ถ้าคำวินิจฉัยวันที่ 31 มกราคมออมากว่าการเสนอนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกลเป็นการล้มล้างการปกครอง อาจตามมาด้วยการยุบพรรค แต่ผลที่กว้างไกลว่าคือมาตรา 112 จะถูกแตะต้องไม่ได้อีกเลยหรือไม่ ซึ่งย่อมส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญ คำถามตามมาคือในการร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญยังควรคงอยู่หรือไม่ ถ้ายังต้องมี ควรเป็นอย่างไรจึงจะไม่ล้ำเส้น
อ่านรายงานสัมภาษณ์ อานนท์ มาเม้า จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ที่ https://prachatai.com/journal/2024/01/107846
- ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ 2 ประการ หนึ่งคือการรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และสองคือตรวจสอบอำนาจทางการเมือง หรือกล่าวอย่างรวบรัดคือมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- ศาลรัฐธรรมนูญไทยมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบศาลด้วยกันเองว่ามีการตีความที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนหรือไม่
- ศาลรัฐธรรมนูญไทยรู้ตัวหรือไม่ว่ากำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
- หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคก้าวไกลผิดจะส่งผลกระทบ 2 ประการ หนึ่งคือการใช้คำวินิจฉัยนี้ไปสู่การยุบพรรคก้าวไกลและทำลายเจตนารมณ์ของประชาชนที่เลือกพรรคก้าวไกล สอง จะทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับมาตรา 112 ทำได้ยากขึ้นและอาจถูกมองว่าไม่สามารถแก้ไขหรือยกเลิกได้
- ศาลรัฐธรรมนูญต้องตระหนักถึงเขตอํานาจที่จํากัดของตนและไม่เล่นนอกเขตอำนาจที่ตนมี เพราะจะเบียดผู้เล่นทางการเมืองในสนามอื่นซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้อนุญาตให้ศาลนรัฐธรรมนูญลงไปเล่น
- ศาลรัฐธรรมนูญควรมาจาก ส.ส. เพื่อเชื่อมโยงกลับไปหาประชาชนและปฏิรูปกระบวนการพิจารณาคดี
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar