fredag 22 januari 2021

สยามไบโอไซเอนซ์เป็นของเอกชนหรือเป็นของรัฐ?

ThaiE-News

เรียงหน้ากันมาปกป้อง ตกลงสยามไบโอไซเอนซ์เป็นของเอกชนหรือเป็นของรัฐ?



Rawee Siri-issaranant
16h ·

สยามไบโอไซเอนซ์เป็นของเอกชนหรือเป็นของรัฐ? 

การตั้งคำถามกับ "วัคซีนพระราชทาน" ในกรณีรัฐสนับสนุนบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ โดยมุ่งไปที่ "ความเป็นบริษัทเอกชน" เพียงรายหนึ่ง มองข้ามประเด็นสำคัญไปก็คือ
สยามไบโอไซเอนซ์เป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 100% ก่อนจะถูกโอนมาอยู่ในชื่อของในหลวงวชิราลงกรณ์
ตามหลักการแล้ว ต้องถือว่า สยามไบโอไซเอน เป็นของรัฐไม่ใช่ของเอกชน
มิเช่นนั้นจะเท่ากับว่า ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จำนวนมหาศาล กลายเป็นของ "เอกชน" หรือของ "ส่วนตัว" ของกษัตริย์ แทนที่จะเป็นของรัฐ
ในการตั้งคำถามกับกรณีนี้ จึงไม่ใช่แค่ "กษัตริย์มาประกอบธุรกิจเอกชน" เหมาะสมหรือไม่ แต่ยังเป็นเรื่องของ ทรัพย์สินของรัฐ (ที่ควรได้รับการดูแลจัดการโดยรัฐ) เมื่อถูกถ่ายโอนไปจัดการตามอัธยาศัยของกษัตริย์แล้ว ก่อให้เกิดปัญหา conflict of interest และ ความไม่มี accoutability ซ้ำซ้อนกันหลายชั้น คือ
-ปัญหาการนำทรัพย์สินของรัฐไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน (เอาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปปฏิบัติเช่นเดียวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์)
-ปัญหาความ (ไม่สามารถ) รับผิดชอบของกษัตริย์ กับทั้ง กรณีการประกอบธุรกิจในฐานะเอกชน (ส่วนพระองค์) และกรณีที่นำทรัพย์สินของรัฐ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ไปจัดการอยู่ในนามส่วนพระองค์
ปัญหาข้างต้น ล้วนย้อนกลับมาสู่หลักเรื่อง The king can do no wrong คือกษัตริย์จะต้องไม่ทำอะไรโดยไม่มีผู้รับสนองฯ เป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อกษัตริย์กระทำการโดยไม่มีผู้รับสนองฯ แล้ว จะรับผิดชอบอย่างไร? การที่ฝ่ายรัฐเรียงหน้ากันออกมาโต้ตอบธนาธร ทำให้เห็นได้ชัดว่าว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติกับกษัตริย์อย่างเอกชน
ในเมื่อเห็นว่าไม่ควรให้กษัตริย์รับผิดชอบอย่างเอกชน ก็ควรจะต้องกลับมาสู่หลักการอย่างเคร่งครัด คือต้องไม่ให้กษัตริย์กระทำการโดยลำพัง และที่สำคัญต้องไม่นำทรัพย์สินของรัฐไปให้กษัตริย์ดูแลจัดการได้ตามอัธยาศัย เพราะกษัตริย์ไม่สามารถรับผิดชอบ หากไม่อยากปฏิบัติกับสยามไบโอไซเอนซ์อย่างเอกชน ก็จะต้องนำมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบโดยรัฐเช่นเดียวกับหน่วยงานที่รัฐเป็นเจ้าของในลักษณะเดียวกัน
...


Pipob Udomittipong
12h ·

รบ.ก็ออกมาปกป้อง กองทัพยังออกมาปกป้องอีก ลองคิดดูว่าในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะมีบริษัทอื่นกล้าเข้ามาลงทุนไหม ปท.อื่นจะกล้าเข้ามาไหม ไม่ใช่บริษัทธรรมดาแน่นอน มันจะมีการแข่งขันได้ไง ถ้าไม่มีการแข่งขัน มันจะเจริญได้มั้ย #การผูกขาด ทำให้เกิดการทุจริตได้ง่ายมั้ย #วัคซีนพระราชทาน #สยามไบโอไซเอนซ์

.......................................................

“วัคซีนโควิด19” : องค์กรเภสัชกรรม มีการเตรียมความพร้อมไว้นานแล้ว คงรู้นะทำไมถึงให้บริษัท Siam Bioscience



อภ. พร้อมใช้โรงงานวัคซีน สระบุรีผลิต “วัคซีนโควิด19” ระดับอุตสาหกรรม

Sun, 2020-05-31
ที่มา HFous

องค์การเภสัชกรรม(อภ.)ร่วมหลายหน่วยงานเดินหน้าวิจัยพัฒนาวัคซีน โควิด-19 พร้อมใช้โรงงานวัคซีน สระบุรี ที่มีศักยภาพมาก เพื่อต่อยอดผลิตในระดับอุตสาหกรรม

วันที่ 31 พ.ค. นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยว่า ในสถานการณ์โควิด -19 นั้น ภารกิจของ อภ. คือการผลิต จัดหา ยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกัน ที่สำคัญคือการร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อการวิจัยพัฒนาวัคซีนต้นแบบในหลายรูปแบบ ได้แก่ การให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต้นแบบ 2 ชนิด คือชนิดวัคซีนอนุภาคเหมือนไวรัส (Virus-like particle) พัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล และชนิดวัคซีนโปรตีนซับยูนิต (Subunit vaccine) พัฒนาโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวัคซีนทั้ง 2 ชนิด นี้ ใช้เทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งหากวัคซีนต้นแบบนี้สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ อภ.จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยีมาเพื่อพัฒนาต่อในการขยายขนาดการผลิตเป็นวัคซีนตามมาตรฐาน GMP สำหรับใช้ในการทดสอบทางคลินิกต่อไป



นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนชนิดเชื้อตายจากการตัดต่อยีนของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV2 เข้าไปในยีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Inactivated influenza virus-based COVID-19 vaccine) เพื่อเป็นเชื้อไวรัสตั้งต้นหากสำเร็จจะนำเชื้อไวรัสตั้งต้นนี้ผลิตเป็นวัคซีนโดยใช้เทคโนโลยีการใช้ไข่ไก่ฟักของอภ.ที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่เดิม เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาทางคลินิกต่อไป โดยคาดว่าการวิจัยพัฒนาวัคซีนทั้ง 3 ชนิด จะทราบผลเบื้องต้นในปลายปี 2563

ผู้อำนวยการ อภ. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 คณะผู้บริหารสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พร้อมด้วย คณะผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประธานมูลนิธิไอเอสพีอี (ประเทศไทย) หรือ International Society for Pharmaceutical Engineering (ISPE Thailand) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (World Health Organization Regional Office for South-East Asia (SEARO) และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านวัคซีน ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและความพร้อมในการผลิตวัคซีนโควิดสำหรับใช้ในประเทศ ที่โรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ของ อภ. ที่จ.สระบุรี จากการรับฟังข้อมูลและการดูพื้นที่ของโรงงานผลิตวัคซีนฯ คณะผู้บริหารสถาบันวัคซีนฯและคณะผู้เชี่ยวชาญต่างมีความเห็นว่าอภ.มีปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่มีศักยภาพและมีความพร้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบรรจุวัคซีนโควิด – 19 ที่สามารถทำในระดับอุตสาหกรรมได้ทันที



“อภ.มีความพร้อมในการผลิตวัคซีนโควิด– 19 เรามีโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นทุนเดิมที่มีศักยภาพและปัจจัยพื้นฐานหลายๆด้าน สามารถนำมาประยุกต์และก่อสร้างต่อยอดเพิ่มเติมเป็นโรงงานสำหรับผลิตวัคซีนโควิด– 19 ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ด้านการวิจัย พัฒนาวัคซีน มีประสบการณ์การผลิตวัคซีนหลายชนิด มีเครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัย รองรับการผลิตทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในระดับอุตสาหกรรม ได้ในหลายรูปแบบตามผลสำเร็จของการวิจัย และพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งยังรอผลการวิจัยว่าจะได้วัคซีนต้นแบบชนิดไหนที่เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม” นพ.วิฑูรย์ กล่าว




 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar