-๗-
ภายหลังที่ญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
แล้วข้าพเจ้าได้เปิดเผยขบวนการใต้ดิน
และได้ประกาศฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
ว่า การประกาศสงครามของจอมพลพิบูลฯ ต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่
ตลอดจนการผนวกเอาดินแดนบางส่วนของพม่าและมลายูของอังกฤษในระหว่างสงครามนั้น
เป็นโมฆะ ข้าพเจ้าได้แถลงเช่นเดียวกันว่าให้ถือวันที่ ๑๖ สิงหาคมเป็น “
วันสันติภาพ “ และจะมีการฉลองในวันนี้ของทุกปี
แต่รัฐบาลภายหลังรัฐประหาร ๒๔๙๐ ได้ยกเลิก “วันสันติภาพ “ นี้เสีย
รัฐบาล
อเมริกันได้ส่งนักการทูตมาเพื่อสถาปนาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศ
สยามดังที่ได้ให้สัญญาไว้ รัฐบาลอเมริกันไม่มีเงื่อนไขใดๆ
นอกจากขอให้เราคืนเงินจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทอเมริกัน
เพราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ และญี่ปุ่นได้ยึดทรัพย์สินของบริษัทนั้นไป
และขอให้จับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดฟ้องศาลเป็นอาชญากรสงคราม
ฝ่าย
รัฐบาลอังกฤษเรียกร้องให้ส่งคณะผู้แทนไปพบลอร์ดเมาน์ทแบทเตนที่กองบัญชาการ
ทหารในประเทศซีลอน เพื่อเจรจากับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ
โดยให้สยามยอมรับเงื่อนไขในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ
ใน
ช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง
เราได้ตกลงให้กองทหารอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยเพียงเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น
เท่านั้นและให้ถอนกำลังทหารนี้ออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้คือในทันที
ที่ปฏิบัติภารกิจในการปลดอาวุธเสร็จสิ้นแล้ว
ใน
ระหว่างนั้นลอร์ดเมาน์ทแบทเตนและภรรยาได้เดินทางมากรุงเทพฯ ๒ ครั้ง
และได้พบปะกับข้าพเจ้า
ซึ่งได้กระชับมิตรภาพระหว่างเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ลอร์ดเมาน์ทแบทเตนในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
ได้จัดพิธีสวนสนามของกองทหารอาสาสมัครอังกฤษที่เดินทางมาประเทศไทย
เพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๘
เพื่อเป็นการแสดงความเคารพในความเป็นเอกราชของชาติไทยและองค์พระประมุข
ส่วน
เงื่อนไขทางการเมืองของรัฐบาลอังกฤษยื่นข้อเรียกร้องมานั้น
เราพิจารณาแล้วเห็นว่า
เงื่อนไขดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมจำนนกลายๆนั่นเอง
แตกต่างกันแต่ในเรื่องวิธีการและคำพูดเท่านั้น ดังนั้น
เราจึงไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว การเจรจากันในเรื่องนี้ใช้เวลา ๑
ปีโดยที่ไม่บรรลุผลใดๆ
ช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสยามตามวิถีทางรัฐธรรมนูญถึง ๓ ครั้ง
ในที่สุด รัฐบาลสยามจำเป็นต้องส่งมอบข้าวให้รัฐบาลอังกฤษจำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐
ตัน
และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทอังกฤษที่ตั้งขึ้นในสยามก่อนสงครามและที่ถูก
ญี่ปุ่นและรัฐบาลพิบูลฯยึดไปตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากภัยทางอากาศใน
ระหว่างสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กระทำเอง อย่างไรก็ตาม
เราเห็นว่าเป็นข้อเสนอเรียกร้องที่ไม่ยุติธรรมต่อประเทศเล็กอย่างสยามในการ
ที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น
ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรเองเป็นผู้ก่อ
แต่เราจำต้องยอมลงนามในความตกลงดังกล่าวนั้น
เพื่อที่จะสามารถฟื้นฟูประเทศหลังสงครามได้เร็วที่สุดและเพื่อหาโอกาศอัน
สมควรในการเจรจาอย่างสันติอีกครั้งหนึ่งกับรัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษ
เพื่อแก้ไขข้อความต่างๆที่ไม่ยุติธรรมสำหรับเรา
ความ
ตกลงดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลสยามจับกุมและลงโทษบุคคลที่ต้องหาว่าเป็นอาชญากร
สงคราม
ข้อความนี้ตรงกับความต้องการของรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญๆทุกประเทศ
เมื่อข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. ๒๔๘๙
ข้าพเจ้าได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมจ่ายเงินค่าข้าวที่เราต้องชดใช้ให้
เป็นค่าเสียหาย
ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษตกลงยินยอมที่จะจ่ายเงินค่าข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาใน
ตลาดโลก นับว่ายังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ส่วน
เรื่องความเสียหายของบริษัทห้างร้านอังกฤษที่เราต้องชดใช้นั้นเราเห็นว่า
เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมต่อสยามเช่นกัน เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๙๔
ฝ่ายสัมพันธมิตร
ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลอังกฤษด้วยได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่
ซานฟรานซิสโก ตามสนธิสัญญาฉบับนี้
รัฐบาลอังกฤษเองได้ยกเลิกข้อเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในสงคราม
-๘-
ฝ่ายรัฐบาลจีนเมื่อยอมรับรองความเป็นเอกราชของรัฐบาลสยามแล้ว
ก็ได้ส่งอัครรัฐทูตมาประจำกรุงสยาม เพื่อสถาปนาความสัมพันธทางการทูต
ส่วน
กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่คิดว่ากองกำลังทหารจีนจะเข้ามาปลดอาวุธ
ทหารญี่ปุ่นในประเทศสยามนั้น พากันแปลกใจที่กลายเป็นกองทหารอังกฤษ
ฉนั้นจึงก่อจลาจลโดยใช้ปืนยาวปืนสั้น
ยิงเข้าใส่ฝูงชนอย่างบ้าคลั่งในใจกลางพระนคร
ชาว
ไทยได้โต้ตอบทันที สภาพการจลาจลเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่ง
รัฐบาลจำต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม เพื่อให้เกิดความสงบโดยเร็วที่สุด
การจลาจลครั้งนี้เรียกว่า “ เลียะพะ “ ( ภาษาจีนแต้จิ๋ว )
ที่เรียกเช่นนี้
เพราะได้เปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้กับกบฏของนักมวยจีน
ซึ่งต่อต้านกองกำลังอำนาจต่างชาติในปีพ.ศ ๒๔๔๓
ในปัจจุบันยังมีคนกล่าวถึงเหตุการณ์เลียะพะครั้งนั้นอยู่
โดยมักจะเป็นพวกที่ไม่ยอมรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐราษฎรจีน
และยกเอาเหตุการณ์นี้มาข่มขวัญผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่
โดยอธิบายอย่างไม่มีเหตุผลว่า
เมื่อสถาปนาความสัมพันธทางการทูตกับสาธารณรัฐราษฎรจีนแล้ว
เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดซ้ำอีกโดยพวกชาวจีนโพ้นทะเลจะเป็นผู้ก่อขึ้นด้วย
ความสนับสนุนของสถานเอกอัครรัฐทูตสาธารณรัฐราษฎรจีน
อันที่จริงระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบนี้
พวกคอมมิวนิสต์จีนที่ลี้ภัยเข้ามาในสยาม
เพราะถูกรัฐบาลจีนคณะชาติตามล่านั้น กลับต่อต้านการเลียะพะครั้งนี้
-๙-
รัฐบาลโชเวียตกำลังวุ่นวายอยู่กับปัญหาภายในประเทศ
จึงไม่พร้อมที่จะเข้ามาแทรกแซงในกิจการของเอเชียอาคเนย์ อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลนี้ได้แสดงความเคารพความเป็นเอกราชของสยามโดยปริยาย
โดยการมอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตที่กรุงสต็อกโฮล์มเข้าร่วมในงานเลี้ยง
รับรองที่จัดขึ้นโดยสถานอัครราชทูตสยาม ทั้งในระหว่างและหลังสงคราม
-๑๐- ส่วนฝ่ายรัฐบาลกู้ชาติฝรั่งเศส (Comite’ francais de Libe’ration nationale)
ซึ่งต่อมาได้ตั้งขึ้นเป็นรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ลงความเห็นว่ารัฐบาลไทยเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น
และฝรั่งเศสกับประเทศไทยถือว่าเป็นศัตรูกันนับแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๘๓ อันเป็นวันที่กองทัพอากาศไทย ( สมัยรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ )
ได้ทิ้งระเบิดบนดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส
รัฐบาลชั่วคราวของฝรั่งเศสเห็นว่าคำประกาศของข้าพเจ้าในฐานะผู้สำเร็จราชการ
แทนพระองค์ได้ยกเลิกการยึดครองดินแดนที่รัฐบาลจอมพลพิบูลฯยึดครองนั้น
ครอบคลุมถึงดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วย
ดังนั้นเราจึงได้ทำความตกลงร่วมกันกับรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ให้นำเรื่องนี้สู่อนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสิน
ทั้งนี้เพราะทางฝ่ายเราเห็นว่า
ดินแดนที่เป็นปัญหาอยู่นั้นเป็นของประเทศสยามมาก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แล้ว
นับแต่นั้นมาความสัมพันธ์ทางทูตระหว่าง ๒ ประเ ทศก็กลับคืนสู่สภาพปกติ
-๑๑-
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงบรรลุนิติภาวะ
ข้าพเจ้าได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จนิวัติคืนสู่สยาม
พระองค์เสด็จถึงกรุงเทพฯเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
หน้าที่ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพเจ้าจึงเป็นอันสิ้นสุดลง
ในทันที พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งต่งตั้งข้าพเจ้าเป็นรัฐบุรุษอาวุโส
อันเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ซึ่งจะไม่มีอำนาจในการบริหารแผ่นดิน
เป็นโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้พักผ่อน
ซึ่งข้าพเจ้ามีความปราถนาอยู่แล้วหลังจากที่ข้าพเจ้าได้ทำงานมาอย่างลำบาก
และเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลาช่วงที่มีสงครามและหลังสงครามอีก ๓ เดือน
ภาย
หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว
มีรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางคนเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ความขัดแย้งในรัฐสภาระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเพิ่มมาก
ขึ้น ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลต้องลาออก
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าจัดตั้งรัฐบาล
โดยข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
โดยได้เสียงสนับสนุนจากฝ่ายข้างมาก
ซึ่งเป็นฝ่ายก้าวหน้าในสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. ๒๔๘๙
รัฐสภาจะประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้ง
ความ
ขัดแย้งระหว่างฝ่ายก้าวหน้ากับฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงไป
แต่กลับเพิ่มมากขึ้น เมื่อศาลฎีกาได้ตัดสินปล่อยตัวจอมพลพิบูลฯ
โดยประกาศว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม (
ซึ่งร่างขึ้นและประกาศใช้หลังสงคราม ) ไม่อาจใช้บังคับย้อนหลังได้
เมื่อจอมพลพิบูลฯได้รับการปล่อยตัว ก็ได้กลับคืนสู่เวทีการเมืองเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม
-๑๒-
๒-๓ เดือนถัดมา ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
โดยต้องพระแสงปืนที่พระเศียรในห้องพระบรรทมในพระบรมมหาราชวัง
จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและโดยคำแนะนำของพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมขุน
ชัยนาทนเรนทร ทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ประกาศว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ
โดยกระสุนจากพระแสงปืนของพระองค์เอง
ใน
วันนั้นเอง
ข้าพเจ้าในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เสนอรัฐสภาให้อันเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชสมบัติสืบแทนพระเชษฐาที่เสด็จสวรรคต
เนื่องจากพระองค์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ
สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
โดยพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นประธาน
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่
หลัง
การเลือกตั้งช่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยไม่มีผู้สมัครแข่งขัน ข้าพเจ้าสมัครใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากนั้น มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
ซึ่งก็คงประกอบด้วยรัฐมนตรีฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายประชาธิปไตย
แต่พวกอนุรักษ์นิยมกล่าวหาว่ารัฐบาลใหม่อยู่ภายใต้อาณัติของข้าพเจ้า
ด้วยเหตุนี้พวกอนุรักษ์นิยมจึงเริ่มโจมตีข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัว
โดยใส่ร้ายข้าพเจ้าต่างๆนาๆ เช่น
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไม่ได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ
แต่ถูกลอบปลงพระชนม์โดยอดีตราชเลขานุการส่วนพระองค์
และมหาดเล็กของพระองค์เอง โดยมีข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
การเผยแพร่ข่าวให้ร้ายข้าพเจ้าเช่นนี้ เป็นแผนการทำให้ประชาชนสับสน เพื่ออ้างเป็นเหตุให้คณะทหารก่อการรัฐประหารปฏิกิริยา
เมื่อ
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เกิดการรัฐประหารของฝ่ายทหาร
โดยการสนับสนุนของพวกอนุรักษ์นิยมขวาจัดและพวกคลั่งชาติ
โค่นล้มรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นพรรคพวกของข้าพเจ้า พวกเขาได้บุกเข้าไปในบ้าน
เพื่อจะทำลายชีวิตข้าพเจ้ารวมทั้งภรรยาและบุตรเล็กๆ
หาว่าข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในกรณีสวรรคตฯ จอมพลพิบูลฯ
ซึ่งถูกปล่อยก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน
เพราะกฏหมายอาชญากรสงครามไม่มีผลย้อนหลังมาใช้บังคับ
ก็ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร ให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
ทำให้มีอำนาจควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
คณะรัฐประหารได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามิได้มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมอีกต่อไป
แต่จะมาจากการแต่งตั้งโดยตรงจากประมุขแห่งรัฐ
โดยมีหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ก่อนรัฐประหารอายุต่ำสุดของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกำหนด
ไว้ ๒๓ ปี แต่ตามรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารกำหนดไว้เป็น ๓๕ ปี
ซึ่งเท่ากับอายุต่ำสุดของผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ก็ใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
เพราะต่อมาประเทศไทยถูกปกครองโดยรัฐธรรมนูญฟาสซิสต์กึ่งฟาสซิสต์
และฟาสซิสต์ใหม่ๆ ฯลฯ อีกหลายฉบับ
ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองหลายประการ .