27 มิถุนายน 2475
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก
รัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร vs. รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวา
หลังปฏิวัติ คณะราษฎรได้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่บัญชาการ และเชิญราชวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บางคนมาควบคุมไว้เพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของคณะราษฎร
วันที่ 26 มิถุนายน รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าที่วังสุโขทัย หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหรือปรีดี ผู้แทนคณะราษฎรจึงได้นำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 และร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ที่เตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ลงพระปรมาภิไธย พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ส่วนพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามทรงรับไว้พิจารณา
วันที่ 27 มิถุนายน ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยลงว่า “ชั่วคราว” กำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัติ เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ภายใน 6 เดือน และให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันของพระมหากษัตริย์และคณะราษฎร พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศสยาม แต่บ้างก็ว่า คำว่า "ชั่วคราว" นั้นปรากฏในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 โดยระบุว่าฉบับก่อนหน้านั้นเป็นฉบับชั่วคราว
พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่างขึ้นโดยแกนนำคณะราษฎร มี 39 มาตรา แบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ อำนาจของกษัตริย์, อำนาจของสภาผู้แทนราษฎร, อำนาจของคณะกรรมการราษฎรและอำนาจศาล
มาตรา 1 ความว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย" รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยยกเลิกพระราชอำนาจโบราณ เช่น การยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ และพระราชสิทธิในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท กล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญดังกล่าวจำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ โดยยังไม่ได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมการราษฎรเป็นฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คนอีกด้วย
ช่วงบ่ายของวันอังคารที่ 28 มิถุนายน ได้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารของคณะราษฎรแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 70 คน สภาผู้แทนฯเลือกประธาน และรองประธานสภาผู้แทนฯ ประธานคณะกรรมการราษฎรเลือกคณะกรรมการราษฎร 14 คนและได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 7 คนเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่แทนรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งแล้วเสร็จในอีก 6 เดือนถัดมา กลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาฯ
อันที่จริงก่อนหน้าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังมีร่างรัฐธรรมนูญที่รัชกาลที่ 7 ดำริให้ที่ปรึกษายกร่างขึ้นแต่ไม่เคยประกาศ ฉบับแรกเป็นของพระยากัลยาณไมตรีหรือฟรานซิส บี.แซร์ มีทั้งหมด 12 มาตราเรียกว่า “Outline of Preliminary Draft ร่างเสร็จสิ้นในปี 2467 ให้อำนาจอธิปไตยและอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ โดยสามารถตั้งนายกรัฐมนตรี อภิรัฐมนตรีและถอดถอนองคมนตรีได้ และระบุให้นายกรัฐมนตรีต้องกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ เพื่อขอรับบรมราชวินิจฉัยโดยต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ
นอกจากนี้ยังมีร่างของพระยาศรีวิสารวาจาเมื่อปี 2474 โดยเรียกร่างนี้ว่า เค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ร่างดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบของการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ตลอดจนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย มีใจความเช่น พระมหากษัตริย์สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติเลือกตั้งครึ่งหนึ่งและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ไม่เกินครึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ดีมีคนมองว่า ร่างรัฐธรรมนูญของพระยาศรีวิสารวาจาดังกล่าวเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกรูปแบบหนึ่งแต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยและร่างนี้ถูกคัดค้านเนื่องจากมองว่า ไทยไม่สมควรที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองในขณะนั้นเพราะประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปกครองตนเอง และมองว่าปัญหาขณะนั้นไม่ได้อยู่ที่มีหรือไม่มีนายกรัฐมนตรี แต่เป็นเรื่องการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างนี้จึงไม่ได้ถูกพระราชทาน
ในที่สุดหลังใช้พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวปี 2475 ได้ 6 เดือน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 หรือเรียกว่า ฉบับ 10 ธันวาฯ ก็ถือกำเนิด โดยมีทั้งหมด 68 มาตราแบ่งเป็น 7 หมวด ได้แก่ หมวด 1 พระมหากษัตริย์ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร หมวด 4 คณะรัฐมนตรี หมวด 5 ศาล หมวด 6 บทสุดท้าย เป็นหมวดพิเศษเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหมวด 7 การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล โดยมีใจความบางส่วนว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ลงนามในสัญญาสันติภาพ ทำสนธิสัญญา พระราชทานอภัยโทษ ปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนยุบสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท คือจากการเลือกตั้ง และจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ อีกทั้งกำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปอยู่เหนือการเมือง
.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบ พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 พบความแตกต่างสำคัญ 3 ข้อคือ
1. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจลดลง สามารถถูกยุบโดยพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา นอกจากนี้ยังกำหนดให้สภาฯ มีอำนาจในการตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีด้วย
2. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีมีอำนาจมากขึ้น ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีจำนวน 14 - 24 คน มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาฯ มีอำนาจในการตราพระราชกำหนด และกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย รวมทั้งพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
3. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์ได้พระราชอำนาจคืนมากขึ้น ดังที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ละเมิดมิได้ อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติทางสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล มีพระราชอำนาจพระราชทานอภัยโทษและยกฐานะให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าอยู่เหนือการเมือง
ที่มา: https://prachatai.com/journal/2020/06/88317
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก
รัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร vs. รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวา
หลังปฏิวัติ คณะราษฎรได้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่บัญชาการ และเชิญราชวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บางคนมาควบคุมไว้เพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของคณะราษฎร
วันที่ 26 มิถุนายน รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าที่วังสุโขทัย หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหรือปรีดี ผู้แทนคณะราษฎรจึงได้นำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 และร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ที่เตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ลงพระปรมาภิไธย พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ส่วนพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามทรงรับไว้พิจารณา
วันที่ 27 มิถุนายน ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยลงว่า “ชั่วคราว” กำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัติ เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ภายใน 6 เดือน และให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันของพระมหากษัตริย์และคณะราษฎร พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศสยาม แต่บ้างก็ว่า คำว่า "ชั่วคราว" นั้นปรากฏในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 โดยระบุว่าฉบับก่อนหน้านั้นเป็นฉบับชั่วคราว
พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่างขึ้นโดยแกนนำคณะราษฎร มี 39 มาตรา แบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ อำนาจของกษัตริย์, อำนาจของสภาผู้แทนราษฎร, อำนาจของคณะกรรมการราษฎรและอำนาจศาล
มาตรา 1 ความว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย" รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยยกเลิกพระราชอำนาจโบราณ เช่น การยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ และพระราชสิทธิในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท กล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญดังกล่าวจำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ โดยยังไม่ได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมการราษฎรเป็นฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คนอีกด้วย
ช่วงบ่ายของวันอังคารที่ 28 มิถุนายน ได้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารของคณะราษฎรแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 70 คน สภาผู้แทนฯเลือกประธาน และรองประธานสภาผู้แทนฯ ประธานคณะกรรมการราษฎรเลือกคณะกรรมการราษฎร 14 คนและได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 7 คนเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่แทนรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งแล้วเสร็จในอีก 6 เดือนถัดมา กลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาฯ
อันที่จริงก่อนหน้าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังมีร่างรัฐธรรมนูญที่รัชกาลที่ 7 ดำริให้ที่ปรึกษายกร่างขึ้นแต่ไม่เคยประกาศ ฉบับแรกเป็นของพระยากัลยาณไมตรีหรือฟรานซิส บี.แซร์ มีทั้งหมด 12 มาตราเรียกว่า “Outline of Preliminary Draft ร่างเสร็จสิ้นในปี 2467 ให้อำนาจอธิปไตยและอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ โดยสามารถตั้งนายกรัฐมนตรี อภิรัฐมนตรีและถอดถอนองคมนตรีได้ และระบุให้นายกรัฐมนตรีต้องกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ เพื่อขอรับบรมราชวินิจฉัยโดยต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ
นอกจากนี้ยังมีร่างของพระยาศรีวิสารวาจาเมื่อปี 2474 โดยเรียกร่างนี้ว่า เค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ร่างดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบของการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ตลอดจนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย มีใจความเช่น พระมหากษัตริย์สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติเลือกตั้งครึ่งหนึ่งและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ไม่เกินครึ่งหนึ่ง
อย่างไรก็ดีมีคนมองว่า ร่างรัฐธรรมนูญของพระยาศรีวิสารวาจาดังกล่าวเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกรูปแบบหนึ่งแต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยและร่างนี้ถูกคัดค้านเนื่องจากมองว่า ไทยไม่สมควรที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองในขณะนั้นเพราะประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปกครองตนเอง และมองว่าปัญหาขณะนั้นไม่ได้อยู่ที่มีหรือไม่มีนายกรัฐมนตรี แต่เป็นเรื่องการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างนี้จึงไม่ได้ถูกพระราชทาน
ในที่สุดหลังใช้พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวปี 2475 ได้ 6 เดือน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 หรือเรียกว่า ฉบับ 10 ธันวาฯ ก็ถือกำเนิด โดยมีทั้งหมด 68 มาตราแบ่งเป็น 7 หมวด ได้แก่ หมวด 1 พระมหากษัตริย์ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร หมวด 4 คณะรัฐมนตรี หมวด 5 ศาล หมวด 6 บทสุดท้าย เป็นหมวดพิเศษเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหมวด 7 การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล โดยมีใจความบางส่วนว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ลงนามในสัญญาสันติภาพ ทำสนธิสัญญา พระราชทานอภัยโทษ ปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนยุบสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท คือจากการเลือกตั้ง และจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ อีกทั้งกำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปอยู่เหนือการเมือง
.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบ พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 พบความแตกต่างสำคัญ 3 ข้อคือ
1. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจลดลง สามารถถูกยุบโดยพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา นอกจากนี้ยังกำหนดให้สภาฯ มีอำนาจในการตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีด้วย
2. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีมีอำนาจมากขึ้น ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีจำนวน 14 - 24 คน มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาฯ มีอำนาจในการตราพระราชกำหนด และกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย รวมทั้งพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
3. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์ได้พระราชอำนาจคืนมากขึ้น ดังที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ละเมิดมิได้ อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติทางสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล มีพระราชอำนาจพระราชทานอภัยโทษและยกฐานะให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าอยู่เหนือการเมือง
ที่มา: https://prachatai.com/journal/2020/06/88317
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar