fredag 31 maj 2019

"ไทม์" เปรียบเทียบประยุทธ์เป็นสฤษดิ์น้อย แต่ไม่มีสื่อไทยฉบับไหน ยอมรายงานว่าทำไม "ไทม์" จึงเปรียบเทียบเช่นนั้น และปัญหาการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ในไทย (อัพเดท)


Image may contain: 2 people, textNo photo description available.


ทุกคนคงได้เห็นข่าวที่ว่า "ไทม์" เปรียบเทียบประยุทธ์เป็นสฤษดิ์น้อย แต่ไม่มีสื่อไทยฉบับไหน ยอมรายงานว่าทำไม "ไทม์" จึงเปรียบเทียบเช่นนั้น และปัญหาการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ในไทย (แถมด้วยเรื่อง "อคม." และ "วันเกิด")
มติชน-ข่าวสด รายงานตรงกัน ด้วยประโยคนี้:
"นอกจากนี้นิตยสาร ไทม์ ยังเปรียบพล.อ.ประยุทธ์ เป็น ‘สฤษดิ์น้อย‘ (Little Sarit) เนื่องด้วยมีคุณลักษณะ ‘บางประการ’ ที่คล้ายกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของไทย"
(https://goo.gl/swm8ZP และ https://goo.gl/HfVXHh)
ไทยรัฐ รายงานห้วนๆกว่า ด้วยประโยคนี้:
"นอกจากนี้ไทม์ยังเปรียบเทียบ พล.อ.ประยุทธ์กับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของไทย ให้เป็น “สฤษดิ์น้อย” (Little Sarit)"
(https://goo.gl/fvwu8B)
โพสต์ทูเดย์ รายงานห้วนๆเรื่องสฤษดิ์น้อยเหมือนกัน ด้วยประโยคนี้:
"นอกจากนี้ ยังมีการเปรียบเทียบ พล.อ.ประยุทธ์กับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของไทย ให้เป็น "สฤษดิ์น้อย" รวมทั้งกล่าวถึงทักษะด้านการแต่งเพลงกับแต่งกลอน โดยพลเอกประยุทธ์ระบุว่าคนไทยชอบบทกวี
(https://goo.gl/a4oWva)
แม้แต่สื่อที่ได้ชื่อว่าเป็นของ "คนรุ่นใหม่" The Matter ก็เขียนเท่านี้:
"นอกจากนี้ ยังมีการเปรียบเทียบ พล.อ.ประยุทธ์กับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกฯ โดยยกให้เป็น ‘สฤษดิ์น้อย’ และพาดพิงถึงทักษะพิเศษด้านการแต่งเพลงกับแต่งกลอน"
(https://goo.gl/VKvi1J)
........................
ข้างล่างนี้ ผมแปลส่วนที่ไทม์เขียนถึงเรื่อง "สฤษดิ์น้อย" ทั้งหมดแบบคำต่อคำ (ต้นฉบับ https://goo.gl/y8cBKF)
ในประเทศไทย พระราชวงศ์ได้รับการปฏิบัติต่อด้วยการเคารพสักการะราวกับเทพเจ้า. ประยุทธ์ได้เสริมความสัมพันธ์กับราชวงศ์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และทำให้เขาได้รับชื่อเล่นว่าสฤษดิ์น้อย ตามชื่อของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ผู้ยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี 2500 และได้ช่วยยกสถาบันกษัตริย์ให้มีบทบาทสูงสุดในสังคมไทย. ทุกวันนี้ ทุกครัวเรือนไทยจะติดรูปกษัตริย์ไว้เป็นรูปสูงสุดในบ้าน. และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวดที่สุดในโลก ซึ่งถูกใช้มากขึ้นๆเพื่อบดขยี้เสียงคัดค้าน.
หลายคนเชื่อว่าการรัฐประหารของประยุทธ์มีเป้าหมายเพื่อทำให้ชนชั้นนำประเทศไทยยังคงอยู่ในอำนาจควบคุมสถานการณ์ระหว่างช่วงการเปลี่ยนรัชกาลที่อ่อนไหว. วชิราลงกรณ์กษัตริย์ใหม่ของไทย มีไลฟ์สไตล์แบบไม่เป็นไปตามประเพณี และไม่ได้รับความเคารพแบบเดียวกับพ่อของเขา. ประยุทธ์เพียงแต่พูดว่า เขายึดอำนาจเพื่อฟื้นฟูความเป็นระเบียบเรียบร้อย "ผมไม่สามารถปล่อยให้ประเทศของผมได้รับความเสียหายมากไปกว่านั้น" ประยุทธ์กล่าวแบบดราม่าหน่อยๆ "ตอนนั้นประเทศกำลังอยู่ที่ขอบเหวของการถูกทำลายล้าง"
........................
ผมขอให้สังเกตและตั้งคำถามว่า สมมุติถ้าสื่อไทย จะลงคำอธิบายสั้นๆของไทม์ที่เรียกประยุทธ์ว่าสฤษดิ์น้อย โดยคัดแปลมาเฉพาะประโยคนี้

"เขาได้รับชื่อเล่นว่าสฤษดิ์น้อย ตามชื่อของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ผู้ยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี 2500 และได้ช่วยยกสถาบันกษัตริย์ให้มีบทบาทสูงสุดในสังคมไทย."ทำได้ไหม?

ผมยืนยันว่าทำได้ล้านเปอร์เซนต์ ไม่มีอะไรผิดกฎหมายเลย และไม่ใช่การวิจารณ์ใดๆไปถึงสถาบันกษัตริย์ด้วย เป็นเพียงการพูดถึงข้อเท็จจริงเท่านั้น ว่าสฤษดิ์ "ช่วยยกสถาบันกษัตริย์ให้มีบทบาทสูงสุดในสังคมไทย" และนัยยะของการเปรียบเทียบประยุทธ์เป็นสฤษดิ์น้อย ก็เพราะเหตุนี้
........................
ผมยกเรื่อง "เล็กๆ" นี้ขึ้นมา เพราะผมเห็นว่ามันสะท้อนปัญหาที่ใหญ่ขึ้นไป ที่ว่า ความจริงเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์นั้น คนในไทยสามารถพูดถึงได้แบบตรงๆธรรมดาๆ มากกว่าที่ทำกัน โดยเฉพาะคนที่ "มีสถานะทางสังคม" (ผมเคยพูดไว้ตั้งแต่ก่อนรัฐประหารถึงคน 3 กลุ่ม คือนักวิชาการ, สื่อ, นักการเมือง)
ผมจะหาโอกาสอภิปรายเรื่องนี้อีก ความจริง ประเด็นที่ไทม์พูดต่อมาว่า การยึดอำนาจของ คสช.ครั้งนี้เกี่ยวพันถึงเรื่องความกังวลเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ก็เป็นประเด็นสำคัญ เรียกว่าเป็นหัวใจของปัญหาว่า ทำไมทหารจึงยึดอำนาจ หรือทำไมจึงยังดันทุรังอยู่ในอำนาจมานานขนาดนี้ (ซึ่งขัดกับสภาพการณ์ของโลกมากๆ และเห็นได้ชัดว่าพวกเขาไม่มีความสามารถจะบริหารประเทศด้วย แต่ทำไมจึงต้องดันทุรัง?) ตราบใดที่คนในไทยเองไม่หาทางพยายามที่จะผลักดันให้มีการอภิปรายปัญหานี้อย่างเป็นทางการ ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาเรื่องทหารได้ แน่นอน ในไทยไม่สามารถเขียนหรือพูดได้แบบที่ไทม์ทำข้างต้น แต่ผมยืนยันว่า สามารถและควรทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ (ซึ่งคือเท่ากับศูนย์) แน่
กรณีการ "ดร็อป" เรื่อง 112 -- ซึ่งความจริงเป็นเพียงประเด็นเล็กประเด็นเดียวเกี่ยวกับเรื่องสถานะสถาบันกษัตริย์ -- ของผู้นำ "อนาคตใหม่" จึงมีนัยยะสำคัญมากกว่าที่คนทั้งหลายเข้าใจกัน ในความเห็นผม เป็นการ "พลาดโอกาสทางประวัติศาสตร์" (historic opportunity) ที่สำคัญมากๆ (ครั้งแรกในรอบ 70 ปีที่ "การเมืองทางการ" จะนำเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันฯมาพูด) เป็น irony หรือ "ตลกร้าย" ที่ว่า แม้แต่พวก "ใต้ดินล้มเจ้า" ก็ไม่มีใครเก็ตความสำคัญของเรื่องนี้อย่างเต็มที่ คนที่ออกมาดีเฟนด์การดร็อปครั้งนั้น ส่วนหนึ่งเป็นการสะท้อนลักษณะที่ผมเรียกว่า profoundly elitist ของวัฒนธรรมการเมืองไทย คือการที่คนตัวเล็กๆบ้านๆ มาคอยดีเฟนด์การที่คนระดับนำไม่ยอมทำเรื่องยากๆ ผลคือ เรื่องยากๆปล่อยให้กลายเป็นเรื่องที่คนระดับล่างๆบ้านๆทำกัน แล้วก็เดือดร้อนกันไป (คดีหมิ่นเกือบทั้งหมดในสิบกว่าปีนี้ เป็นเรื่องคนระดับบ้านๆที่ไม่รู้วิธีพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ ว่าพูดอย่างใดจึงจะไม่ละเมิดกฎหมาย) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเมืองที่ตรงข้ามกับตะวันตก ที่เขาเรียกร้องระดับนำของเขามากกว่านี้เยอะ และอีกส่วนหนึ่งมาจากความไม่รู้ไม่เข้าใจว่า เรื่องสถาบันกษัตริย์สามารถพูดได้ในประเทศไทย มากกว่าที่เป็นอยู่แน่นอน (กรณี อคม.ที่ว่า ไม่เกี่ยวกับว่าจะมีอันตรายถ้าไม่ดร็อปเรื่อง 112 ไม่เกี่ยวกับว่าจะผิดกฎหมาย หรือไม่ใช่กระทั่งเรื่อง "การกดดัน" "แรงเสียดทาน" จากอำนาจรัฐหรือชนชั้นนำใดๆทั้งสิ้น อย่างที่นักวิชาการอย่างพิชิตหรือพวงทองจะอ้างแบบกระต่ายตื่นตูมและไม่มีความรับผิดชอบ เรื่องนี้ผมรู้ตั้งแต่แรก และได้รับการยืนยันในช่วงเวลาที่ผ่านมา ที่ผมยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะมันเหมือนกรณี "สฤษดิ์น้อย" ข้างต้นน่ะแหละ เขียนประโยคที่ไทม์พูดที่ผมยกมาในไทยได้แน่นอน) ผมจะหาโอกาสกลับมาพูดเรื่องนี้อีก
........................
ปล. กระทู้นี้ยาวมากแล้ว แต่ผมไม่อยากตั้งกระทู้ใหม่ที่เกี่ยวกับเรื่องตัวเอง จึงขออนุญาตใช้พื้นที่นี้ พูดอะไร "ส่วนตัว" เล็กน้อย (แม้จะเกี่ยวกับการเมืองที่พูดถึงในกระทู้นี้ด้วย) ใครที่ไม่สนใจ อ่านมาถึงตรงนี้ ก็หยุดอ่านต่อได้ หรือไม่ก็ข้ามไปอ่าน 3-4 ย่อหน้าสุดท้าย ซึ่งไม่ได้พูดถึงเรื่องตัวผมเองโดยตรง
ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาส่งคำอวยพรวันเกิด 60 มาทางหลังไมค์ และในบางกระทู้ของคนอื่น เมื่อวานนี้ ผมไม่สามารถตอบขอบคุณเป็นรายคนได้ ขอขอบคุณรวมๆในที่นี้ ขอให้พรทั้งหลาย สนองคืนแก่ทุกท่าน
ผมต้องสารภาพว่า วันเกิดปีนี้ ผมอยู่ในอารมณ์ "บ่จอย" มากเป็นพิเศษ ปกติมี 2 วันทุกปี ที่ผมอารมณ์ไม่ค่อยดีทั้งวัน คือ 6 ตุลา กับวันเกิด เรื่องวันเกิด ไม่ใช่เพราะรู้สึกตัวว่า "แก่ขึ้น" ความจริงผมไม่ได้รู้สึกว่าตัวเอง "แก่ 60 แล้ว" ในแง่อายุหรือความคิดความรู้สึกเท่าไร แต่มันโยงกับความไม่สบอารมณ์กับตัวเองว่า ผ่านไปอีกปี อ่านหนังสือศึกษาได้ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น เป็นเวลานานทุกปีหลังจากผมเริ่มย่าง 50 ที่ผมเสียดายว่า "ถ้ากลับไปที่ 30 ได้คงดี" จะได้อ่านหนังสือศึกษาให้มากกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ ยิ่งผ่านมาอีกจนถึง 60 ก็รู้สึกว่าเวลาจะทำแบบนั้นได้ ยิ่งน้อยลง (ผมเคยเล่าไว้นานแล้วว่า อยากศึกษาเช็คสเปียร์และงานศิลปะวรรณกรรมก่อนตาย สงสัยจะไม่ได้แน่แล้ว ยังมีเรื่องอื่นอีกเยอะที่อยากอ่านก่อน)
แต่ปีนี้ มีอารมณ์บ่จอยอีกเรื่องเพิ่มขึ้นมา (จะว่าไปคงมีส่วนมาจากความตระหนักว่า ตัวเองเวลาอยู่บนโลกมีอีกไม่มาก) และเป็นเรื่องการเมืองที่เกี่ยวกับเรื่องที่พูดในกระทู้
ผมพยายามพูดเขียนต่อสาธารณะถ้านับจากกลับจากเรียนเอกมาก็ร่วม 20-30 ปี เพื่อหาทางทำให้ประเด็นสถานะของสถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่พูดได้ทางสาธารณะ (ในสังคมสมัยใหม่ ไม่มีทางจะเปลี่ยนแปลงเรื่องสำคัญแบบนี้ได้ ด้วยการซุบซิบนินทา หรือพูดแบบใต้ดิน แบบแอบๆซ่อนๆ) สิ่งที่เป็นความหวังมากๆของผมตลอด 20-30 ปีนี้คือ "คนที่มีฐานะทางสังคม" (3 กลุ่มที่ผมพูดข้างต้น) จะหันมาพยายามผลักดันประเด็นนี้อย่างจริงจัง เพราะนี่เป็นเรื่องที่เป็นหัวใจของสังคมไทย ของ "ความเป็นไทย" หรือ "เอกลักษณ์" ของความเป็น "ชาติหนึ่ง สังคมหนึ่ง" แน่นอน (ในแง่นี้ ผม "เห็นด้วย" กับรัฐไทยในแง่ที่ว่า เรื่องสถาบันฯเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของไทย เพียงแต่แน่นอนว่า ผมอธิบายหรือมองความสำคัญคนละอย่าง)
พร้อมกับความตระหนักว่า หลังจากทำมา 20-30 ปี จนตัวเองถึงวัยที่นับถอยหลังเวลาอยู่บนโลกนี้ได้ พอใกล้และถึงวันเกิดปีนี้ ความรู้สึกที่ว่าตัวเอง "ล้มเหลว" ในการทำให้เกิดการพูดแบบทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเมืองไทย โดยเฉพาะทำให้ "คนมีฐานะทางสังคม" 3 กลุ่มดังกล่าวออกมาทำเรื่องนี้บ้าง จึงเป็นความรู้สึกที่ชวนหดหู่มากเป็นพิเศษ
กรณีอย่าง "อคม." จึงเป็นความผิดหวังสำหรับผม personally มากเป็นพิเศษ โอกาสมีอยู่ เป็นโอกาสทางประวัติศาสตร์ครั้งแรกในรอบ 70 ปีด้วย สถานการณ์ก็ยากน้อยกว่าเมื่อ 20-30 ปีที่ผมเคยผ่านมาด้วย มิหนำซ้ำ นี่เป็นเรื่องของ "คนรุ่นใหม่" ด้วย.....
ความสำเร็จสำคัญที่สุดของสถาบันกษัตริย์ไทย ไม่ใช่เรื่องทำให้คนเชื่อคนเชียร์ เรื่องนั้นก็สำคัญ แต่ถึงที่สุด "ไม่แปลก" ในแง่ที่ว่า ถ้ามีอำนาจรัฐและระบบการอบรมบ่มเพาะตั้งแต่เด็กแบบที่เป็น
ความสำเร็จที่สำคัญทีสุด คือการทำให้คนที่มีปัญหา ไม่เห็นด้วย (เรียกรวมๆว่า critical) ต่อสถานะของสถาบันกษัตริย์ คนที่เชื่อว่าตัวเอง "เห็นปัญหา" ไม่ยอมทำอะไรเมื่อมีโอกาสที่จะทำ หรือไม่ยอมพยายามหาโอกาสที่จะทำ หรือถ้าไม่มีโอกาสก็พยายามสร้างโอกาสขึ้น คือการทำให้คนเหล่านี้ รู้สึกว่า "ทำอะไรไม่ได้" หรือ "ทำอะไรไม่ได้มากกว่านี้" และลงเอยด้วยการบอกตัวเองว่า "มีเรื่องอื่นให้ทำก่อน" "รอไว้อนาคตเมื่อทำได้" (ซึ่่งตลอดหลายสิบปี "อนาคต" ที่ว่า ไม่เคยมาถึง เพราะไม่เคยมี "อนาคต" ที่ว่า ถ้าไม่ลงมือทำให้มี)
เพราะถ้าคุณทำให้คนที่ไม่ได้เชียร์สถาบันฯ หรือเห็นว่าสถานะที่เป็นอยู่มีปัญหา รู้สึกหรือคิดแบบนี้ได้ ก็ไม่ต้องห่วงเลยเรื่องจะเกิดความเปลี่ยนแปลงได้
("ความสำเร็จ" ที่ว่าในกรณีไทยเป็นอะไรที่ "ผิดปกติ" จากแทบทุกกรณีในโลกที่ผมรู้มาด้วย ที่ "คนที่เห็นปัญหา" มองโดยรวมแล้ว ทำอะไรน้อยกว่าสิ่งที่พวกเขาบอกตัวเองว่า "เห็นปัญหา" ขนาดนี้)

ยุคตู่ไม่ใช่ยุคป๋า :คอลัมน์ ใบตองแห้ง


ยุคตู่ไม่ใช่ยุคป๋า : คอลัมน์ ใบตองแห้ง

พปชร.ยกมือพรึ่บพรั่บให้ ชวน หลีกภัย เป็นประธานสภา นึกว่าดีลรัฐบาลลุล่วง ที่ไหนได้ ปชป.บอกว่า ส.ส.ยกมือให้เพราะศรัทธา ไม่ใช่เพราะตระบัดสัตย์ผสมพันธุ์เผด็จการ

แห่ขันหมากไปสู่ขอ ทีแรกทำท่าจะสมสู่ เจ้าบ่าวประเคนสินสอดให้ทั้งเกษตร พาณิชย์ แต่ที่ไหนได้ ปัญหาย้อนกลับไปภายใน แล้วกลุ่มสามมิตรได้อะไร ส.ส.ภาคใต้ที่อุตส่าห์โค่นเสาไฟฟ้ามา 13 ต้น จะแบกหน้าไปพบประชาชนได้ไหม ฯลฯ

ซ้ำร้าย ปชป.ยังตั้งแง่คำพูดลุง เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องขอดูชื่อรัฐมนตรี แถมระหว่างที่เขาต่อรองกัน ก็ยังไปแนะนำให้ประชาชนอ่านหนังสือ Animal Farm ทำเอาชาวบ้านงง เพราะถึงแม้ฉบับภาษาไทยใช้ชื่อ “การเมืองของสัตว์” แต่เนื้อหากลับเสียดสีเผด็จการ (ดีไปอย่าง นักการเมืองขำกลิ้ง แทนที่จะโกรธ)
อาการโดยรวมจึงน่าเป็นห่วง แม้ยังเป็นนายกฯ ได้ โดยอาศัย 250 ส.ว.+126 ส.ส. ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ ตามกติกามีชัย+วันชัย หรือต่อให้ตั้งรัฐบาลได้ก่อนหรือหลังโหวตนายกฯ รัฐบาลผสมเสียงปริ่มน้ำ ก็ออกอาการตั้งแต่ต้น

ที่จริงนักวิเคราะห์วิจารณ์ก็คาดกันไว้ก่อนแล้ว ว่าแม้ลุงสืบทอดอำนาจได้ก็จะปวดกบาลกับรัฐบาลผสม พรรคร่วมมีอำนาจต่อรองสูง ในพรรคก็มีกลุ่มก๊วน แถมยังเจอฝ่ายค้านเข้มแข็ง กระแสสังคม ฯลฯ แต่ไม่คาดว่า จะลำบากตั้งแต่ยัง ไม่เริ่มต้น

เป็นนายกฯ แล้วยุบสภา ให้เลือกตั้งใหม่? (โดยยังมี ม.44 เพราะยังไม่ตั้ง ครม.) บ้าไปแล้ว ใครคิดอย่างนั้น คราวนี้ แหละจะถูกทุกพรรครุมยำ คะแนนนิยมก็ตกต่ำทั้งตลาดบน “ตลาดล่าง”

นี่ไง ใครที่คิดว่าประชาธิปไตยครึ่งใบยังใช้ได้ ฝันหวานว่ายุคตู่จะอยู่ได้ยาวเหมือนยุคป๋า คิดผิดถนัด บริบทต่างกันสิ้นเชิง (อันที่จริง ดร.โกร่งบอกว่า ตอนนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบ เป็นเผด็จการครึ่งใบต่างหาก)
ยุคป๋า พรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง ไม่มีอำนาจต่อรอง ไม่มีพรรคฝ่ายต้านเกินครึ่งสภา (แต่แพ้ทศนิยม) ยุคป๋าไม่ต้องลงเลือกตั้ง ไม่ได้ใช้อำนาจเข้าข้างพรรคใดพรรคหนึ่ง พรรค การเมืองตั้งรัฐบาลไม่ได้ก็มาเชิญ ท่านก็ขอโควตากลาง ให้ทหารให้เทคโนแครตมาเป็นรัฐมนตรี ไม่ต้องไปเบียดบังโควตาพรรคที่ตัวเองเป็นแคนดิเดต

รัฐธรรมนูญ 2560 ก๊อบรัฐธรรมนูญ 2521 มีวุฒิสมาชิก 3 ใน 4 ของ ส.ส. เป็นเสาค้ำรัฐบาล โดย 180 ใน 225 คนเป็นทหาร มีบทเฉพาะกาลให้ร่วมโหวตงบประมาณ โหวตไม่ไว้วางใจ ผ่านกฎหมายสำคัญ
แต่รัฐบาล “สืบทอดอำนาจ” ที่ใช้ ส.ว.เลือกนายกฯ จริงๆ ก็มีเพียง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ที่เป็นนายกฯ จากรัฐประหาร 2520 ได้อยู่ต่อด้วยเสียง ส.ว. 225+ส.ส.86 คนจาก 301 คน
ผลคืออยู่ได้ไม่ถึงปี ต้องลาออก เพราะทหารยังเติร์กเลิกหนุน หนุน พล.อ.เปรมมาแทน แล้ว พล.อ.เปรมก็ไม่เคยตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยอีกเลย

“ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ซึ่งเริ่มต้นในยุคเกรียงศักดิ์ อยู่ในบริบทที่ต่างจาก “เผด็จการครึ่งใบ” โดยสิ้นเชิง เพราะก่อนหน้านั้นคนไทยอยู่ใต้เผด็จการสฤษดิ์ถนอมยาวนาน จนถึง 14 ตุลา 2516 มีประชาธิปไตยสั้นๆ 3 ปี ก็เกิด “ประเทศกูมี” 6 ตุลา 2519 เกิดรัฐประหาร ตั้งรัฐบาลหอย ประกาศจะปกครองด้วยเผด็จการสุดโต่ง 12 ปี ขณะที่นักศึกษาหลายพันคนเข้าป่าจับปืน

ผู้มีอำนาจส่วนหนึ่งตระหนักถึงความผิดพลาด คณะรัฐประหารจึงโค่นรัฐบาลหอยเสียเอง พล.อ.เกรียงศักดิ์ประกาศเลือกตั้งใน 1 ปี นิรโทษกรรมผู้นำนักศึกษา เปิดรับคนกลับจากป่า ซึ่ง พล.อ.เปรมมาสานต่อเป็น 66/23
ประชาธิปไตยครึ่งใบแม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่เมื่อเทียบกับยุครัฐบาลหอย ที่ทำเอาเข็ดขี้อ่อนขี้แก่ ผู้คนสมัยนั้นก็ยังรู้สึกว่า “ดีกว่ากันเยอะเลย” อย่าลืมว่าสังคมสมัยนั้นเคยชินกับเผด็จการมาตั้งแต่ปี 2500
ขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์ ก็ประสบความพ่ายแพ้ จากแนวคิดทฤษฎีของตัวเอง ประกอบกับจีนเปลี่ยนนโยบาย คบไทยต้านเวียดนาม ผู้ถูกกระทำจาก 6 ตุลา ผู้ถูกกระทำจากรัฐประหาร ก็กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ที่ไม่มีปากเสียง จำต้องยอมรับการนิรโทษกรรม แม้ไม่มีการสะสางความยุติธรรม
ยุคป๋าเมื่อ พคท.ล่มสลายจึงไม่มีพลังต้านในเชิงอุดมการณ์ ไม่เหมือนยุคตู่ที่มี 7 พรรค 16.5 ล้านคะแนน ยืนตรงข้าม

“ตู่โมเดล” ไม่ได้มีอะไรคล้าย “เปรมโมเดล” หรือ “เกรียงศักดิ์โมเดล” ต่อให้ใช้ ส.ว.โหวตเป็นนายกฯ เหมือนกัน เพราะเกรียงศักดิ์แม้มาจากรัฐประหาร ก็เป็นการโค่นขวาจัด แก้ความผิดพลาด ขณะที่ป๋าก็ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 จึงมีภาพคนกลางที่สังคมยอมรับ

แต่อำนาจที่ก่อวิกฤตตั้งแต่รัฐประหาร 49 พฤษภา 53 พฤษภา 57 จนบัดนี้ก็ยังไม่แก้ไขความผิดพลาดแม้แต่น้อย มีแต่ดึงดันจะลงหลักปักฐานควบคุมประเทศไปอีก 20 ปี  นี่เราพ้น “หอยโมเดล” แล้วหรือยัง...

"พระราชอำนาจ -พระราชโองการฯ"

"ชวน หลีกภัย" เผยจะมีการลงมติเลือกนายกฯ วันที่ 5 มิ.ย. นี้

Prachachat - ประชาชาติ

(หมายเหตุ-"ชวน"ประธานรัฐสภา (?) และ  "พรเพชร"ประธานวุฒิฯ (?)ประธาน"โหวตนายก"(?)
...................................................

Somsak Jeamteerasakul

 "Monarchy without a monarch"

"มิตรสหายนักวิชาการด้านกฎหมายท่านหนึ่ง" เขียนว่า
เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ถูกประกาศใช้ มีการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็น "องค์อธิปัตย์" ผู้ชี้ขาดว่า อะไรเป็นสถานการณ์ปกติ อะไรเป็นสถานการณ์พิเศษ แก้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่ได้ เพราะ
กุมอำนาจการชี้ขาดว่า มาตรา ๗ ใช้ได้หรือไม่ ใช้อย่างไร
กุมอำนาจการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง
กุมอำนาจในการ "ให้คำปรึกษา" ในทุกๆเรื่องๆ แม้จะยังไม่เกิดเป็นข้อพิพาท
ผมได้เขียนแสดงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
ในแง่หนึ่ง ผมมองว่า ศาล รธน ใหม่ที่จะมีขึ้น มันสอดคล้องกับ "ยุทธศาสตร์" ความพยายามรับมือกับภาวะที่ผมเรียกว่า monarchy without a monarch (การปกครองโดยสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์นิยม ที่ไม่มีองค์กษัตริย์)
กล่าวคือ มัน transfer (โยกย้าย) อำนาจ ultimate arbitration (การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย / ขั้นสูงสุด) จากองค์กษัตริย์ ไปที่ศาลใหม่

.....

เกร็ดความรู้ (อัพเดท) "วังวชิราลงกรณ์คอมเพล็กซ์" เอาแบบเต็มๆ อาจจะเป็นแบบนี้?



"วังวชิราลงกรณ์คอมเพล็กซ์" เอาแบบเต็มๆ อาจจะเป็นแบบนี้?
มี "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ส่งแผนภูมินี้มาให้ดูว่า แผนการสร้าง "วังวชิราลงกรณ์คอมเพล็กซ์" ถ้าทำเต็มที่ น่าจะเป็นแบบไหน ซึ่งมากกว่าแผนที่ที่ Khaosod English ทำเรื่องการ "พัฒนาเขตดุสิต" และผมโพสต์ให้ดูในกระทู้ก่อน
ความจริง หลังจากผมโพสต์ ก็มีมิตรสหายบางท่านมาทักว่า แผนที่ "ข่าวสดอิงลิช" น่าจะไม่ครบ เพราะขาดพื้นที่ 80 ไร่ที่ติด รร.วชิราวุธ ที่ทุกวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระตำหนักอัมพรสถานอยู่แล้ว และยังมีมิตรสหายอีกบางท่านมาพูดว่า น่าจะขยายไปให้สุดแม่น้ำเจ้าพระยาเลย ซึ่งผมดูแผนที่แล้ว ก็เห็นว่าน่าจะเป็นไปได้ เพราะถ้าขยายคลุมที่สวนดุสิต-สวนสุนันทาแล้ว ก็ห่างจากริมน้ำเจ้าพระยานิดเดียว มิหนำซ้ำ แผนที่เมื่อเช้า ยังไม่ได้รวม "วังสุโขทัย" ที่มีอยู่แล้วไว้ด้วย
แผนที่ใหม่นี้ คลุมหมดทุกกรณีที่เพิ่งกล่าวมา (ติดไปถึงแม่น้ำเจ้าพระยา, วังสุโขทัย, เขต 904)
วชิราลงกรณ์มีไอเดียทำ "วังคอมเพล็กซ์" แบบนี้เลยไหม? ผมยืนยันไม่ได้เหมือนกัน #แต่เขามีไอเดียในการทำวังกลางเมืองโดยรวมพื้นที่บริเวณนั้นเข้าด้วยกัน #อันนี้ค่อนข้างแน่ เหลือแต่ว่า จะคลุมพื้นที่เท่าไหน จะทำได้จริงๆหรือไม่ (อย่างที่พูดไปหลายครั้ง ทำจริงๆ งบมหึมาแน่ๆ)
ก็ดูๆไว้เป็นไอเดียนะครับ ประเทศไทยอาจจะมี "บั๊คกิ้งแฮม" กับเขาบ้าง แฮ่

No photo description available. 

*** ความเป็นไปได้ว่า "วังวชิราลงกรณ์คอมเพล็กซ์" จะมีขนาดรูปร่างหน้าตาอย่างไร? goo.gl/ffrJFh
*** FYI: ทิศทางเคลียร์พื้นที่สร้าง "วังวชิราลงกรณ์คอมเพล็กซ์" ดูเป็นจริงมากขึ้นๆ "ทรัพย์สินฯจ่อขอคืนที่ดินสวนดุสิต-สวนสุนันทา....." goo.gl/KpvPKS
*** ปูทางสร้างวังใหญ่วชิราลงกรณ์ อีกหนึ่งจังหวะก้าว? goo.gl/rWVWvS


*** มีคนทักมาหลังไมค์ว่า ที่สนามม้านางเลิ้ง เขาไม่ได้จะสร้างวัง แต่จะสร้างโรงพยาบาลสำหรับข้าราชการในพระองค์ของวชิราลงกรณ์ ผมเลยตอบไปว่า ผมก็ไม่ได้หมายความว่า ที่เขาไล่สนามม้าออกไป จะสร้างเป็นตึกวัง(ที่เจ้าพัก) ลงตรงจุดนั้นเลย คืออย่างนี้ครับ .... (อ่านต่อ goo.gl/mk3nkm)

*** วชิราลงกรณ์จะปิดพื้นที่บริเวณพระราชวังดุสิต แล้วทำเป็นเหมือน "บั๊คกิ้งแฮม"? goo.gl/HQS4Jo


เกร็ดความรู้ (อัพเดท) ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างรัฐ และ สังคม-เศรษฐกิจไทย ในภาพสไลด์เดียว

Somsak Jeamteerasakul


ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างรัฐ และ สังคม-เศรษฐกิจไทย ในภาพสไลด์เดียว
ภาพสไลด์นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ผมเตรียมไว้พูดวันเสาร์ เอามาแจก เผื่อใครสนใจและมีประโยชน์ ทั้งสองอันนี้เหมือนกันหมดทุกอย่าง ยกเว้นจุดเดียว (คงดูออกไม่ยาก) ทำเผื่อเป็นสองอัน สำหรับใครที่คิดจะเก็บ แล้วรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะเก็บอันหนึ่ง ทั้งสไลด์ไม่น่าจะมีอะไรผิดกฎหมาย เป็นการสรุปเชิงวิชาการธรรมดา ยกเว้นตรงจุดที่ต่างกันระหว่างสองอัน อันหนึ่งอาจจะมีความเสี่ยง
เนื้อหาส่วนมากของสไลด์คงดูเข้าใจได้เลย ไม่ต้องอธิบาย แต่มีประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นที่ขออธิบายสั้นๆ ดังนี้
#ประเด็นที่หนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม-เศรษฐกิจไทย
ถ้าบังเอิญใครได้เรียนหนังสือกับผมตั้งแต่ผมเริ่มสอนเมื่อ 20 กว่าปีก่อน อาจจะพอจำได้ว่า ผมแบ่งความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างสังคม-เศรษฐกิจไทย ออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ แทนด้วย "ช่อง-แท่งสี" ตามแนวตั้งในภาพ 3 ช่อง-แท่งสี คือ
- "ยุคชาตินิยม-รัฐนิยม" (สีชมพู) จาก 2475 ถึง 2501,
- "ยุคพัฒนา" (สีเขียว) จาก 2501 ถึงปลายทศวรรษ 2520 และ
- "ยุคความเป็นประเทศอุสาหกรรมใหม่" (สีม่วง) จากปลายทศวรรษ 2520 มาถึงปัจจุบัน
วิธีแบ่งเช่นนี้ และการให้ความสำคัญกับช่วงหลังสุด เป็นอะไรที่ไม่รับความสนใจในหมู่นักวิชาการ "ทวนกระแส" จนกระทั่งไม่กี่ปีนี้เอง ก่อนหน้านั้น นับสิบๆปี นักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมยุคสฤษดิ์ ("ยุคพัฒนา" ในสไลด์ของผม) เป็นหลัก และทางการเมืองคือให้ความสำคัญกับ 14 ตุลา - ตั้งแต่เริ่มสอนประวัติศาสตร์ไทย เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ผมก็เห็นว่า ที่สำคัญจริงๆคือ ความเปลี่ยนแปลงช่วงปลายทศวรรษ 2520 และเหตุการณ์ 17 พฤษภา
เพิ่งไม่กี่ปีนี้ ภายใต้ผลสะเทือนทางการเมืองของวิกฤติ พูดง่ายๆคือ นักวิชาการหันมาเห็นอกเห็นใจเสื้อแดงมากขึ้น แล้วเลยเริ่ม "มองเห็น" (จริงๆคือการ "สร้าง" หรือ construct ทางวิชาการ) กลุ่มคนที่เรียกกันว่า "ชนชั้นกลางระดับล่าง" แล้วก็เลยมาให้ความสำคัญกับช่วงปลายทศวรรษ 2520 ที่ว่ากันว่าเริ่มทำให้เกิดกลุ่มดังกล่าวขึ้น (แต่เรื่อง 14 ตุลา ยังคง "ติด" กันอยู่)
ความจริง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญมากที่ผมเสนอ แต่ไม่สามารถแสดงให้เห็นในสไลด์นี้ได้ (เพราะพื้นที่ไม่พอ) คือ การปรากฏตัวหรือ "เกิด" ขึ้นเป็นครั้่งแรกของสิ่งที่เราอาจจะเรียกว่า "สังคม(ที่เป็นเอกภาพของ)ไทย" สำหรับผม จนถึงประมาณปลายทศวรรษ 2520 ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "สังคมไทย" ในความหมายสังคมที่มีลักษณะเอกภาพ (สมาชิกสังคม จะมากจะน้อยมองว่า ทุกคนเป็น "คนไทย" ด้วยกัน) เพราะยังมีการ "แบ่งงาน-สังคมวัฒนธรรม ตามลักษณะเชื้อชาติ" (ethic division of labor) อยู่ ที่สำคัญคือมีการมองคนลูกหลานจีน เป็น "เจ๊ก" (ที่ไม่ใช่ไทยเสียทีเดียว) อยู่
ในความเห็นผม ความเปลี่ยนแปลงจากปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้นมานี้ มีความสำคัญอย่างมหาศาล ซึ่งไม่สามารถอธิบายละเอียดในที่นี้ได้ แต่กล่าวอย่างสั้นๆ คือการทำให้มี "สังคมไทย" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก (ดังที่เพิ่งกล่าว) ซึ่งมีชนชั้นกลางในเมืองที่เป็นเชื้อสายหรือลูกหลานคนจีน กลายมาเป็นชนชั้นนำ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม (ด้านสุดท้ายนี้แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมชัดๆ คือ การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ "ความสวย" ของผู้หญิง ไม่ว่าในหมู่ดารา ผู้เข้าประกวดนางงาม ไปถึง "ความสวย" ของผู้หญิงในพื้นที่สาธารณะทั่วไป จากแบบ "หน้าตาไทยๆ" (นึกถึงเพชรา หรืออรัญญา) มาเป็น "หน้าหมวยๆ" อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้)
ชนชั้นกลางในเมืองลูกหลานจีนที่ว่านี้ คือ "ฐานทางสังคม" ของการสถปานาอำนาจนำของในหลวงภูมิพล (ก่อนหน้านั้น "ฐานมวลชน" สำคัญของสถาบันกษัตริย์คือคนในชนบท-ต่างจังหวัด)......

#ประเด็นที่สอง ความเปลี่ยนแปลงเรื่องรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของรัฐ
จากทศวรรษ 2510 รัฐไทยประกอบด้วยองค์ประกอบใหญ่ๆ 3 องค์ประกอบ คือ สถาบันกษัตริย์, กองทัพ และนักการเมืองเลือกตั้ง (แทนด้วยเส้นสีน้ำเงิน, เขียว และเทา ในภาพสไลด์)
ควบคู่และเป็นผลสะเทือนจากความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม-เศรษฐกิจในปลายทศวรรษ 2520 ที่เพิ่งกล่าว ข้อเสนอพื้นฐานของผมคือ มีการเกิด "รัฐ(ที่เป็นเอกภาพของ)ไทย" เป็นครั้งแรก โดยจุดแบ่งที่สำคัญคือเหตุการณ์ พฤษภาคม 2535
ก่อนจะถึงจุดนั้น องค์ประกอบสามส่วนของรัฐ มีลักษณะไม่เป็นเอกภาพ แข่งขัน คานอำนาจกัน โดยเฉพาะในช่วงจากปลายทศวรรษ 2510 (เหตุการณ์ 6 ตุลา) เป็นต้นมา จนเกือบตลอดทศวรรษ 2520 แทนในภาพสไลด์ด้วยการที่เส้นสีทั้่งสาม สลับฟันปลากัน - สมัยผมสอนหนังสือ จนก่อนรัฐประหารคร้้งหลัง ช่วงนี้ ผมจะเขียนอีกอย่างหนึ่ง นี่เป็นการทำใหม่ให้ชัดเจนขึ้น
สถาบันกษัตริย์ จนถึงกลางทศวรรษ 2530 มีสถานะเป็นเพียง "กลุ่ม" หรือ clique หนึ่งในบรรดา "กลุ่ม" หรือ cliques ต่างๆ จากกลางทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา รัฐที่มีลักษณะเอกภาพจึงเกิดขึ้น ภายใต้อำนาจนำของสถาบันกษัตริย์ (ของในหลวงภูมิพล) นับจากเหตุการณ์พฤษภาคม (ไม่ใช่ 14 ตุลา ตามที่นักวิชาการเกือบทุกคนยังเชื่อกันอยู่) - ผมเคยใช้ประโยคว่า กษัตริย์เปลี่ยน from head of the ruling cliques to head of the ruling class (จากหัวหน้ากลุ่มปกครอง เป็นหัวหน้าชนชั้นปกครอง)
เกิดปรากฏการณ์ที่ผมเรียกว่า mass monarchy หรือสถาบันกษัตริย์มวลชน - เป็นครั้งแรกที่สถาบันกษัตริย์มี "ฐานมวลชน" แท้จริงเกิดขึ้น คือชนชั้นกลางในเมืองที่เป็นลูกหลานจีน ที่พร้อมใจ "อย่างเป็นไปเอง" (spontaneous ไม่ใช่ state-organized หรือรัฐจัดตั้งอย่างเดียวแบบแต่ก่อน) "สร้าง" สถาบันกษัตริย์ ให้เป็น "เอกลักษณ์" ของพวกตน เพราะลูกหลานจีนเหล่านี้ ห่างไกลรากฐานความเป็นจีนเกินไปกว่าที่จะใช้เป็นเอกลักษณ์ของตน ... พูดอย่างสั้นๆคือ สถาบันกษัตริย์กลายเป็น substitute national identity และ substitute nationalism หรือ เอกลักษณ์ความเป็นชาติ/ชาตินิยมทดแทนของพวกเขา หรือเอาเข้าจริง เป็น substitute religion หรือศาสนาทดแทนด้วย (เพราะศาสนาพุทธในไทยไม่เคยมีความเข้มแข็งแท้จริง โดยเฉพาะสำหรับลูกหลานคนจีนเหล่านี้)
รัฐเอกภาพที่เกิดขึ้น อยู่ภายใต้การนำทางการเมืองของนักการเมือง (การเมืองเลือกตั้งนำกองทัพเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์) แต่อยู่ภายใต้การนำทางวัฒนธรรม-สังคมของสถาบันกษัตริย์ (แทนที่ในสไลด์ด้วยการที่เส้นสีน้ำเงินอยู่บนสุด ตามด้วยเส้นสีเทา และเส้นสีเขียวอยู่ล่างสุด และทั้งหมด แนบชิดกันเป็นเอกภาพ)
วิกฤติครั้งนี้ ถ้าจะสรุปแบบฟันธงรวบยอด มาจากการแตกของเอกภาพนี้ คือการปะทะครั้งใหญ่ระหว่างการนำทางการเมืองการบริหารของนักการเมือง กับการนำทางวัฒนธรรม-สังคม ของสถาบันกษัตริย์
เรื่องพวกนี้ แน่นอนว่า ไม่สามารถอธิบายในสไลด์ หรือในที่นี้ โดยละเอียดได้...
22 มิถุนายน 2017
ปารีส

Image may contain: 15 people, people smiling


Image may contain: 17 people, people smiling 

(หมายเหตุ-อัพเดท" . เกร็ดความรู้ 5 ประการเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 ")

"สัตว์มนุษย์"(?)

Animal Farm ฉบับ ชูวิทย์ “สัตว์ต้องอยู่อย่างสัตว์เท่านั้น”
https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-333136


สมศักดิ์ ยันไม่หนี พปชร. จะได้คุมกระทรวงเกษตรฯ หรือไม่พร้อมยอมรับ
https://prachatai.com/journal/2019/05/82730
ตั้งรัฐบาลล้มเหลว มีแต่เรื่องการต่อรอง #ตั้งรัฐบาล #รัฐบาลล้มเหลว #ต่อรอง

(หมายเหตุ(ผู้เรียบเรียง)- คำนิยาม “สัตว์มนุษย์” ยืมมาจากชื่อนิยายที่เขียนโดย พ.ต.อ. ลิขิต วัฒนปกรณ์ ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในพ.ศ. 2519 นิยายเล่มนี้ที่เผยให้เห็นความโหดร้ายสามานย์ ความละโมบโลภมากและสันดานที่แท้จริงของมนุษย์ รวมทั้งยังสื่อภาพของการคลืบคลานของทุนนิยมที่เข้ามาในตัวชนบท ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้มนุษย์เผยทั้งสันดานดิบหรือในทางตรงกันข้ามกลับกลายเป็นการสร้างเกราะกำบังให้มนุษย์อยู่ในกรอบของความปลอดภัย.  .)