torsdag 1 februari 2024

"รัฐไทย" ปกครองด้วยระบอบ.....อะไรกัน???

บีบีซีไทย - BBC Thai  

6h 

สอง “นักร้องเรียน” ยื่น กกต. “ยุบพรรคก้าวไกล”
.
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เดินทางไปคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อยื่นเรื่อง-ทวงถามเรื่องที่เคยร้องเรียน ให้ดำเนินการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคก้าวไกล หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการแก้ไขมาตรา 112 เข้าข่าย “ล้มล้างการปกครอง”
.
“สิ่งที่แนบมาด้วยคือคำร้องของผม คือ 30 เม.ย. 66 และ 30 มิ.ย. 66 ที่เคยทักท้วงไว้ และแถมด้วยคำร้องที่ร้องกับ ปปช เมื่อปี 2564 แนบมาด้วยอีก 20 แผ่น” เรืองไกร กล่าวกับสื่อมวลชน
.
“ผลของคดีเมื่อวาน มันก็จะพันมาถึง กกต. ต้องทำตามหน้าที่และอำนาจ เพราะถือเป็นความปรากฎ องค์กรที่สองคือ ปปช. ซึ่งผมเคยร้อง สส. (ก้าวไกล) 44 คนว่าใช้สิทธิเสรีภาพชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ (เพื่อแก้ไขมาตรา 112)” เขากล่าวต่อ
.
ต่อมาไม่นาน นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความของอดีตพระพุทธอิสระ และเป็นผู้ร้องศาล รธน. จนนำมาสู่คำวินิจฉัยเมื่อวานนี้ ได้นำคำร้องพร้อมเอกสารมายื่นต่อ กกต. เช่นกัน
.
“เดิมแค่ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญยสั่งให้หยุดการกระทำ... แต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ตนได้นั่งอ่านคำวินิจฉัยของศาลอย่างละเอียด เห็นว่า เมื่อศาลได้โปรดพิจารณาวินิจฉัยให้แล้ว ในขณะที่เราอยู่ในฐานะผู้ร้องก็เห็นว่า มีความผูกพันตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นโดยตรง กระบวนการต่อไปก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่วินิจฉัยนั้น” ธีรยุทธ กล่าว
.
เมื่อถามว่าในอนาคตหาก กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณายุบพรรคก้าวไกล กังวลหรือไม่ว่าจะทำให้เกิดความวุ่นวายอีกครั้ง นายธีรยุทธ กล่าวว่า “ไม่ได้กังวลใจ” เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการวางบรรทัดฐานการเมืองการปกครองของประเทศไทย
.
ดังนั้น เมื่อพรรคก้าวไกล หรือสมาชิกพรรค หรือผู้สนับสนุน หรือผู้นิยมชื่นชอบพรรคก้าวไกล อยู่ในฐานะที่จะต้องปฏิบัติและยึดถือบรรทัดฐานการเมืองการปกครองของไทย “การที่จะมีผลกระทบหรือจะกระทบกระทั่งกันอย่างไร ก็เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลที่คนนั้นควรจะพิจารณาระลึกถึงบ้าง” เขาระบุ
.
ระหว่างการยื่นคำร้องต่อ กกต. นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ (ตะวัน) และนางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ (แบม) ได้สวมชุดขาย บ่วงเชือกคล้องคอ คุกเข่า พร้อมกางผลโพล “คุณคิดว่า ม.112 สมควรยกเลิก หรือแก้ไข” พร้อมขอขมาสำนึกผิดที่พวกตน เป็นผู้ให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลแปะสติกเกอร์ “แก้ไข” ม.112 จนเป็นหนึ่งในพฤติการณ์ที่ศาล รธน. วินิจฉัยว่า พรรคก้าวไกลสนับสนุนการยกเลิก ม.112
.
“สิ่งที่นักสู้ทางความคิด สิ่งที่นักโทษทางการเมืองทำ ไม่ร้ายแรงเท่ากระดาษที่เราถือ เท่าสติกเกอร์ที่เราให้คุณพิธาแปะ” ตะวัน กล่าว “เพราะงั้นเอาเราไปประหารเถอะค่ะ แล้วปล่อยพวกเขาออกมา”
.
วิเคราะห์อนาคตก้าวไกล-ม.112 ทางนี้ https://bbc.in/483ueYW
 
 

5h 
วันนี้ (1 ก.พ.) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ 2 ฉบับคือ ฉบับพรรคร่วมรัฐบาล เสนอโดย สส.พรรคเพื่อไทย (พท.) 129 คน และอีกฉบับจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน มี สส.พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ประธานสภาระบุว่า จะให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการตามขั้นตอน และบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมต่อไป ซึ่งน่าจะเสร็จโดยเร็ว เพราะมีเวลาในสมัยประชุมเหลืออีกประมาณ 2 เดือน 10 วันเท่านั้น
.
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นคู่ขนานกับการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ของนักการเมืองและภาคประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องทำประชามติอย่างน้อย 2 ครั้ง ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
.
หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ สส. 2 ขั้วการเมืองเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 คือ กำหนดให้ใช้ “เสียงข้างมาก 2 ชั้น” (Double Majority) ชั้นที่หนึ่ง ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง ชั้นที่สอง ต้องมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียง จึงจะผ่านประชามติได้ ซึ่ง สส.เพื่อไทย-ก้าวไกล เห็นตรงกันว่าเป็นความ “สุ่มเสี่ยง” หากประชาชนไม่ออกมาใช้สิทธิหรือไม่ประสงค์ใช้สิทธิ จะทำให้การออกเสียงประชามติเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตได้
.
พรรค พท. เสนอให้ใช้เสียงข้างมากตามหลักทั่วไป โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องมีเสียงข้างมากเกินเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิออกเสียง (โนโหวต) เพื่อความถูกต้องชอบธรรม
.
ขณะที่พรรค ก.ก. เสนอให้เปลี่ยนกติกาให้เป็น เสียงเกินกึ่งหนึ่ง 1 ชั้นคือ ให้เสียงประชาชนผู้เห็นชอบมีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ
.
ส่วนประเด็นอื่น ๆ ที่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. และนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรค ก.ก. อธิบายสาระสำคัญของร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติของพรรคตัวเอง โดยมีหลักการตรงกัน ได้แก่ ปลดล็อกให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการออกเสียงประชามติในวันเดียวกับการเลือกตั้งอื่น ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณ และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เช่น ให้ลงประชามติออนไลน์ได้ นอกเหนือจากการไปกาบัตร
.
"แม้ว่าทั้งสองพรรคอาจจะอยู่กันคนละฝั่งในระบบรัฐสภา แต่ก็พร้อมร่วมมือกันในประเด็นที่เห็นด้วย ส่วนประเด็นที่เห็นต่าง ก็พร้อมแข่งขันกันเต็มที่ เพราะเป็นแนวทางที่ท้ายสุดประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับประชาชน" นายพริษฐ์กล่าว
.
อ่าน สรุปสูตรประชามติแก้รัฐธรรมนูญ และกติกาประชามติได้ ที่นี่
 
May be an image of 5 people and text that says 'THAI NEWS PIX เพื่อไทย-ก้าวไกล จับมือ มือ ยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ พ.ร. ประ ให้ใช้ 'เสียงข้างมากซั้นเดียว" BBC NEWS ไทย ไทย'

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar