เทือก ลั่นจะอยู่ให้ถึง 80 ปั้นคนรุ่นใหม่ ฉะ 'ธนาธร' ก่อม็อบช่วยตัวเอง
อนาคตใหม่ จัดให้ฉายา รัฐบาลเซียนโกง สุดแสบ ยกตัวอย่าง สารพัดวีรกรรม วันที่…
อนาคตใหม่ จัดให้ฉายา รัฐบาลเซียนโกง สุดแสบ ยกตัวอย่าง สารพัดวีรกรรม วันที่ 23 ธ.ค. นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ร...
จะสร้างและรักษาระบอบการเมืองประชาธิปไตยได้ ต้องมี "ฉันทามติ"
ปัญหาใจกลางในปัจจุบันคือ จะสร้าง "ฉันทามติ" ขึ้นจากภาวะ "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" เป็นสองขั้วในหมู่ประชาชนได้อย่างไร?
.................
ปีกลาย ผมกับอ.ป๊อกทำคลิปหนึ่งเสนอไอเดียว่า ถ้าจะสร้างประชาธิปไตยขึ้นได้ ต้องมี "ฉันทามติ" หรือการเห็นร่วมกัน ในการสัมมนา 19 กันยาที่ปารีส อ.ใจ วิจารณ์ว่า ไม่จริง แล้วยกตัวอย่างอังกฤษที่เพิ่งลง Brexit ไปว่า คะแนนแตกกันแทบจะเป็นครึ่งๆ สองขั้ว ไม่มี "ฉันทามติ" อะไรเลย
อันที่จริง อ.ใจยกตัวอย่าง Brexit เท่ากับเป็นการสนับสนุนสิ่งที่ผมเสนอโดยไม่รู้ตัว คือไม่ว่าจะ Brexit หรือการเลือกตั้งสหรัฐและอังกฤษ ที่มีขึ้นในรอบปีที่ผานมา มันยืนยันว่า ในประเทศพวกนั้น มันมี "ฉันทามติ" คือ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างจนถึงระดับเรียกได้ว่า "แตกเป็นสองขั้ว ครึ่ง-ครึ่ง" อย่างไร ทั้งหมด มี "ฉันทามติ" ในเรื่องกรอบใหญ่ คือยอมรับในระบบที่เป็นอยู่ (ไม่เพียงผลเลือกตั้ง รวมไปถึง ระบบเรื่องศาล กฎหมาย ฯลฯ)
ผมเอาตัวเลข Brexit เลือกตั้งสหรัฐ และเลือกตั้งอังกฤษในรอบปีที่ผ่านมา มาให้ดูอีกที
Brexit :
ออก 51.9%
อยู่ 48.1% คือห่างกันเพียง 3.8%
เลือกตั้งสหรัฐ :
คลินตัน 48.2%
ทรัมพ์ 46.1% คือห่างกันเพียง 2.1%
(และอย่างที่รู้ มิหนำซ้ำ ฝ่ายแพ้เสียงข้างมาก ได้ชนะเป็นประธานาธิบดีเสียอีก)
เลือกตั้งอังกฤษ :
คอนเซอเวทีฟ 42.4%
เลเบอร์ 40.0% คือห่างกันเพียง 2.4%
.................
อันที่จริง ถ้าเอาเฉพาะตัวเลขจากการเลือกตั้ง ของไทย "ระดับการแตกสองขั้ว" อยู่ในระดับที่น้อยกว่าตัวอย่างฝรั่งทั้ง 3 กรณีเสียอีก แต่จริงๆแล้ว ภาวะการแตกสองขั้ว มันไม่ใช่ดูเฉพาะตัวเลขเพียวๆ
เลือกตั้ง 2554 :
เพื่อไทย 44.3% (เขต) 48.4% (บัญชี)
ปชป. 32.3% (เขต) 35.1% (บัญชี)
ห่างกัน 12% หรือ 13.3% แล้วแต่จะนับ และแน่นอน อันนี้ไม่นับพรรคอื่นๆ ที่ผู้สนับสนุนอาจจะไม่สนับสนุนเพื่อไทย และสนับสนุน ปชป
..................
ทุกวันนี้ อย่างที่เห็นกัน เรา "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" จากเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันในสังคมอย่าง ภาพถ่ายคนยืนกอดกันบนรถไฟฟ้า หรือ ลำไย ไหทองคำ ถึงเรื่องอย่าง จับคนระเบิด รพ.พระมงกุฏ (ฝ่ายหนึ่งยืนยันทันทีที่ข่าวออกมาวันแรกว่า จับแพะ อีกฝ่ายบอกว่าตัวจริง - เผื่อใครสนใจนะ ผมคิดว่าเป็นไปได้สูงตั้งแต่มีข่าววันแรก ว่าอาจจะเป็นตัวจริง แต่ไม่ขออธิบายในที่นี้) เรื่องรถไฟ ฯลฯ ฯลฯ
อย่างที่รู้กัน ยกมาได้แทบทุกเรื่องที่เป็นข่าว จะเห็นว่ามีลักษณะทะเลาะกันเป็นสองขั้วแทบทุกเรื่อง
ขอย้ำว่า ในที่นี้ ผมไม่ได้ต้องการอภิปรายประเด็นว่า ใครผิด-ใครถูก ในการ "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" นี้ (โดยส่วนตัว ผมไม่เคยคิดว่า ฝ่ายหนึ่งถูกทุกเรื่อง ฝ่ายหนึ่งผิดทุกเรื่อง)
ผมเพียงแต่ตั้งเป็นคำถามให้คิดกันว่า
ถ้าเห็นด้วยกับที่ผมเสนอไปว่า
- จะสร้างและรักษาระบอบการเมืองประชาธิปไตยได้ ต้องมี "ฉันทามติ"
คำถามคือ
- ถ้าเช่นนั้น ในปัจจุบัน จะสร้าง "ฉันทามติ" ขึ้นจากภาวะ "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" เป็นสองขั้วในหมู่ประชาชนได้อย่างไร?
......................................................................
จะสร้างประชาธิปไตยได้ ต้องมี
"ฉันทามติ" ปัญหาคือจะสร้าง"ฉันทามติ"
จากภาวะ"ทะเลาะกันทุกเรื่อง" เป็นสองขั้วได้อย่างไร? http://goo.gl/MbV8AY
จะสร้างและรักษาระบอบการเมืองประชาธิปไตยได้ ต้องมี "ฉันทามติ"
ปัญหาใจกลางในปัจจุบันคือ จะสร้าง "ฉันทามติ" ขึ้นจากภาวะ "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" เป็นสองขั้วในหมู่ประชาชนได้อย่างไร?
.................
ปีกลาย ผมกับอ.ป๊อกทำคลิปหนึ่งเสนอไอเดียว่า ถ้าจะสร้างประชาธิปไตยขึ้นได้ ต้องมี "ฉันทามติ" หรือการเห็นร่วมกัน ในการสัมมนา 19 กันยาที่ปารีส อ.ใจ วิจารณ์ว่า ไม่จริง แล้วยกตัวอย่างอังกฤษที่เพิ่งลง Brexit ไปว่า คะแนนแตกกันแทบจะเป็นครึ่งๆ สองขั้ว ไม่มี "ฉันทามติ" อะไรเลย
อันที่จริง อ.ใจยกตัวอย่าง Brexit เท่ากับเป็นการสนับสนุนสิ่งที่ผมเสนอโดยไม่รู้ตัว คือไม่ว่าจะ Brexit หรือการเลือกตั้งสหรัฐและอังกฤษ ที่มีขึ้นในรอบปีที่ผานมา มันยืนยันว่า ในประเทศพวกนั้น มันมี "ฉันทามติ" คือ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างจนถึงระดับเรียกได้ว่า "แตกเป็นสองขั้ว ครึ่ง-ครึ่ง" อย่างไร ทั้งหมด มี "ฉันทามติ" ในเรื่องกรอบใหญ่ คือยอมรับในระบบที่เป็นอยู่ (ไม่เพียงผลเลือกตั้ง รวมไปถึง ระบบเรื่องศาล กฎหมาย ฯลฯ)
ผมเอาตัวเลข Brexit เลือกตั้งสหรัฐ และเลือกตั้งอังกฤษในรอบปีที่ผ่านมา มาให้ดูอีกที
Brexit :
ออก 51.9%
อยู่ 48.1% คือห่างกันเพียง 3.8%
เลือกตั้งสหรัฐ :
คลินตัน 48.2%
ทรัมพ์ 46.1% คือห่างกันเพียง 2.1%
(และอย่างที่รู้ มิหนำซ้ำ ฝ่ายแพ้เสียงข้างมาก ได้ชนะเป็นประธานาธิบดีเสียอีก)
เลือกตั้งอังกฤษ :
คอนเซอเวทีฟ 42.4%
เลเบอร์ 40.0% คือห่างกันเพียง 2.4%
.................
อันที่จริง ถ้าเอาเฉพาะตัวเลขจากการเลือกตั้ง ของไทย "ระดับการแตกสองขั้ว" อยู่ในระดับที่น้อยกว่าตัวอย่างฝรั่งทั้ง 3 กรณีเสียอีก แต่จริงๆแล้ว ภาวะการแตกสองขั้ว มันไม่ใช่ดูเฉพาะตัวเลขเพียวๆ
เลือกตั้ง 2554 :
เพื่อไทย 44.3% (เขต) 48.4% (บัญชี)
ปชป. 32.3% (เขต) 35.1% (บัญชี)
ห่างกัน 12% หรือ 13.3% แล้วแต่จะนับ และแน่นอน อันนี้ไม่นับพรรคอื่นๆ ที่ผู้สนับสนุนอาจจะไม่สนับสนุนเพื่อไทย และสนับสนุน ปชป
..................
ทุกวันนี้ อย่างที่เห็นกัน เรา "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" จากเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันในสังคมอย่าง ภาพถ่ายคนยืนกอดกันบนรถไฟฟ้า หรือ ลำไย ไหทองคำ ถึงเรื่องอย่าง จับคนระเบิด รพ.พระมงกุฏ (ฝ่ายหนึ่งยืนยันทันทีที่ข่าวออกมาวันแรกว่า จับแพะ อีกฝ่ายบอกว่าตัวจริง - เผื่อใครสนใจนะ ผมคิดว่าเป็นไปได้สูงตั้งแต่มีข่าววันแรก ว่าอาจจะเป็นตัวจริง แต่ไม่ขออธิบายในที่นี้) เรื่องรถไฟ ฯลฯ ฯลฯ
อย่างที่รู้กัน ยกมาได้แทบทุกเรื่องที่เป็นข่าว จะเห็นว่ามีลักษณะทะเลาะกันเป็นสองขั้วแทบทุกเรื่อง
ขอย้ำว่า ในที่นี้ ผมไม่ได้ต้องการอภิปรายประเด็นว่า ใครผิด-ใครถูก ในการ "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" นี้ (โดยส่วนตัว ผมไม่เคยคิดว่า ฝ่ายหนึ่งถูกทุกเรื่อง ฝ่ายหนึ่งผิดทุกเรื่อง)
ผมเพียงแต่ตั้งเป็นคำถามให้คิดกันว่า
ถ้าเห็นด้วยกับที่ผมเสนอไปว่า
- จะสร้างและรักษาระบอบการเมืองประชาธิปไตยได้ ต้องมี "ฉันทามติ"
คำถามคือ
- ถ้าเช่นนั้น ในปัจจุบัน จะสร้าง "ฉันทามติ" ขึ้นจากภาวะ "ทะเลาะกันทุกเรื่อง" เป็นสองขั้วในหมู่ประชาชนได้อย่างไร?
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar