måndag 30 maj 2022

ปัญหาทุกอย่างที่ทำให้ประชาชนไทยเดือดร้อนไม่ได้รับความยุติธรรมจากอำนาจตุลาการ อำนาจทหาร ตำรวจและรัฐบาลเผด็จการอยู่ในเวลานี้มีต้นตอมาจากครอบครัวกษัตริยทรราชย์นี้เอง


21 ปี กกต. ยุคปัจจุบัน มาถึงจุดเสื่อมสุด ยุบแม่-เท่านั้นแหละ เบาแผ่นดินลดความสิ้นเปลืองภาษีไปเยอะเลย


Atukkit Sawangsuk
7h

กกต.ยุคปัจจุบัน มาถึงจุดเสื่อมสุด หลังก่อตั้งมา 21 ปี
กกต.ชุดแรก เป็นชุดที่มีเครดิตมากที่สุด แต่ก็เป็นต้นตอแห่งพิษร้าย
คือเมื่อเชื่อว่า กกต.เป็นเทพ ศักดิ์สิทธิ์ ก็เลยประเคนอำนาจให้
สามารถเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 1 ปี "ใบแดง" เพียงเพราะ "เชื่อได้ว่า" ทุจริต
"ใบแดง" ไม่มีในรัฐธรรมนูญ 2540 นะครับ
มีแต่ "ใบเหลือง" สั่งเลือกตั้งใหม่เมื่อเห็นว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม
แต่กลับมางอกใน พรบ.เลือกตั้งฉบับแก้ไขปี 2543 เพิ่มมาตรา 85/1-85/10 เป็นอำนาจที่เกินกว่ารัฐธรรมนูญ แต่สังคมไทยหน้ามืดคิดว่าต้องใช้ยาแรงปราบนักการเมืองชั่ว
:
รัฐประหาร 49 รัฐธรรมนูญ 50 ยิ่งเพิ่มอำนาจ กกต. ใบแดงกรรมการบริหารพรรค=ยุบพรรค ที่ใช้ยุบพรรคพลังประชาชนแล้วตั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ในค่ายทหาร ชนวนม็อบเสื้อแดง 52-53 นองเลือดกลางเมือง
รัฐธรรมนูญ 60 ยังเพิ่มใบส้ม ใบดำ ตัดสิทธิตลอดชีวิต
ความเป็นอิสระก็ไม่มีเหลือ มีแต่ กกต.ที่ตั้งจากรัฐประหาร ใช้ สนช.
รธน.50 ให้ สว.กึ่งหนึ่งมาจากสรรหา ใช้ตั้ง กกต.ชุดสมชัย
รธน.60 นี่ยิ่งชั่ว ให้กรรมการสรรหาองค์กรอิสระ มาจากองค์กรอิสระด้วยกัน
:
กกต.ไทยก๊อปมาจากอินเดีย ซึ่งมีอำนาจแค่สั่งเลือกตั้งใหม่ จัดเลือกตั้งก็ใช้ข้าราชการนั่นแหละ แต่ใครไม่เป็นกลางสั่งย้ายได้
กกต.อินเดีย มีแค่ 3 คน เจ้าหน้าที่ 300 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 900 ล้านคน!
แต่เขาก็ใช้ข้าราชการนั่นแหละ พลเรือน 4 ล้านคน ตำรวจ 2 ล้านคน จัดเลือกตั้งนานเป็นเดือน
:
กกต.ไทยที่จริงก็ใช้มหาดไทย ครู ตำรวจ (เลือกคั้งท้องถิ่นก็ใช้ข้าราชการท้องถิ่น) แต่มีพนักงานน่าจะร่วมสามพัน ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 50 ล้าน
มีสำนักงาน กกต.ทุกจังหวัด ส่วนกลางมีสำนักต่างๆ อีก 26 สำนัก เช่นสำนักสืบสวนสอบสวน 5 สำนัก
รวมแล้วมี ผอ.สำนัก 100 กว่าคน เงินเดือน+เงินประจำตำแหน่ง แสนกว่าบาท
พนักงาน กกต.ปริญญาตรีเริ่มต้น 19,500 บวกเงินเพิ่มเงินประจำตำแหน่ง เห็นในเว็บประกาศสอบบอกว่า 31,000
ถามจริง คนสมัครงาน กกต.เนี่ย อยากเห็นการเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม หรือเห็นว่างานเบาเงินดีมีอำนาจ
สุดท้ายมันก็เป็นระบบราชการอีกแบบ องค์กรอิสระอื่นๆก็เหมือนกัน
งบ กกต.ปี 65 ได้ไปถึง 3,524 ล้าน
เป็นงบบุคลากร 2,151 ล้าน แยกเป็นเงินเดือน 1,743 ล้าน งบดำเนินงาน 407 ล้าน
โดยมีค่าใช้จ่ายจัดเลือกตั้งแค่ 496 ล้าน
:
สถานะขององค์กร กกต. เมื่อผ่านไป 21 ปี มันคือ "แมวอ้วน" นอนเกาพุง
โดยไม่เหลือประสิทธิภาพอะไรเลย ต่อให้คนที่หวังว่า กกต.จะจับโกงเยอะๆ
เลือกตั้ง 62 จับใบส้มได้ใบเดียว แพ้คดี
เลือกนายก อบจ. จับผิดจากหน้าเฟสบุ๊ก หรือคู่แข่งร้องเรียน
แต่อย่างนายกสมุทรสาคร "ปลัดแต" ศาลก็ยกคำร้อง
:
ตัว กกต. 7 คน ปัจจุบันเป็นเหมือนเจว็ดแค่นั้น
แล้วก็ใช้วิธีทำงานมุดหัว
เพราะ รธน. 60+กฎหมายลูก มันไม่ให้ กกต.แบ่งกันรับผิดขอบ 5 ฝ่าย (เช่นฝ่ายบริหารเลือกตั้ง,ฝ่ายสืบสวนสอบสวน,ฝ่ายมีส่วนร่วม) แบบเมื่อก่อน
ให้เป็นรูปคณะกรรมการ แล้วเลขาธิการควบคุมสำนักงาน
กกต.7 คนก็เลยใช้วิธีมุดหัวไม่แถลงข่าว ให้ประธานแถลงคนเดียว หรือไม่ก็ส่งไลน์ให้นักข่าว 
จนป่านนี้ เราจึงไม่รู้เลยว่า กกต.แต่ละคนมีความรู้ความสามารถอะไรเหมาะสมกับตำแหน่งไหม
รู้จักแต่ กกต.ตู้แช่ไวน์ (คนนี้เป็นทนาย มาจากที่ปรึกษาอดีตประธานศาล รธน. นุรักษ์ มาประณีต)
การรับรองผลเลือกตั้งในระยะหลัง ก็เห็นได้ว่าแม่-ไม่รู้จะทำอะไร ได้แต่ดึงไว้ 30 วัน 60 วัน แล้วก็ประกาศ
คือดึงไว้พอเป็นพิธี เดี๋ยวจะหาว่าไม่ทำงาน เดี๋ยวจะว่าเลี้ยงเสียข้าวสุก
:
21 ปี กกต.
ยุบแม่-เท่านั้นแหละ
เบาแผ่นดินลดความสิ้นเปลืองภาษีไปเยอะเลย

“ผู้พิพากษาคดี 112 “ ทำลายอนาคต-ทำลายศรัทธากระบวนการยุติธรรมไทย.. ถ้าไม่เชื่อ อ่านข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ข้างล่าง


Jom Petchpradab
May 27

“ผู้พิพากษาคดี 112 “ ทำลายอนาคต-ทำลายศรัทธากระบวนการยุติธรรมไทย..หรือไม่?
แม้ว่า “น้องตะวัน” ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวออกมาแล้ว หลังจากอดอาหารมาเป็นเวลาเดือนกว่า เพื่อประท้วงที่ศาลไม่ยอมปล่อยตัวชั่วคราวในคดี 112
แต่ยังมีน้อง ๆ อีกหลายคนที่ยังถูกขุมขังในคดีเดียวกันโดยที่ศาลไม่ยอมปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อออกมาสู้คดี เป็นการคุมขังซึ่งเท่ากับได้ลงโทษไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่ามีความผิด แม้โดยหลักการในกระบวนการยุติธรรมที่จะต้องเชื่อไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธ์หากศาลยังไม่ตัดสินจนถึงที่สุด
แต่กระนั้นผูพิพากษาในศาลหลายคนก็ไม่ใส่ใจต่อหลักการนี้ ยึดเพียงเป็นคดีสำคัญที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งเลวร้ายยิ่งกว่าคดีฆ่าคนตาย หรือแม้แต่การข่มขืนกระทำชำเลาหญิงเป็นสิบๆ คน ทั้งที่ ๆ ผลเสียหายหรือความเสียหายอย่างชัดเจนจริงในคดี 112 ไม่เห็นชัดด้วยซ้ำ ขณะที่ฆ่าคนตายหรือข่มขืนกระทำชำเรามีผู้เสียหายแล้วเป็นจำนวนมาก
นี่คือหลักแห่งความเบี่ยงเบนขององค์กรตุลาการ ข้าราชการตุลาการ ผู้พิพากษาที่ไม่ยึดมั่นอยู่ในหลักความยุติธรรมอย่างแท้จริง จนทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยไม่เชื่อมั่นศรัทธาของคนไทยและชาวโลกในขณะนี้
ผู้ต้องหาคดี 112 ส่วนใหญ่แล้วเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่าศาลจะไม่อนุญาตให้ประกันตัว จนเกิดกระแสเรียกร้องกดดันไปยังองค์กรศาล หรือองค์กรตุลาการ โดยการเปิดเผยชื่อผู้พิพากษาในโลกโซเชี่ยล และมีการวิจารณ์รวมทั้งกล่าวโจมตีผู้พิพากษาเป็นรายบุคคล
ข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ในเอกสารของบางคดีที่เกี่ยวข้องกับ ม.112 ศาลเลือกที่จะไม่ระบุเชื่อผู้พิพากษาไว้ท้ายคำสั่ง เช่น กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ สมยศ พฤกษาเกษมสุข และหมอลำแบงค์ -ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 นั้นคำสั่งปรากฎเพียงลายเซ็น แต่ไม่ได้พิมพ์ชื่อตัวบรรจงผู้พิพากษาที่ลงคำสั่งกำกับไว้แต่อย่างใด
นอกจากนี้ 19 เมษายน 2565 พริษฐ์ ปิยะนราธร ผู้พิพากษาในคดีไต่สวนเพิกถอนสัญญาประกันตัวของ ลูกเกด-ชลธิชา แจ้งเร็ว ได้กล่าวถึงกรณีผู้พากษาถูกเผยแพร่ชื่อบนโลกออนไลน์ในช่วงท้ายการไต่สวนว่า การกระทำดังกล่าวส่งผลให้ผู้พิพากษาตกเป็นเป้าโจมตีของสาธารณชน พร้อมตักเตือนในกรณีที่นายความเป็นผู้โพสต์ จะทำเรื่องแจ้งสภาทนายความให้รับทราบ ส่วนกรณีที่ประชาชนเป็นผู้กระทำ จะมอบหมายไปยังสำนักงาของศาลให้ดำเนินคดีต่อไป
ประเด็นการไม่ลงชื่อผู้พิพากษาเคยถูกหยิบยกมาตั้งคำถามโดยภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ผ่านการส่งหนังสือถึงอธิบดีศาลอุทรณ์ โดยระบุถึงกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว พริษฐ์ ชิวารักษ์ ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งไม่ปรากฎชื่อผู้พิพากษาท้ายคำสั่งว่า การกระทำดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.10 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปที่บัญญัติว่า ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปีที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำ สำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวนต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อยคำสำนวนนั้น
และสำนวนที่ระชื่อผู้พิพากษา ระบุชื่อศาล สถานที่ วันเดือนปีที่จดดังกล่าวก็สามารถเผยแพร่ต่อสถาธารณชน และสามารถเผยแพร่ชื่อผู้พิพากษาแต่ละคนได้ด้วย
ดังนั้นจึงขอสรุปข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กรณี ผู้พิพากษาจำนวน 6 คนที่ลงนามคัดค้านการประกันตัว ไม่ให้ประกันตัว และถอนการประกันตัวผู้ต้องหาในคดี 112 ตั้งแต่ปี 2564 – 2565 ในแต่ละคดีมีดังต่อไปนี้
อรรถการ ฟูเจริญ.
1 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว 3 สมาชิกทะลุฟ้า
1 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว ไพทูรย์ - สุขสันต์
4 พ.ย. 64 ไม่ให้ประกันตัว 15 ผู้ต้องขังทางการเมือง
9 ธ.ค. 64 ไม่ให้ประกัน 4 ผู้ชุมนุม
22 ม.ค. 65 ถอนประกัน 6 สมาชิกทะลุฟ้า
22 ม.ค. 65 ไม่ให้ประกันตัวชายภูเก็ตข้อหา ม.112
22 ก.พ. 65 ไม่ให้ประกันตัว ไพทูรย์ - สุขสันต์
2 มี.ค. 65 ไม่ให้ประกันตัว จิตรกร
18 เม.ย. 65 ยกคำร้องขอปรันตัวเวหา
เทวัญ รอดเจริญ
9 ก.พ.64 ไม่ให้ประกันตัว 4 ราษฎร
24 มี.ค.64 ไม่ให้ประกันตัวเพนกวิน
29 เม.ย.64 ไม่ให้ประกันตัว 7 ราษฎร
31 ส.ค.64 ยกคำร้องขอย้ายตัวเพื่อรักษาอาการของเพนกวิน
สันติ ชูกิจทรัพย์โพศาล
15 พ.ย.64 ไม่ให้ประกันตัว ปนัสยา
15 มี.ค 65 ยกคำร้อง รวิสรา ที่ขอออกนอกประเทศไปเรียนต่อ
29 มี.ค.65 ยกคำร้องรวิสรา ขอออกนอประเทศไปเรียนต่อ
ชาญชัย ณ พิกุล
21 ต.ค.64 ไม่ให้ประกันตัว ยาใจ ทะลุฟ้า
14 ธ.ค.64 ไม่ให้ประกันตัว อาทิตย์ ทะลุฟ้า - จิตรกร
11 มี.ค.65 ไม่ให้ประกันตัว เวลา
พริษฐ์ ปิยะนราธร
8 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัวขจรศักดิ์ คเชนทร์
19 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว อานนท์
22 พ.ย. 64 ถอนประกันตัว ปนัสยา
25 ธ.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว 4 ราษฎร
20 เม.ย.65 ถอนประกันตัว ทานตะวัน
เนตรดาว มโนธรรมกิจ
29 ต.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัว เบนจา
8 พ.ย. 64 ไม่ให้ประกันตัว เบนจา
19 พ.ย. 64 ไม่ให้ประกันตัว พิชัย นฤเบศร์ ทะลุแก๊ซ
7 ธ.ค. 64 ไม่ให้ประกันตัวเบนจา 2 คดี
21 มี.ค.65 ยกคำร้อง รวิสรา ที่ขอออกนอกประเทศไปเรียนต่อ ( ท้ายสุดอนุญาตหลังจากขอไป 7 ครั้ง )
นี่ไม่ใช่การประนาม หรือการโจมตี แต่เป็นเพียงให้ผู้พิพากษาเหล่านี้มีความกล้าหาญยอมรับในสิ่งที่ได้กระทำลงไป หากท่านยืนยันว่าเป็นการตัดสินใจที่อยู่บนหลักความยุติธรรมอย่างแท้จริงแก่ผู้ต้องหาก็กล้าพอที่จะเปิดเผยตัวตนให้สาธารณชนได้รับรู้ไม่ควรใช้กฎหมายมาข่มขู่ว่ากระทำไม่ได้ และขู่จะเอาผิดกับคนที่เผยแพร่ชื่อเหล่านี้
อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้พิพากษาทั้งหลายได้ทราบว่าทุกการกระทำของท่านเป็นไปเพื่อรักษาดำรงความยุติธรรมให้มั่นคงอยู่ในกระบวนการยุติธรรมไทยหรือไม่...ประชาชนไทยรู้ดี.

หุหุ เทศกาลเมืองคานส์ อุบลรัตน์ถือโอกาสมาเที่ยว ผู้บริหาร ททท.ถือโอกาสตามมาด้วย - อ.สมศักดิ์ รายงาน


Somsak Jeamteerasakul
14h ·

หุหุ เทศกาลเมืองคานส์ อุบลรัตน์ถือโอกาสมาเที่ยว (ผู้บริหาร ททท.ถือโอกาสเที่ยวด้วย)
อุบลรัตน์ที่คุณทักษิณชูให้เป็นแคนดิเดตนายกฯ ได้ถือโอกาสมาเที่ยวฝรั่งเศสโดยอาศัยเงินของประชาชน
-อุบลรัตน์เดินทางมาถึงกรุงปารีสวันที่ 27 พ.ค. 2565 จนถึงวันที่ 1 มิ.ย. 2565 พักอยู่ที่โรงแรม Plaza Athénée (25 Av. Montaigne, 75008 Paris) ห้อง Presidential Suite (104) และ Prestige Suite (106) คนเดียว ใช้ 2 ห้องราคารวมกัน 25,000 ยูโรต่อคืนหรือ 950,000 บาทต่อคืน ดังนั้นนอน 6 คืนรวมเป็นเงิน 150,000 ยูโร หรือ 5,700,000 บาท
- อุบลรัตน์ไม่ได้มาคนเดียว แต่มากับคนสนิทอีก 11-12 ทุกคนพักโรงแรม Plaza Athénée ใช้ 6 ห้อง ห้องละ ประมาณ 2,000 ยูโรต่อคืนหรือ76,000 บาทต่อคืนดังนั้น เมื่อมี 6 ห้องและนอน 6 คืน รวมเป็นเงิน 72,000 ยูโร หรือ 2,736,000 บาท
-ถ้าอุบลรัตน์มาเที่ยวเฉยๆตามคำเชิญของททท.ก็จะดูไม่ดี ผู้ว่าททท.จึงสั่งการให้ททท.จัดงาน Amazing Thailand Gala ขึ้นมา ในวันที่ 31 พ.ค. 2565 ณ โรงแรม Four Seasons (31 Av. George V, 75008 Paris) เพื่อให้ดูเหมือนกับว่าอุบลรัตน์เดินทางมาโปรโมทการท่องเที่ยวประเทศไทยทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการจัดงานแพงมากประมาณ 40 ล้านบาทซึ่งไม่คุ้มค่ากับการลงทุนแม้แต่น้อยเพราะจัดในโรงแรมที่แพงที่สดุ เชิญแขกวีไอพี ร่วมงาน 100 คน ซี่งเป็นคนไทยและคนใกล้ชิดไปแล้ว 60 คน และมีแขกชาวฝรั่งเศสเป็นหน้าม้า (แบบไม่รู้ตัว) อีก 40 คน ททท. เชิญเชฟชุมพล (มิเชอลิน 2 ดาว) มาจากประเทศไทยเพื่อให้มาทาอาหารเลี้ยงแขกในงาน ค่า จ้างเชฟก็ปาเข้าไป 1.3 ล้านบาทแล้ว ค่าจัดทำวีดีโอเรื่องอาหารไทยเพื่อฉายในงานอีกกว่า 1 ล้านบาท ถือเป็น การจัดฉากหาเรื่องเที่ยวที่ใช้เงินและทรัพยากรบุคคลอย่างมหาศาล
-นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะและที่มองไม่เห็นอีกนับไม่ถ้วนเช่นค่าตั๋วเครื่องบินชั้นเฟิร์สคลาสและชั้นธุรกิจของการบินไทย (ซึ่งไม่ทราบว่าได้จ่ายการบินไทยหรือไม่)
-อุบลรัตน์มาปารีสผู้บริหารททท.ก็ต้องตามมาด้วยเพื่อมา“ให้กำลังใจ”
1. คณะของผู้ว่า ททท. 7 คน มี ผู้ว่า ททท. และภริยา ผู้บริหาร ททท. และ เลขา พักโรงแรม Balzac ห้อง Presidential Suite / Junior Suite / Deluxe เวลาขึ้นเครื่องบินก็บินชั้นเฟิร์สคลาสเท่านั้น
2. คณะ รมว. ท่องเที่ยว 4 คน พักโรงแรม Château Hôtel Mont Royal และ Intercontinental บินเฟิร์สคลาส 3. คณะรองผู้ว่า ททท. ด้านสื่อสาร 7 คน พักที่โรงแรม Lord Byron บินเฟิร์สคลาส
4. คณะบอร์ด ททท. + รองผู้ว่า ททท. ด้านบริหาร รวมกัน 27 คน โรงแรม Intercontinental บินเฟิร์สคลาส
- หลังจบงานของอุบลรัตน์แล้ว คณะ ผู้ว่า ททท. + คณะบอร์ด ทททซ. + คณะรองผู้ว่า ททท. ด้านบริหาร รวมกันกว่า 30 ชีวิต ก็จะถือโอกาสไปเที่ยวต่อ โดยจะไปเยือนปารีส หมู่บ้านกุหลาบ Gerberoy วิหารมงต์แซงต์มิเชล และจะลงใต้ไปแคว้นโพรว็องซ์ด้วย ราคาทัวร์คร่าวๆ อยู่ที่ 35,000 ยูโร หรือ 1.3 ล้านบาท ทั้งหมดทั้งมวลมาจากงบประมาณของ ททท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่ใช้เงินที่มาจากภาษีประชาชน
- การจัดงานต่างประเทศเพื่อเอาใจเจ้า และการจัดทริป ”ดูงาน” ใน ตปท. ให้ผู้บริหารองค์กร (ซี่งไม่เคยทำงานจริงๆ) ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและคนส่วนใหญ่เลยแต่กลับใช้เงินที่มาจากภาษีประชาชนอย่างไร้ ยางอายวัฒนธรรมเช่นนี้สมควรถูกประจานและประณามเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นความไม่ชอบมาพากล และช่วยกันตรวจสอบบุคคลและองค์กรเหล่านี้

 

Lertsak Kumkongsak
23h

การปกปิดความจริงในขบวนเสด็จยิ่งทำให้สถาบันกษัตริย์เหินห่างประชาชน
.
ความเร็วของรถในขบวนเสด็จที่วิ่งผ่านหน้าตึก UN ถนนราชดำเนินนอก ซึ่งเป็นบริเวณที่พี่น้องประชาชนในนาม 'ขบวนต่อต้านร่างกฎหมายทำลายการรวมกลุ่มของประชาชน' ทำการชุมนุมยืดเยื้อพักค้างแรมอยู่บนเกาะกลางถนนฝั่ง UN นั้น น่าจะใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที แล้วทำไมถึงต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณจากภาษีประชาชนให้สิ้นเปลืองเกินสมควรหรือไม่ได้สัดส่วนด้วยการเอาตำรวจมายืนเรียงแถวยาวตามแนวที่พี่น้องชุมนุมอยู่ เพื่อปิดกั้นไม่ให้ขบวนเสด็จเห็นภาพกิจกรรมในการชุมนุม (ดูด้วยสายตาแล้วก็น่าจะเกิน 300 คน หรือประมาณ 5 กองร้อยตามที่ตำรวจแจ้ง)
.
มีความพยายามเจรจามาตลอดให้ย้ายสถานที่ชุมนุมไปอยู่ที่ถนนรองข้าง ๆ UN แล้วค่อยกลับมาใหม่เมื่อขบวนเสด็จเสร็จสิ้นแล้วหลัง 1 ทุ่มของวันที่ 29 พฤษภา (เสด็จไปมอบปริญญาที่ ม.ธรรมศาสตร์ 3 วัน 27-29 พฤษภา วันละเที่ยว ขาไปช่วงเวลาประมาณ 16.00 ขากลับช่วงเวลาประมาณ 1 ทุ่ม) เมื่อเห็นการยืนยันอย่างชัดเจนของขบวนชุมนุมว่าจะไม่ยอมย้ายไปไหนก็เอาผลประโยชน์มาแลก ขบวนชุมนุมอยากได้อะไรจะจัดหามาให้หมด ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำห้องท่า น้ำดื่มน้ำใช้ ไฟฟ้า จะชุมนุมอยู่เป็นเดือนก็ได้ ทั้ง ๆ ที่สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการชุมนุมที่ตำรวจต้องดำเนินการหรืออำนวยความสะดวกทันทีหากมีการชุมนุมใด ๆ ของประชาชน ไม่ใช่เป็นผลประโยชน์ที่จะเอามาแลกหรือนำมาใช้ในการเจรจาต่อรองให้ย้ายหรือให้ยุติการชุมนุม แต่เมื่อขบวนชุมนุมยังยืนยันตามเดิมว่าจะไม่ยอมย้ายไปไหนก็พยายามกดดันถึงขั้นที่อยากจะสลายการชุมนุม
.
15-30 วินาที น่าจะเป็นช่วงเวลาที่รถในขบวนเสด็จใช้ในการวิ่งผ่านที่ชุมนุม แต่เกณฑ์ตำรวจมาไม่รู้กี่โรงพัก ทั้งเบี้ยเลี้ยง ข้าวกล่อง ค่าน้ำมันรถขนตำรวจมา วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ แทนที่ตำรวจจะใช้เวลาทำหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ให้แก่ประชาชนที่โรงพัก, ตรวจตราตามสถานที่และบนท้องถนน, ฯลฯ แต่กลับเสียเวลาอันมีค่าเหล่านั้นไป (ตำรวจต้องมาเตรียมการรับขบวนเสด็จตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไป ต้องขนตำรวจมาตั้งแต่บ่ายสอง ยืนเรียงแถวตลอดแนวชุมนุมเพื่อปิดกั้นภาพการชุมนุมไม่ให้ขบวนเสด็จเห็นตั้งแต่บ่ายสาม ขนตำรวจกลับหลัง 1 ทุ่ม)
.
ถ้าการออกบวชจนนำไปสู่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามที่เคยได้ยินได้ฟังมาว่าพระพุทธเจ้าได้เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย คนทุกข์ คนยาก จึงคิดได้ว่าโลกนี้มีแต่ความทุกข์ จึงเพียรหาหนทางดับทุกข์ให้แก่ตัวเองและมนุษย์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดในสังคม และถ้าสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยเราถือคติธรรมราชาตามที่ว่า ๆ กันหรือท่องจำตามกันมา ดังนั้นแล้ว การที่กษัตริย์ได้เสด็จดำเนินไปตามแห่งหนตำบลใดก็ควรที่กษัตริย์จะได้เห็นความเป็นจริงของชีวิต มิควรปกปิดชีวิตของประชาชนใด ๆ เพื่อจะได้เห็นถึงความทุกข์ยากลำบากของประชาชน สิ่งเหล่านี้ยิ่งจะช่วยส่งเสริมธรรมแก่กษัตริย์ แต่เมื่อทำตรงกันข้ามก็จะยิ่งทำให้กษัตริย์เหินห่างประชาชนยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar