ประชาไท Prachatai
ดิอีโคโนมิสต์ออกรายงานจัดอันดับประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ
ในปีที่ผ่านมาใครดีขึ้นใครแย่ลงบ้างท่ามกลางกระแสความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นในช่วงรอบปีที่ผ่านมา
ส่วนของไทยอันดับตกจากอันดับ 55 ในปี 2565 เหลืออันดับ 63 ในปี 2566
แต่เหตุใดแม้จะมีเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่แล้วกลับตกมา 8 อันดับ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยเกิดความขัดแย้งที่ชัดเจนสำหรับการกำหนดโครงสร้างของสังคมในสถานะ และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นจุดแกนกลางสำคัญของความเห็นที่แตกต่างกัน นำไปสู่การปกป้องรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ฝ่ายหนึ่ง กับอีกฝ่ายที่ต้องการให้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนขึ้นแทนที่
รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ไม่ใช่เป็นเพียงตัวบท แต่เป็นสนามวาทกรรมของการต่อสู้ วาดภาพสังคมไทยร่วมกันเป็นการสะท้อนกลับสองทาง (double reflexivity) ระหว่างกฎหมายของผู้มีอำนาจ กับกฎหมายของกลุ่มทางสังคม จากระบบย่อยในสังคม (social subsystem) มาจากบริบททางสังคมที่แตกต่างซ้อนทับกันระหว่างกลุ่มทางสังคม เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้หยุดนิ่ง แช่แข็ง แต่เป็นกระบวนการ ความเคลื่อนไหว เพื่อจัดระเบียบการอยู่ร่วมกัน ในบริบทของสังคมไทยรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนจะต้องสร้างองค์กรภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็ง นับรวมบรรทัดฐานของกลุ่มขยายไปสู่บรรทัดฐานกลาง และเปิดพื้นที่ให้กับการเคลื่อนไหวเรียกร้องในรูปแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยมีสิทธิ เสรีภาพ เป็นหัวใจสำคัญของการอยู่ร่วมกัน
.
อ่านเพิ่มเติมที่ : https://prachatai.com/journal/2024/02/108028
วันธรรมดาในประเทศไทย สื่อมวลชนเจออะไรบ้าง
จากกรณี #นักข่าวโดนจับ ชวนย้อนดู 6 เคสคุกคามสื่อมวลชนบางส่วนที่เกิดขึ้นหลังปี 2563 มีทั้งถูกยิงด้วยกระสุนยางจากตำรวจควบคุมฝูงชน, ถูกทำร้ายร่างกายจากกลุ่มที่ระบุตัวเองว่าเป็น “กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์” และถูกจับกุม-ตั้งข้อหาจากการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าว
.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar