'ศูนย์ทนายสิทธิ' ร้องปล่อยตัวกลุ่มคนเสื้อดำทันที เหตุถูกคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
Submitted on Wed, 2018-12-12 21:50 'ศูนย์ทนายสิทธิ' เผยจนท.คุมตัวซ้ำรอบสอง 3 ราย คาดเอี่ยวใส่หรือมีเสื้อดำมีสัญลักษณ์กลุ่มสหพันธรัฐไท หลังปล่อยตัวไม่ถึง 24 ชม. พร้อมเรียกร้องปล่อยตัวทันทีเหตุไม่ชอบด้วยกฎหมายล่าสุดวันนี้เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว เรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ติดตามข้อมูลการควบคุมตัวบุคคลกรณีครอบครองหรือใส่เสื้อกรณีสหพันธรัฐไท
พบว่าระหว่างวันที่ 7 -12 ธันวาคม 2561
เจ้าหน้าที่ทหารได้ควบคุมตัวบุคคลในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี
กำแพงเพชร อุบลราชธานี และอุดรธานี ไปในค่ายทหารอย่างน้อย 16 ราย
โดยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ได้รับการปล่อยตัว 12 ราย ยังถูกควบคุมตัวอยู่ 4
ราย และยังมีอีกอย่างน้อย 1 ราย ที่คาดว่าถูกควบคุมตัวอยู่ด้วย ในทุกราย
เจ้าหน้าที่ไม่ได้มีหมายจับใดๆ ในการใช้ควบคุมตัว (อ่านเพิ่ม https://www.tlhr2014.com/?p=10020)
ในวันนี้ (12 ธ.ค. 61) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีการควบคุมตัวบุคคลจากอุบลราชธานี 1 ราย และกำแพงเพชร 2 ราย ซึ่งทั้งสามรายเคยถูกควบคุมตัวและได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 มาแล้ว คาดว่าทั้งหมดถูกนำตัวมาควบคุมไว้ในค่ายทหาร ภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่บุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจรัฐภายหลังการรัฐประหาร 2557 บุคคลซึ่งใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง และมีคดีในความรับผิดชอบกว่า 165 คดีนั้น มีความห่วงกังวลถึงการควบคุมตัวในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้
1. การควบคุมตัวบุคคลบุคคลนั้นต้องกระทำโดยชอบ ผู้ถูกจับจำเป็นต้องได้รับแจ้งเหตุในการจับกุม มีสิทธิที่จะแจ้งญาติและทนายความ และสามารถตรวจสอบได้โดยศาล หลักการดังกล่าวนั้นได้รับการรับรองในข้อ 9 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
อย่างไรก็ตามศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า การควบคุมตัวบุคคลตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2559 ภายหลังการรัฐประหารนั้นส่วนใหญ่เป็นการควบคุมตัวซึ่งไม่เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าว รวมถึงการควบคุมตัวบุคคลในกรณีนี้ ซึ่งไม่แจ้งเหตุในการควบคุมตัว ผู้ถูกควบคุมตัวไม่ได้รับสิทธิในการมีทนายความ และไม่มีการตรวจสอบการควบคุมโดยองค์กรตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การควบคุมตัวบุคคลสามรายซ้ำในระยะซึ่งห่างกันเพียงชั่วข้ามคืนนั้น ยิ่งทำให้เห็นชัดถึงการใช้อำนาจในการควบคุมตัวโดยพลการ
2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อรายงานตามวาระฉบับที่ 2 ของประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ว่า รัฐไทยควรจะปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยพลการโดยทันที และจัดให้พวกเขาเข้าถึงการเยียวยาอย่างเต็มที่ ทั้งยังควรปรับปรุงเนื้อหาของกฎหมายและการปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อย่างไรก็ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงอำนาจในการควบคุมตัวบุคคลไม่เกิน 7 วันตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ทั้งสองฉบับไว้ โดยมิได้ยกเลิกแม้ประเทศกำลังจะเข้าสู่บรรยากาศของการเลือกตั้งก็ตาม
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐพบการกระทำซึ่งเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายนั้นก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ แต่ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา หรือจำเลยทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย เข้าถึงสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial Rights) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวกลุ่มบุคคลดังกล่าวในทันที
ด้วยความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ในวันนี้ (12 ธ.ค. 61) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีการควบคุมตัวบุคคลจากอุบลราชธานี 1 ราย และกำแพงเพชร 2 ราย ซึ่งทั้งสามรายเคยถูกควบคุมตัวและได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 มาแล้ว คาดว่าทั้งหมดถูกนำตัวมาควบคุมไว้ในค่ายทหาร ภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่บุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจรัฐภายหลังการรัฐประหาร 2557 บุคคลซึ่งใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง และมีคดีในความรับผิดชอบกว่า 165 คดีนั้น มีความห่วงกังวลถึงการควบคุมตัวในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้
1. การควบคุมตัวบุคคลบุคคลนั้นต้องกระทำโดยชอบ ผู้ถูกจับจำเป็นต้องได้รับแจ้งเหตุในการจับกุม มีสิทธิที่จะแจ้งญาติและทนายความ และสามารถตรวจสอบได้โดยศาล หลักการดังกล่าวนั้นได้รับการรับรองในข้อ 9 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม
อย่างไรก็ตามศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพบว่า การควบคุมตัวบุคคลตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2559 ภายหลังการรัฐประหารนั้นส่วนใหญ่เป็นการควบคุมตัวซึ่งไม่เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าว รวมถึงการควบคุมตัวบุคคลในกรณีนี้ ซึ่งไม่แจ้งเหตุในการควบคุมตัว ผู้ถูกควบคุมตัวไม่ได้รับสิทธิในการมีทนายความ และไม่มีการตรวจสอบการควบคุมโดยองค์กรตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การควบคุมตัวบุคคลสามรายซ้ำในระยะซึ่งห่างกันเพียงชั่วข้ามคืนนั้น ยิ่งทำให้เห็นชัดถึงการใช้อำนาจในการควบคุมตัวโดยพลการ
2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้มีข้อสังเกตเชิงสรุปต่อรายงานตามวาระฉบับที่ 2 ของประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2560 ว่า รัฐไทยควรจะปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยพลการโดยทันที และจัดให้พวกเขาเข้าถึงการเยียวยาอย่างเต็มที่ ทั้งยังควรปรับปรุงเนื้อหาของกฎหมายและการปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อ 9 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อย่างไรก็ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงอำนาจในการควบคุมตัวบุคคลไม่เกิน 7 วันตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ทั้งสองฉบับไว้ โดยมิได้ยกเลิกแม้ประเทศกำลังจะเข้าสู่บรรยากาศของการเลือกตั้งก็ตาม
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐพบการกระทำซึ่งเข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฎหมายนั้นก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ แต่ผู้ถูกจับ ผู้ต้องหา หรือจำเลยทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย เข้าถึงสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial Rights) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนจึงขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวกลุ่มบุคคลดังกล่าวในทันที
ด้วยความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar