พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ( โจรในเครื่องแบบ ลูกน้องเสี่ยโอ )
‘Big Joke’ จริงๆ ตำรวจไทยตรวจไม่เจอดีเอ็นเอของใครเลย บนเสื้อสาวอังกฤษคดีข่มขืน
‘Big Joke’ จริงๆ แหละ ตำรวจท่องเที่ยวไทยที่ชอบทำดังในทางปกป้องมาเฟียท้องถิ่น ยิ่งกว่าสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยว รัฐออกเงินให้ไปเที่ยวอังกฤษ ได้เสื้อยืดผู้เคราะห์ร้ายคดีข่มขืนกลับมาตรวจดีเอ็นเอ แต่ไม่พบอะไรเลย
ไม่รู้ว่ามีการตรวจจริงหรือเปล่า
ไม่เช่นนั้นก็เป็นเพราะ ‘ชื่อเสีย’
ด้านมาตรฐานการตรวจดีเอ็นเอของไทยไม่เข้าเกณฑ์ยอมรับได้ของสากล
จากผลของการเสนอหลักฐานคดีเก่าในพื้นที่เดียวกัน ฆาตกรรมด้วยจอบสองหนุ่มสาวชาวอังกฤษ
แล้วจับแพะหม่องสองคนตัดสินประหารชีวิต
ถึงตรงนี้คงร้องอ๋อกันแล้วว่าพูดถึง ‘เกาะเต่า’ หรือชื่อใหม่ที่นักท่องเที่ยวแบ็คแพ็คจากยุโรปเรียกกันว่า
‘เกาะ (แห่งความ) ตาย’ นอกจากคดีฆาตกรรมสองหนุ่มสาวเมื่อปี
๕๗ แล้ว การตายของเบิร์นด์ กรอตช์ เมื่อเร็วๆ นี้ ยังเป็นปริศนา
“อาทิตย์ที่แล้วนี่เอง มีศพชายต่างชาติลอยอยู่ริมชายหายทรายรี
สถานที่มีการตายลึกลับหลายราย” สมุยไทมส์เขียนเล่า “มีชาวรัสเซีย วาเล็นติน่า
โนโวเชโนว่า หายไปบนเกาะนี้ยังหาไม่พบ ครอบครัวของเอลีส ดาลเลมาญจ์
ไม่พอใจนักกับคำอธิบายของตำรวจไทยต่อการตายของเธอ อีกทั้งการเสียชีวิตของ ดิมิตริ
พ้อปเซ และฮัน ปีเตอร์ ซู้ทเตอร์ ยังคงน่าฉงน”
สามอาทิตย์ที่แล้ว ‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว
เด็ก คสช. ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองโฆษกประจำตัว พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
มาได้ไม่นาน นำคระเดินทางไปสอบสวนผู้เสียหายถึงอังกฤษ
เป็นปฏิบัติการ ‘Damage
Control’ ควบคุมความเสียหายของฝ่ายตำรวจไทยที่มารดาของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษเรียกว่า
‘corrupt system’ “ทำไมตำรวจไทยถึงต้องเสียงบประมาณมากมายเดินทางมาสอบปากคำลูกสาวเราถึงยูเค”
คดีเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวถูกข่มเหงบนเกาะเต่า
เขตตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี รายล่าสุดเมื่อปลายเดือนมิถุนายน
ศกนี้ เป็นหญิงสาวชาวอังกฤษวัย ๑๙ ปี กลับไปฟ้องชาวโลกที่บ้านเกิดว่าเธอถูก “มอมยา
ลักทรัพย์ และข่มขืน”
เนื่องจากรุ่งขึ้นหลังคืนเกิดเหตุเธอรีบหนีออกจากเกาะเต่าด้วยความหวาดกลัว
แวะแจ้งความที่สถานีตำรวจเกาะพะงัน
แต่ตำรวจไม่ยอมรับแจ้งความในข้อหาข่มขืนและมอมยา
รับแต่การแจ้งความเรื่องสูญเสียทรัพย์ (บัตรประจำตัว บัตรเครดิต โทรศัพท์
และเงินสด ๓ พันบาท)
ตำรวจพะงันซึ่งน่าจะเป็นเขตบังคับบัญชาเหนือเกาะเต่าอ้างว่าไม่สามารถรับแจ้งความกรณีข่มขืนได้
ไม่อยู่ในอำนาจสอบสวนของสถานีนั้น ต้องกลับไปแจ้งกับสถานีเกาะเต่า นั่นเป็น ‘big
joke’ ข้อแรก
ต่อมาสองเดือนให้หลัง เมื่อเป็นข่าวฮือฮาหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์สัมภาษณ์ผู้เสียหาย
ที่บอกว่า ไม่กล้ากลับไปที่นั่นอีกแล้ว เตือนเพื่อนนักท่องเที่ยวอื่นๆ
อย่าไปเกาะเต่า อันตราย” นายพลสุรเชษฐ์
จึงขึ้นฮอบินไปสอบสวนด้วยตนเองถึงเกาะเต่า
“มีแถลงการณ์หลังจากนั้นว่าเขาไม่พบอะไรผิดปกติ
ไม่มีการข่มขืนอะไรเกิดขึ้นในคืนนั้น ที่น้ำทะเลขึ้นสูงและ (ผู้คนตื่นเต้นสนใจอยู่กับ)
การแข่งขันฟุตบอลโลก ต่อมากองทัพเรือชี้แจงว่าในคืนนั้นระดับน้ำทะเลไม่ได้ขึ้นสูงแต่อย่างใด”
หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ‘สมุยไทมส์’ ซึ่งตีพิมพ์ในต่างประเทศรายงานด้วยว่า “บิ๊กโจ๊กยอมรับในเวลาต่อมาเช่นกัน
ว่าเขาไปตรวจหลักฐานผิดที่ คนละหาด” นี่ ‘big joke’ แน่ๆ
ข้อสอง สมุยไทมส์เป็นสื่อแรกที่รายงานข่าวเรื่องนี้ก่อนที่หนังสือพิมพ์ในอังกฤษจะโหม
ซีเอสไอ แอลเอ เป็นสื่อออนไลน์อีกรายที่เกาะติดข่าวนี้แต่แรก
รวมทั้งเสนอรายงานคำให้การโดยตรงจากมารดาของหญิงสาวผู้เคราะห์ร้ายด้วย
ทำให้ทั้งสมุยไทมส์ และซีเอสไอ แอลเอ
ถูกทางการตำรวจไทยออกหมายจับบรรณาธิการและแอ็ดมิน
มีชาวไทย ๑๒
คนโดนจับในข้อหาแชร์ข่าวของซีเอสไอ แอลเอ ความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ สำหรับแอ็ดมินซึ่งอยู่ในต่างประเทศชี้แจงผ่านโพสต์ของเขาว่า
ทำหน้าที่สื่อโดยบริสุทธิ์ เสนอข้อเท็จจริงให้สาธารณชนได้รับรู้
ส่วนบรรณาธิการสมุยไทมส์ออกนอกประเทศไทยได้สองปีกว่าแล้ว
หลังถูกคุกคามจากการเสนอข่าวคดีฆาตกรรมนางสาวแฮนนาห์ วิตเทอริดจ์ และนายเดวิด
มิลเลอร์ ที่หาดทรายรีเดียวกัน เมื่อปี ๒๕๕๗ อันเป็นข่าวอื้อฉาวทั่วโลก
แต่ผลการทำคดีลงเอยว่าตำรวจไทย ‘จับแพะ’ ได้สองคนเป็นหนุ่มแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ซึ่งญาติมิตรของหม่องทั้งสองโวยวายว่าจำเลยถูกตำรวจข่มขู่บังคับให้รับสารภาพ แต่ศาลไทยก็รวบรัดตัดสินประหารชีวิตจนได้
ทั้งที่มีการคัดค้านจากครอบครัวผู้ตายในอังกฤษว่ากระบวนการสอบสวนไม่เป็นธรรม และกรรมวิธีการตรวจสอบดีเอ็นเอของไทยที่ใช้ปรักปรำจำเลยทั้งสองไม่ได้มาตรฐาน เจน ทอพิน ผู้เชี่ยวชาญทางนิติวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลีย ระบุ (หนังสือพิมพ์บริสเบนไทมส์รายงาน)
จึงมาถึงการตรวจดีเอ็นเอในคดีสาวอายุ ๑๙
ชาวอังกฤษถูกข่มขืนที่หาดทรายรี มารดาผู้เสียหายแจ้งว่าเสื้อยืดที่ลูกสาวสวมใส่ในคืนนั้นมีคราบอสุจิติดอยู่
ลูกสาวเก็บเสื้อตัวนั้นกลับไปอังกฤษด้วย เมื่อสามอาทิตย์ที่แล้วครอบครัวผู้เสียหายได้มอบเสื้อตัวนั้นแก่ตำรวจไทยนำกลับไปตรวจดีเอ็นเอ
ทั้งที่ไม่เชื่อถือแต่ก็ทำตามการแนะนำของตำรวจมหานครลอนดอน
และสถานทูตอังกฤษในกรุงเทพฯ ที่ต้องการรักษาสัมพันธ์อันดีทางการทูตเอาไว้
“เราแปลกใจมากที่แถลงการณ์วันนี้บอกว่าไม่พบดีเอ็นเอใดๆ เลยบนเสื้อทีเชิ้ร์ต” แซร่าห์ มารดาของผู้เสียหายออกจดหมายแสดงข้อกังขาต่อแถลงการณ์ปิดคดีของตำรวจไทย “อย่างน้อยๆ ก็ควรจะมีดีเอ็นเอของลูกสาวดิฉันติดอยู่นะ”
‘Big Joke’ หนักกว่าเพื่อนก็ตรงที่
‘บิ๊กแป๊ะ’ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา
ผบ.ตร. จัดแถลงข่าวเองปิดคดีเมื่อ ๑๖ ตุลา “เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานใหม่ที่จะนำมาพิจารณา
รวมถึงไม่พบคราบอสุจิบนเสื้อผ้าของนักท่องเที่ยวสาวชาวอังกฤษ”
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar