามครั้งไม่มีผู้รับสนองราชโองการ
.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2564/E/008/T_0001.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2562/E/276/T_0001.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2562/E/217/T_0001.PDF
.
นี่คือการที่กษัตริย์ใช้อำนาจก้าวก่ายกิจการของบ้านเมืองอย่างชัดแจ้ง
.
ในแง่หนึ่ง นี่คือการสร้างความนิยมส่วนตัวของกษัตริย์และพวกพ้องผ่านงานที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้ว (ในที่นี้คืองานเกี่ยวกับการจัดการกับผู้กระทำผิดกฎหมาย)
.
ในแง่หนึ่ง นี่คือการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งอาจส่งผลเปลี่ยนแปลงนโยบายให้เป็นไปตามอำเภอใจของกษัตริย์ แทนที่จะเป็นไปตามแนวทางของรัฐบาลซึ่งถือเป็นผู้แทนประชาชนได้
.
และในอีกแง่หนึ่ง นี่คือการสร้างเครือข่ายของกษัตริย์ภายในหน่วยงานราชการ (กรมราชทัณฑ์) ดึงข้าราชการมาเป็นบริวารของตัวเอง แทนที่จะเป็นคนของประชาชน
.
ต้องไม่ลืมว่างานราชทัณฑ์เป็นงานที่จะต้องควบคุมดูแลบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย (โดยที่บ้านเมืองเราไม่เคยสนว่ากฎหมายจะเป็นธรรมหรือไม่) ซึ่งรวมถึงความผิดต่อกษัตริย์ (เช่น มาตรา 112) ที่กำลังใช้ปราบปรามผู้เห็นต่างกันอยู่ด้วย การที่กษัตริย์แผ่อิทธิพลเข้ามาในงานราชทัณฑ์จึงอาจมีผลประโยชน์ได้เสียต่อการให้คุณให้โทษกับบุคคลเหล่านี้ได้
.
หากกษัตริย์ยังประพฤติตนเช่นนี้ต่อไป เท่ากับกษัตริย์ต้องการย้อนกลับไปมีอำนาจล้นฟ้าแบบในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โลกสมัยใหม่ไม่อาจให้ที่ยืนแก่กษัตริย์แบบนี้ได้

+++ พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการ "อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน" ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนอง +++

ilaw.or.th
สถานะของ "พระบรมราชโองการ" รัฐธรรมนูญ2560 และกฎหมายอื่นๆ ไม่ได้นิยามไว้ และไม่ได้จัดลำดับศักดิ์ไว้ว่า มีสถาน...
สถานะของ "พระบรมราชโองการ" รัฐธรรมนูญ2560 และกฎหมายอื่นๆ ไม่ได้นิยามไว้ และไม่ได้จัดลำดับศักดิ์ไว้ว่า มีสถาน...

iLaw
10h ·
+++ พระราชหัตถเลขา พระบรมราชโองการ "อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน" ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนอง +++
.
รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 182 ว่า "บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ"
.
ดังนั้น พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการ "อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน" จึงต้องมีผู้ลงนามรับสนองเสมอ โดยผู้ลงนามรับสนองจะเป็นผู้รับผิด ซึ่งหลักการดังกล่าว สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ที่ได้บัญญัติไว้ว่า
.
"มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้"
.
การกำหนดในบทบัญญัติดังกล่าว เป็นไปตามหลักพระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ (The King Can Do No Wrong) เมื่อพระมหากษัตริย์ถูกคุ้มครองไม่ให้ถูกฟ้องร้องได้แล้ว การกระทำของพระมหากษัตริย์นั้นย่อมต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย พระมหากษัตริย์มิได้ใช้พระราชอำนาจในทางที่ริเริ่ม แต่เป็นการใช้อำนาจแบบเชิงรับ เมื่อมีผู้ทูลเกล้าขึ้นมา พระมหากษัตริย์จึงโปรดเกล้า และผู้ที่ทูนเกล้าก็จะเป็นผู้ลงนามรับสนองการนั้น และผู้ทูนเกล้าเองต้องรับผิดในการนั้นด้วย
.
ซึ่งหลักเช่นนี้เองที่ทำให้กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยมีความแตกต่างจากกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่การออกพระบรมราชโองการพระมหากษัตริย์ไม่ต้องลงพระลงพระปรมาภิไธย และไม่ต้องมีผู้รับสนอง
.
ตัวอย่างยุคระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากการค้นคว้าเพิ่มเติมในราชกิจจานุเบกษา พบว่า พระบรมราชโองการที่มีสถานะเป็นกฎหมาย ที่ออกก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่เคยมีการลงพระปรมาภิไธย เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคำนำพระนาม พระบรมวงษานุวงษ์ ที่ออกเมื่อ 15 กรกฎาคม รศ.130 หรือจะเป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับงานบริหารจัดการกระทรวง ทบวง กรม เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศให้ยุบกรมทะเบียน และกรมตรวจการบัญชี ที่ออกเมื่อ 20 มีนาคม 2475 ก็ไม่ต้องมีผู้ลงนามรับสนองราชโองการ
.
สำหรับความเป็นมาเป็นไปของหลักพระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้ (The King Can Do No Wrong) ที่กำหนดให้พระบรมราชโองการต้องมีผู้ลงนามรับสนอง ประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอังกฤษซึ่ง โดยปรีดี พนมยงค์ ผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก เคยอธิบายไว้ในคำอธิบายกฎหมายปกครองว่า “รัฐบาลราชาธิปตัยอำนาจจำกัด (Monarchie limitée) ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินไม่มีอำนาจในการแผ่นดินนอกจากอำนาจในการพิธีและลงพระนาม และยอมให้อ้างพระนามในกิจการต่างๆ แต่พระองค์มิได้ใช้อำนาจด้วยพระองค์เอง อำนาจทั้งหลายในการบริหารตกอยู่แก่คณเสนาบดี เช่นในประเทศอังกฤษ และเพราะเหตุที่พระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่ได้นี้เอง จึ่งมีสุภาษิตอังกฤษอยู่ว่า “King can do no wrong” พระเจ้าแผ่นดินไม่อาจทำผิด ถ้าจะพูดกลับอีกอย่างหนึ่งก็คือเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทำอะไรไม่ได้ ก็ทำผิดไม่ได้อยู่เอง”
.
ศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายหลักการดังกล่าวไว้ในหนังสือ “คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ว่าด้วยกษัตริย์” ว่า ตามรัฐธรรมนูญไทยนั้น ควรยึดหลักที่ว่ากษัตริย์ทรงทำผิดไม่ได้ เพราะมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบแทนกษัตริย์ เพื่อที่จะดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ
.
หากพิจารณาจากหลัก The King Can Do No Wrong ที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ไม่ได้คุ้มครองกษัตริย์อย่างสัมบูรณ์เสียทีเดียว แต่กษัตริย์เองก็ต้องมีหน้าที่บางอย่างที่ถูกกำกับไว้ด้วยจารีตทางรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมาย และต้องเคารพต่อประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเจ้าของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการใหญ่คือหลักประชาธิปไตย
.

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar