fredag 6 oktober 2017

อนุสนธิ 6 ตุลา 2519 ที่ภูมิพลและลูกชาย ( วชิราลงกรณ์ ) ต้องรับผิดชอบ



ภาพถ่ายที่เพิ่งได้รับ ‘6 ตุลา 19’ โศกนาฏกรรม ความรุนแรง และประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม

2017-10-06
ที่มา ประชาไท

เว็บไซต์บันทึก 6 ตุลา เผยแพร่ภาพชุดเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับ ประจักษ์พยานความรุนแรงแห่งอดีต แฟรงค์ ลอมบาร์ด เจ้าของภาพให้เผยแพร่เพราะคิดว่า อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิด 6 ตุลาซ้ำอีก

หลังจากมีการเปิดตัวเว็บไซต์ 'บันทึก 6 ตุลา' www.doct6.com ไปเมื่อวันที่ 24 กันยายน เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ไว้ ล่าสุด ทางเว็บไซต์ได้เผยแพร่ภาพเหตุการณ์ 2 ชุด ซึ่งทางเว็บไซต์ระบุว่าเป็นภาพที่เพิ่งถูกค้นพบและเผยแพร่ที่เว็บไซต์นี้เป็นแห่งแรก โดยมีการระบุเนื้อหาดังนี้

ประจักษ์พยาน 6 ตุลา: ภาพถ่ายที่เพิ่งได้รับ

ภาพถ่ายนับพันที่ถูกบันทึกไว้ในระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2519 เป็นประจักษ์พยานความรุนแรงที่สำคัญ เมื่อภาพถ่ายปรากฏสู่สาธารณะ ข้อเท็จจริงถูกบอกเล่า นำมาซึ่งคำถามใหม่ๆ ภาพถ่ายสองชุดในเว็บไซต์ ‘บันทึก 6 ตุลา’ ส่วนใหญ่ยังไม่เคยเผยแพร่ในที่สาธารณะมาก่อน หลักฐานใหม่เผยใบหน้าของผู้คนหลากหลาย และสถานที่ที่กว้างไปกว่าสนามหลวงและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และยังชี้ว่าข้อมูล 6 ตุลายังคงกระจัดกระจายอยู่มาก

ชุดภาพสีจากแฟรงค์ ลอมบาร์ด (Frank Lombard)

แฟรงค์ ลอมบาร์ดไปถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประมาณ 10.45 น. ของเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เขาถ่ายภาพสีเหตุการณ์ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสนามหลวงหลายภาพด้วยกัน คุณภาพของฟิล์มที่เก็บไว้นานนับ 40 ปี เปิดเผยให้เห็นถึงความชัดเจนของอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้า เสื้อผ้าที่เปื้อนเลือด สีเขียวของพื้นสนามหญ้า และโดยอย่างยิ่ง ร่างของปรีชา แซ่เอีย ที่ถูกแขวนอยู่กับต้นมะขามของยามสายวันนั้น

ในช่วงปี 2519 แฟรงค์เป็นนักข่าวของสถานีวิทยุนิวซีแลนด์ ปัจจุบัน เขาพำนักอยู่ใจกลางกรุงเทพ และมอบภาพถ่ายชุดนี้ให้กับโครงการเพื่อที่ว่า อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิด 6 ตุลาซ้ำอีก

ภาพตัวอย่าง





ชุดภาพถ่ายขาวดำจากคุณปฐมพร ศรีมันตะ

เดือนพฤษภาคม 2560 โครงการบันทึก 6 ตุลา ได้รับภาพถ่ายชุดหนึ่งจากคุณปฐมพร ศรีมันตะ ซึ่งได้รับภาพต่อมาจากบุคคลอื่นอีกต่อหนึ่ง เช่นเดียวกับภาพถ่ายนับร้อยภาพของเหตุการณ์ ภาพถ่ายชุดนี้ไม่มีข้อมูลผู้ถ่ายภาพและเจ้าของ รวมทั้งข้อมูลของเหตุการณ์ในภาพ

ภาพตัวอย่าง












ทั้งนี้ ‘ประชาไท’ นำภาพเพียงส่วนหนึ่งมาเสนอเท่านั้น ผู้อ่านสามารถตามไปชมภาพทั้งหมดได้ ตามลิงค์ด้านล่างนี้

คลิกดู-https://doct6.com/archives/tag/ภาพถ่าย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: 

'6 ตุลา' มองผ่านหนัง#1: ภัทรภร ภู่ทอง 2 ช่างไฟฟ้าในหนัง "สองพี่น้อง"
สนทนาหนัง 'สองพี่น้อง' เรื่องราว 2 คนงานการไฟฟ้า ที่ถูกแขวนคอก่อน 6 ตุลา 19
หนังสือในมือเจ้าหน้าที่: แนะนำหนังสือ 2 เล่มจากที่เกิดเหตุ 6 ตุลา 19
คำให้การจาก ‘เหยื่อ’ 6 ตุลาคม 2519 ความทรงจำยังไม่จาง
ประมวลภาพ 41 ปี 6 ตุลา ปกป้องประชาธิปไตยประชาชน
'6 ตุลา' มองผ่านหนัง#2: ภาษิต พร้อมนำพล ‘พิราบ’ ในความทรงจำของพ่อ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar