tisdag 10 oktober 2017

เพิ่มเติมกรณีโอนหุ้น 17,000 ล้านของวชิราลงกรณ์ : "โอนในนาม" หรือ "โอนไปให้"?

Somsak Jeamteerasakul 
เพิ่มเติมกรณีโอนหุ้น 17,000 ล้านของวชิราลงกรณ์ : "โอนในนาม" หรือ "โอนไปให้"?
เพิ่มเติมกรณีโอนหุ้น 17,000 ล้านของวชิราลงกรณ์ :
"โอนในนาม" หรือ "โอนไปให้"?
ถ้าใครอ่านรายงานข่าวนี้ โดย Reuters (https://goo.gl/cfLom6) หรือ บีบีซีไทย - BBC Thai (https://goo.gl/7Pkgir)
จะเห็นว่า ทั้งคู่รายงานว่า "โอนในนาม(พระปรมาภิไธย)" และ "ไม่ได้ระบุว่า ผู้รับโอนเป็นใคร" ("on behalf of King..." "did not identify the ultimate beneficiary of the shares")
ความจริง เอกสารการโอนที่ผมโพสต์ (ภาพประกอบแรก โพสต์ให้ดูอีกที) เขียนในลักษณะที่ชวนให้คิดแบบนั้นจริงๆ เพราะใช้คำว่า "โอนในพระปรมาภิไธย.." คือ "โอนในนาม"
ราวกับว่า การโอนครั้งนี้ วชิราลงกรณ์เป็นคนโอน (โดยมี จนท.สำนักงานทรัพย์สิน "โอนในนาม" เขา) แต่ไม่ได้บอกว่า โอนไปให้ใคร
แต่ว่า ผมเห็นว่า การอ่านเช่นนี้ ไม่เม้กเซ้นซ์ เพราะ สนง.ทรัพย์สินฯ เป็นชื่อผู้ถือหุ้นเองตามกฎหมายอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้อง "โอนในนาม" คนอื่น หรือใส่ชื่อคนสั่งให้โอน คือสามารถและควรโอนในนาม สนง.ทรัพย์สินฯได้เองเลย หรือถ้าสมมุติจะต้องมีคน authorize หรือ "อนุญาต" การโอน ก็ใช้ชื่อจิรายุ ผู้อำนวยการได้ เพราะตามกฎหมายจิรายุทำการแทน สนง.ทรัพย์สินฯอยู่แล้ว
ด้วยความช่วยเหลือของมิตรสหายบางท่าน ผมได้เอกสารเกี่ยวกับการโอนหุ้นกรณีอื่นมาเปรียบเทียบให้ดู
ขอให้ดูภาพประกอบที่ 2 ซึ่งเป็นการโอนหุ้นของคุณวิชัย ทองแตง เมื่อต้นปีกลาย
ขอให้สังเกตช่อง "อื่นๆ" ของ "การจำหน่าย" (ช่องเดียวกับที่ในกรณี SCB เขียนว่า "โอนในพระปรมาภิไธย..") เขียนว่า
"โอนออก คุณอัฐ ทองแตง/คุณอิทธิ ทองแตง/คุณวิอร ทองแตง/คุณอติคุณ ทองแตง"
กรณีนี้ ไม่ใช่ว่า คนที่มีชื่อทั้งสี่เป็นคน "โอนออก" (อย่างที่คำที่เขียนชวนให้คิด) แต่คือการโอนไปให้คนเหล่านั้น ซึ่งเป็นลูกๆของคุณวิชัย
ขอให้ดูข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" (ภาพประกอบที่ 3 ดูข่าวจริงได้ที่นี่ https://goo.gl/1qxQeX) รายงานไว้ว่า "หากดูข้อมูลที่ระบุในแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้น....นายวิชัย ทองแตง ได้โอนหุ้น BDMS ให้กับลูกๆ ได้แก่ นายอัฐ ทองแตง , นายอิทธิ ทองแตง ,นางสาววิอร ทองแตง และนายอติคุณ ทองแตง"
นั่นคือ เป็นปกติของเอกสาร กลต. ที่ตรงช่องนี้ จะใส่ชื่อคนรับโอน (แม้กรณีวิชัย จะใช้คำว่า "โอนออก" ความจริง 4 คนดังกล่าว ไม่ได้เป็นคน "โอนออก" แต่เป็นคนรับโอนมา)
เช่นเดียวกัน กรณีหุ้น SCB ที่สำนักงานทรัพย์สินฯโอนออกไป ที่ใส่ "ในพระปรมาภิไธย" ตรงช่องนี้ ก็หมายถึง "โอนไปให้" คือ #โอนไปให้อยู่ในชื่อ ("โอนในพระปรมาภิไธย") วชิราลงกรณ์ (เหมือนกรณีลูกๆ 4 คนของคุณวิชัยที่เป็นชื่อคนรับโอน ไม่ใช่ คน "โอนออก")
................
อันที่จริง ต่อให้สมมุติว่า โดยแบบฟอร์มหมายถึง "โอนในนาม" หรือ on behalf of the king คือวชิราลงกรณ์เป็นคนโอน ผมก็ไม่คิดว่า เขาจะโอนเงินมหาศาลขนาดนี้ไปให้ใครหรอก ก็โอนให้ตัวเองหรือเอาไปเองนั่นแหละ แต่กรณีเอกสารนี้ ผมว่าเป็นการยืนยันเลยว่า เป็นการโอนหุ้นที่เคยอยู่ในนาม สนง.ทรัพย์สินฯ ไปให้ในนามวชิราลงกรณ์โดยตรง สรุปคือ วชิราลงกรณ์เอาเงิน(ในรูปหุ้น)ที่เคยอยู่ในนาม สนง.ทรัพย์สินฯ ไปเป็นชื่อเขาเองโดยตรง ตามที่ผมโพสต์ไปตอนแรกนั่นเอง และดังนั้น ทั้งรอยเตอร์ส และ บีบีซีไทย - BBC Thai ที่รายงานว่า "ไม่ระบุว่า ผู้รับโอนเป็นใคร" จึงคลาดเคลื่อนความจริง - ระบุและรู้แน่นอนเลยครับ ผู้รับโอนคือ วชิราลงกรณ์
..............
ถ้ามีเวลา ผมอยากจะเขียนถึงประเด็นว่าด้วย "ทฤษฎี" หรือความพยายามอธิบายว่า วชิราลงกรณ์เอาเงินก้อนมหึมาไปในนามตัวเองทำไม แต่วันนี้ ต้องออกจากบ้าน อาจจะต้องวันหลัง
คลิกดูเพิ่ม-added 3 new photos.
No automatic alt text available.

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar