fredag 13 december 2019

"Monarchy without a monarch"



"Monarchy without a monarch"
"มิตรสหายนักวิชาการด้านกฎหมายท่านหนึ่ง" เขียนว่า

เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ถูกประกาศใช้ มีการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญจะกลายเป็น "องค์อธิปัตย์" ผู้ชี้ขาดว่า อะไรเป็นสถานการณ์ปกติ อะไรเป็นสถานการณ์พิเศษ แก้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่ได้ เพราะ
กุมอำนาจการชี้ขาดว่า มาตรา ๗ ใช้ได้หรือไม่ ใช้อย่างไร
กุมอำนาจการตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกครั้ง
กุมอำนาจในการ "ให้คำปรึกษา" ในทุกๆเรื่องๆ แม้จะยังไม่เกิดเป็นข้อพิพาท
ผมได้เขียนแสดงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
ในแง่หนึ่ง ผมมองว่า ศาล รธน ใหม่ที่จะมีขึ้น มันสอดคล้องกับ "ยุทธศาสตร์" ความพยายามรับมือกับภาวะที่ผมเรียกว่า monarchy without a monarch (การปกครองโดยสถาบันกษัตริย์/กษัตริย์นิยม ที่ไม่มีองค์กษัตริย์)
กล่าวคือ มัน transfer (โยกย้าย) อำนาจ ultimate arbitration (การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย / ขั้นสูงสุด) จากองค์กษัตริย์ ไปที่ศาลใหม่
.....
หมายเหตุ: ได้ยินว่า "มิตรสหายนักวิชาการอีกท่านหนึ่ง" กำลังเขียนงานวิจัยในประเด็นนี้อยู่

This is how it all began .....

นี่คือจุดเริ่มต้นของวิกฤติปัจจุบัน ....
วันนี้เมื่อสิบปีก่อน 6 กันยายน 2548 สนธิ ลิ้มทองกุล ได้จัดอภิปรายหนังสือ "พระราชอำนาจ" โดย ประมวล รุจนเสรี ที่ธรรมศาสตร์
ความจริง หนังสือดังกล่าวได้ตีพิมพ์ออกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม แต่ก็ยังไม่ถึงกับโด่งดังอะไรมากนัก (ดูการโปรโมทของ คำนูณ สิทธิสมาน Kamnoon Sidhisamarn ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ที่นี่ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx… )
แต่การอภิปรายวันที่ 6 กันยา เป็น "ข่าวใหญ่" ทีเดียว ส่วนหนึ่งเพราะเดิมสุรยุทธ์ จุลานนท์ รับปากจะมาร่วมด้วย แต่ถอนตัวในชั่วโมงสุดท้าย (ดูบทความเชิญชวนร่วมงานของคำนูณ ที่ออกมาใน "ผู้จัดการ" วันนั้น ในบทความยังโฆษณาว่า สุรยุทธ์ จะเป็นคนพูดคนหนึ่ง http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx… )
ที่สำคัญ หนังสือของประมวล ที่พิมพ์ออกมาเป็น "ครั้งที่สอง" มีบท "อาเศียรวาท" ที่ประมวลเล่าว่า ปีย์ มาลากุล ได้บอกเขาว่าในหลวงทรงชอบหนังสือของเขามาก "เราอ่านแล้ว เราชอบมาก..."
นี่คือจุดเริ่มต้นการรณรงค์ต่อต้านทักษิณของสนธิ และกลุ่มผู้จัดการ โดยยกเอาประเด็นในหลวงขึ้นมา - ไม่ใช่ "สถาบันกษัตริย์" เท่าไรนัก แต่ยกในหลวงในฐานะตัวบุคคลเฉพาะขึ้นมาเลย
ไม่นานหลังจากนั้น สนธิจะชูคำขวัญ "สู้เพื่อในหลวง" ออกมา
นี่เป็นอะไรที่ "ใหม่" ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จริงอยู่ก่อนหน้านั้น มีการรณรงค์โดยยกสถาบันกษัตริย์ขึ้นมา ที่สำคัญที่สุดคือช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาและกรณี 6 ตุลาเอง ("ละครแขวนคอ") แต่เอาเข้าจริง สมัยอย่าง 6 ตุลา ภาพลักษณ์หรือการรณรงค์เรื่อง "สถาบันกษัตริย์" ยังมีลักษณะ "ผูกติด-เป็นส่วนหนึ่ง" (embedded) อยู่ในคำขวัญ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" มากกว่า
การชูในหลวงในฐานะบุคคลเฉพาะของสนธิ เป็นผลผลิตของความเปลี่ยนแปลงเรื่องสถานะของสถาบันกษัตริย์ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่กลางทศวรรษ 2530 ถึงกลางทศวรรษ 2540 ในแง่นี้ คำขวัญ "เราจะสู้เพื่อในหลวง" ของสนธิ ก็เช่นเดียวกับคำขวัญ "เรารักในหลวง" คือเป็นอะไรที่ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวนั้น สมัยก่อนหน้าทศวรรษ 2530 ไม่ได้รู้สึกกันว่า สมควรพูดถึงในหลวงแบบ "สนิทสนม" หรือ "นับญาติ" ขนาดว่า "รักในหลวง" หรือ "รักพ่อ" อะไรแบบนั้น
(ดูซีรีส์บทความสั้นๆของผมที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของสถาบันกษัตริย์ ในช่วงประมาณ 10 ปี ที่ชี้ขาดนั้น ภายใต้หัวข้อ "The Rise of King Bhumibol: The Making of a Mass Monarchy " ที่นี่ http://somsakjeamfacebook.blogspot.com/ )
..............
หลังการอภิปรายหนังสือของประมวล สนธิก็เดินหน้าโจมตีทักษิณด้วยการชูในหลวงหนักขึ้น วันที่ 15 กันยายน ในรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ทางช่อง 9 อสมท. เขาได้เอาบทความ "พ่อของแผ่นดิน" มาอ่านออกอากาศ ทำให้รายการถูกปิด สนธิก็หันไปจัดรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร" ที่สวนลุมฯแทน
ในครั้งที่ 7 ของรายการหลังนี้ สนธิได้ยกกรณีทักษิณไปทำบุญในวัดพระแก้ว และกรณีซื้อเครื่องบินสำหรับนายกฯก่อนการซื้อเครื่องบินพระที่นั่ง ขึ้นมากล่าวหาว่า ทักษิณหมิ่นฯในหลวง (ดูตัวบทของรายการดังกล่าวที่นี่ ตัวรายการจริงๆออกอากาศต้นเดือนพฤศจิกายน แต่ "ผู้จัดการ" นำมาเผยแพร่เต็มๆในปลายเดือนพฤศจิกายน http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx… และดูบทความ "หมิ่นเบื้องสูงหรือไม่?" ที่นำภาพทักษิณในวัดพระแก้วมาโจมตี ที่นี่ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx… ขอให้สังเกตว่า ภาพดังกล่าวตีพิมพ์ใน "กรุงเทพธุรกิจ" ตั้งแต่ 6-7 เดือนก่อนหน้านั้น แต่สนธิเพิ่งหยิบมาโจมตี และดูที่บวรศักดิ์ ออกมาแก้ตัวแทนทักษิณเรื่องวัดพระแก้ว ที่นี่ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx… วิษณุก็ออกมา ฝ่าย "ผู้จัดการ" ได้โต้หรืออ้างว่า "จับเท็จ" คำแก้ของวิษณุ ที่นี่ http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx…
ฝ่ายทักษิณได้ตอบโต้อย่างทันควัน ด้วยการที่ตำรวจทางอีสานทำการแจ้งความกล่าวหาสนธิ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เริ่มจาก รอง ผกก.ยโสธร ฟ้องก่อน (ดูข่าว http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx… และ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx… ) จนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน นายตำรวจ "เพื่อนร่วมรุ่น นรต.26" ของทักษิณ ได้ระดมให้โรงพัก 234 แห่งทางอีสาน รวบรวมหลักฐานเตรียมฟ้องสนธิ-สโรชา หมิ่นฯ (ดู http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx… )
นี่คือ "แบ็คกราวน์" หรือปริบทของพระราชดำรัสในหลวงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ที่ดูเหมือนจะทรงแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้กฎหมาย 112 ความจริงคือ ในหลวงทรงพูดเรื่องนี้ ในปริบทขณะนั้น เป็นประโยชน์ต่อสนธิ เพราะไม่เพียงแต่ทักษิณเองได้ให้ทนายมาถอนฟ้องสนธิคดีหมิ่นประมาท 6 คดีที่เคยฟ้องไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคม ยังได้ "ชี้ช่อง" วิธียุติคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ตำรวจเพื่อนทักษิณฟ้องสนธิไว้ ด้วยว่า "เพื่อสนองต่อกระแสพระราชดำรัส ตำรวจก็สามารถดำเนินการไปตามช่องทางที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยให้ผู้กล่าวโทษมาแจ้งความจำนงว่าไม่ประสงค์จะเอาโทษแล้ว" (ดูข่าว http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx…
..............
ถึงปลายเดือนธันวาคม คือตอนสิ้นสุดปีนั้น วิกฤติที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ ได้เริ่มต้นแล้ว เพียงแต่ตอนนั้น ไม่มีใครคาดคิดว่า วิกฤติจะขยายใหญ่โต ยืดเยื้อมาอีก 10 ปี และกลายเป็นวิกฤติที่กว้างขวางรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้

Image may contain: 5 people, text

รัฐประหาร ๑๙ กันยา คือ รัฐประหารเพื่อสถาบันกษัตริย์
นี่เป็นคำนิยามของนักวิชาการท่านหนึ่งตั้งแต่หลายๆปีก่อน ซึ่งผมเห็นด้วย (ที่ไม่ระบุชื่อไม่ใช่เพราะไม่อยากให้เครดิต แต่คิดว่าในสถานการณ์แบบนี้ ไม่ระบุชื่อใครจะดีกว่า)
แต่ถ้าจะให้นิยามอย่างครบถ้วน ผมขอเสนอดังนี้
รัฐประหาร ๑๙ กันยา คือรัฐประหารเพื่อรักษาสถานะของสถาบันกษัตริย์ โดยสถาบันกษัตริย์และเครือข่ายเอง

Image may contain: 4 people, people sitting

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar