*อำนาจนอกระบบ : เครื่องมือสำคัญ*
บท: ดารณี รวีโชติ
อำนาจนอกระบบที่มีทั้งองค์กรมวลชน,
ทหาร, ข้าราชการเกาะกลุ่มกันเป็นเครือข่าย
โดยตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบรัฐสภา
ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของราชสำนักในการทำลายรัฐบาลที่ราชสำนักไม่พึงพอ
ใจจนกลายเป็นเส้นทางใหม่
นับแต่การสิ้นชีวิตของจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์, จอมพลถนอม กิติขจร ก็ก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างสมบูรณ์แบบแทน
แต่การมีอำนาจของจอมพลถนอมมีลักษณะเป็นเครือข่ายทางทหารที่เข้มแข็งโดยมีจอม
พลประภาส จารุเสถียร ก้าวเคียงคู่มาด้วย
ขุนศึกทั้งสองมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง
และผูกติดเป็นเครือญาติกันโดยถือเป็นขุนศึกยุคสุดท้ายที่ได้ผงาดขึ้นอย่าง
เข้มแข็ง
ในขณะเดียวกันอำนาจของฝ่ายเจ้าก็เริ่มตั้งมั่นเข้มแข็งแล้วเช่นกันในช่วง
ระยะเวลาสิบกว่าปีนับแต่ปี 2490
ฝ่ายเจ้าได้สร้างเครือข่ายอำนาจของตนขึ้นครอบงำสังคมไทย
โดยรวบรวมนักวิชาการในมหาวิทยาลัย
และตามกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งทหาร ตำรวจ สื่อสารมวลชน
ที่มีแนวคิดจารีตนิยมกลุ่มหนึ่งขึ้นแล้ว
โดยมีองคมนตรีเป็นกลไกอำนาจสูงสุดในการเชื่อมโยงโครงข่าย
และกลายเป็นอำนาจนอกระบบที่เข้มแข็งขึ้นตรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
การล้มรัฐบาลของจอมพลถนอมจึงเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลเท่ากับ
เป็นการทดลองการใช้เครื่องมือใหม่ที่ฝ่ายเจ้าได้ประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นคือ
“อำนาจนอกระบบ” โดยใช้ทหารที่เปลี่ยนปรัชญามาเป็นทหารของพระราชา
แล้วเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนโดยประสานกับผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญใน
ขณะนั้นคือม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนนักศึกษาปัญญาชน
แล้วทุกอย่างก็สำเร็จตามประสงค์อำนาจนอกระบบที่ควบคุมโดยราชสำนักจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง
ดังนั้นตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมานับแต่ปี 2500
อำนาจนอกระบบนี้ก็ได้แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งโดยบดขยี้ทุกอำนาจในระบอบรัฐสภา
และอำนาจเผด็จการทหารแปลกปลอม ที่ไม่ยอมขึ้นต่ออำนาจฝ่ายเจ้า
หรือมีทีท่าว่าจะเข้มแข็ง มาตีเสมอและทัดเทียมฝ่ายเจ้า
อำนาจการเมืองนั้นก็จะถูกบดขยี้อย่างแนบเนียนเสมือนหนึ่งว่าการพังทลายของ
อำนาจนั้นเกิดขึ้นเพราะความเลวร้ายของผู้ถืออำนาจนั้นเองนับตั้งแต่รัฐบาล
ของจอมพลถนอม-ประภาส เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
แต่เหยื่อรายล่าสุดคือรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ดูเหมือนว่าเครื่องมือสำคัญคือ “อำนาจนอกระบบ” นี้จะล้าสมัยไปเสียแล้ว
เนื่องจากยุคสมัยของเทคโนโลยีทางข่าวสารได้เปลี่ยนไปในทางที่ก้าวหน้ามาก
ประกอบกับเป็นรัฐบาลที่มีผลงานและนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
ระดับล่างได้อย่างเป็นรูปธรรม
และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจนและ
สมบูรณ์แบบในยุคโลกาภิวัฒน์
ประกอบกับเป็นช่วงปลายของรัชกาลปัจจุบันที่วังเองก็เกิดความขัดแย้งกันภายใน
รุนแรง จึงเกิดสภาวะการเปิดโปงตัวเองทางประวัติศาสตร์
กลายเป็นบทศึกษาทางการเมืองให้แก่ประชาชนได้เห็นระบอบการปกครองปัจจุบันที่
แท้จริงว่า“ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย”
*การยึดอำนาจของวังมีสูตรมาตรฐาน*
บท: ดารณี รวีโชติ
ากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยในเหตุการณ์การยึดอำนาจของฝ่ายทหารตามที่คน ไทยเข้าใจมาโดยตลอดนั้น หากจะพิจารณาจากรูปแบบการจัดการแล้วจะเห็นว่าการยึดอำนาจนับตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน หากครั้งใดที่มีข่าวลือว่าเป็นพระราชประสงค์แล้ว
รูปแบบการจัดการก่อนและหลังการยึดอำนาจจะมีรูปแบบที่คล้ายกันหมดเกือบจะ เรียกว่ามีสูตรสำเร็จเป็นมาตรฐานเลยทีเดียว นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวประท้วงของประชาชน เพื่อสร้างความชอบธรรมก่อนการยึดอำนาจ, การใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจโดยรวมศูนย์เป็นเอกภาพ,
การจัดตั้งรัฐบาลพระราชทานโดยให้คนใกล้ชิดมาเป็นนายกฯ และการดำรงอยู่ของรัฐบาลพระราชทานนั้น จะมีอายุอยู่ประมาณ 1 ปี โดยจัดร่างรัฐธรรมนูญที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบราชการ และสร้างความอ่อนแอให้แก่ระบบพรรคการเมืองโดยนักร่างมืออาชีพ
แล้วหลังจากนั้นก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่ออยู่ได้สักพักหนึ่งก็จะเกิด การยึดอำนาจในลักษณะนี้อีกกล่าวโดยสรุปแล้วการมีอำนาจของรัฐบาลนับแต่ปี 2500 เป็นต้นมา จะไม่มีรัฐบาลใดที่เข้มแข็งเลยด้วยสูตรยึดอำนาจแบบมาตรฐานสลับกับการเลือก ตั้ง การยึดอำนาจครั้งสำคัญๆ ที่จะชี้ให้เห็นถึงสูตรมาตรฐานได้แก่
1. เกิดการเดินขบวนต่อต้านจอมพล ป.แล้วก็มีการยึดอำนาจเมื่อ 16 กันยายน 2500 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยให้นายพจน์ สารสิน คนใกล้ชิดมาเป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ได้ประมาณ 1 ปี ก็เปิดให้มีการเลือกตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็เกิดการยึดอำนาจใหม่อีกทีเมื่อ 20 ตุลาคม 2501 แล้วก็เผด็จการยาว
2. เกิดการเดินขบวนของนักศึกษาปัญญาชนต่อต้านจอมพลถนอม แล้วพลเอกกฤษ สีวะรา ก็ยึดอำนาจในนามมวลชนเป็นผู้ขับไล่ล้มอำนาจจอมพลถนอมเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ก็ได้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ คนใกล้ชิดวังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ 1 ปี แล้วก็เปิดการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2518 พอถึงปลายปี 2519 ก็เกิดรัฐประหารอีก
3. เกิดการเคลื่อนไหวไม่พอใจพลเอกชาติชาย มีนักศึกษาเผาตัวประท้วง แล้วก็เกิดการยึดอำนาจเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะทหาร รสช.บุกจี้ตัวนายกฯ บนเครื่องบินขณะที่พลเอกชาติชายกำลังจะไปเข้าเฝ้าที่เชียงใหม่แล้ว ก็ได้นายอานันท์ ปัณยารชุนคนใกล้ชิดวังเป็นนายกรัฐมนตรี 1 ปี แล้วก็เปิดเลือกตั้งทั่วไปต้นปี 2535 พล.อ.สุจินดา ตั้งรัฐบาลได้ 45 วัน ก็ถูกเดินขบวนขับไล่โดยการนำของพล.ต.จำลอง คนสนิทพลเอกเปรม แล้วก็ได้นายอานันท์ ปัณยารชุน มาเป็นนายกฯ ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แบบหักมุม แล้วก็มีรัฐบาลแบบอ่อนแอ 8 ปี 4 รัฐบาล (2535-2543)
4. เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณของกลุ่มพันธมิตรฯ ก่อน แล้วก็เกิดการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยคณะทหารที่ใช้ชื่อว่า คปค.แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็น คมช.โดยมีนายกรัฐมนตรีมาจากองคมนตรีโดยตรงคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อยู่ได้ 1 ปี
แล้วก็เปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 แล้วก็มีรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพทำลายสถิติโลกคือ ภายใน 1 ปี (2551) มี 4 รัฐบาลสูตรสำเร็จทางการเมืองที่สรุปได้คือ ยึดอำนาจโดยกำลังทหาร แล้วตั้งรัฐบาลพระราชทานประมาณ 1 ปี ในระหว่างนี้จัดร่างรัฐธรรมนูญใหม่
แล้วเปิดเลือกตั้ง แล้วหลังจากนั้นถ้าได้รัฐบาลที่วังพอใจก็อยู่ได้นานหน่อย แต่ไม่นานมากก็ต้องเปลี่ยนนายกฯ แต่ถ้าได้รัฐบาลที่วังไม่พอใจ รัฐบาลก็จะอายุสั้นการเมืองไทยก็จะมีวังวนเช่นนี้จากสูตรมาตรฐานทางการเมืองของราชสำนักนี้เป็นผลให้การดำรงอยู่ของราชสำนักมี ความเข้มแข็งแผ่บารมีไพศาล ไม่มีสถาบันอำนาจการเมืองใดเติบโตมาเทียบบารมีได้ นับเป็นสูตรสำเร็จทางการเมือง ที่บ่งบอกถึงลักษณะเด่นของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ที่ชัดเจน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar