lördag 27 juli 2019

ทักษิณ กับการ "เปลี่ยนระบอบ"

วันเกิดปีที่ 70 ของ 'ทักษิณ' ยังแสดงความเห็นทางการเมือง เผยยิ่งลักษณ์อยู่ด้วยกัน ชี้ทหารยุคนี้ขาดความเป็นลูกผู้ชาย ระบุ “รีจีม” ไม่ดี แถมมีการบิดเบี้ยวกฎหมาย เอายามมาเป็น CEO ย้ำยาแก้เศรษฐกิจใช้ยุคตนไม่ได้ยุคนี้ แต่หากอยากได้ยาก็ยินดีให้คำปรึกษา แนะนักการเมืองเลิกเป็นเปรต-เทวดา หันมาเป็นมนุษย์ ย้ำโลกไม่เหมือนเดิมแล้ว ประชาชนมีตัวตายตัวแทน หมดเจนหนึ่งอีกเจนขึ้นมาแถมใฝ่ประชาธิปไตยใฝ่เสรีภาพมากกว่าเดิม
https://prachatai.com/journal/2019/07/83597
"ใครจะไปคิดว่าประยุทธ์จะอยู่ 5 ปี...See More



คลิกดู-70 ปี 'ทักษิณ' ย้ำ ปชช.มีตัวตายตัวแทน หมดเจนหนึ่งอีกเจนก็ขึ้นมา แถมใฝ่ปชต.-เสรีภาพกว่าเดิม | ป
ทักษิณ ชินวัตร ตอบคำถามเรื่องการวางมือทางการเมืองระหว่างวิดีโอคอลกับผู้สนับสนุนในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบ 70 ปีเมื่อวานนี้ (26 ก.ค.) ว่า "ผมไม่ได้มีบทบาทอะไร ได้แต่ให้กำลังใจสนับสนุน"
ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่? และสังคมไทยก้าวข้ามทักษิณไปแล้วหรือยัง?
ย้อนอ่านบทวิเคราะห์บีบีซีไทย "สุเทพ-ทักษิณ ครบ 70 ปี พวกเขาจะอยู่ในการเมืองไทยไปอีกนานแค่ไหน"

.............................................
Somsak Jeamteerasakul updated his status.

ทักษิณ กับการ "เปลี่ยนระบอบ"
(ช่วงท้ายของกระทู้จะเรสปัญหาเชิงทฤษฎีบางอย่าง เรื่อง democratization, bourgeois revolution ซึ่งอาจจะยากนิด ถ้าใครไม่สนใจก็ผ่านไปได้)
เมื่อเร็วๆนี้ ในวงสนทนากับมิตรสหายจำนวนหนึ่งที่นี่ ผมเสนอขึ้นว่า
ความจริง ทักษิณ ถ้าได้ไปเป็นนายกฯของประเทศอย่างจีนหรือสิงคโปร์ คง "ไปได้สวย"
นั่นคือ เขา "เหมาะ" หรือสอดคล้องที่จะไปเป็นผู้นำในประเทศที่ระบบการเมืองมัน settled หรือ "ลงตัว" แล้ว
เพราะในบรรดาอีลึตไทยทั้งหลาย ต้องยอมรับว่า เขามีวิสัยทัศน์หรือเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาในแง่เศรษฐกิจของประเทศในปริบทของเศรษฐกิจโลกมากกว่าคนอื่นๆ
แต่ - และนี่เป็นประเด็นสำคัญมาก - โดยที่ประเทศที่ระบบต่างๆ "ลงตัว" แล้วที่ว่า (จีน สิงคโปร์) ไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย
อันที่จริง เขาอาจจะเหมาะกว่าด้วยซ้ำ กับประเทศดังกล่าว ที่มีลักษณะไปในทาง authoritarian อย่างจีน สิงคโปร์
เพราะเอาเข้าจริง ทักษิณไม่ได้มีวิสัยทัศน์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยอะไร วิสัยทัศน์ทางการเมืองของทักษิณ (ยิ่งโดยเปรียบเทียบกับเรื่องวิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจที่กล่าวข้างต้น) ต้องนับว่าเป็น "ศูนย์" เลย ทักษิณไม่มีความเข้าใจหรือไม่มีไอเดียว่า ถ้าจะ "สร้างระบอบประชาธิปไตย" ต้องทำอย่างไรบ้าง หรือ "ระบอบประชาธิปไตย" จะต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง (นอกเหนือจากไอเดียประเภทที่เรียกว่า populism คือ เรื่องเลือกมาจากเสียงส่วนใหญ่ - จบ)
เอาเข้าจริง ทักษิณสามารถ fit in หรือเข้าได้กับ (เคยเข้าได้มาแล้วกับ) สิ่งที่เรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ปัญหาว่า ทำไม ทักษิณจึงเกิดปัญหากับ "ระบอบ" ที่ว่านี้ เป็นประเด็นใหญ่ที่ไม่สามารถพูดได้ในทีนี้ นี่เป็นประเด็นสำคัญที่ผมนำเสนอในการสัมมนาที่นี่เมื่อเดือนก่อน ภายใต้หัวข้อ "แฝดสยามแยกร่าง" Siamese Twin Separated ไอเดียคือทักษิณกับกษัตริย์นิยมนั้น ความจริงเป็น "แฝดสยาม" ที่ติดกันมาอย่างแนบแน่นมาก่อน จนถึงปี 2006
เรื่องนี้นำไปสู่ประเด็นสำคัญอีกเรื่องคือ เอาเข้าจริง ประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกหรือสนับสนุนทักษิณ ("เสื้อแดง") แท้จริงแล้วสนับสนุนด้วยเหตุผลในเชิงวิสัยทัศน์ในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าว ไม่ใช่ด้วยเหตุผลในเชิงความเป็นประชาธิปไตยหรือการมีวิสัยทัศน์หรือข้อเสนอเกี่ยวกับการสร้างระบอบประชาธิปไตย เพราะเอาเข้าจริงทักษิณไม่มี ไม่เคยเสนอ หรือมีท่าทีจะมี หรือจะเสนอว่าจะ "เปลี่ยนระบอบ" ในแง่ทำให้เป็นประชาธิปไตยอย่างไร (ตั้งแต่ปัญหาสถานะสถาบันกษัตริย์ กองทัพ ไปถึงเรื่องกฎหมายต่างๆ เช่น ๑๑๒ เรื่องสิทธิ เสรีภาพ ไปจนกระทั่งแม้แต่เรื่องทำให้ศาสนาสอดคล้องประชาธิปไตย ด้วยการเอาออกจากรัฐ (อันที่จริง เสื้อแดงเป็นขบวนการเมืองเดียวที่เคยเสนอข้อเสนอลักษณะถอยหลังเข้าคลองเรื่องทำให้ศาสนาพุทธเป็น "ศาสนาประจำชาติ" ด้วยซ้ำ)
ในแง่นี้ ความเป็นขบวนการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตยของผู้สนับสนุนทักษิณ ("เสื้อแดง") มีลักษณะจำกัดอย่างมาก คือจุดสำคัญแทบจะจุดเดียวที่โฟกัสคือเรื่องว่า ขอให้คนที่เลือกจากเสียงส่วนใหญ่เป็นรัฐบาล - นี่คือเนื้อหาของ "ประชาธิปไตยในความหมายของคนเสื้อแดง" - "เป้าหมายประชาธิปไตย" ในแง่นี้ เป็นอะไรที่ขึ้นต่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น คือต้องการให้ได้รัฐบาลทักษิณ (ด้วยเหตุที่เชื่อในเชิงวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจ)
...............
เรื่องนี้ (ที่ประชาชนสนับสนุนทักษิณมาจากเรื่อง "วิสัยทัศน์เศรษฐกิจ" เป็นหลัก ไม่ใช่มาจากเรื่องทางหลักการประชาธิปไตย หรือการจะสร้างให้ระบอบประชาธิปไตยออกมาแบบไหน) ยังเรสปัญหาสำคัญในเชิงทฤษฎีที่น่าสนใจ
คือถ้ามองให้กว้างออกไป เอาเข้าจริง สิ่งที่เรียกว่า "คลื่นลูกที่สาม" (และสี่) ของการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย (Third Wave Democracy) คือการที่ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่ตะวันตก เป็นอดีตประเทศ "โลกที่สาม" หรือ "ค่ายคอมมิวนิสต์" เริ่มเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในทศวรรษ 1980 และ 1990 เป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบกับสิ่งที่เรียกว่า "การปฏิวัติประชาธิปไตย" (หรือ "การปฏิวัติกระฎุมพี") สมัย "คลาสสิค" จากศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 19 ถึงครึ่่งแรกของศตวรรษที่ 20 - จะเห็นว่า "คลื่นลูกที่สามประชาธิปไตย" ที่ว่านี้ (ซึ่งรวมถึงกรณีประเทศไทย) แรงผลักดันแทบจะทั้งหมดมาจากเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ ในความหมายที่คล้ายๆกับที่เราเห็นในไทยนี้ คือ ประชาชนต้องการผู้นำหรือการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ในแง่จะพัฒนาเศรษฐกิจที่แข่งกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (ความล้มเหลวของผู้นำเผด็จการ ไม่ว่าจะลาตินอเมริกา มาถึงอินโดนีเซีย หรือกระทั่งล่าสุดพม่า ล้วนมาจากเรื่องนี้เป็นสำคัญ) .... คือไม่ใช่ปัญหาเชิงหลักการการเมืองหรืออุดมการแบบ "เสรีนิยม" ในแบบที่เราเห็นในช่วง "การปฏิวัติกระฎุมพีคลาสสิค"* (เรื่องใหญ่สุดคือเสรีภาพส่วนบุคคล ความเสมอภาค และ ระบบการเมืองที่มี check and balance) และผู้นำที่กลายมาได้รับความสนับสนุนจาก "ประชาธิปไตยเกิดใหม่-ประชาธิปไตยคลื่นลูกที่สาม" ในประเทศเหล่านี้ ก็เป็นผู้นำที่ดูเหมือนจะสนองความต้องการเรื่องวิสัยทัศน์เศรษฐกิจมากกว่าเรื่องในเชิงอุดมการหรือวิสัยทัศน์เรื่องเสรีภาพประชาธิปไตยเหมือนในสมัยคลาสสิคของตะวันตก
[* อันที่จริง ตามข้อเสนอของ Perry Anderson ในซีรีส์ของสิ่งที่เรียกว่า "การปฏิวัติกระฎุมพี" เอง ก็มีลักษณะแบ่งเป็นสอง "วงจร" วงจรแรก จากการปฏิวัติดัชท์ อังกฤษ อเมริกัน ถึงฝรั่งเศส ที่เน้นเรื่องไอเดีย "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" กับวงจรหลัง จากการปฏิวัติเยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ที่เน้นเรื่องชาติ
นิยมและอุตสาหกรรม]
Somsak Jeamteerasakul updated his status.

ผมเห็นคนที่ต้าน คสช ("เสื้อแดง") หลายคน ออกมาด่านโยบายเรื่อง "ยาบ้า" ของไพบูลย์ คุ้มฉายา
พูดแบบตรงไปตรงมานะ ผมเห็นว่านโยบายที่ว่า เป็นแนวคิดที่ "มาถูกทาง" ยิ่งกว่าไอเดียเรื่อง "สงครามยาเสพย์ติด" ของทักษิณ
แนวคิดที่เป็นฐานของนโยบายใหม่ที่ว่า (ซึ่งไพบูลย์ไม่ใช่คิดเองหรอก นี่เป็นทิศทางที่ต่างประเทศเขาเริ่มทำมาก่อน เพื่อหาทางออกให้กับปัญหายาเสพย์ติด) คือ ทำอย่างไรที่จะช่วยลดการลงโทษแบบไม่ถูกทางกับคนที่ติดยา หรือพวกรายเล็กรายน้อยทั้งหลาย (ซึ่งส่วนใหญ่ที่สุด ที่ล้นคุกตอนนี้ ก็เป็นระดับพวกคนจนๆนี่แหละ พวกรายใหญ่ๆเจ้าพ่อค้ายาจริงๆ แทบไม่เคยถูกเล่นงาน .. อันนี้รวมถึงสมัย "สงครามยาเสพย์ติด" ของทักษิณด้วย) การทำให้สารเสพย์ติดบางอย่างผิดกฎหมาย ยิ่งทำให้ราคาแพง ได้ประโยชน์กับพ่อค้ายามากขึ้น แล้วก็ไม่ได้แก้ปัญหาคนติดยาให้ลดน้อยลง
แน่นอน นโยบายทุกชนิด โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับปัญหาทางสังคมแบบนี้ (ทำนองเดียวกับเรื่องค้าประเวณี, ทำแท้ง ฯลฯ) มันเป็นอะไรที่ต้องลองปฏิบัติว่า ได้ผลมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ได้ ก็ปรับเปลี่ยนได้ แต่ประเด็นสำคัญคือ นโบายใหม่ที่เสนอนี้ เป็นอะไรที่น่าสนใจว่า อย่างน้อย อาจจะช่วยไม่ให้คนยากจน ต้องไปติดคุกอย่างยาวนานล้นคุก โดยที่ไม่ได้ทำให้ทั้งผู้ติดยาและธุรกิจการค้ายาเสพย์ติดลดน้อย
..............
เผื่อเสื้อแดงหลายคนยังไม่เก็ตความซับซ้อนว่า ปัญหานโยบายเฉพาะบางอย่าง จะประเมินอย่างไร(ดี-ไม่ดี) ไม่ได้ขึ้นกับว่าเสนอโดยใคร และยังติดกับการคิดเรื่องตัวคนเสนอ ก็ขอเตือนความจำนิดว่า นโยบาย "สงครามยาเสพย์ติด" ของทักษิณน่ะ เป็นอะไรที่ในหลวงให้การเชียร์อยู่นะ พูดอีกอย่างคือในหลวงกับทักษิณเห็นตรงกันเรื่องทำ "สงครามยาเสพย์ติด"
แน่นอน #ไพบูลย์หรือ #คสช #ไม่มีความชอบธรรมในการเป็นรัฐมนตรีหรือรัฐบาลทั้งสิ้น และถ้าจะด่าเขาในเรื่องความชอบธรรมของการมาเป็นคนเสนอนโยายอะไร ก็ว่าไป ผมไม่มีปัญหา แต่นี่เรากำลังพูดถึงตัวไอเดีย ที่มีการด่าๆกัน ซึ่งผมต้องขอยืนยันว่า #ที่ด่าๆกันเรื่องไอเดียถอดยาบ้าจากลิสต์ (หรือกระทั่งเรื่องให้องค์การเภสัชผลิตน่ะ) #ไม่ถูกหรอก

............................................

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar