ข้อคิดเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อำนาจของวชิราลงกรณ์จนถึงขณะนี้และในอนาคต
ข้อคิดเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อำนาจของวชิราลงกรณ์จนถึงขณะนี้และในอนาคต
กระทู้นี้จะอภิปรายปัญหาที่กว้างออกไปกว่าเรื่องทรงผม "เกรียนวชิราลงกรณ์"
แต่ก่อนอื่น ขอให้ดูเอกสารประกอบ ซึ่ง "มิตรสหายท่านหนึ่ง" เพิ่งส่งมาให้
นี่เป็นเอกสารคำสั่งของกองทัพอากาศ ในลักษณะทำนองเดียวกับเอกสารที่โพสต์ให้ดูใน 2 กระทู้ก่อน
ถ้าเทียบกับเอกสารที่โพสต์ให้ดูก่อนหน้านี้ เอกสารของกองทัพอากาศนี้
เขียนแบบกว้างๆและไม่มีการบังคับโดยตรงมากที่สุด คือเพียงแต่บอกว่า
ผู้บัญชาการกองทัพอากาศให้กวดขันกำลังพลทุกคน
(รวมไปถึงลูกจ้างและนักเรียนทหาร) ให้ "เป็นผู้มีระเบียบวินัย"
"...โดยเฉพาะการไว้ทรงผม [ที่] ยังไม่เป็นไปตามระเบียบราชการที่กำหนด"
ไม่มีปัญหาว่า นี่เป็นคำสั่งที่เป็นผลมาจากวชิราลงกรณ์เหมือนคำสั่งอื่นๆก่อนหน้านี้แน่
ประเด็นที่น่าคิดเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการต่างของ "ระดับการบังคับ"
ของหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ระดับ full-blown หรือเต็มที่
กรณีสำนักพระราชวัง-องคมนตรี (ทั้่งชายหญิงต้อง "เกรียนวชิราลงกรณ์" หมด)
ลงมาระดับที่บังคับทหารชายทั้งหมดของ บก.ทท. (คือยังยกเว้นหญิง)
และบังคับน้อยลงไป (เขียนแบบกว้างๆมากขึ้น) กรณี ตำรวจ, กองทัพบก
และกองทัพอากาศนี้ สะท้อนอะไรหรือไม่?
วชิราลงกรณ์คง "สั่ง / ขอ /
ปรารภ" ให้ข้าราชการโดยเฉพาะทหารตำรวจไว้ "ทรงผมพระราชนิยม"
แล้วหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อเขาโดยตรงอย่างสำนักพระราชวัง-องมนตรี
ก็สั่งต่อแบบ full-blown บังคับทั้งหมดเลย ทีนี้
ระดับที่ต่างๆกันของหน่วยงานอื่นๆนี่ เพราะอะไร? เพราะตัวผู้บัญชาการ
(ผบ.สส. ผบ.ตร. ผบ.ทบ. ผบ.ทอ.) รู้สึกถึง หรือยอมรับใน
อำนาจวชิราลงกรณ์มาก-น้อยต่างกัน หรือมีวิจารณญาณมีสติต่างกัน?
หรือทั้่งสองเหตุผล? หรือขึ้นกับ ผบ.คนไหนต้องการ "เลีย"
วชิราลงกรณ์มากกว่า? ซึ่งคงสัมพันธ์กับประเด็นตั้งแต่ว่า
วชิราลงกรณ์พูดออกมาในระดับไหน วชิราลงกรณ์อาจจะเพียงแต่ "ปรารภ" คือเปรยๆ
("ข้าพเจ้าเห็นว่าถ้าข้าราชการทุกคนไว้ผมแบบราชวัลลภก็ดีนะ
เป็นระเบียบเรียบร้อยดี") หรือ "ขอ"
("ข้าพเจ้าอยากขอให้พวกท่านลองไปพิจารณาว่า จะทำกันได้ไหม
ให้ทุกคนในสังกัดไว้ผมแบบนี้น่ะ") อะไรประมาณนี้ แล้ว ผบ.แต่ละคนก็มี
response หรือตอบสนองในระดับที่ต่างๆกัน
ขึ้นกับระดับการรับอำนาจ-อยากเลีย-หรือมีสติ มากน้อยต่างกันดังกล่าว
................
แต่ประเด็นที่น่าคิดและคอยจับตาสังเกตต่อ คือประเด็นที่กว้างออกไป
ซึ่งผมเคยพูดไปก่อนหน้านี้บ้าง นั่นคือ จากนี้ไป
วชิราลงกรณ์จะเข้าแทรกแซงหรือยุ่งเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมืองหรือการเมืองแค่ไหนอย่างไร
ผมเคยพูดไปก่อนหน้านี้ว่า ที่มีหลายคนพูดถึงการใช้อำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิ์
(หรือการปกครองด้วยความกลัว) ของวชิราลงกรณ์นั้น
เป็นความจริงแต่ยังมีความจำกัด คือที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ จะเห็นว่า
ลักษณะการใช้อำนาจดังกล่าว
ยังจำกัดอยู่กับเรื่องที่เกี่ยวกับกษัตริย์โดยตรง
ตั้งแต่กรณีมาตราในรัฐธรรมนูญที่ให้แก้, การขโมยหมุดคณะราษฎร-วางหมุดหน้าใส
มาถึงการสร้างอาณาจักร "ราชการในพระองค์", การกินรวบ ("ปล้น")
ทรัพย์สินแผ่นดินมูลค่าล้านล้านบาท (กรณีทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์),
และเรื่องการลงโทษคนที่ทำงานเกี่ยวกับกษัตริย์โดยตรง (จุมพล ถึง ดิสธร
และกรณีเล็กๆลงไปอีกนับไม่ถ้วน)
แน่นอน เรื่องทุกเรื่องที่เพิ่งพูด
เป็นเรื่องสาธารณะแน่
เป็นผลประโยชน์และควรเป็นอำนาจของประชาชนที่จะตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิ์ตามใจชอบของวชิราลงกรณ์แน่
อาณาจักร "ราชการในพระองค์" วชิราลงกรณ์จ่ายเงินเดือนเองเสียเมื่อไหร่
ใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งนั้น แต่(ดัน)ไม่ยอมให้ใครมายุ่ง
ไม่ต้องพูดถึงทรัพย์สินแผ่นดินมูลค่าล้านล้านบาทที่ปล้นไปเป็นของตัวเองทั้่งหมด
หรือแม้แต่การสั่งลงโทษใครโดยไม่ต้องมีกระบวนการตามบรรทัดฐานการพิจารณาลงโทษข้าราชการ
แต่ประเด็นคือ ตราบเท่าที่วชิราลงกรณ์ยังจำกัด ไม่เอ๊กเซอร์ไซส์อำนาจออกมา
"เกินรั้่ววัง" มากนัก ผลกระทบที่จะทำให้คนทั่วไป (แม้แต่ในหมู่ข้าราชการ
ถ้าไม่ได้สังกัดวังโดยตรง) รู้สึกไม่พอใจหรือมีปฏิกิริยาต่อต้าน
ก็จะจำกัดตามไปด้วย
อย่างว่า คนไทยเป็นคนที่ถูกสร้างให้ "เชื่อง"
อยู่แล้ว แม้แต่กรณีคนรักเจ้าที่ยืนกรานมาหลายปีว่า
ทรัพย์สินส่วนกษัตริย์มูลค่าล้านล้านบาทเป็นทรัพย์สินแผ่นดิน
พอวชิราลงกรณ์ปล้นไปเป็นของตัวเอง ก็ยังเฉยๆอยู่.....
ผมเคยเล่าแล้วว่า มีมิตรสหายที่ผมคุยด้วยหลายคนเชื่อว่า
โดยนิสัยของวชิราลงกรณ์ และเพื่อรักษาสถานะของเขาด้วย ในที่สุด
เขาจะต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวใช้อำนาจ "นอกรั้่ววัง" มากขึ้นๆแน่
กรณี
silly งี่เง่า อย่าง "ยกอกอึ๊บ" หรือ "ทรงผมเกรียนวชิราลงกรณ์"
มีผลกระทบกว้างออกมากว่ารั้ววัง คือเริ่มออกมาถึงข้าราชการทั่วไปมากขึ้น
อาจจะเป็น sign หรือสัญญาณเล็กๆในทิศทางนี้ แม้จะยังจำกัด
คือแม้แต่ระดับการบังคับก็ยังไม่ถึงกับเต็มที่กับทุกหน่วยงานดังกล่าวข้างต้น
ประเด็นใหญ่สุดที่ผู้ติดตามการเมืองกำลังสนใจคือ
ปัญหาว่าวชิราลงกรณ์จะเข้าแทรกแซง กำหนดตัวคนที่จะเป็นนายกฯคนต่อไปหลัง คสช
/ หลังเลือกตั้ง หรือไม่ และจะเป็นใคร
เพื่อนผมหลายคนเชื่อว่า
ยังไงเสีย
อย่างน้อยที่สุดเพื่อประกันให้เขาเองสามารถใช้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ในวังแบบตามใจชอบอย่างนี้ต่อไปได้
วชิราลงกรณ์จะต้อง "เม้กชัวร์" หรือทำให้แน่ใจว่า นายกฯคนต่อไป
จะต้องเป็นคนที่ friendly หรือขึ้นต่อเขา ไม่ว่าจะยังเป็น "ตู่"
ซึ่งทุกคนเบื่อเต็มทีต่อไป หรือเป็นคนอื่น
ทุกวันนี้ ผบ.ทบ.
ทั้งคนนี้ และคนที่เป็นตัวเต็ง (อภิรักษ์ ซึ่งดังที่หลายคนเห็น "เลีย"
วชิราลงกรณ์ด้วยการตัดผมเกรียนแล้ว)
ก็ล้วนเป็นคนที่วชิราลงกรณ์โปรดปรานให้มาเป็นอยู่แล้ว ดังนั้น ตำแหน่งอย่าง
นายกฯ ยังไงวชิราลงกรณ์ก็ต้องพยายามยื่นมือเข้ามามีส่วนกำหนดแน่
ไม่ปล่อยให้เป็นไปเองจากการกำหนด-แย่งชิงของ คสช เอง หรือระหว่าง คสช
กับพรรคการเมือง
แล้วเรื่องนี้
จะมีผลกระทบต่อประชาชนหรือสังคมวงกว้างอย่างมากแน่ เช่น
ถ้าวชิราลงกรณ์สนับสนุนยืนยันให้ "ตู่"
อยู่ต่อทั้งๆที่ประชาชนทุกฝ่ายเบื่อเต็มที หรือกำหนดให้เอาคนอื่นที่ทุกฝ่าย
"ยี้" พอๆกัน..... (วันก่อนผมเพิ่งคุยกับเพื่อนบางคนว่า สมัยนี้
ฝ่ายเจ้าไม่มีใครที่เด่นหรือมีความสามารถหรืออย่างน้อยพอมี "เครดิต" จริงๆ
ไม่เหมือนสมัยก่อน กรณีอย่างสัญญา หรืออานันท์
ตอนนี้พยายามนึกหาคนแบบนี้ไม่ว่าในเครื่องแบบหรือนอกเครื่องแบบ ทหาร
นักการเมือง หรือเทคโนแครต ที่วชิราลงกรณ์ หรือแม้แต่ คสช. จะหนุนขึ้นมาได้
นึกไม่ออก)
@somsakjeam