tisdag 30 april 2019

"จะสร้างเอกลักษณ์รวมหมู่ใหม่ ระบบคุณค่าแบบใหม่ อย่างไร"


"จะสร้างเอกลักษณ์รวมหมู่ใหม่ ระบบคุณค่าแบบใหม่ อย่างไร"
นี่เป็นปัญหาที่ผมทิ้งท้ายไว้ในกระทู้เรื่อง "ประเพณีประดิษฐ์ที่เพิ่งสร้าง" เกี่ยวกับกรณีพิธีถวายบังคมฯของจุฬา (https://goo.gl/yZPHCE)

ความจริง นี่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น ที่ผมหมกมุ่น พยายามคิด อ่าน ค้นคว้าศึกษาในหลายปีหลังนี้ คือ
"เราสามารถสร้างการเมืองประชาธิปไตยที่มีพื้นฐานจากวัฒนธรรมตะวันตก ในประเทศไทยที่มีวัฒนธรรมคนละอย่างได้หรือไม่ แค่ไหน อย่างไร"
[คำเตือน : กระทู้นี้ยาวมากๆ]
....................
ผมเห็นว่า จนบัดนี้ คนที่เรียกว่า "ฝ่ายประชาธิปไตย" รวมทั้งบรรดาปัญญาชนนักวิชาการของฝ่ายนี้ ไม่เคยมีคำตอบที่เป็นระบบและชัดเจนเพียงพอ อันที่จริง ผมคิดว่า หลายคนไม่ตระหนักถึงความหนักหน่วงของปัญหานี้เพียงพอ ไม่ acknowledge หรือยอมรับอย่างเพียงพอว่ามันเป็นปัญหา
(ในแง่หนึ่ง ก็พอจะเข้าใจได้เพราะเรื่องการเมือง ถ้า "ยอมรับ" ว่าเป็นปัญหา ก็กลัวจะ "เข้าทาง อีกฝ่ายหนึ่ง" ที่เสนอว่า ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตกไม่ได้)
ต้องย้ำว่า #กระทู้นี้ไม่มีคำตอบเหมือนกัน แต่อย่างน้อย ผมจะพยายามอธิบายให้เห็นว่ามีปัญหาอย่างไร โดยใช้กรณีพิธีถวายบังคมฯจุฬา เป็นกรณีตัวอย่าง

ก่อนอื่น เพื่อให้เห็นปัญหาในภาพกว้างออกไป ผมขออนุญาตท้าวความถึงสิ่งที่ผมเขียนเป็นปีก่อนรัฐประหารครั้งหลัง (จน "มิตรสหายบางท่าน" ฉุนผมมาก) นั่นคือ ผมเสนอว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมวลชนฝ่ายเสื้อแดงกับนักการเมืองของตน (ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์) มีลักษณะ unhealthy หรือสุขภาพไม่ดี โดยเปรียบเทียบกับความสัมพันธ์ของมวลชนเสื้อเหลืองกับนักการเมืองของตน (ประชาธิปัตย์) คือ ฝ่ายหลังมีลักษณะขึ้นต่อ ยึดติด น้อยกว่าฝ่ายแรกมาก แน่นอน ส่วนหนึ่งเพราะฝ่ายหลังหรือมวลชนเสื้อเหลือง มีอะไรที่สูงขึ้นไปกว่านั้น - ในหลวงภูมิพล - ไว้ยึดติดแล้ว ... แต่ถ้าเทียบความสัมพันธ์เฉพาะกับนักการเมือง ผมว่าฝ่ายเสื้อเหลืองมีลักษณะ healthy กว่าฝ่ายเสื้อแดงแน่

ผมเห็นว่า ลักษณะ unhealthy ของความสัมพันธ์ระหว่างมวลชนฝ่ายเสื้อแดง ที่เรียกว่า "ฝ่ายประชาธิปไตย" กับนักการเมืองของตน ซึ่งมีลักษณะหรือคาแร็กเตอร์ของความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันมาก #ในเชิงวัฒนธรรม กับความสัมพันธ์ฝ่ายเสื้อเหลืองกับเจ้า (เช่น ไม่ยอมรับกระทั่งว่า ผู้ที่ตัวเองเชิดชูนั้นเคยทำผิดร้ายแรง คือต่อให้ทำผิดร้ายแรงยังไงก็มองไม่เห็น จะหาข้ออ้างมาแก้ตัวให้ได้เสมอ - พูดเช่นนี้ เสื้อแดงส่วนใหญ่คงยืนกรานว่าไม่จริง และไม่ยอมรับ ประเด็นของปัญหา "เชิงวัฒนธรรม" คือแบบนี้แหละ คือถ้ารู้ตัวหรือยอมรับว่าเป็น ก็ไม่ใช่เรื่องทางวัฒนธรรมแล้ว การไม่รู้ตัวหรือไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหา คือปัญหาทางวัฒนธรรมที่ว่า)

เรื่องนี้เรสปัญหาที่กว้างออกไปว่า ในประเทศที่รากฐานทางวัฒนธรรมต่างกันอย่างสำคัญกับตะวันตก ซึ่งสะท้อนออกมาแม้แต่ในหมู่พวกที่ประกาศต้องการประชาธิปไตยแบบตะวันตก - ในประเทศแบบนี้ การเมืองแบบตะวันตกจะสามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ แค่ไหน?

ถ้าจะถามว่าอะไรคือแก่นสำคัญของวัฒนธรรมแบบตะวันตกที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตยสมัยใหม่? ผมเสนอว่า คือลักษณะ individualism หรือที่แปลว่า ปัจเจกชนนิยม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าจะอภิปรายในที่นี้ได้ แต่ขอตั้งเป็นปัญหาสั้นๆให้คิดอีกประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน

หลายคนคงไม่รู้ว่า individaulism ที่นำไปสู่ไอเดียเรื่อง "เสรีนิยม" หรือ liberalism ของตะวันตก ในฐานะระบบคิด มีพื้นฐานมาจากไอเดียทางศาสนาคริสต์ - จอห์น ล็อค ที่ถือกันว่าเป็น "บิดาของเสรีนิยม" วางรากฐานของข้อเสนอเรื่องบุคคลมีคุณค่าเท่าเทียมกัน บนไอเดียคริสเตียนเลย
ทีนี้ ในประเทศไทย ที่มีวัฒนธรรมพุทธอย่างเข้มข้น idividualism หรือไอเดียแบบ "เสรีนิยม" จะสามารถลงหลักปักฐานได้หรือไม่?
ผมจะกลับมาที่ประเด็นเกี่ยวกับศาสนาพุทธข้างท้ายกระทู้
................
เอาละ เรามาพูดถึงกรณีรูปธรรมที่เพิ่งเกิดขึ้น เรื่องพิธีถวายบังคมฯของจุฬา
ภาพประกอบกระทู้นี้ ผมเอามาจากพิธีทำนองเดียวกัน ที่โรงเรียนเก่าของผม (สวนกุหลาบ วัดเลียบ) ซึ่งเป็น "ประเพณีประดิษฐ์ที่เพิ่งสร้าง" เหมือนของจุฬา และเกิดขึ้นในช่วงใกล้ๆกัน (ราวกลางทศวรรษ 2540) ใครสนใจ ดูกระทู้เล่าความเป็นมาของ "พิธีถวายบังคมลา" ของสวนกุหลาบ ได้ที่นี่ https://goo.gl/E63TjF

ผมเข้าใจว่า ไม่เพียงจุฬาหรือสวนกุหลาบ แต่มหาลัยหรือสถานศึกษาหลายแห่ง ก็มีการ "ประดิษฐ์ประเพณี" หรือ "พิธี" ในลักษณะคล้ายกันนี้ ในช่วงใกล้ๆกันนั้น
ทุกกรณี สะท้อนปริบทที่ผมอธิบายไปวันก่อน เรื่องการขึ้นสู่อำนาจนำของในหลวงภูมิพล คือเป็นภาพสะท้อนกระแสเชียร์ในหลวงภูมิพลที่เกิดขึ้นอย่างมากในหมู่ชนชั้นกลางในเมือง

ขณะเดียวกัน ดังที่ผมเสนอไปด้วยว่า สิ่งที่เป็นรากฐานทางสังคมของกระแสเชียร์ที่ว่านี้ คือการที่ลูกหลานคนจีน ที่เป็นชนชั้นกลางในเมือง ได้หลอมกลืนเข้ากับสังคมไทย (จนการเป็น "เจ๊ก" ไม่ใช่ปมด้อยอีกต่อไป) แต่ด้วยความที่ "ขาดราก" คือจะสร้างเอกลักษณ์รวมหมู่ของตนจากวัฒนธรรมจีนของบรรพบุรุษก็ห่างไกลเกินไป ก็เลย "รับ" หรือ adopt เอาวัฒนธรรมแบบเจ้า หรือที่คิดว่าเป็นแบบเจ้าๆ และรับเอาในหลวงภูมิพลเป็นตัวแทนของเอกลักษณ์รวมหมู่ของตน

ในแง่หนึ่ง สำหรับคนที่ต้องการประชาธิปไตยแบบตะวันตก อาจจะมองแบบมีความหวังว่า ความที่ในหลวงภูมิพลเป็นศูนย์รวมของการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมหรือประเพณี "ที่เพิ่งสร้าง" เหล่านี้ ในเมื่อในหลวงภูมิพลไม่อยู่แล้ว และกษัตริย์องค์ใหม่ก็ ..อะแฮ่ม.. อย่างที่รู้ๆกัน
ความเข้มข้นของความนิยมใน "ประเพณีประดิษฐ์เพิ่งสร้าง" เหล่านี้ อาจจะค่อยๆลดน้อยลง ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ ทุกวันนี้ อย่างที่เห็นกันว่า กษัตริย์องค์นี้และมวลชนรักเจ้าเรียกว่าทั้งหมด ก็ล้วนแต่ยังอ้างอิงในหลวงภูมิพลอยู่ตลอดเวลา (วันก่อนที่ "แท็ค" โพสต์ด่า "อิมเมจ" เรื่อง "แผ่นดินของพ่อ" เป็นต้น) ซึ่งไม่น่าจะทำแบบนี้ไปได้อย่างมีผลมากอีกสักกี่ปี

แต่ปัญหาเรื่องนี้ ที่ยาก เพราะมันมีด้านที่เป็นปริบทหรือฐานทางวัฒนธรรมที่กว้างออกไปกว่าเรื่องตัวบุคคลของในหลวงภูมิพล (อันที่จริง กระแสการเชียร์อำนาจนำของในหลวงภูมิพลที่ผมพูดถึง เกิดขึ้นได้ นอกจากปริบทเฉพาะแล้ว เพราะมีฐานทางวัฒนธรรมแบบนี้อยู่ด้วย)
พูดอย่างรูปธรรมให้เห็นง่ายๆ เรื่องการหมอบกราบ

ในทางพุทธศาสนา ถือเอาการหมอบกราบพระและพระพุทธรูปเป็นเรื่องปกติ ความจริงถือเป็นเรื่องเหมาะสมที่ควรหรือต้องทำเลยด้วยซ้ำ (เผื่อใครอยากรู้นะ เวลาผมมีความจำเป็นต้องเข้าวัด ผมหมอบกราบพระและพระพุทธรูปแบบที่คนอื่นที่ผมไปด้วยทำเหมือนกัน ทั้งที่ผมไม่ได้นับถือพุทธ - ปกติให้เข้าวัดคนเดียว ผมไม่เข้า ยกเว้นไปดูศิลปะ) และหลังๆ ก็มีความนิยมกันมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลาง ที่จะแสดงการหมอบกราบแบบนี้กับพ่อแม่ (นึกถึงภาพถ่ายวันรับปริญญา)

ทำนองเดียวกับกระแสเรื่องเชียร์ในหลวงภูมิพลที่เกิดขึ้นใน 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ผมคิดว่า พูดได้ว่า มีกระแสเรื่องความนิยมใน "พุทธศาสนา" มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหมู่ชนชั้นกลาง (บรรดามนุษย์เงินเดือนอ๊อฟฟิศทั้งหลาย) - ผมมองว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของการพยายามสร้างหรือหาเอกลัษณ์รวมหมู่เหมือนกัน โดยเฉพาะในภาวะท่ามกลางการเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ (modernity) ของสังคมไทย แล้วคนพยายามหา "ที่พึ่งทางใจ" กันมากขึ้น

กรณีพิธีถวายบังคมฯจุฬา คนที่ไม่เห็นด้วยกับพิธี อย่างเนติวิทย์และเพื่อน อาจจะพออ้างเรื่อง "คำสั่ง ร.๕" ขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง แต่ตราบใดที่การปฏิบัติแบบพุทธที่ถือเอาการกราบพระและกราบพุทธรูป (และกราบพ่อแม่) ยังเป็นวิถีชีวิตที่ทุกคนยอมรับและปฏิบัติกันแพร่หลายปกติในชีวิตประจำวันอื่นๆ
เราจะเสนอหรือทำให้คนพร้อมใจกันมาเลิก "พิธี" ในลักษณะที่ว่าได้หรือไม่ อย่างไร?

อย่าลืมว่า สังคมตะวันตกทิ้งศาสนา (หรือมีลักษณะที่เรียกว่า secular) อย่างเต็มที่มานานเป็นร้อยปีแล้ว การหมอบกราบ ไม่ใช่วิถีชีวิตปกติที่ได้รับการยอมรับหรือปฏิบัติแล้วโดยสิ้นเชิง (ซึ่งตรงข้ามกับของไทยที่เพิ่งกล่าว)
และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น - และนี่คือประเด็นสำคัญที่ผมพูดถึงข้างบน - ในทางประวัติศาสตร์ ทิศทางการพัฒนาความคิดแบบคริสเตียน นำไปสู่ (generate) ไอเดียสมัยใหม่เรื่อง individualism และ liberalism ที่เป็นฐานของการเมืองประชาธิปไตยแบบตะวันตก แต่ศาสนาพุทธ ไม่เคย หรือไม่มีวี่แววจะนำไปสู่ทิศทางดังกล่าว (นี่เป็นปัญหาใหญ่ทางปรัชญา เท่าที่ผมพอรู้ทั้งคริสต์และพุทธ ผมสงสัยว่า "โครงสร้าง" หรือหลักสำคัญของคำสอนพุทธ ไม่เอื้อที่จะไปสู่ไอเดียในลักษณะเดียวกันได้)

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ถ้าโยงกับการเมืองปัจจุบันโดยตรง คือ แม้แต่ฝ่ายที่เรียกว่า "ฝ่ายประชาธิปไตย" ประเด็นเรื่องบทบาทของพุทธศาสนา ทั้งในแง่คำสอนและในแง่การปฏิบัติ (เช่นการกราบพระที่ทุกคนยอมรับและปฏิบัติ) เป็นปัญหาอย่างไรบ้างต่ออนาคตของการสร้างการเมืองประชาธิปไตยแบบตะวันตก ที่ "ฝ่ายประชาธิปไตย" เรียกร้องเอง เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีการอภิปรายกันเต็มที่ (ยิ่งกว่านั้น ฝ่ายเสื้อแดง ที่กล่าวกันว่า เป็น "ฝ่ายประชาธิปไตย" ยังเป็นขบวนการเมืองอันเดียวในประวัติศาสตร์ที่เสนออย่างเป็นทางการให้ระบุ "ศาสนาประจำชาติ" ใน รธน. ด้วย) แม้แต่นักวิชาการรุ่นใหม่ ที่เสนอเรื่อง "แยกศาสนาออกมาจากรัฐ" เช่นช่วงที่มีกรณีธรรมกาย ผมก็เคยแย้งว่า ที่เสนอๆกัน (เช่น คุณวิจักษ์) ก็จำกัดเพียงแค่ในเชิง "การบริหาร" องค์กร (แยกการบริหารองค์กรสงฆ์ออกจากรัฐ รัฐ "อย่าไปยุ่งเกี่ยว") ความจริง ผมคิดว่า ปัญหามันมากกว่านั้น คือเรื่องการ secularize (หรือทำให้เป็น "โลกิยะ") สังคมทั้งสังคมอย่างชนิดเต็มที่ ว่าทำได้หรือไม่ อย่างไร - เราจะสมควรหรือจะทำได้หรือไม่ ที่จะ "ยกเลิก" ศาสนา(พุทธ)โดยพื้นฐาน ถ้าต้องการให้มีประชาธิปไตยแบบตะวันตก? และถ้าทำไม่ได้หรือไม่ควร จะสร้างประชาธิปไตยแบบตะวันตกได้หรือไม่อย่างไร?
.................
ขอหมายเหตุ ในเรื่องเดียวกันนี้ แต่ขยายออกไปนิด ใครที่อ่านที่คุณ "แอนดรู" เขียนประจำ คงเห็นว่า เขาด่าเรื่องการหมอบคลานนี้หนักมากๆ ในแง่หนึ่ง ผมก็เข้าใจและเห็นใจเขาอยู่ คือถ้าไม่มีการหมอบคลานเลย ผมจะดีใจมาก - ปัญหาคือ ผมคิดว่า เขาไม่เก็ตถึงประเด็นที่มันกว้างกว่านั้น ในแง่ของฐานทางศาสนา-วัฒนธรรมที่ยังเข้มข้นในสังคมไทย .. เอาเข้าจริง แม้แต่เรื่อง "ความจงรักภักดี" ต่อเจ้า ด้วยความที่เขามาจากสังคมที่ไม่เพียง secular เต็มที่ และเจ้าไม่มีสถานะเชิงที่โยงกับเรื่องทางวัฒนธรรมแบบนี้เป็นร้อยๆปีแล้ว เขาจึงไม่เก็ตเรื่อง "ความจงรักภักดี" และถึงกับเขียนฟันธงในหนังสือของเขาว่า ที่ชนชั้นกลาง "แสดงความจงรักภักดี" ต่อในหลวงภูมิพล ไม่ใช่จงรักภักดีจริงๆหรอก เพียงแต่ "ใช้ในหลวงภูมิพลเป็นเครื่องมือ" - เป็น "หุ่นเชิด" ในคำของใจ อึ๊งภากรณ์ ซึ่งแอนดรูเห็นด้วย - คือเขาไม่เก็ตว่า ระบบคิดแบบนี้ วัฒนธรรมแบบนี้ ในสังคมแบบนี้ เป็นอะไรที่ REAL ขนาดไหน (เขาจึงคาดการณ์แบบผิดว่า จะเกิด ศึกชิงบัลลังก์ อะไรด้วย คือไม่เข้าใจว่าที่ในหลวงภูมิพล "จัดการไว้แล้ว" ว่าจะให้ลูกชายครองราชย์ต่อ เป็นอะไรที่ไม่มีใครกล้าเปลี่ยน จริงๆ แม้แต่จะคิด ยังไม่กล้าคิด) โดยแบ๊คกราวน์ของเขา เขาคิดเป็นแต่ในเชิงที่ผมเรียกว่าแบบ instrumental reason คือ การทำอะไรด้วยเหตุผลในเชิง "เพื่อการใช้สอย" "เพื่อการเป็นเครื่องมือ" ในความหมายแคบๆเท่านั้น ไอเดียประมาณ "จงรักภักดี" ในทางวัฒนธรรม-ศาสนาที่เราเห็นในไทย เป็นไอเดียที่ไม่มีอยู่เป็นศตวรรษๆแล้วในสังคมตะวันตก
การที่เราไม่เห็นด้วยกับอะไรอย่างมากๆ - และแน่นอน ผมไม่เห็นด้วยกับวัฒนธรรมเจ้าที่พูดมาทั้งหมดอย่างมาก - ไม่ได้แปลว่า เราไม่ควรต้องพยายามทำความเข้าใจ และคิดในปัญหาที่ยาก (ยากกว่าการเอาแต่ด่าๆๆ ยิ่งหยาบยิ่งดี อย่างที่พวกใต้ดินยังทำทุกวันนี้) ว่า เราจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร

"ประเพณีประดิษฐ์ที่เพิ่งสร้าง"


"ประเพณีประดิษฐ์ที่เพิ่งสร้าง" : พิธีถวายบังคมฯจุฬากับการขึ้นสู่อำนาจนำของในหลวงภูมิพล

พิธีถวายบังคมพระบรมรูป ร.5-6 ของจุฬา เป็น "ประเพณีประดิษฐ์" (invented tradition ศัพท์ของนัก
วิชาการฝรั่ง หมายถึง ไม่ใช่อะไรที่เก่าแก่มากมาย - ไม่ใช่ "ประเพณี" จริงๆ - แต่เป็นอะไรที่ถูก "ประดิษฐ์" ขึ้น invented ขึ้นมา ให้มีลักษณะเหมือนเป็น "ประเพณี")

เพิ่งเกิดขึ้นในปี 2540 ภายใต้ปริบททางประวัติศาสตร์ของช่วงที่มีปรากฏการณ์ที่ผมเรียกว่า The Rise of King Bhumibol (การขึ้นสู่อำนาจนำของในหลวงภูมิพล) ซึ่งมีช่วง "พีค" จากกลางทศวรรษ 2530 ถึงกลางทศวรรษ 2540 นี่เป็นอะไรที่ "ใหม่" ซึ่งต้องการการศึกษาโดยละเอียดต่อไป เสียดายนักวิชาการหลายคน ยังนับเวลาการเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกกันวา hyper-royalism กลับไปที่ 14 ตุลา - ความจริง สถานะของในหลวงภูมิพลและสถาบันกษัตริย์ และลักษณะรอยัลลิสม์อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางในเมืองที่มีพื้นฐานจากลูกหลานคนจีน เป็นอะไรที่เกิดขึ้นหลัง 14 ตุลานับ 20 ปี ปัจจัยสำคัญมากที่ยังดำรงอยู่จนถึงกลางทศวรรษ 2520 คือขบวนการและวัฒนธรรมฝ่ายซ้ายแบบ พคท. และการที่สังคมยังมีลักษณะทางวัฒนธรรมค่านิยมแบบแบ่ง "คนจีน-คนไทย" (ลูกหลานจีนยังไม่ถูกนับเป็น "คนไทย" เต็มที่) และเศรษฐกิจไทยยังไม่ก้าวกระโดดเข้าสู่ความเป็นเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมเต็มตัวซึ่งเพิ่งเริ่มในช่วงสิ้นสุดทศวรรษ 2520

ข้อเสนอของผมคือ หลังจากสูญหายไปของขบวนการและวัฒนธรรมแบบฝ่ายซ้าย (ทั้งในทางสากลและในประเทศ) และการผสมกลมกลืนของอดีตลูกหลานจีนเหล่านี้ จนถูกถือว่าเป็น "คนไทย" (ความเป็นลูกจีน ไม่ใช่ "ปมด้อย" อีกต่อไป อันที่จริง กลายเป็น "ปมเด่น" ด้วยซ้ำ - ดูที่ความนิยมหน้าตาดาราหรือคนในวงการบันเทิง ที่เปลี่ยนจากแบบ "ไทยๆ" กลายมาเป็นแบบ "ตี๋ๆหมวยๆ" เป็นต้น)

แต่ชนชั้นกลางลูกหลานจีนเหล่านี้ เป็นคนที่ "ไม่มีราก" ไม่มีเอกลักษณ์รวมหมู่ (collective identity) ของตัวเอง คือจะใช้วัฒนธรรมหรือเอกลัษณ์แบบจีนของบรรพบุรุษก็ไม่ได้ เพราะห่างไกลเกินไป จึงหันไป adopt หรือ "รับ" วัฒนธรรมแบบเจ้า #หรือแบบที่คิดว่าเป็นแบบเจ้า นี่คือความหมายของ "ประเพณีประดิษฐ์" เช่นกรณีพิธีถวายบังคมฯจุฬา คือ เป็นอะไรที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่ให้ความรู้สึกราวกับว่าเป็นอะไรที่มีมาช้านาน "เป็นประเพณี"

ดังที่ผมเคยเสนอไปแล้วว่า ในหลวงภูมิพลจึงเป็นเสมือน "เอกลักษณ์ทดแทน" (substitute identity) "ความเป็นชาติหรือชาตินิยมทดแทน" (substitute nationalism) กระทั่งเป็นเสมือนพุทธศาสนาทดแทน หรือ พระพุทธเจ้าทดแทน (substitute Bhudhism, substitute Budha) ของชนชั้นในเมืองอดีตลูกหลานจีนเหล่านี้

ภาพสไลด์ประกอบกระทู้ ซึ่งแน่นอน มีข้อจำกัดไม่สามารถใส่ข้อมูลได้มาก ทำขึ้นเพียงเพื่อแสดงให้เห็นปริบทของการเกิด "ประเพณี" อย่างพิธีถวายบังคมฯดังกล่าว ในท่ามกลางกระบวนการ "ขึ้นสู่อำนาจนำของในหลวงภูมิพล"

2535 - ในหลวงภูมิพลออกมา "ห้ามทัพ" ระหว่างสุจินดากับจำลองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ภาพนี้ได้กลายเป็น "ไอคอน" ของการเป็น "ผู้แก้วิกฤติ" เป็น "ศูนย์รวมทางจิตใจ" ของในหลวงภูมิพล ซึ่งในสมัย 14 ตุลา ไม่เคยมี (คนยุคหลังมักจะ "ฉายภาพย้อนหลัง" หรือ project ภาพ "ห้ามทัพ" ปี 2535 นี้ ย้อนกลับไปที่ 14 ตุลา ซึ่งต่างกันมาก - เคยมีอีเมล์ฉบับหนึ่งในปี 2549 เขียนลักษณะนี้)

2538 - ในหลวงภูมิพลออกมาพูดวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในขณะนั้น ในเรื่องการจัดการจราจร กับ การจัดการน้ำ ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ที่กษัตริย์จะออกมาแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการนโยบายของรัฐบาล

2537-2547 - การปรากฏตัวของในหลวงภูมิพลในฐานะ "นักเขียน" หรือ author (และโดยนัยยะคือเป็น "นักคิด" "นักปรัชญา") ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ก่อนหน้านั้นหลายสิบปี เคยมีแต่การยกย่องในฐานะนักแต่งเพลง, วาดภาพ, นักกีฬา, ถ่ายภาพ

2540 - ในหลวงภูมิพลในฐานะผู้เสนอแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ("ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" - ซึ่งต่อมาถูกบรรจุไว้เป็นรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนที่จะมีการเสนอว่า กษัตริย์เป็น "ผู้นำความคิด" หรือชี้นำวิถีชีวิตของสังคมในลักษณะนี้)

"การปฏิรูปการเมือง" ที่นำไปสู่ "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540" ก็เริ่มต้นโดยอาศัยการอ้างอิงพระราชอำนาจในหลวงภูมิพล (ซึ่งตอนนั้นได้รับการเชียร์จากนักวิชาการอย่างเป็นเอกฉันท์)
2540s - "ตลาด" หรือ mass market เต็มไปด้วย "สินค้า" (mass products) ในหลวงภูมิพล
.........................
แน่นอน ดังที่เห็นกัน อำนาจนำของในหลวงภูมิพลที่ปรากฏขึ้นในช่วงทศวรรษ 2530-2540 นี้ ได้เริ่มแตกสลายลงในทศวรรษที่ผ่านมาพร้อมๆกับวิกฤติการเมืองปัจจุบัน และตอนนี้ในหลวงภูมิพลก็ไม่อยู่แล้ว และลูกชายที่เป็นกษัตริย์ขณะนี้ ก็ไม่มีวี่แววจะสามารถเข้าแทนที่เป็น "เอกลักษณ์รวมหมู่" ของชนชั้นกลางในเมืองได้
ปัญหาอย่างกรณีพิธีถวายบังคมฯจุฬา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนปัญหาที่ใหญ่ขึ้นไปกว่านั้นอีกว่า จะสร้างเอกลักษณ์รวมหมู่ใหม่ ฉันทามติใหม่ ระบบคุณค่าแบบใหม่ อะไรมาแทนที่ และอย่างไร.....


จะสร้างเอกลักษณ์รวมหมู่-ระบบคุณค่าแบบใหม่อย่างไร จะสร้าง ปชต.ที่มีฐานจากวัฒนธรรม ตต. ในไทยที่มีวัฒนธรรมคนละอย่างได้? goo.gl/wER4Uh


บีบีซีไทย - BBC Thai พระราชพิธีสละราชสมบัติ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น ..

“ข้าพเจ้าขอขอบคุณด้วยใจจริงต่อประชาชนที่ให้การยอมรับและสนับสนุนการทำหน้าที่ในฐานะสัญลักษณ์ของรัฐมาโดยตลอด”



นับเป็นครั้งแรกที่สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นมีพระราชประสงค์จะทรงสละราชสมบัติด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ปี 1817 เป็นต้นมา
Live ผ่านไปแล้วกับพระราชพิธีสละราชสมบัติ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะแห่งญี่ปุ่น บีบีซีไทยชวนคุณผู้ชม มาชมภาพย้อนหลัง และวิเคราะห์กันต่อกับ ผศ.ดร. โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านญี่ปุ่น



ตำนานการแต่งตั้งสืบสานอำนาจโจร



Andrew MacGregor Marshall กำลังถูกคนไทยที่นิยม The Tyrant King ขู่เขนจะฆ่าเพราะเขาเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับราชวงค์ของไทย ...


Andrew MacGregor MarshallVerifierat konto @zenjournalist 28 apr.
I’ve been getting a lot of death threats recently. Sigh.

ขอฝากกลอนนี้ให้ Tyrant King ในวันราชาภิเษก 4 พ.ค 2562

โดย ขุนเขาจากแดนไกล ...

ขุนเขาบอก :

ไอ้ลูกชายพ่อตายแล้วไม่แคล้วเจ้า…

ไอ้ลูกชายพ่อตายแล้วไม่แคล้วเจ้า
หมูเต็มเล้าข้าวเต็มนาปลาเต็มหนอง
คณานับทรัพย์สินแผ่นดินทอง
พ่อเก็บกองไว้ให้เจ้าเท่าแผ่นดิน

แต่ที่แย่พ่อแม่เจ้าไม่เอาถ่าน
แอบล้างผลาญแรงศรัทธาคร่าทรัพย์สิน
แอบยักยอกปอกลอกคนปล้นแผ่นดิน
แอบโกงกินสินประชาสั่งฆ่าคน

ทรัพย์ที่กองทองที่หาขี้ข้าให้
หลอกลวงไพร่ไห้เสาะหาพากันขน
เทินบัลลังก์นั่งทำนาบนหลังคน
อิทธิพลของพ่อนั้นมหันต์เกิน

น้องของเจ้าเหล่าลูกหลานไม่หาญหัก
ศรีและศักดิ์เจ้าหนักกว่าน่าสรรเสริญ
ก่อนปลิดปลงลงลายมือคนถือเทิน
เพี่อเรียนเชิญเจ้าขึ้นนั่งบัลลังก์ปอง

บัลลังก์นี้มีชาวนาเป็นข้าต่าง
ยอมให้วางคานแบกข้าบนบ่าสอง
อีกเหล่าไพร่ไอ้ขี้ข้าพาประคอง
บัลลังก์ทองจึงผ่องเพรารอเจ้ามา

ต้องจำใจไปก่อนหนาชราแล้ว
หายใจแผ่วไม่แคล้วตายกายผวา
ข้างกายพ่อแม่รออยู่คู่ชรา
คงต้องลาเจ้าแลน้องทั้งสองคน

หลังพ่อตายแม่วายชนอย่าหม่นหมอง
รีบปรองดองปกครองไพร่ให้เหตุผล
อย่าหูเบาเจ้าลูกชายอย่าอายคน
พ่อเจ้าปล้นแม่เจ้าฆ่ายังกล้าทำ……..


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ thaiscandemo.blogspot.com ( ไอ้ลูกชายพ่อตายแล้วไม่แคล้วเจ้า )

"ไร้จิตสำนึก ไร้ความจริงใจ ไร้ความรับผิดชอบ"

“มีชัย” โยน ถาม กกต.สูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ บอก”หมดหน้าที่แล้ว”
https://www.prachachat.net/politics/news-321039


คลิกดู-“มีชัย” โยน ถาม กกต.สูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ บอก"หมดหน้าที่แล้ว"

(หมายเหตุ-“มีชัย” เก่งจริง ดีจริงหรอ???เป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญมาก็หลายฉบับ(ที่โดนทหารฉีกทิ้ง)ครั้งแล้วครั้งเล่า  บอก”หมดหน้าที่แล้ว” ไม่ความรับผิดชอบใดๆ )

måndag 29 april 2019

ภาพเป็นข่าว..

Officials plant ruang phueng trees (yellow stars), which symbolize the reign of King Vajiralongkorn,in every province of Thailand today



Officials plant ruang phueng trees (yellow stars), which symbolize the reign of King Vajiralongkorn, in every province of Thailand today for His Majesty's upcoming coronation ceremony.

แจ้งข่าวพิเศษ:- คนไทยส่วนมากไม่ชอบกษัตริย์ วชิราลงกรณ์ และไม่ให้การสนับสนุนพิธีราชาภิเษกของเขา ดังนั้นเผด็จการทหารจึงได้สั่งไห้พนักงานของรัฐจำนวน 22,000 ออกมาเข้าแถวรับในวันทำพิธีราชาภิเษก เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการฉลองกษัตริย์ใหม่ของไทย

ข่าวพิเศษ:-เผด็จการทหารนอกจากได้สั่งให้พนักงานลูกจ้างของรัฐจำนวน 26,000 คนเข้าแถวรอรับกษัตริย์วชิราลงกรณ์ในวันราชาภิเษกในวันที่ 4 พ.ค. แล้วยังได้สั่งให้ข้าราชการเข้าร่วมในวันพิธีในวันที่ 5 พ.ค.อีกด้วยเพื่อมองดูว่ามีผู้คนมาร่วมเป็นจำนวนมาก และให้ทุกคนใส่เสื้อเหลือง !!!!


EXCLUSIVE—Besides ordering 26,000 state employees to line the route of King Vajiralongkorn’s coronation procession on May 4, the junta has also told government officials to join the ceremonies on May 5, to make the crowds seem bigger. They have been ordered to wear yellow shirts



หลังราชาภิเษกแล้วเขาจะฆ่าให้หมด !!!



ประชาชนถูกหลอกให้ออกมาเลือกตั้ง



söndag 28 april 2019

ข่าวความเคลื่อนไหวจากทำเนียบรัฐบาลคณะคสช.ม.44

“บิ๊กตู่-ทีมสมคิด” นำคณะพบ “สี จิ้นผิง-หลี่ เค่อเฉียง” หารือเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมใหม่ ขนขบวนรถไฟไทย-จีน 2 แสนล้านถกทวิภาคี “สมคิด” ลงนาม MOU สนามบินเจิ้งโจวพันธมิตรเมืองการบินอู่ตะเภา-อีอีซี ดันไทยศูนย์กลางโลจิสติกส์ คมนาคม การบิน เปิดประตูรับการค้าอาเซียน
คลิกดู-"ประยุทธ์" ยกทีมศก.ถกผู้นำจีน เซ็น MOU-หนุนไทยฮับการบิน