måndag 20 september 2021

‘มูลนิธิป่ารอยต่อ’ ‘วอรูม’ สถานส้องสุมทางการเมือง ...เฮียป้อมเนี่ย เห็นอะไรๆ แกก็บอกแต่ ไม่รู้ ไม่รู้ แท้จริงสำคัญนัก เรื่องที่ชาวเมืองไม่ค่อยใส่ใจ แกงาบเรียบ

Thai E-News

ผันน้ำยวมเติมเขื่อนภูมิพล 'ของฟรีไม่มีในโลก' จีนทำให้นั่นเสร็จแล้วตก 'คิว' ละสองบาท นอกจากงบฯ เบื้องต้น ๗๑,๐๐๐ ล้าน


เฮียป้อมเนี่ย เห็นอะไรๆ แกก็บอกแต่ ไม่รู้ ไม่รู้ แท้จริงสำคัญนัก เรื่องที่ชาวเมืองไม่ค่อยใส่ใจ แกงาบเรียบ ดูอย่าง มูลนิธิป่ารอยต่อใครๆ นึกว่าโฮ้ย สายลมแสงแดด ที่ไหนได้ กลายเป็น วอรูมสถานส้องสุมทางการเมืองขนาดเกือบจะยึดอำนาจน้องตู่น่ะ

ตอนนี้มีอีกรายการที่มองเผินๆ คิดว่าทรัพยากรธรรมชาติธรรมดา เรื่องเขื่อน เรื่องอ่างเก็บน้ำ งานหลัก ร.๙ ที่บางครั้งบางคราวโค่นรัฐบาลได้ เมื่อเขื่อนปล่อยน้ำไปรอระบายในกรุงมากเกินการ แต่นี่ตรงข้าม เมื่อเขื่อนเก็บน้ำได้ไม่พอผลิตไฟฟ้า

ก็ต้องให้ผันน้ำจากที่อื่นมาเติม ถึงแม้ได้ไม่มากนักก็ถือว่าเป็นการนำร่อง ถ้าผ่านได้ฉลุยฉุยฉาย เดี๋ยวผันที่อื่นต่อมาเติมให้เต็ม เสียแต่ว่าค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องใช้จากงบประมาณรัฐบาล ที่เก็บจากพกห่อและกระเป๋าประชาชน ๗๑,๐๐๐ ล้านบาทไทย

“ยังไม่รวมถึงค่าบำรุงรักษาอีกปีละประมาณ ๓๒๘ ล้านบาท และค่ากระแสไฟในการดำเนินโครงการที่ประเมินแล้วอยู่ที่ราว ๒,๔๔๓ ล้านบาทต่อปี (ยังไม่รู้ใครจ่าย)” จะได้น้ำเพิ่มเขื่อนภูมิพล ๑,๗๙๕ ล้าน ลบ.ม. เท่ากับ ๙.๖% ของปริมาณน้ำที่ต้องการ

โดยเฉพาะค่าไฟนั่น “ซึ่งเมื่อคิดเป็นต้นทุนน้ำ มันจะตกอยู่ที่น้ำคิวละ ๑.๓๗ บาท ไปรวมกับต้นทุนการสร้างอีกเกือบ ๑ บาทต่อ ๑ ลูกบาศก์เมตร รวมแล้วน้ำมีต้นทุน ๒ บาทกว่า” อจ.สิตางศุ์ ตั้งข้อสังเกตุ วันนี้ประเทศชาติเรามีงบขนาดนั้นเหรอ”

โครงการผันน้ำยวมสู่เขื่อนภูมิพล กำหนด ๙ ปี ผ่านขั้นตอนอนุมัติ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ‘EIA’ แล้ว เมื่อ ๑๕ กันยา คณะกรรมการฯ (กก.วล.) ลงมติเห็นชอบให้เริ่มดำเนินโครงการได้ หลังจากคณะกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก.) โบกผ่านเมื่อ ๘ ก.ค.

มีข้อน่าสังเกตุอยู่นิดนึงว่า ประธานคณะกรรมการทั้งสองนั้นเป็นคนๆ เดียวกัน คนชงกับคนเสิร์ฟ คนเดียวกัน คือ ประวิตร วงษ์สุวรรณ อย่างที่นิตยสาร เวย์บอก “เริ่มที่ ‘ป้อม’ จบที่ ‘ประวิตร’” ก้เลยเกิดปัญหา “การถ่วงดุลจะเกิดขึ้นได้อย่างไร”

ต้องฟัง ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายเชิง “ตั้งข้อสังเกตุ” ว่าเฮียป้อมเป็นนักพัฒนา ขณะพี่ประวิตรเป็นนักอนุรักษ์ มันลักลั่นกระไรอยู่

ปฐมบทต้องเริ่มตรงนี้ เรื่องการพัฒนาและเรื่องการอนุรักษ์นั้น ต้องมีการถ่วงดุลกัน หากมีการพัฒนามากเกินไป ก็จะทำให้การอนุรักษ์นิเวศในเรื่องของป่า ของน้ำ ของทรัพยากรมันสูญเสียไป แต่หากเราอนุรักษ์มากเกินไป ก็จะทำให้การพัฒนาด้อยลง”

ปัญหาต้องฉงนอยู่ที่ เขาบอกว่าการทำประเมินผลกระทบเป็น #EIAร้านลาบ ก็คือเอาแกนนำชาวบ้านไปนั่งกินลาบคุยกัน ดั่งแค่ทาบทามเบื้องต้น ไม่ได้มีการประชุมทำประชาพิจารณ์ตามมาตรฐานอันควร แล้วถ่ายรูปตอนนั่งคุยไปอ้างว่านั่นชาวบ้านเห็นด้วย

เจ้าตัวเห็นอย่างนั้นก็ออกมาท้วงว่า แอบอ้าง แม้แต่รูปบรรยากาศนั่งคุยเขาก็ไม่ยินดีให้เอาไปลงที่ไหน นับประสาอะไรกับใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง โครงการ “ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยากที่จะประเมิน” อย่างนี้สุกเอาเผากินไม่ได้

“เอกสารกรมชลประทานระบุว่า โครงการนี้จะเติมน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรในฤดูแล้ง จำนวนกว่า ๑.๖ ล้านไร่ เพิ่มพลังงานการผลิตไฟฟ้าให้เขื่อนภูมิพล เฉลี่ย ๔๑๗ ล้านหน่วยต่อปี...โดยมีประชาชนได้รับผลกระทบไม่เกิน ๓๐ ราย”

โครงการสร้างอุโมงก์คอนกรีตใต้ดิน ๖๒ กิโลเมตร ผ่านพื้นที่บริสุทธิ์ ป่าสงวนแห่งชาติ ๕ แห่ง “และพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติ ๑ แห่ง สูญเสียพื้นที่ป่า ๓,๖๔๑.๗๗ ไร่” จะอ้างอย่างไรว่าเป็น “บ้านของชาวปกาเกอะญอ ๔ หลัง” ก็ฟังไม่ขึ้น

“บีบีซีระบุว่า ชาวบ้านในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบเป็นกะเหรี่ยงที่อาศัยบริเวณบ้านแม่งูด ต.นาคอเรือ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ปลายทางของปากอุโมงค์ ก่อนน้ำลงสู่เขื่อนภูมิพล...มีชาวบ้านอยู่ ๑๗๕ ครัวเรือน” หักล้างคำของคนเชียร์

วีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรค พปชร. (หัวหน้าคือประวิตร) บอก “มีบริษัทจีนเข้ามาเสนอเงื่อนไขว่า ไทยไม่ต้องสร้างเอง รัฐวิสาหกิจจีนซึ่ง น่าจะเป็นบริษัทต้าถัง จะมาสร้างให้ทั้ง ๒ จุด คือ แนวผันน้ำแม่น้ำยวม และแนวผันน้ำเมย-แม่ตื่น”

โหย ของฟรี แต่ว่า ไม่มีในโลก“มีเงื่อนไขว่า เขาจะขอสร้างเขื่อนแบบรันออฟริเวอร์หรือเขื่อนน้ำไหลผ่านที่แม่น้ำสาละวินที่ชายแดนไทย-เมียนมา...ท่านนายกฯ รู้อยู่แล้ว...ท่านบอกก็ดีสิ แล้วยิ่งโครงการนี้เราไม่ต้องลงทุนเองยิ่งดีใหญ่เลย”

เนี่ย จะให้ต่างด้าว (ซึ่งหนีไม่พ้นมหามิตรจีน) มาซื้อทรัพย์สินที่ดินครอบครองปรปักษ์เท่านั้นไม่พอ จะให้เขามาใช้ที่ทำมาหากิน เก็บดอกผลฟรีๆ เสียอีก

(https://waymagazine.org/the-yuam-river-water-diversion.../ และ https://www.facebook.com/igreenstory/posts/2934376166878277)

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar