มติศาลรัฐธรรมนูญ สั่งพรรคก้าวไกล “เลิก” แก้มาตรา 112 ชี้ว่า เป็นการล้มล้างการปกครอง
.
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
.
และสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อีกทั้งไม่ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย
.
อ่านรายละเอียด และที่มาคดีนี้ ทางนี้ https://bbc.in/3SoetWP
1h
ธีรยุทธ สุวรรณเกษร คือ “ผู้ร้อง” ว่า พรรคก้าวไกล “ล้มล้างการปกครอง” จากการรณรงค์นโยบายแก้ไข ม.112 นำมาสู่การวินิจฉัยของศาลในวันนี้
.
เขาให้คำจำกัดความตัวเองในเอกสารคำร้องว่า “ทนายความอิสระ” ทว่าเขาเป็นที่รู้จักในฐานะทนายความของ สุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีตพระพุทธะอิสระ
.
ย้อนทำความรู้จักเขามากขึ้น ทางนี้ https://bbc.in/3HFYtdG
ความเห็นก้าวไกลต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กับความกังวล 7 ข้อต่ออนาคตการเมืองไทย
.
นายพิธา
ลิ้มเจริญรัตน์, นายชัยธวัช ตุลาธน และ สส.พรรคก้าวไกล อีกนับร้อยชีวิต
ร่วมแถลงกันถึงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
โดยแสดงความกังวลถึงผลกระทบต่อการเมืองไทยในระยะยาว แบ่งออกเป็น 7 ข้อสำคัญ
ดังนี้
.
1. ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับศาลรัฐธรรมนูญ
.
.
3.
หลักการสำคัญทางการเมืองที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอน
สิ่งที่ทำได้ในอดีตสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับประชาธิปไตย
อาจกลายเป็นการล้มล้างการปกครองได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
.
4.
การตีความว่าอะไรคือการล้มล้างการปกครอง
อาจเกิดปัญญาที่มีความเข้าใจในหลักเกณฑ์ไม่ตรงกัน
โดยเฉพาะความคลุมเครือในการตีความข้อเท็จจริงกับเจตนา
.
5. ก่อให้เกิดปัญหาระหว่างดุลยภาพระหว่างประชาธิปไตย และสถาบันในระบอบการเมืองไทยในอนาคต
.
6. ทำให้สังคมไทยสูญเสียโอกาสในการใช้ระบอบรัฐสภาในการหาข้อยุติความขัดแย้ง
.
7. อาจส่งผลให้ประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งในการเมืองไทยยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อสถาบันเอง
.
"คำวินิจฉัยในวันนี้
ไม่ได้กระทบเฉพาะพรรคก้าวไกลเท่านั้น
แต่กระทบความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกคน"
นายชัยธวัช กล่าว
.
การตีความที่แบบดูเหมือนไม่มีขอบเขตและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน
แม้กระทั่งการนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีผู้ต้องขัง 112
ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง ทั้งที่เป็นเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
และไม่กระทบต่อการล้มล้างการปกครองแต่อย่างใด" หัวหน้าพรรคก้าวไกล
อธิบายต่อ
"แล้วพรรคการเมืองที่รณรงค์หาเสียงว่า
เป็นผู้จงรักภักดี อีกพรรคไม่จงรักภักดี
หรือโจมตีว่าอีกพรรคมีเจตนาที่เป็นลบต่อพระมหากษัตริย์
หรือมีการขึ้นรูปพระราชวงศ์ ถือว่าเป็นการลดทอน บ่อนเซาะทำลาย
ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่มีสถานะที่เป็นกลางทางการเมือง หรือไม่"
เขาตั้งคำถาม
.
อ่านรายละเอียดคำวินิจฉัย ดังนี้ https://bbc.in/3vYaMj2
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar