Somsak Jeamteerasakul added 4 new photos.
I'm Back (on facebook)
กลับมาที่เฟซบุ๊คแล้วครับ
https://goo.gl/SX5zs6
I'm Back
เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ตุลา หลังจากผมโพสต์เปิดเผยเอกสารการโอนหุ้นมูลค่ากว่า 17,000 ล้านบาท จาก ธ.ไทยพาณิชย์ของวชิราลงกรณ์ ได้ไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง เฟซบุ๊คก็แจ้งผมว่า กระทู้ดังกล่าว "ละเมิดบรรทัดฐานชุมชนเฟซบุ๊ค" และถูกเอาออกออกไป พร้อมกันนั้น ผมได้ถูกแบนจากการโพสต์เฟซบุ๊คเป็นเวลา 30 วัน (ดูภาพประกอบที่ 1 และ 2)
ผมได้ส่งอีเมล์ไปประท้วงเฟซบุ๊คว่า การเอากระทู้นั้นออกและการแบนผม เป็นความผิดพลาด เพราะผมไม่ได้โพสต์อะไรที่ละเมิดบรรทัดฐานเฟซบุ๊คเลย ("บรรทัดฐาน" ที่เฟซบุ๊คอ้างว่าผมละเมิดคือข้อที่ว่าด้วยการโพสต์พวกภาพโป๊ ฯลฯ)
ภายในวันเดียวกันนั้นเอง รอยเตอร์ส บลูมเบิร์ก บีบีซี และอีกหลายสำนักข่าวต่างประเทศ ก็เอาเรื่องเดียวกับที่ผมเปิดเผย ไปรายงาน ผมก็ส่งอีเมล์ประท้วงเฟซบุ๊คไปอีก พร้อมแนบลิงค์รายงานของสำนักข่าวต่างๆไปด้วย
การถูกแบนไม่ให้โพสต์เฟซบุ๊คเป็นความไม่สะดวกสำหรับผมแน่ แต่ที่แย่เป็นพิเศษคือ เดี๋ยวนี้ พอโดนแบนการโพสต์ที่หน้าวอลล์หรือคอมเม้นท์ "หน้าไมค์" ผมไม่สามารถใช้ messenger หรือส่งข้อความติดต่อใคร "หลังไมค์" ทางเฟซบุ๊คได้อีกด้วย
ดังนั้น หลายท่าน ที่่ส่งข้อความถึงผม ในหลายวันที่ผ่านมานี้ โปรดทราบว่า ผมอ่านข้อความนั้นได้ แต่ตอบไม่ได้ เพราะพอเขียนตอบ กด "ส่ง" เฟซบุ๊คก็บล็อกบอกว่า ผมยังอยู่ระหว่างการถูกแบน ส่งข้อความหลังไมค์ตอบใครไม่ได้ ไม่ว่าจะใช้ทางบร้าวเซอร์ หรือทางแอ๊พ facebook messenger นับเป็นความลำบากมาก
หลังจากการส่งอีเมล์ประท้วงไป 3 วัน เมื่อวานนี้ วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม เฟซบุ๊ค ได้ "คืน" กระทู้โอนหุ้นกลับมา พร้อมกับแจ้งว่า สต๊าฟได้เอากระทู้ดังกล่าวออก accidentally ("โดยอุบัติเหตุ") พร้อมกับขอโทษมา (ภาพประกอบที่ 3)
แต่ตลอดเมื่อวานนี้ แม้จะได้กระทู้ดังกล่าว "คืน" มา ผมก็ยังถูกแบนจากการโพสต์เฟซบุ๊ค หรือการส่งข้อความหลังไมค์อยู่ (หลายท่านที่ส่งข้อความหลังไมค์มาเมื่อวาน คงเข้าใจผิด พอเห็นกระทู้คืนมา นึกว่า ผมจะเขียนตอบได้) ผมจึงส่งอีเมล์ไปประท้วงเฟซบุ๊คอีกว่า ในเมื่อกระทู้ดังกล่าว เฟซบุ๊คยอมรับว่าผิดพลาดที่เอาออก ก็ควรยกเลิกการแบนผมพร้อมกันไปด้วย
เพิ่งเมื่อครู่นี้เอง ผมได้ลองโพสต์ จึงพบว่า การแบนได้ถูกยกเลิกแล้ว (เมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อน ตอนผมตื่นมา ลองดู ยังถูกแบนอยู่)
............
ระหว่าง 4 วันที่ผ่านมา ผมเลยต้องไปใช้ Twitter แทน (ปกติ ผมใช้อยู่ แต่เพื่อโพสต์ลิงค์เป็นหลัก เพราะทวิตเตอร์ แทบจะเขียนข้อความอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้)
รวมทั้งเมื่อวานนี้ หลังจากผมได้กระทู้โอนหุ้น "คืน" แต่ยังไม่สามารถโพสต์เฟซบุ๊คได้ ผมได้ไปเขียนทวิตเตอร์หลายอันต่อๆกัน (ดูภาพประกอบที่ 4) อธิบาย-วิจารณ์การที่ระบบของเฟซบุ๊คเปิดช่องให้ผู้ปกครองที่มีอำนาจและมีทรัพยากร อย่างวชิราลงกรณ์และศูนย์ปฏิบัติการมิวนิคของเขา สามารถใช้ช่องว่างนั้น ปิดปากคนที่พูดเสนอความจริงเกี่ยวกับพวกเขาได้อย่างง่ายๆ อย่างกรณีล่าสุดเรื่องหุ้น เห็นได้ชัดว่า จะต้องมีการจงใจระดมรีพอร์ตทันที ไม่เช่นนั้น กระทู้ไม่มีทาง "หาย" ไปเร็วขนาดนั้น ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง (กระทู้อื่น ก็ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง)
อันที่จริง 3 ครั้งหลังสุด ที่กระทู้ผมโดนรีพอร์ต และถูกเฟซบุ๊คเอาออก ล้วนแต่เป็นการโพสต์ในเชิงข้อมูลธรรมดา ที่ไม่มีทางเข้าข่ายการละเมิดบรรทัดฐานเฟซบุ๊คเลย คือ (1) ผมแชร์ประวัติวชิราลงกรณ์ของ บีบีซีไทย - BBC Thai (อันเดียวกับที่ "ไผ่ ดาวดิน" โดนติดคุก); (2) ผมนำเสนอเรื่องการตายของ พ.ท.กฤษณพล ว่าเป็นการตายอย่างมีเงื่อนงำ ที่ควรมีการสอบสวนให้แน่ชัด และ (3) เรื่องโอนหุ้น 17,000 ล้านของวชิราลงกรณ์
สมศักดิ์ เจียม @somsakjeam
เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ตุลา หลังจากผมโพสต์เปิดเผยเอกสารการโอนหุ้นมูลค่ากว่า 17,000 ล้านบาท จาก ธ.ไทยพาณิชย์ของวชิราลงกรณ์ ได้ไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง เฟซบุ๊คก็แจ้งผมว่า กระทู้ดังกล่าว "ละเมิดบรรทัดฐานชุมชนเฟซบุ๊ค" และถูกเอาออกออกไป พร้อมกันนั้น ผมได้ถูกแบนจากการโพสต์เฟซบุ๊คเป็นเวลา 30 วัน (ดูภาพประกอบที่ 1 และ 2)
ผมได้ส่งอีเมล์ไปประท้วงเฟซบุ๊คว่า การเอากระทู้นั้นออกและการแบนผม เป็นความผิดพลาด เพราะผมไม่ได้โพสต์อะไรที่ละเมิดบรรทัดฐานเฟซบุ๊คเลย ("บรรทัดฐาน" ที่เฟซบุ๊คอ้างว่าผมละเมิดคือข้อที่ว่าด้วยการโพสต์พวกภาพโป๊ ฯลฯ)
ภายในวันเดียวกันนั้นเอง รอยเตอร์ส บลูมเบิร์ก บีบีซี และอีกหลายสำนักข่าวต่างประเทศ ก็เอาเรื่องเดียวกับที่ผมเปิดเผย ไปรายงาน ผมก็ส่งอีเมล์ประท้วงเฟซบุ๊คไปอีก พร้อมแนบลิงค์รายงานของสำนักข่าวต่างๆไปด้วย
การถูกแบนไม่ให้โพสต์เฟซบุ๊คเป็นความไม่สะดวกสำหรับผมแน่ แต่ที่แย่เป็นพิเศษคือ เดี๋ยวนี้ พอโดนแบนการโพสต์ที่หน้าวอลล์หรือคอมเม้นท์ "หน้าไมค์" ผมไม่สามารถใช้ messenger หรือส่งข้อความติดต่อใคร "หลังไมค์" ทางเฟซบุ๊คได้อีกด้วย
ดังนั้น หลายท่าน ที่่ส่งข้อความถึงผม ในหลายวันที่ผ่านมานี้ โปรดทราบว่า ผมอ่านข้อความนั้นได้ แต่ตอบไม่ได้ เพราะพอเขียนตอบ กด "ส่ง" เฟซบุ๊คก็บล็อกบอกว่า ผมยังอยู่ระหว่างการถูกแบน ส่งข้อความหลังไมค์ตอบใครไม่ได้ ไม่ว่าจะใช้ทางบร้าวเซอร์ หรือทางแอ๊พ facebook messenger นับเป็นความลำบากมาก
หลังจากการส่งอีเมล์ประท้วงไป 3 วัน เมื่อวานนี้ วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม เฟซบุ๊ค ได้ "คืน" กระทู้โอนหุ้นกลับมา พร้อมกับแจ้งว่า สต๊าฟได้เอากระทู้ดังกล่าวออก accidentally ("โดยอุบัติเหตุ") พร้อมกับขอโทษมา (ภาพประกอบที่ 3)
แต่ตลอดเมื่อวานนี้ แม้จะได้กระทู้ดังกล่าว "คืน" มา ผมก็ยังถูกแบนจากการโพสต์เฟซบุ๊ค หรือการส่งข้อความหลังไมค์อยู่ (หลายท่านที่ส่งข้อความหลังไมค์มาเมื่อวาน คงเข้าใจผิด พอเห็นกระทู้คืนมา นึกว่า ผมจะเขียนตอบได้) ผมจึงส่งอีเมล์ไปประท้วงเฟซบุ๊คอีกว่า ในเมื่อกระทู้ดังกล่าว เฟซบุ๊คยอมรับว่าผิดพลาดที่เอาออก ก็ควรยกเลิกการแบนผมพร้อมกันไปด้วย
เพิ่งเมื่อครู่นี้เอง ผมได้ลองโพสต์ จึงพบว่า การแบนได้ถูกยกเลิกแล้ว (เมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อน ตอนผมตื่นมา ลองดู ยังถูกแบนอยู่)
............
ระหว่าง 4 วันที่ผ่านมา ผมเลยต้องไปใช้ Twitter แทน (ปกติ ผมใช้อยู่ แต่เพื่อโพสต์ลิงค์เป็นหลัก เพราะทวิตเตอร์ แทบจะเขียนข้อความอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้)
รวมทั้งเมื่อวานนี้ หลังจากผมได้กระทู้โอนหุ้น "คืน" แต่ยังไม่สามารถโพสต์เฟซบุ๊คได้ ผมได้ไปเขียนทวิตเตอร์หลายอันต่อๆกัน (ดูภาพประกอบที่ 4) อธิบาย-วิจารณ์การที่ระบบของเฟซบุ๊คเปิดช่องให้ผู้ปกครองที่มีอำนาจและมีทรัพยากร อย่างวชิราลงกรณ์และศูนย์ปฏิบัติการมิวนิคของเขา สามารถใช้ช่องว่างนั้น ปิดปากคนที่พูดเสนอความจริงเกี่ยวกับพวกเขาได้อย่างง่ายๆ อย่างกรณีล่าสุดเรื่องหุ้น เห็นได้ชัดว่า จะต้องมีการจงใจระดมรีพอร์ตทันที ไม่เช่นนั้น กระทู้ไม่มีทาง "หาย" ไปเร็วขนาดนั้น ในเวลาไม่ถึงชั่วโมง (กระทู้อื่น ก็ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง)
อันที่จริง 3 ครั้งหลังสุด ที่กระทู้ผมโดนรีพอร์ต และถูกเฟซบุ๊คเอาออก ล้วนแต่เป็นการโพสต์ในเชิงข้อมูลธรรมดา ที่ไม่มีทางเข้าข่ายการละเมิดบรรทัดฐานเฟซบุ๊คเลย คือ (1) ผมแชร์ประวัติวชิราลงกรณ์ของ บีบีซีไทย - BBC Thai (อันเดียวกับที่ "ไผ่ ดาวดิน" โดนติดคุก); (2) ผมนำเสนอเรื่องการตายของ พ.ท.กฤษณพล ว่าเป็นการตายอย่างมีเงื่อนงำ ที่ควรมีการสอบสวนให้แน่ชัด และ (3) เรื่องโอนหุ้น 17,000 ล้านของวชิราลงกรณ์
สมศักดิ์ เจียม @somsakjeam
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar