söndag 28 augusti 2022

4 ตุลาฯ นี้ศาลลำปางนัด 'ทิวากร' ฟังคำพิพากษาคดี 116

 ปัญหาของประเทศมันขึ้นอยู่กับบุคลคนนี้คนเดียวที่ทำให้ชาติและสังคมต้องเดือดร้อนอยู่ในเวลานี้ประชาชนถูกฆ่าตายและสูญหาย รวมทั้งที่ถูกศาลรังแกกลั่นแกล้งไม่ให้ประกันตัวและตัดสินจำคุกผู้คนที่เรียกร้องหาสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของความเป็นคนแต่ถูกกดขี่ข่มเหงจากรัฐบาลและศาลของกษัตริย์จอมเผด็จการผู้โหดเหี้ยมไร้ความเป็นมนุษย์คนนี้ !!.


🗳4 ตุลาฯ นี้ศาลลำปางนัด 'ทิวากร' ฟังคำพิพากษาคดี 116 กรณีหยั่งเสียงถามคนอยากทำประชามติเรื่องคงไว้หรือยกเลิกสถาบันกษัตริย์หรือไม่ หลังเปิดแคมเปญได้สองวันมีผู้เข้าลงชื่อกว่า 600 รายชื่อและหลังจากนั้นไม่สามารถเข้าถึงหน้าแคมเปญดังกล่าวได้อีก


Tiwagorn Withiton started this petition to ประชาชนไทย and 2 others
จุดประสงค์ในการล่ารายชื่อคนที่อยากให้ทำประชามติให้ประชาชนเลือกว่าจะคงไว้หรือยกเลิกสถาบันกษัตริย์นี้ แค่อยากจะรู้จำนวนของคนที่อยากให้ทำประชามติเท่านั้น เพื่อเป็นบันไดขั้นแรกที่จะเป็นทางออกให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยสันติปราศจากการนองเลือดในขั้นต่อไป



iLaw
Yesterday
4 ตุลาฯ นี้ศาลลำปางนัด 'ทิวากร' ฟังคำพิพากษาคดี 116 กรณีหยั่งเสียงถามคนอยากทำประชามติเรื่องคงไว้หรือยกเลิกสถาบันกษัตริย์หรือไม่
.
.
26 สิงหาคม 2565 ศาลจังหวัดลำปางสืบพยานคดีตามประมวลกฎหมายอาญา 116 ของทิวากรแล้วเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 4 ตุลาคม 2565 เขาถูกกล่าวหาว่า ยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 การเปิดแคมเปญเชิญชวนให้ผู้ที่เห็นด้วยว่าควรมีการทำประชามติว่าจะคงไว้หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มาร่วมลงชื่อในแคมเปญบนเว็บไซต์ change.org ที่เขาสร้างขึ้น ศาลจังหวัดลำปางนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยระหว่างวันที่ 23-26 สิงหาคม 2565 รวมสี่วัน นำพยานเข้าสืบทั้งหมด 13 ปากแบ่งเป็นพยานโจทก์แปดปากและพยานจำเลยสี่ปาก ทิวากรเปิดเผยความรู้สึกหลังการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นว่า เขามั่นใจว่าน่าจะชนะคดีนี้ เพราะทิศทางของการสืบพยานดูจะเป็นไปในทางที่ดี
.
ทิวากรเป็นชาวจังหวัดขอนแก่น ก่อนหน้าที่จะถูกดำเนินคดีเขาเคยถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปที่โรงพยาบาลจิตเวชหลังสวมเสื้อสกรีนข้อความ "เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว" มูลเหตุในคดีนี้สืบเนื่องจาก ประชาชนจากจังหวัดลำปางชื่อทวี อินทะ เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีเขาจากกรณีวันที่ 20 มิถุนายน 2564 เขาสร้างแคมเปญที่เขาสร้างบนเว็บไซต์ change.org ถามหยั่งเสียงประชาชนเป็นการทั่วไปว่า ควรมีการทำประชามติในคำถามว่า จะคงไว้หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์มาร่วมลงชื่อ ทิวากรย้ำว่าโพสต์ของเขาไม่ได้เป็นการถามว่าควรจะคงไว้หรือยกเลิกสถาบัน แต่เป็นการสอบถามว่าควรมีการทำประชามติในประเด็นดังกล่าวหรือไม่ โดยหนึ่งในเหตุผลที่เขาตัดสินใจเปิดแคมเปญนี้ใน change.org เป็นเพราะเขาอยากทราบว่า มีคนอยากให้ทำประชามติในประเด็นดังกล่าวประมาณกี่คน หลังเปิดแคมเปญได้สองวันมีผู้เข้าลงชื่อ 600 รายชื่อและหลังจากนั้นไม่สามารถเข้าถึงหน้าแคมเปญดังกล่าวได้อีก
.
.
 แจ้งความข้ามจังหวัดสร้างความลำบากแก่จำเลย
.
วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ระหว่างที่เขากำลังทำกิจกรรมครบรอบหนึ่งปีแถลงการณ์สิบข้อของแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ เขาได้รับโทรศัพท์จากผู้กำกับการสภ.ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบท้องที่บ้านของเขาว่ามีหมายเรียกผู้ต้องหาคดีมาตรา 116 จากจังหวัดลำปางจะมาส่งให้ที่บ้าน หลังทราบเรื่องทิวากรระบุว่าเขาแปลกใจมากเพราะตัวเขาเองไม่เคยเดินทางไปที่จังหวัดลำปางมาก่อนแต่อยู่ๆก็มีหมายเรียกมา
.
เมื่อทราบรายละเอียดในหมายเรียก เขาพยายามต่อรองกับผู้กำกับการสภ.ท่าพระว่ายินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่อยากให้ย้ายคดีมาที่จังหวัดขอนแก่นเพราะเขาไม่เคยเดินทางไปจังหวัดลำปางซึ่งอยู่ไกลจากบ้านมากกว่า 500 กิโลเมตร ทั้งช่วงเวลาดังกล่าวก็หารถโดยสารได้ลำบากแต่ก็ไม่เป็นผล สุดท้ายเขาจำเป็นต้องขี่รถจักรยานยนต์จากบ้านที่จังหวัดขอนแก่นมาที่จังหวัดลำปางเพื่อรายงานตัวตามหมายเรียกโดยใช้เวลาขี่รถสองวัน ทิวากรยังบอกด้วยว่าในการถูกดำเนินคดีครั้งนี้เขารู้สึกงงว่า ทำไมต้องแจ้งความข้ามจังหวัด
.
แม้จะเป็นการเดินทางที่ยากลำบากแต่สิ่งที่ทำให้ทิวากรมีกำลังใจก็คือเมื่อเขามารายงานตัวมีคนเสื้อแดงและนักกิจกรรมทั้งที่อยู่ที่จังหวัดลำปางและจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือจำนวนหนึ่งมาให้การต้อนรับทั้งในวันที่เขามารายงานตัวและวันที่เขามาขึ้นศาล โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เขามารายงานตัวกับตำรวจครั้งแรก หลายคนแสดงความเป็นห่วงเพราะเป็นการเดินทางไกลด้วยรถจักรยานยนต์
.
.
คิดต่างกันอยู่ร่วมกันได้ ประชามติคือการหาทางออกตามระบอบประชาธิปไตย
.
ในนัดสืบพยานที่ศาล ทิวากรตั้งใจจะขอถ่ายภาพกับทวี ซึ่งเป็นคนร้องทุกข์กล่าวโทษเขาในคดีนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้โกรธทวีและแสดงให้เห็นว่าแม้คนเห็นต่างทางการเมืองก็ถ่ายภาพร่วมเฟรมกันได้ แต่สุดท้ายก็ไม่มีโอกาส
.
.
"คือถ้าจะไปโกรธเพราะเขาคิดแบบนั้น ก็คงไม่ถูกต้อง ในเมื่อเขารักสถาบันกษัตริย์ ผมจะเอาเหตุผลอะไรไปโกรธเขา ก็เขารักของเขา ส่วนถ้าจะโกรธเพราะเขาแกล้ง ผมก็คิดว่ามันคงไม่ใช่การแกล้งแต่เป็นเพราะเขาเข้าใจผมผิดหรือไม่เข้าใจผม คือด้วยความที่เขารักของเขาพอเห็นสิ่งที่ผมโพสต์เขาก็คิดว่า ไอ้นี่มันต้องล้มเจ้าแน่เลย ถ้าปล่อยมันไปสถาบันฯอาจจะถูกล้มล้าง ผมก็เลยเข้าใจที่เขาไปแจ้งความผมอยู่นะ"
“[ข้อเสนอเรื่องการทำประชามติ]มันค่อนข้างใหม่สำหรับสังคมไทย คนที่ไปแจ้งความผมอาจจะยังไม่เข้าใจว่าการทำประชามติในประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์มันเป็นเรื่องที่ทำได้แล้วก็เคยมีตัวอย่างการทำประชามติเรื่องนี้ในต่างประเทศ ซึ่งก็มีทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ลงมติให้คงอยู่และประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ลงมติให้ยกเลิก ซึ่งก็ถือเป็นการหาทางออกตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ คือคนบางส่วนอาจจะไม่เข้าใจว่าการทำประชามติผลมันก็ออกได้ทั้งสองหน้า"
.
.
ส่องไทม์ไลน์คดีหยั่งเสียงประชามติดีไหมของทิวากร
๐ วันที่ 20 - 22 มิถุนายน 2564 ทิวากรสร้างแคมเปญบน change.org และโพสต์แคมเปญบนเฟซบุ๊กของตัวเอง
๐ วันที่ 29 มิถุนายน 2564 ทวี อินทะ เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษทิวากรที่สภ.ห้างฉัตร ตังหวัดลำปาง
๐ วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ทิวากรได้รับโทรศัพท์จากผู้กำกับการสภ.ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น แจ้งว่ามีหมายเรียกจากจังหวัดลำปางจะไปส่งให้
๐ วันที่ 17 สิงหาคม 2564 ทิวากรได้รับหมายเรียกที่บ้าน ซึ่งกำหนดให้เขาเข้ารายงานตัวที่ 18 สิงหาคม 2564 ทิวากรไม่สามารถเดินทางไปรายงานตัวตามนัดได้ จึงต้องขอเลื่อนนัดรายงานตัวออกไป
๐ วันที่ 28 กันยายน 2564 ทิวากรเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์จากจังหวัดขอนแก่นไปที่จังหวัดลำปางเพื่อเข้ารายงานตัวตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวน โดยได้เข้ารายงานตัวตามนัดในวันที่ 30 กันยายน 2564 เขาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
๐ วันที่ 3 มีนาคม 2565 อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องทิวากรต่อศาลจังหวัดลำปาง ทนายจำเลยวางเงินสด 70,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์เป็นหลักประกันต่อศาลเพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว
๐ วันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2565 ศาลจังหวัดลำปางนัดสืบพยานโจทก์ -จำเลย
๐ วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ศาลจังหวัดลำปางนัดฟังทิวากรฟังคำพิพากษา

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar