Somsak Jeamteerasakul
14h ·
"กษัตริย์ไม่ทรงยุ่งการเมือง
เพราะมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" นี่เป็นข้ออ้างที่ใช้กันมานาน
แต่ปรากฎว่า ในสมัยวชิราลงกรณ์ แม้แต่เรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริง
ทุกวันนี้
กษัตริย์ลงนามแต่งตั้ง โยกย้าย ลงโทษ นายทหารตำรวจพลเรือน
"ข้าราชการในพระองค์" ได้โดยไม่ต้องมีผู้ลงนามรับรอง,
สามารถแต่งตั้งโยกย้ายพระรูปใดก็ได้โดยไม่ต้องมีคนรับรอง, สามารถเอาเงินจาก
สนง.ทรัพย์สินฯ (ที่เคยอ้างว่า "เป็นของแผ่นดิน") ไปทำอะไรก็ได้
ไม่ต้องมีคนรับรองรู้เห็น ฯลฯ
ความจริงการ
"ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ" นี้
เป็นหลักหมายสำคัญอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย
ที่ยอมรับกันทั่วโลกและไทยพยายามสร้างไว้ตั้งแต่ 2475
แม้จะมีการพยายามลดทอนความหมายเรื่อยมา
รัชกาลที่ 9 นั้นพยายาม "ลักไก่"
ด้วยการไม่ยอมส่งปาฐกถาที่มีต่อผู้คนให้รัฐบาลตรวจก่อน
(ดังตัวอย่างที่โพสต์ให้ดูนี้ เป็นปาฐกถาต่อนิสิตจุฬาฯปี 2503)
จนกระทั่งในภายหลังได้มีโอวาสประจำในวันที่ 4 ธันวาคม โดยแสดงสด
และการพูดครั้งสำคัญๆอื่นๆ
แต่ก็ยังมีการพยายาม "รักษารูปแบบ" ให้รัฐบาล
"เซ็นรับรอง" การตัดสินใจของพระองค์
(การรับสนองพระบรมราชโองการจึงมีความหมายกลับหัวกลับหาง
แทนที่จะเป็นการตัดสินใจของ "ผู้เซ็นรับสนอง"
ก็เป็นเพียงมีลายเซ็นเพื่อรับผิดชอบแทนเท่านั้น)
มาถึงสมัยวชิราลงกรณ์ "การรับสนอง" ถูกยกเลิกไปอย่างสำคัญ แต่เงินเดือนที่ใช้ในการแต่งตั้งต่างๆ ยังเป็นงบประมาณแผ่นดินเช่นเดิม
ตัวอย่าง คำสั่งต่างๆที่ไม่มีการเซ็นรับรอง 112 ฉบับ
https://prachatai.com/journal/2021/09/95103
ประเทศไทยไม่ใช่ปกครองด้วยประชาธิปไตย
.....
ในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
กษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ ไม่ทรงใช้อำนาจโดยแท้ในทางการเมือง การบริหาร
การลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการต่างๆ
ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
มีอำนาจโดยแท้ในเรื่องนั้น ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเสมอ
และเป็นผู้รับผิดชอบ
.
ในขณะที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ เป็นผู้มีอำนาจปกครองแผ่นดิน
ทรงใช้พระราชอำนาจโดยแท้ตราพระราชบัญญัติ ประกาศกฎหมายต่างๆ
บริหารบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง
.
ชม สนามกฎหมาย ตอนที่ 14 การลงพระปรมาภิไธยและการลงนามรับสนองฯ : กรณีโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ https://www.youtube.com/watch?v=7WgNymyiyVA
ที่มา FB Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติ และ เป็นอาชญากรรมนิรันดร
Saint-Just อธิบายว่า กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง เราไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของ กษัตริย์มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ....... คัดมาจากบทความตอนหนึ่งของการเสวนาของคณะนิติราษฎร์ เมื่อ ๓๐ กย. ๒๕๕๕ ( จากการอธิบาย ของ Saint - just เราก็สามารถสรูปได้ว่า ภูมิพลก็คือ " ทรราชและ อาชญากรรมนิรันดร " ต่อประชาชนเพราะปล้นอำนาจมาจากปวงชนชาวไทย )
วิจารณ์ลักษณะที่สอง ในสังคมการเมือง อำนาจเป็นของประชาชนเสมอ เพียงแต่ว่ายุคใดสมัยใด อำนาจนั้นจะถูก “แย่งชิง” ไปหรือไม่ หรือประชาชนจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ใคร ดังนั้น หากจะย้อนกลับไปหาความเป็นเจ้าของอำนาจ ในท้ายที่สุดก็จะเจอประชาชนในฐานะเจ้าของอยู่ดี การอ้างว่ากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ปกครอง มาตั้งแต่นมนาน ในสังคมการเมืองหนึ่งอาจไม่เคยขาดซึ่งสถาบันกษัตริย์เลย นั่นอาจเป็นการอ้างตามประวัติศาสตร์ของพวกราชาชาตินิยม ประวัติศาสตร์ของเจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นโค้ดของเรา Saint-Just อธิบายว่า กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง เราไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของ กษัตริย์มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ถ้ากษัตริย์เป็นทรราช นั่นไม่ใช่เพราะความผิดจากการบริหารราชการแผ่นดินของเขา แต่เขาเป็นทรราชก็ด้วยลักษณะของความเป็นกษัตริย์นั่นแหละ
Saint-Just
เสนออย่างชาญฉลาดว่า การที่กษัตริย์ยึดครองอำนาจสูงสุดของประชาชนไปใช้เอง
นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของความเป็นกษัตริย์เป็นอาชญากรรมนิรันดร (crime
éternel) ต่อประชาชน
มนุษย์จึงย่อมมีสิทธิสัมบูรณ์ในการลุกขึ้นสู้และติดอาวุธ Saint-Just
อธิบายว่า ไม่มีใครสามารถครองราชย์ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะ
กษัตริย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นกบฏและเป็นผู้แย่งชิง (usurpateur)
อำนาจของประชาชนไป
หรือในประกาศคณะราษฎร
“ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศของเรานี้เป็นของราษฎร
ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง
บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก
พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน
เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง”
หากพิจารณาตามแนวทางนี้
ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือไม่ เพราะ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเสมอ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตลอดกาล
เพียงแต่ว่าบางช่วงบางตอน ถูก “ฉกฉวยแย่งชิงขโมย” ไป และสักวันหนึ่ง
ประชาชนก็เอากลับคืนมาจนได้
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar