tisdag 18 december 2018

monarchy without a monarch (การปกครองโดยสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์นิยม ที่ไม่มีองค์กษัตริย์)



"Monarchy without a monarch"
"มิตรสหายนักวิชาการด้านกฎหมายท่านหนึ่ง" เขียนว่า

เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ถูกประกาศใช้ มีการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็น "องค์อธิปัตย์" ผู้ชี้ขาดว่า อะไรเป็นสถานการณ์ปกติ อะไรเป็นสถานการณ์พิเศษ แก้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่ได้ เพราะ
กุมอำนาจการชี้ขาดว่า มาตรา ๗ ใช้ได้หรือไม่ ใช้อย่างไร
กุมอำนาจการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง
กุมอำนาจในการ "ให้คำปรึกษา" ในทุกๆเรื่องๆ แม้จะยังไม่เกิดเป็นข้อพิพาท
ผมได้เขียนแสดงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
ในแง่หนึ่ง ผมมองว่า ศาล รธน ใหม่ที่จะมีขึ้น มันสอดคล้องกับ "ยุทธศาสตร์" ความพยายามรับมือกับภาวะที่ผมเรียกว่า monarchy without a monarch (การปกครองโดยสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์นิยม ที่ไม่มีองค์กษัตริย์)
กล่าวคือ มัน transfer (โยกย้าย) อำนาจ ultimate arbitration (การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย / ขั้นสูงสุด) จากองค์กษัตริย์ ไปที่ศาลใหม่
.....
หมายเหตุ: ได้ยินว่า "มิตรสหายนักวิชาการอีกท่านหนึ่ง" กำลังเขียนงานวิจัยในประเด็นนี้อยู่
 ...............................................


Image may contain: 4 people, people sitting
รัฐประหาร๑๙กันยาคือรัฐประหารเพื่อรักษาสถานะของสถาบันกษัตริย์ โดยสถาบันกษัตริย์และเครือข่ายเอง goo.gl/7BTiY6

รัฐประหาร ๑๙ กันยา คือ รัฐประหารเพื่อสถาบันกษัตริย์
นี่เป็นคำนิยามของนักวิชาการท่านหนึ่งตั้งแต่หลายๆปีก่อน ซึ่งผมเห็นด้วย (ที่ไม่ระบุชื่อไม่ใช่เพราะไม่อยากให้เครดิต แต่คิดว่าในสถานการณ์แบบนี้ ไม่ระบุชื่อใครจะดีกว่า)
แต่ถ้าจะให้นิยามอย่างครบถ้วน ผมขอเสนอดังนี้
รัฐประหาร ๑๙ กันยา คือรัฐประหารเพื่อรักษาสถานะของสถาบันกษัตริย์ โดยสถาบันกษัตริย์และเครือข่ายเอง

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar