tisdag 21 december 2021

#ExclusiveVOICE นิธิ เอียวศรีวงศ์ : คนรุ่นใหม่ ทหาร พ่อค้า พระปรมาภิไธย

Thai E-News


#ExclusiveVOICE นิธิ เอียวศรีวงศ์ : คนรุ่นใหม่ ทหาร พ่อค้า พระปรมาภิไธย

 

ธันวาฯ 2014 หลังรัฐประหารได้ 7 เดือน ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ออกจากเชียงใหม่เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อขึ้นพูดในงาน “นิธิ 20 ปีให้หลัง” จัดโดยสำนักพิมพ์มติชน
 
ท่ามกลางบรรยากาศมืดมนทางการเมือง นิธิฉายแสงสว่างออกมาเรื่องหนึ่งคือ เขาบอกว่าเป็นคนหลงใหลและสะสมนาฬิกา

ในทัศนะของนิธิ นาฬิกาสอนเขาว่า มันสามารถหมุนเข็มกลับไปสู่อดีตเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถึงหมุนกลับไปแค่ไหน มันก็เดินก้าวหน้าต่อไม่หยุด
 
“ในฐานะคนเล่นนาฬิกา ผมรู้สึกว่านาฬิกามันน่ารักมาก เพราะมันบอกความจริงอะไรบางอย่าง”
และนั่นเป็นผลว่าทำไมนิธิถึงพยายามย้ำเสมอว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมหรือวัฒนธรรมที่สังคมไทยมักอ้างถึง ในช่วงที่ผ่านมากำลังเปลี่ยนไประดับถึงราก

“ผมพยายามจะเตือนเสมอคือวัฒนธรรมไม่เคยหยุดนิ่งกับที่ มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ”
แต่ก็อีกนั่นแหละ สิ่งเก่าไม่ยอมเปลี่ยน เป็นข้อเท็จจริงที่ทุกคนกำลังเผชิญหน้าร่วมกัน 7 ปีผ่าน เฉพาะคดีละเมิดสิทธิเสรีภาพคนหนุ่มสาวยาวยิ่งกว่าหางว่าว

ธันวาฯ 2021 เสียงนาฬิกาลานบนผนังบ้านของนิธิเตือนว่าเวลายังเดินไปข้างหน้า แต่อะไรคือมูลเหตุที่บางสิ่งบางอย่างไม่เคลื่อนตามเวลา และราคาของการรักษาสิ่งเก่าจะแพงขนาดไหน
นี่คือข้อสงสัยเบื้องต้นที่เราชวนนักประวัติศาสตร์ในวัย 81 ปีสนทนา
อ่านทั้งหมดต่อ www.voicetv.co.th/read/W6r2HyL3V
#VoiceOnline
#Exclusive_Interview...
Charnvit Kasetsiri
19h ·

#4 STATE CRIMES IN OUR COUNTRY THAILAND
4 อาชญากรรมรัฐ - 4 เหตุการณ์นองเลือด ณ.สยามประเทศไทย
From October to October, from May to May... 
 
-------------------
(หนึ่ง)
 
14 ตุลา 2516/1973 เป็นวัน "มหาปิติ" Day of Great Joy
วันนั้น
--นักเรียน/นักศึกษา/วีรชน คนหนุ่มสาว ประชาชน ผู้กล้าหาญได้ลุกขึ้นมาประท้วงระบอบทหารเผด็จการ "คณาธิปไตย ถนอม-ประภาส-ณรงค์"
--ผู้คนราษฎรจำนวนแสน ๆ เข้าร่วมชุมนุมประท้วงกลางถนนราชดำเนินเรียกร้อง "ประชาธิปไตย" และ "รัฐธรรมนูญ" สิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ
--เผด็จการคณาธิปไตยทหาร กระทำ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime)ปราบปราบหนัก ด้วยอาวุธสงคราม
--ประชาราษฎร์ขัดขืน และในหลวงรัชกาลที่ 9 กับเครือข่ายฯ เข้ามาห้ามทัพ เผด็จการคณาธิปไตยทหาร ล้มครืน ถนอม/ประภาส/ณรงค์ ลี้ภัยไปนอก
--มีประชาราษฎร์ผู้ถูกทำลายชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 800 ราย
--ผู้กล้าหาญ ราษฎรที่มีส่วนร่วม มีทั้งเยาวชนคนหนุ่มสาว gen Baby boomer ชนชั้นกลางในเมือง กทม.และต่าง จว. กับฐานันดร ที่ 4 สื่อมวลชน ก้าวหน้า 
 
------------------------
(สอง)

3 ปีต่อมา "6 ตุลา 2519/1976" เป็น "วันมหามหาวิปโยค"
Day of Great Sorrow
วันนั้น
--จอมพลถนอม เผด็จการทหาร บวชเป็นเณร จากวัดไทยในสิงคโปร์
และได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามา กทม. แล้วเข้าบวชเป็นพระที่วัดบวรนิเวศ บางลำพู กทม
--นักศึกษาและประชาชน 3,000 คน ชุมนุมประท้วงที่ธรรมศาสตร์
เรียกร้องให้รัฐบาล ปชป.ของ นรม. เสนีย์ ปราโมช ขับไล่ถนอม ออกจากประเทศไทย
--กลุ่มการเมืองจัดตั้งฝ่ายขวา นวพล กระทิงแดง และวิทยุเครือข่ายทหารยานเกราะ
อ้าง/อิง โหน สัญญลักษณ์เดิมของชาติ-ศาสน์-กษัตริย์
--โจมตีและกล่าวหา ปล่อย fake news ว่านักศึกษา
"หมิ่นพระบรมเดชาฯ" 112 เปนพวกล้มเจ้า และเป็น "คอมมิวนิสต์" (ฆ่าได้)
--ชนชั้นปกครอง ผู้กุมอำนาจรัฐ-รัฐข้าราชการ-ชนชั้นนำอีลีด-กลุ่มการเมืองจัดตั้ง
ร่วมด้วยตำรวจตระเวนชายแดน กระทำ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime)
ปราบปราบราษฎร นร. นิสิต นศ.อย่างรุนแรงด้วยอาวุธสงคราม
--เผด็จการขุนทหารกระทำ "รัฐประหาร" แล้วเสนอตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
ผู้นำฝ่ายตุลาการ เป็น นรม. และอ้างว่าจะใช้เวลาอยู่ในอำนาจ "ปฏิรูป" 12 ปี
--มีประชาราษฎร์ ผู้ถูกทำลายชีวิต 40 (?) ราย, บาดเจ็บ 3,000 (?)
คนหนุ่มสาว gen Baby boomer หนีตาย เข้าป่าไปร่วมกับ พคท.
--ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีทั้งฝ่ายที่ถูกกระทำ คือ ประชาราษฎร์ เยาวชนคนหนุ่มสาว
กับอีกฝ่ายหนึ่ง คือผู้กระทำ มี "ชนชั้นกลาง" ใน กทม.และต่าง จว.
มีทั้งผู้กุมอำนาจรัฐ-ชนชั้นนำ/อีหลีดเดิม ๆ - กลุ่มการเมืองจัดตั้ง-ทหาร/ตำรวจ
ที่ตั้งตน เป็นปฏิปักษ์/สร้างข่าวปลอม fake news และสร้างความเกลียดชัง hate
--และมีผู้ร่วมด้วยช่วยกัน ทำการกระพือข่าว โดยสื่อมวลชน "กระแสหลัก" ของทั้งรัฐและเอกชน ทั้ง นสพ/วิทยุ/ทีวี
 
-----------------------------
(สาม) 
 
16 ปีต่อมา เกิดเหตุการณ์ "พฤษภาเลือด 2535/1992" หรือ Bloody May 1992
(ไม่ขอเรียกว่า "พฤษภาทมิฬ" เพราะคนชนชาติ ทมิฬ ซึ่งอยู่ในอินเดียใต้และมาเลเซีย ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมครั้งนี้)
วันนั้น
--ประชาชน คนชั้นกลาง ชาวกรุง gen Baby boomer + X จำนวนหลายหมื่นชุมนุมประท้วงเป็นระยะ ๆ ณ บริเวณถนนราชดำเนิน
--เรียกร้องให้รัฐบาลของ นรม. พลเอกสุจินดา คราประยูร และ "เผด็จการคณาธิปไตยทหาร/นักการเมืองฝ่ายอำนาจเดิม ๆ" ลาออก
--รัฐบาลสุจินดา/สุนทร กระทำ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime) อีกครั้งตามรูปแบบเดิม
--ทำการปราบปราบประชาชน/ราษฎร อย่างหนักด้วยอาวุธสงคราม
--ประชาชน/ราษฎร ปฏิบัติการต่อสู้ขัดขืน

ในหลวงรัชกาลที่ 9 เข้ามาห้ามทัพ เผด็จการคณาธิปไตยทหาร/รัฐบาลล้มครืน
--มีประชาราษฎร์ ผู้ถูกทำลายชีวิต 44 (?) ราย, บาดเจ็บ 600 (?)
--ผู้มีส่วนเข้าร่วมชะตากรรมครั้งนี้ คือ ชนชั้นกลางในเมือง กับชาวกรุง ม๊อปมือถือ
รวมทั้งสื่อมวลชนเอกชน นสพ.ที่มีจิตวิญญาณของฐานันดรที่ 4
--แต่ ไม่ค่อยมีเยาวชนคนหนุ่มสาว ที่เปนนักเรียน นิสิต นักศึกษา
เข้าร่วมมากเท่ากับ 2 กรณีแรกของ 14 และ 6 ตุลา 2516/2519
 
---------------------------
(สี่) 
18 ปีต่อมา เกิดเหตุการณ์ "เมษา/พฤษภาอำมหิต 2553/2010"
Black April&May
วันนั้น
--ประชาชน ราษฎร คนเสื้อแดง ชาวบ้าน (ที่ถูกกล่าวตราหน้าว่า "โง่" และ "ถูกจ้าง") มาจากภาคอีสาน/ภาคเหนือ
--ร่วมกับคนชั้นกลาง ราษฎรชาวกรุง (ที่ถูกเชื่อว่า "ฉลาด" และ "ซื้อไม่ได้") รวมแล้วจำนวนหลายหมื่น
--ทำการชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่องบนถนนราชดำเนิน และสี่แยกราชประสงค์ เรียกร้องให้รัฐบาล ปชป. ของ นรม.อภิสิทธิ์ "ยุบสภา" แล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่
--รัฐบาล ปชป.และกองทัพ ใช้กำลังทหารประกอบ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime) อีกครั้ง
--ทำการปราบปราบรุนแรง ด้วยอาวุธสงครามหนัก พร้อมตั้งข้อกล่าวหาว่ามีการ "ก่อการร้าย" รวมทั้งอ้าง/อิง/สถาบันฯ แบบเดิม ๆ
--มีราษฎร ผู้ถูกทำลายชีวิต 100 (?) ราย และบาดเจ็บ 2,000 (?)
--ราษฎร ผู้ถูกดระทำมีทั้ง "ชาวบ้าน" จากชนบทอีสาน/เหนือ ร่วมกับ "ชาวกรุง" คนชั้นกลาง หญิงวัยกลางคนจำนวนมาก
--ในเหตุการณ์นี้ สื่อมวลชนภาครัฐ และภาคเอกชน แตกแยก ขัดแย้ง ถือฝักฝ่าย เปนคนเสื้อเหลือง เปนคนเสื้อแดง เข้าร่วมจำนวนมาก
--และก็ไม่ค่อยมี เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้าร่วมมากนัก 
 
หมายเหตุ

ทั้ง 4 อาชญากรรมรัฐดังกล่าว เกิดขึ้นใน กทม
ดังนั้น ยังไม่รวมเหตุการณ์ ที่เกิดในลักษณะเดียวกันอีกหลาย ๆ กรณีในภูมิภาค และต่างจังหวัด
ที่อาจจะรุนแรงกว่า แต่ไม่เป็นที่รับรู้ในส่วนกลาง กทม.
-----------------------
--ปุจฉา​​ สยามประเทศไทยเรา กำลังไปทางไหนกัน ?
--ไทยเราจะปรองดอง สมานฉันท์ ปฏิรูป หรือเกี้ยเซี้ยะกัน ได้หรือไม่ ?
--หรือเราจะหลีกเลี่ยง การนองเลือด จลาจล กาลียุค ได้หรือไม่ ?
----------------------
#Quo Va Dis - Siam/Thailand
เขียน 20/Dec2021
ดัดแปลงจากเดิมที่เขียนไว้ 27/Sept2019 
 

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar