"กษัตริย์กวี
ผู้อื้อฉาวเรื่องโลกีย์"
เจ้าฟ้าฉิมได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา
และแต่งตั้งเจ้าฟ้าบุญรอดให้เป็นราชินีของพระองค์
รุ่งวันใหม่ของการเป็นกษัตริย์ก็มิใช่ว่าจะเป็นวันมงคลอะไร
ที่จะห้ามไม่ให้พวกศักดินาเข่นฆ่าเพื่อแย่งความเป็นใหญ่กัน เพราะพอรัชกาลที่ ๒
ขึ้นนั่งเมืองได้เพียง ๓ วัน พระองค์ก็ทรงบัญชาให้จับเจ้าฟ้าสุพันธวงศ์
หลานรัชกาลที่ ๑ และพรรคพวกไปฆ่าร้อยกว่าคน โดยกล่าวโทษว่าพวกนี้คิดจะกบฏ
ขณะเดียวกันพวกศักดินาที่บันทึกพงศาวดาร ซึ่งอยากจะยกย่องรัชกาลที่ ๒ เต็มแก่
ก็ได้แต่งนิยายหลอกเด็กว่า รัชกาลที่ ๒
รู้ว่าเจ้าฟ้าสุพันธวงศ์จะเป็นกบฏนั้นก็เพราะมีกาดำคาบหนังสือแจ้งรายชื่อพวกคิดร้ายต่อกษัตริย์
มาทิ้งในวังหลวง(๑) ทำนองสร้างเรื่องให้คนเชื่อว่า กษัตริย์มีบุญญาธิการเป็นล้นพ้น
กระทั่งกาดำสัตว์ชั้นต่ำก็ยังจงรักภักดี คาบข่าวมาทูลให้ทราบเหตุเภทภัย
เรื่องพรรค์อย่างนี้ก็ไม่รู้ว่าจะหลอกคนไปได้สักกี่น้ำ
กลับมาเรื่องคาวๆฉาวโฉ่
ใช่ว่าชราแล้วจะลดลงบ้าง ทำเอาเจ้าฟ้าบุญรอดต้องทุกข์ระทมในบั้นปลายชีวิต
เพราะรัชกาลที่ ๒ ก็เหมือนกับพ่อ คือเป็นผู้มักมากในกามคุณ
พอได้เมียสาวก็มักจะลืมเมียหลวง กล่าวคืออยู่มาวันหนึ่ง รัชกาลที่ ๒
ไปเห็นเอาเจ้าฟ้ากุณฑล น้องสาวคนละแม่ของตนเอง ซึ่งมีอายุเพียง ๑๘-๑๙ ปีเข้า
ก็มีจิตพิศวาส จึงยกขึ้นเป็นมเหสีข้างซ้าย เคียงคู่เจ้าฟ้าบุญรอด มเหสีข้างขวา
เจ้าฟ้ากุณฑลมีอายุอ่อนกว่าเจ้าฟ้าบุญรอดถึง ๓๐ ปี รัชกาลที่ ๒
จึงลุ่มหลงเป็นนักหนา
ตามประสาโคเฒ่ากับหญ้าอ่อน
ในที่สุดเจ้าฟ้าบุญรอดก็ทนเห็นภาพบาดใจต่อไปมิได้ จึงหนีออกจากวังหลวง ไปอยู่ที่พระราชวังเดิมธนบุรี ไม่ยอมเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๒ อีก(๒)
ในที่สุดเจ้าฟ้าบุญรอดก็ทนเห็นภาพบาดใจต่อไปมิได้ จึงหนีออกจากวังหลวง ไปอยู่ที่พระราชวังเดิมธนบุรี ไม่ยอมเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๒ อีก(๒)
เมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้แล้ว ต้องกล่าวว่า
เจ้าฟ้าบุญรอดนั้นยังมีชะตากรรมดีกว่าพระชนนีของรัชกาลที่ ๒ คือมเหสีของรัชกาลที่ ๑
มาก พระชนนีของรัชกาลที่ ๒
ถึงกับเคยต้องเจ็บช้ำน้ำใจเพราะถูกพระสวามีที่หน้ามืดตามัว หลงอิสตรีวัยรุ่น
วิ่งไล่ฟันด้วยดาบมาแล้ว สาเหตุที่รัชกาลที่ ๑ โกรธพระมเหสีถึงกับจะลงไม้ลงมือ
ก็เพราะว่าคืนหนึ่ง ขณะที่รัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งเป็นขุนนางเมืองธนบุรี
นอนเปล่าเปลี่ยวใจอยู่คนเดียวนั้น ไม่อาจทนราคะจริตอยู่ได้
เพราะพระมเหสีในขณะนั้นไปนอนอยู่กับบุตรสาวในวังพระเจ้าตากสิน
จึงวางแผนจะเรียกเด็กสาวลาวผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าจอมแว่น ให้เข้าไปหาในห้องนอน
เพื่อหวังจะเผด็จสวาท แต่พระมเหสีรู้ข่าวเข้าเสียก่อน
จึงเอาไม้ตีเด็กนั้นเพราะความหึงหวง รัชกาลที่ ๑ พอรู้เข้าก็โกรธจัด
คว้าดาบไล่ไปถึงที่อยู่ของพระมเหสีแล้วจะพังประตูห้อง แต่เข้าไม่ได้
จึงฟันประตูห้องอุตลุดจะเข้าไปทำร้ายพระมเหสีให้ได้ ร้อนถึงลูกฉิม
ต้องพาแม่หนีภัยออกไปทางหน้าต่าง(๓) แต่นั้นมาแม่รัชกาลที่ ๒
ก็ไม่ยอมอาศัยอยู่ใต้ชายคาบ้านของรัชกาลที่๑ อีกจนตายจากกันไป(๔)
๑. สิริ เปรมจิตต์ พระบรมราชจักรีวงศ์ (โรงพิมพ์เสาวภาค, ๒๕๑๔) หน้า
๘๒
๒. โสมทัต เทเวศร์ เจ้าฟ้าจุฬามณี (แพร่พิทยา, ๒๕๑๓) หน้า ๑๑-๑๒
๓. บรรเจิด อินทุจันทร์ยง (รวบรวม) “เจ้าจอมแว่น” พงศาวดารกระซิบ (ประพันธ์สาสน์, ๒๕๒๑) หน้า ๑๒๙-๑๓๑ โปรดดูเทียบกับหนังสือ เรื่องโครงกระดูกในตู้ โดย มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
๔. เรื่องเดิม หน้า ๑๓๒
๒. โสมทัต เทเวศร์ เจ้าฟ้าจุฬามณี (แพร่พิทยา, ๒๕๑๓) หน้า ๑๑-๑๒
๓. บรรเจิด อินทุจันทร์ยง (รวบรวม) “เจ้าจอมแว่น” พงศาวดารกระซิบ (ประพันธ์สาสน์, ๒๕๒๑) หน้า ๑๒๙-๑๓๑ โปรดดูเทียบกับหนังสือ เรื่องโครงกระดูกในตู้ โดย มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
๔. เรื่องเดิม หน้า ๑๓๒
ความเป็นมาของวงค์จักรี ตอนที่ ๔
รัชกาลที่ ๓
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นเพียงโอรสของเจ้าจอมมารดาเรียมและประสูตินอกเศวตฉัตร มีความทะเยอทะยานอยากเป็นกษัตริย์แทนเจ้าฟ้ามงกุฎมานานแล้ว ประจวบกับปลายรัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงหมกมุ่นอยู่กับการกวีและกามารมณ์ จึงปล่อยให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทำงานแทนพระเนตรพระกรรณร่วม ๒๐ ปี จึงใกล้ชิดรัชกาลที่ ๒ มากกว่าโอรสองค์อื่นๆ และจากพงศาวดารทำให้ทราบว่า ความจริงรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้ประชวรมากนัก แต่เพราะเสวยพระโอสถที่จัดถวายโดยเจ้าจอมมารดาเรียม พระอาการจึงทรุดหนักและสวรรคตโดยปัจจุบันทันด่วน ก่อนหน้านี้ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สั่งให้ทหารล้อมวัง ห้ามเข้าออก รัชกาลที่ ๒ จึงหมดโอกาสมอบบัลลังก์ให้เจ้าฟ้ามงกุฎ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎเองต้องรีบร้อนออกบวชก่อนหน้านี้เพียง ๒ เดือน ราวกับทรงทราบว่ามหันตภัยสำหรับพระองค์กำลังจะคืบคลานเข้ามาหากไม่ละจากพระราชวัง แต่ก็ทรงจากไปด้วยภาวะ “ร้อนผ้าเหลือง” และก็ต้องร้อนไปเป็นเวลานาน เพราะไม่สามารถสะสมกำลังอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม
แม้ว่ากรมหมื่นเจษฎาบดินทร์จะกดเจ้าฟ้ามงกุฎลงใต้บาทได้
ก็หาใช่จะห้ามไม่ให้ศักดินาอื่นสะสมกำลังเพื่อความมักใหญ่ใฝ่สูงได้
กรมหลวงรักษ์รณเรศ โอรสรัชกาลที่ ๑ “หน่อพุทธางกูร” องค์นี้
เริ่มสะสมไพร่พลมากขึ้นๆทุกที จนรัชกาลที่ ๓ ทนไม่ได้ จึงด่ากรมหลวงรณเรศว่า
“เป็นพืชพันธุ์ลูกอียายเดนเกือก เป็นคนอุบาทว์บ้านเมือง...” (๑) และว่า
“อย่าว่าแต่มนุษย์จะให้กรมฯรักษ์รณเรศเป็นกษัตริย์เลย
แม้แต่สัตว์เดรัจฉานมันก็ไม่ยอม” (๒) แล้วจึงให้จับกรมฯรักษ์รณเรศ
ยัดเข้าถุงแดงและให้ใช้ไม้ทุบจนตาย ทั้งนี้มีข้ออธิบายว่าที่ต้องฆ่าในถุงสีแดงนั้น
ก็เพราะความเจ้ายศเจ้าอย่างของพวกศักดินานั้นเอง ด้วยถือว่าเลือดพวกเจ้า
เป็นเลือดเทวดา พระโพธิสัตว์ เป็นของขลัง หากตกถึงแผ่นดิน
ปฐพีจะลุกขึ้นเป็นไฟและใช้ปลูกอะไรไม่ได้(๓)
จึงต้องฆ่าให้ตายในถุงสีแดง
นอกจากนี้รัชกาลที่ ๓
ก็เกิดขัดแย้งกับวังหน้าของพระองค์ คือกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์อีก
เรื่องนี้รัชกาลที่ ๕ เล่าว่าความสัมพันธ์ระหว่างวังหน้าและวังหลวงไม่ใคร่จะดีนัก
เหตุเพราะคราวหนึ่ง วังหน้าจะไปรบกับลาว กษัตริย์พระนั่งเกล้าไม่ไว้วางพระทัย
จึงบังคับให้วังหน้าดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเสียก่อน หลังจากนั้นมาไม่นาน
วังหน้าจะสร้างปราสาทมียอดขึ้นในวังของตน แต่รัชกาลที่ ๓ ทรงทราบจึงห้ามไว้
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้วังหน้าน้อยพระทัยมาก(๔) ถ้าวังหน้าไม่สวรรคตไปก่อน
ความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่ ๓
กับวังหน้าจะต้องรุนแรงกว่านี้อย่างแน่นอน
มีข้อน่าสังเกตว่า การที่รัชกาลที่ ๓ ทรงอุปการะพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ อีกทั้งสร้างวัดวาอารามและเจดีย์ที่มีชื่อเสียงไว้มากมายนั้น เหตุผลสำคัญที่น่าสนใจคือ เพราะพระองค์ทรงปิตุฆาตจึงสร้างไว้เพื่อไถ่บาป(๕)
๑. ล้อม เพ็งแก้ว “ฟ้าอาภร(แปลกพักตร์ อาลักษณ์เดิม)” วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๘ เดือน มิ.ย. ๒๔ หน้า ๖๕
๒. เรื่องเดิม หน้า ๖๕
๓. มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเดิม หน้า ๒๕
๔. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เล่ม ๑ (แพร่พิทยา, ๒๕๑๖) หน้า ๖๕๙-๖๖๐
๕. ส.ธรรมยศ พระเจ้ากรุงสยาม (โรงพิมพ์ ส.สง่า ๒๔๙๕) หน้า ๑๐๑
มีข้อน่าสังเกตว่า การที่รัชกาลที่ ๓ ทรงอุปการะพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ อีกทั้งสร้างวัดวาอารามและเจดีย์ที่มีชื่อเสียงไว้มากมายนั้น เหตุผลสำคัญที่น่าสนใจคือ เพราะพระองค์ทรงปิตุฆาตจึงสร้างไว้เพื่อไถ่บาป(๕)
๑. ล้อม เพ็งแก้ว “ฟ้าอาภร(แปลกพักตร์ อาลักษณ์เดิม)” วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๘ เดือน มิ.ย. ๒๔ หน้า ๖๕
๒. เรื่องเดิม หน้า ๖๕
๓. มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่องเดิม หน้า ๒๕
๔. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เล่ม ๑ (แพร่พิทยา, ๒๕๑๖) หน้า ๖๕๙-๖๖๐
๕. ส.ธรรมยศ พระเจ้ากรุงสยาม (โรงพิมพ์ ส.สง่า ๒๔๙๕) หน้า ๑๐๑
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar