ภายในสิบปี งบกษัตริย์เพิ่มขึ้นถึง 12,000 ล้านบาท โดยรวมแล้ว เราได้อะไร(คืน)จากงบสถาบันกษัตริย์บ้าง ?!?
Somsak Jeamteerasakul
13h ·
งบประมาณสถาบันกษัตริย์
ปีที่ลดลงเล็กน้อย คือปีที่สวรรคต แล้วก็เพิ่มสูงขึ้น 40% และ 30%
ปีนี้ลดลงนิดหน่อย
ภายในสิบปี งบกษัตริย์เพิ่มขึ้นถึง 12,000 ล้านบาท
เราต้องถามว่า โดยรวมแล้ว เราได้อะไรจากงบสถาบันกษัตริย์
(ทั้งหมดนี้ ยังไม่นับงบกลาง งบกองทัพอากาศ ฯลฯ)
ฉบับย่อ https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10164865800415551
ฉบับเต็ม https://www.ilaw.or.th/node/5807...
...
iLaw
15h ·
จากการสำรวจข้อมูลงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (บางส่วน) 10 ปีงบประมาณ ผลรวมที่ปรากฏดังกราฟ เห็นได้ว่า งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยระยะเวลาที่ผ่านมานั้น เพิ่มสูงขึ้นถึง 274%
.
การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นกระบวนการของรัฐสภาที่จะกำหนดว่า รายรับของรัฐที่โดยหลักแล้วประกอบไปด้วยรายได้จากภาษีและเงินกู้นั้น จะนำไปใช้กับหน่วยงานใด เพื่อวัตถุประสงค์ใด มุ่งหวังเห็นผลผลิตเป็นสิ่งใดบ้าง ดังนั้น ในแต่ละปีงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายนั้นต้องมี “ยุทธศาสตร์” ด้วย เพื่อให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ถูกจัดสรรไปนั้นใช้อย่างมีทิศทางและมีเป้าหมายที่ชัดเจน
.
ก่อนมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่ คสช. จัดทำขึ้นในปี 2560 รัฐบาลแต่ละชุดจะกำหนดยุทธศาสตร์ของตัวเอง และจัดสรรงบประมาณรายจ่ายไปตามแต่ละแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เพื่อให้การใช้งบประมาณรายจ่ายสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลนั้นๆ ด้วย เช่น ในปีงบประมาณ 2554 รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น ก็มีแผนงานการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นของประเทศ สอดคล้องกับนโยบายเด่นของรัฐบาล ในปีงบประมาณ 2556 ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนั้น ก็มีแผนงานการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างรากฐานการพัฒนาที่สมดุลสู่สังคม จากสถานการณ์ที่ต้องฟื้นฟูหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่
.
สถาบันพระมหากษัตริย์เอง ก็เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติที่แต่ละรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนิน การถวายความปลอดภัย ฯลฯ เช่นเดียวกันกับงบประมาณด้านอื่นๆ การตั้งงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้ “ยุทธศาสตร์” เช่นเดียวกัน และเป็นไปตามแต่ละแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์นั้นๆ ในปีงบประมาณ 2554 งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์บางส่วน จะปรากฏอยู่ในแผนงานการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ (ดูรายละเอียดได้ที่นี่ http://www.bb.go.th/topic-detail.php?id=6999&mid=545...) ต่อมามีการเปลี่ยนรัฐบาล ในปีงบประมาณ 2555 งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ปรากฏอยู่ในแผนงานการเทิดทูนพิทักษ์และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ (ดูรายละเอียดได้ที่นี่ http://www.bb.go.th/topic-detail.php?id=6933&mid=545...)
.
ต่อมาในปี 2560 ได้มีการใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของ คสช. ทิศทางการกำหนดงบประมาณเองก็ต้องเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติด้วย โดยงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ
.
ในแต่ละช่วงปี ทิศทางการจัดการงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ล้วนแตกต่างกันออกไป และยุทธศาสตร์ของแต่ละรัฐบาลหรือยุทธศาสตร์ชาติก็มีความสัมพันธ์กับการจัดงบประมาณ เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์นี้ จึงชวนสำรวจงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (บางส่วน) ในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 (เริ่มใช้ 1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2554) ถึงปีงบประมาณ 2564 (เริ่มใช้ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564)
.
การสำรวจงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ บางส่วนสามารถดูได้จาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี เช่น งบประมาณที่จัดสรรให้สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ส่วนราชการในพระองค์ ค่าใช้จ่ายเสด็จพระราชดำเนินที่ตั้งไว้ในงบกลาง แต่เนื่องจากพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี แต่ละฉบับไม่ได้มีรายละเอียดของการใช้จ่ายว่า แต่ละแผนงานนใช้จ่ายไปกับโครงการอะไรบ้าง จึงต้องรวบรวมรายละเอียดเพิ่มจากเอกสารงบประมาณ ที่จัดทำโดยสำนักงบประมาณ
.
ขอบข่ายของการสำรวจงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในงานชุดนี้ มีดังนี้
.
1) จากงบประมาณที่หน่วยงานซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยปีงบประมาณ 2554 ถึง 2560 ได้แก่ สำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการ และตั้งแต่การแก้ไขกฎหมายในปี 2561 คือ ส่วนราชการในพระองค์
.
2) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับพระราชวัง พระราชฐานที่ประทับ
.
3) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จพระราชดำเนินและพระราชพาหนะ
.
4) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการการถวายความปลอดภัย การถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์
.
5) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการเฉลิมพระเกียรติ พิทักษ์รักษาพระเกียรติ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดกิจกรรมในโอกาสสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การจัดกิจกรรมตามพระราชประสงค์
.
6) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินตามพระราโชบาย โครงการจิตอาสาพระราชทาน โครงการจิตอาสา 904
.
ผลรวมของงบประมาณจากส่วนต่างๆ ที่นำมาเสนอนี้ ยังไม่ได้นับรวมงบประมาณของโครงการในพระราชดำริ และกรณีที่โครงการหรือผลผลิตอื่นๆ ที่ระบุวัตถุประสงค์ในการตั้งงบประมาณไว้หลากหลายและไม่สามารถแยกส่วนเฉพาะงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ จึงเรียกได้ว่า ข้อมูลงบประมาณในระยะ 10 ปีในงานชุดที่นำมาเสนอนี้ เป็นเพียง "บางส่วน" ของงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เท่าที่ทราบได้เท่านั้น
.
ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (บางส่วน) 10 ปีงบประมาณ ผลรวมที่ปรากฏดังกราฟ เห็นได้ว่า งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้นปีงบประมาณ 2560 และ 2564 และหากเปรียบเทียบกันแล้วปีงบประมาณ 2561 มีการตั้งงบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 40% สูงกว่าปีงบประมาณอื่นๆ
.
ในระยะเวลา 10 ปี ภายใต้รัฐบาลสามชุด งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในส่วนที่รวบรวมได้ชัดเจนนั้น เพิ่มสูงขึ้นถึง 274%
อ่านทั้งหมดได้ที่นี่ https://www.ilaw.or.th/node/5807
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar