söndag 28 februari 2021

"ตำรวจใช้กระสุนยางยิงใส่ประชาชน"

Kan vara en bild av en eller flera personer, personer som står och utomhus

เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจเมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมาก่อนจะมีการยุติการชุมนุม โดยมีเสียงคล้ายปืนดังขึ้นหลายครั้ง ซึ่งทางผู้ชุมนุมระบุว่า "ตำรวจใช้กระสุนยางยิงใส่ประชาชน" หลังกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "Restart Democracy - ประชาชนสร้างตัว" หรือ "รีเด็ม" (REDEM) รวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก่อนจะเคลื่อนขบวนไปกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถ.วิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านพัก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเรียกร้องให้นายกฯ คืน "บ้านพักหลวง" 

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bbc.com/thai/international-56227694

             Kan vara en bild av 3 personer, personer som står och väg Kan vara en bild av dryck, utomhus och text där det står ”POLICE Reuters”

             Kan vara en bild av en eller flera personer, skyskrapa, himmel och text där det står ”Reuters”

          + 4

Prachatai

2021-02-28 16:57

ตำรวจกระชับพื้นที่ "ม็อบรีเด็ม" บาดเจ็บ ส่ง รพ. 9 ราย


 

กลุ่ม "รีเด็ม" นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยฯ-เดินขบวนไปบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์

เวลาประมาณ 17.00 น. ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มุ่งหน้าไปกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภารักษาพระองค์ ถ. วิภาวดีรังสิต

ชุมนุม 28 ก.พ.: กลุ่ม "รีเด็ม" เรียกร้อง พล.อ. ประยุทธ์คืนบ้านพักหลวง-คืนค่ายทหารให้ประชาชน

ผู้ชุมนุมกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "Restart Democracy - ประชาชนสร้างตัว" หรือ "รีเด็ม" (REDEM) รวมตัวกันที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิก่อนจะเคลื่อนขบวนไปกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถ.วิภาวดีรังสิต ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านพัก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อเรียกร้องให้นายกฯ คืน "บ้านพักหลวง" เนื่องจากพวกเขาเห็นว่าเป็นการใช้ภาษีประชาชนอย่างไม่เหมาะสมและสิ้นเปลือง

การชุมนุมในวันนี้ (28 ก.พ.) นับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรกของกลุ่มรีเด็มที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 24 ก.พ. ผ่านหน้าเฟซบุ๊ก "เยาวชนปลดแอก" ซึ่งทำหน้าที่นัดหมายและประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่ม

ผู้ชุมนุมนัดรวมตัวกันในเวลา 15.00 น. และเคลื่อนขบวนในเวลา 17.00 น. เข้าสู่ ถ.ดินแดง แล้วเลี้ยวเข้าสู่ ถ.วิภาวดีรังสิต

กลุ่มรีเด็มระบุว่าเป้าหมายของการเดินขบวนเป็นระยะทาง 3.1 กม. จากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์เพื่อ"ทวงคืนสมบัติ" ของประชาชน เนื่องจากที่นี่ "มีบ้านพักหลวงที่ประยุทธ์พักอาศัยอยู่ฟรี ๆ โดยประชาชนเป็นผู้จ่ายค่าน้ำค่าไฟ" และยังเป็นที่ตั้งของหน่วยทหารที่ถูกโอนไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ตามพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562

กลุ่มรีเด็มจึงต้องการให้ "คืนค่ายทหาร พร้อมจ่ายค่าเสียหายและค่าน้ำค่าไฟให้ประชาชน" รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักกิจกรรมที่ถูกคุมขังจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยเฉพาะแกนนำกลุ่ม "ราษฎร" 4 คนที่ตกเป็นจำเลยคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ และไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี ทำให้ต้องอยู่ในเรือนจำมา 20 วันแล้ว

ผู้ชุมนุมถือธงบนอนุสาวรีย์

ตั้งแต่ช่วงเช้า เจ้าหน้าที่นำตู้คอนเทนเนอร์และลวดหนามหีบเพลงมาติดตั้งด้านหน้ากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และบนสะพานลอย ถ. วิภาวดีรังสิต เพื่อป้องกันผู้ชุมนุมเข้ามาใกล้เขตทหาร

พล.ต.ต. ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลแถลงข่าวเมื่อเวลา 11.00 น. ว่าพื้นที่การชุมนุมและเดินขบวนของกลุ่มรีเด็มอยู่ในความรับผิดชอบของ สน.พญาไท สน.ดินแดง สน.บางซื่อ และ สน.วิภาวดี พร้อมกับเตือนว่าขณะนี้กรุงเทพฯ ถูกประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้นการชักชวนกันมาร่วมชุมนุมหรือมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมโรค

"การชุมนุมในขณะนี้เป็นความผิดตามกฎหมาย ผู้ที่จะมีส่วนร่วมกระทำผิดกฎหมายมีตั้งแต่ผู้โพสต์ชักชวนหรือการชักชวนด้วยประการใดให้มาร่วมชุนนุม แกนนำ และผู้ชุมนุมทุกคนที่มาร่วมชุมนุม"

เจ้าหน้าที่นำตู้คอนเทนเนอร์และลวดหนามหีบเพลงมาติดตั้งด้านหน้ากรมทหารราบที่ 1 ถ.วิภาวดี
คำบรรยายภาพ,

เจ้าหน้าที่นำตู้คอนเทนเนอร์และลวดหนามหีบเพลงมาติดตั้งด้านหน้ากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และบนสะพานลอย ถ. วิภาวดีรังสิต เพื่อป้องกันผู้ชุมนุมเข้ามาใกล้เขตทหาร

สำหรับการใช้ตู้คอนเทนเนอร์มาเป็นเครื่องกีดขวางนั้น รอง ผบช.น.อธิบายว่าตำรวจพิจารณาตามความเหมาะสมจากพฤติกรรมของผู้ชุมนุม การข่าว และบริเวณที่มีการนัดชุมนุม

พล.ต.ต.ปิยะกล่าวว่าระยะหลังผู้ชุมนุมมีการใช้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่การชุมนุมที่แยกเกียกกายช่วงปลายปี 2563 เรื่อยมาจนถึงการชุมนุมที่หน้าสถานทูตเมียนมาเมื่อวันที่ 1 ก.พ. และการชุมนุมที่หน้าศาลฎีกาเมื่อวันที่ 13 ก.พ.

รอง ผบช.น. ระบุว่าผู้ชุมนุมมีการใช้อาวุธปืน ระเบิดเพลิง ระเบิดควัน และวัตถุไวไฟมากขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ สถานที่ราชการและบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง

"วันนี้มีการนัดหมายว่าจะเคลื่อนขบวนมาที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นบริเวณของค่ายทหาร เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่ง...จึงมีความจำเป็นต้องตั้งเครื่องกีดขวางในบางสถานที่ แต่จะระวังให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด"

ผู้ชุมนุมเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อมุ่งหน้าไปกรมทหารราบที่ 1
คำบรรยายภาพ,

ผู้ชุมนุมเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อมุ่งหน้าไปกรมทหารราบที่ 1

รู้จัก "รีเด็ม"

กลุ่ม "เยาวชนปลดแอก" เปิดตัว "รีเด็ม" เมื่อวันที่ 24 ก.พ. โดยอธิบายว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ "มวลชนร่วมกันเป็นเจ้าของ" และ "ไม่มีแกนนำ ไม่มีการ์ด ไม่มี STAFF ไม่มีรถเวทีที่จะรวมศูนย์ความสนใจ มีเพียงมวลชนที่จะดูแลกันและกัน สามารถร่วมกันลุกขึ้นมาต่อสู้ได้ด้วยการร่วมกันตัดสินใจ"

กลุ่มรีเด็มประกาศ "ธง" ที่พวกเขาเชื่อว่าจะนำเราไปสู่การเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง 3 ข้อ คือ

  • จำกัดอำนาจสถาบันกษัตริย์
  • ปลดแอกประชาธิปไตยขับไล่ทหารออกจากการเมือง
  • ลดความเหลื่อมล้ำด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

ทั้งนี้กลุ่มเยาวชนปลดแอกจะเป็นฝ่ายสนับสนุนและประชาสัมพันธ์การเคลื่อนไหวที่มวลชนเห็นร่วมกัน

ย้อนรอยประเด็นพักบ้านหลวง-พ.ร.บ. โอนอัตรากำลังฯ

ประเด็นเรื่อง "พักบ้านหลวง" ของ พล.อ. ประยุทธ์เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศึกซักฟอกรัฐบาลเมื่อต้นปี 2563 เมื่อพรรคฝ่ายค้านกล่าวหา พล.อ. ประยุทธ์ว่าจงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 ว่าด้วยการขัดกันของผลประโยชน์ เนื่องจากยัง "พักในบ้านพักทหารโดยไม่จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ทั้งที่เกษียณอายุราชการจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกไปตั้งแต่ 1 ต.ค. 2557" ถือเป็นการรับประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐ และไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม

หลังจากนั้น ส.ส.ฝ่ายค้านได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งศาลมีมติเอกฉันท์เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 ว่า พล.อ. ประยุทธ์ไม่ขาดคุณสมบัติความเป็นนายกฯ จากกรณีพักอาศัยในบ้านพักข้าราชการทหารแม้เกษียณอายุไป 6 ปีแล้ว เนื่องจากเป็นไปตามระเบียบภายในของกองทัพบก ศาลยังชี้ด้วยว่ารัฐพึงจัดสรรที่พำนักให้ผู้นำประเทศ เพื่อ "สร้างความพร้อมทั้งสุขภาพกายและจิตใจในการปฏิบัติภารกิจในการบริหารประเทศล้วนเป็นประโยชน์ส่วนรวม"

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย กลุ่ม "ราษฎร" ได้จัดการชุมนุมบริเวณห้าแยกลาดพร้าว แกนนำหลายคนปราศรัยโจมตีมติศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยให้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกฯ กรณีพักบ้านหลวง

ประเด็นนี้ถูกพรรคฝ่ายค้านมาพูดอีกครั้งในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อวันที่ 16-19 ก.พ. ที่ผ่านมา

กราฟิค

สำหรับการคัดค้าน พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562 นั้น เป็นประเด็นที่กลุ่ม "ราษฎร" หยิบมาเคลื่อนไหวเป็นระยะ ๆ ตลอดการเคลื่อนไหวในปี 2563 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการที่สถาบันกษัตริย์มีกองกำลังส่วนตัว

การชุมนุมครั้งล่าสุดที่กลุ่ม "ราษฎร" ชูประเด็นนี้ในการเคลื่อนไหวคือการชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 โดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ "เพนกวิน" หนึ่งแกนนำผู้ชุมนุมได้อ่านประกาศให้ยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯ ของกรมทหารราบที่ 1 และ 11 ซึ่งถูกโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์เมื่อปี 2562 คืนสู่ต้นสังกัดเดิมของกองทัพ เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ ไม่มีส่วนก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของรัฐบาล

"ยกเลิกหน่วยราชการในพระองค์ซึ่งไม่มีความจำเป็น เป็นหนึ่งใน 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันของเรา" พริษฐ์กล่าวในการชุมนุมวันนั้น ซึ่งต่อมาได้มีแกนนำและผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งถูกแจ้งข้อหาดำเนินคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

How to mob ; จะไปม็อบวันนี้ ต้องรู้อะไรบ้าง?

LIVE! # สดOverviewExtra ประจำวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 รายงานสด หน้าบ้านพล.อ.ประยุทธ์ หน้าราบ1


1:50:00 Spelas nu

lördag 27 februari 2021

กษัตริย์วิกลจริตบ้ากาม ที่ทำประเทศเป็นคุกขังคนเดือดร้อนกันทั้งประเทศ...

ขณะที่ตัวเองออกงานมานั่งลอยหน้าลอยตาอยู่กับเมียน้อยเมียหลวงทำเป็นทองไม่รู้ร้อนไม่มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของการเป็นประมุขของประเทศ   แต่ทำตัวเป็นหัวหน้าแก็งมาเฟียออกคำสั่งให้ยัดเยียดข้อหาเด็กนักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย  โดนจับเข้าคุกโดยยังไม่มีการตัดสินว่ามีความผิด...  

นับเป็นกษัตริย์ที่ชั่วช้าเลวทรามที่สุดแห่งยุค(สังคมโลกสมัยใหม่)   แล้วคุณจะมานั่งเป็นกษัตริย์ให้มันหนักแผ่นดินไปทำไม   วชิราลงกรณ์คุณลาออกจากการเป็นกษัตริย์ได้แล้ว   ก่อนที่ประชาชนจะใล่คุณออก ที่เยอรมันเขาก็ไม่ต้องการคุณแล้ว ลาออกไปเถอะอย่าทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องทุกข์ยากระกำลำบากไปมากกว่านี้อีกเลย ..  

 

 

 

 

 

 

ผู้ใดใช้ภาษา "ประทุษร้ายความรู้สึก" ของฝ่ายอนุรักษนิยม ก็สุ่มเสี่ยงต่อการตกที่นั่งผู้ถูกกล่าวหา-ผู้ต้องหา-จำเลย

อิสระ ชูศรี มองขบวนการ “ราษฎร” ผ่านคำหยาบ ราชาศัพท์ และการกลับมาของคดี ม. 112

  • เรื่องโดย หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
  • วิดีโอโดย ราชพล เหรียญศิริ, ภานุมาศ สงวนวงษ์ ผู้สื่อข่าววิดีโอ
112

ความเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยและให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" เกิดขึ้นข้ามปี จาก 2563 ถึง 2564

จากเคยพูดไม่ได้ หลายเรื่องพูดได้มากขึ้น

จากแกนนำการชุมนุมที่รับบท "ผู้ปราศรัย" หลายคนตกที่นั่ง "ผู้ต้องหา" และ "จำเลย" คดีความมั่นคงในปัจจุบัน

แม้การปฏิรูปสถาบันฯ ยังไม่เกิดขึ้นตามข้อเรียกร้องของขบวนการราษฎร แต่การปฏิรูปคำศัพท์การเมืองเกิดขึ้นแล้ว

"เพราะทัศนะมันเปลี่ยนไง" ดร. อิสระ ชูศรี อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวกับบีบีซีไทย

นักภาษาศาสตร์ผู้หลงใหลในการเมืองเรื่องภาษา มองการชุมนุมของกลุ่มราษฎรผ่านคำศัพท์ ปรากฏการณ์ใหม่ในแวดวงภาษาที่เขาพบคือการที่เยาวชนลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ผู้ครองอำนาจการเมืองด้วยภาษาที่แสดงระยะห่างความเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ เช่น พูดถึงรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี ด้วยการใช้คำผรุสวาท คำล้อเลียน หรือจงใจใช้คำไม่สุภาพเพื่อสะท้อนความรู้สึกไม่พอใจ ซึ่งเท่ากับการไม่ยอมรับลำดับชั้นทางสังคม

ด้วยเพราะภาษาไทยไม่ได้มีมิติเนื้อหาการพูดเพียงอย่างเดียว แต่ยังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูด-ผู้ฟัง-คู่สนทนา-บุคคลที่สามที่กล่าวถึง ผู้พูดจึงต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะของคู่สนทนา ทว่านี่คือความสัมพันธ์แบบดั้งเดิมที่ ดร.อิสระ เห็นว่าผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรไม่ต้องการรักษาไว้ จึงพยายามลดความนอบน้อม-ยอมรับ สะท้อนผ่านคำปราศรัยหรือป้ายข้อความที่ปรากฏในพื้นที่ชุมนุม

protest

คำสรรพนามสะท้อนภาพ "คนไม่เท่ากัน"

หนึ่งในปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อลดช่วงชั้นทางสังคม จึงกระทำผ่านการหยิบฉวยราชาศัพท์มาใช้กับสามัญชน เช่น นำคำว่า "สมเด็จ" มาใช้เรียกอาจารย์บางคนเพื่อยั่วล้อ

"ผลของการใช้แบบสลับที่ ทำให้หน้าที่ของมันในการเป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าคนที่กล่าวถึงเป็นผู้มีฐานะสูงทางสังคม ก็กลายเป็นสูญเสียหน้าที่นั้นไป" นักภาษาศาสตร์กล่าว

ไม่ต่างจากคำสรรพนามที่ถูกขบวนการราษฎรตีความใหม่-โต้แย้ง หลังเห็นอำนาจแฝงในคำเหล่านั้น ซึ่งสะท้อนภาพ "คนไม่เท่ากัน"

ดร. อิสระ ชูศรี วาดแผนภาพประกอบการอธิบายทฤษฎีภาษาทางสังคม
คำบรรยายภาพ,

ดร. อิสระ ชูศรี วาดแผนภาพประกอบการอธิบายทฤษฎีภาษาทางสังคม เพื่อชี้ว่าภาษาคือการกระทำอย่างหนึ่งที่ไม่ได้เป็นแค่คำพูด แต่ยังสะท้อน "อำนาจ" และ "ความใกล้ชิด/ความห่างเหิน"

อาจารย์อิสระหยิบยกทฤษฎีภาษาทางสังคมขึ้นมาอธิบาย เพื่อชี้ให้เห็นว่าภาษาเป็นเครื่องหมายของความสัมพันธ์ เส้นแนวตั้งสะท้อน "อำนาจ" ยิ่งสูงยิ่งฐานะสูง ส่วนเส้นแนวนอนสะท้อนระยะ "ความห่างเหิน" ยิ่งใกล้ยิ่งสนิท ยิ่งไกลยิ่งห่างเหิน โดยมีคำสรรพนามเป็นเครื่องหมายบ่งบอกความยอมรับในสถานะ

"ถ้าเราต้องการบอกว่าอีกฝ่ายมีสถานะสูงกว่าเรามาก ๆ เราจะไม่พูดถึงตัวเขาตรง ๆ แต่จะพูดถึงสิ่งที่ต่ำของเขา อย่างเมื่อก่อนมีคำว่า 'ใต้เท้า' ใช้เรียกข้าราชการระดับสูงหรือหัวหน้าที่มีตำแหน่งสูง ส่วนเราเป็นผู้น้อยก็ต้องเรียกแทนตัวเองว่า 'กระผม' ผมคือส่วนที่สูงของเรา เท้าคือส่วนที่ต่ำของเขา แต่ถ้ากล่าวถึงพระมหากษัตริย์ ส่วนที่ต่ำกว่าเท้าลงไปอีกก็คือฝุ่นที่อยู่ใต้เท้า เวลากล่าวถึงพระมหากษัตริย์จึงกล่าวว่า 'ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท' ส่วนตัวเราก็คือ 'กระหม่อม'.." ดร. อิสระยกตัวอย่าง

royalist

"ราษฎรสาสน์" สื่อความพิเศษของกิจกรรม-ผู้รับ

แม้เห็นว่ากลุ่มราษฎรไม่ยอมรับการใช้ภาษาที่สะท้อนความสัมพันธ์ไม่เท่าเทียม แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาวัย 52 ปี มิอาจคาดเดาว่ากิจกรรม "เขียนจดหมายยื่นถึงกษัตริย์" เมื่อ 8 พ.ย. 2563 เป็นความจงใจสื่อสารแนวใหม่ด้วยการใช้คำว่า "ยื่น" แทนคำว่า "ทูลเกล้าฯ ถวาย" "ถวายฎีกา" หรือเป็นการใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องแปลก-ใหม่-ไม่เคยมีมาก่อนในสังคมการเมืองไทย ทั้งตัวกิจกรรมที่เป็นการสื่อสารระหว่างราษฎรกับพระมหากษัตริย์ในพื้นที่สาธารณะ และตัวข้อร้องเรียนซึ่งเป็น "เอกสารทางการเมือง"

นอกจากฝ่ายกลุ่มเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันฯ ที่เคลื่อนขบวนไปส่ง "ราษฎรสาสน์" ผ่านสำนักพระราชวัง ยังมีประชาชนเสื้อเหลืองที่ประกาศตัวเป็น "ผู้พิทักษ์สถาบันฯ" นัดหมายส่ง "ประชาสาสน์" ด้วยเขียนข้อความถวายกำลังใจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในวันเดียวกัน

คำว่า "สาสน์" ที่เคยใช้สื่อถึงจดหมายของประมุขประเทศ หรือประมุขคณะสงฆ์ จึงถูกประชาราษฎร์ทั้งสองฝ่ายหยิบยืมคำมาใช้ไปมา

"ปกติยื่นให้รัฐบาลเขาเรียกว่า 'ยื่นข้อเรียกร้อง' แต่การยื่นข้อเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ไม่มีมาก่อน ดังนั้นจะเรียกมันด้วยชื่อปกติ ก็อาจไม่สะท้อนความพิเศษของกิจกรรมเท่าไร.. จริง ๆ 'สาสน์' ก็แปลว่าจดหมายนั้นล่ะ แต่ถ้าบอกส่งจดหมายก็ไม่สะท้อนว่าเป็นการส่งถึงบุคคลที่มีความพิเศษ ไม่สะท้อนผู้รับ การใช้คำพิเศษก็สะท้อนว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งพิเศษ" ดร. อิสระระบุ

ป้ายไวนิลขนาดใหญ่เป็นรูปซองจดหมายถึงกษัตริย์วชิราลงกรณ์
คำบรรยายภาพ,

ป้ายไวนิลขนาดใหญ่เป็นรูปซองจดหมายถึง "กษัตริย์วชิราลงกรณ์" เคลื่อนไปพร้อมกับขบวนการ "ราษฎร" จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มุ่งหน้าสำนักพระราชวัง เมื่อ 8 พ.ย.

"ในหลวงสู้ ๆ" สู้กับใครล่ะ

ไม่เพียงฝ่ายเยาวชนหัวก้าวหน้าที่ฉีกขนบจารีตการสื่อสารแบบไทย ๆ แต่มวลชนฝ่ายอนุรักษนิยมก็ยังกล่าวถวายพระพรแนวใหม่ ด้วยการเปล่งเสียง "ในหลวงสู้ ๆ" แทน "ทรงพระเจริญ"

ปรีชา ชายผู้เป็นสมาชิก "ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน" (ศปปส.) เคยเฉลยที่มาของคำว่า "ในหลวงสู้ ๆ" กับบีบีซีไทยว่า "มีทหารราชองครักษ์เป็นคนมาบอกเองว่า 'ตอนพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมา ให้กล่าวว่าในหลวงสู้ ๆ เป็นการให้น้ำพระทัยท่าน'... ก็มีพสกนิกรกลุ่มที่นั่งอยู่ใกล้ ๆ ลุงตะโกนคำนี้ออกไป"

บีบีซีไทย ไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์

ปรีชาและภรรยาเป็นส่วนหนึ่งของพสกนิกรที่สวมใส่เสื้อสีเหลืองไปรอเฝ้ารับเสด็จฯ ในหลวง ร. 10 และพระราชินี เมื่อ 23 ต.ค. 2563 และ 1 พ.ย. 2563 ซึ่งทั้งสองวันมีผู้เปล่งเสียงถวายพระพรวิถีใหม่

ทฤษฎีเดิมว่าด้วยภาษาแสดงความสัมพันธ์ถูก ดร. อิสระยกมาอธิบายปรากฏการณ์นี้ โดยชี้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการนำคำเครือญาติ หรือคำที่สะท้อนความใกล้ชิดมาใช้กับชนชั้นสูง เพื่อสะท้อนความรู้สึกของคนจำนวนหนึ่งที่มองว่าสถาบันฯ มีความใกล้ชิดกับประชาชน

"พอมันใกล้ ก็เลยเหมือนเป็นคำธรรมดา 'สู้ ๆ' ปกติเราไปใช้ในกีฬาสี หรือใช้เชียร์นักกีฬาที่เราชอบ หรือให้กำลังใจนักการเมืองที่เราสนับสนุน แต่พอมาใช้กับพระมหากษัตริย์ซึ่งเรายกย่องไว้ในสถานะที่สูง มันเลยกลายเป็นการไปใช้คำที่มันปะปนกัน" ดร. อิสระกล่าว

พสกนิกรได้ไปรอเฝ้าฯ รับเสด็จในหลวง พร้อมป้ายข้อความถวายพระพร
คำบรรยายภาพ,

พสกนิกรรอเฝ้าฯ รับเสด็จในหลวง เมื่อ พ.ย. 2563 พร้อมป้ายข้อความถวายพระพร

อาจารย์ผู้สอนการวิเคราะห์ความหมายในระดับไวยากรณ์และคำมองเห็นความยุ่งยากตามมาจากการใช้ภาษาที่นำไปสู่การแบ่งพวกเขา-พวกเรา และมองเป็นเรื่องไม่เหมาะสม

"กลายเป็นว่าฝ่ายที่ไม่ชอบพวกราษฎร หรือพวกนักศึกษาเยาวชน ไปตีเส้นเสียแล้วว่าพระมหากษัตริย์เป็นของฉัน พอเป็นของฉันก็ไม่ใช่ของคุณ คุณรู้ได้ยังไงว่าอีกฝ่ายหนึ่งเขาไม่เห็นว่าพระมหากษัตริย์เป็นของเขา เพราะพระมหากษัตริย์ก็เป็นของคนไทยทั้งประเทศ ฉะนั้นคนที่ใช้ก็มีผลเสียมากกว่าผลดี เวลาเราบอกว่า 'ในหลวงสู้ ๆ' สู้กับใครล่ะ ดังนั้นคนที่ไปเชียร์หรือใช้คำพวกนี้ ด้านหนึ่งตัวเองอาจรู้สึกดีที่ได้แสดงการให้กำลังใจ แต่ด้านที่เป็นผลลบก็คือคุณนำเอาพระมหากษัตริย์ไปเป็นส่วนหนึ่งของการแยกฝักฝ่าย" ดร. อิสระให้ความเห็น

สถานะของพระราชดำรัสที่ "กำกวมขึ้น"

อีกปัญหาที่นักภาษาศาสตร์ผู้มีทัศนะก้าวหน้าคิดว่าเป็นผลสืบเนื่องกัน หนีไม่พ้น การเผยแพร่และอ้างถึงพระราชดำรัสของฝ่ายอนุรักษนิยมเพื่อสนับสนุนจุดยืนทางการเมืองของตน

จากเคยถูกอัญเชิญ-น้อมนำไปเป็นโอวาทให้พึงคิด ไตร่ตรอง และปฏิบัติตาม สถานะของพระราชดำรัสจึง "กำกวมขึ้น" เมื่อถูกหยิบไปใช้ในบริบทต่างออกไปในพื้นที่ชุมนุมและโลกออนไลน์ ทะยานขึ้นเป็นแฮชแท็กยอดนิยมในทวิตเตอร์ไทย อาทิ #กล้ามากเก่งมากขอบใจ #ต้องช่วยกันเอาความจริงออกมา

การขับเคี่ยวในทางความหมายจึงเกิดขึ้นจากสองฝ่ายที่ขับเคี่ยวกันในทางการเมือง

"เมื่อฝ่ายรอยัลลิสต์ใช้ มันเลยทำให้พระราชดำรัสถูกแฝงไว้ด้วยการเมือง ฝ่ายที่นำมาใช้ก่อนนั่นแหละคือคนสร้างโอกาสให้เกิดการใช้ในความหมายตรงกันข้าม เมื่อมันถูกใช้ในหน้าที่การเมืองเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน ย่อมเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายนำไปใช้ในอีกแง่หนึ่ง ดังนั้นผู้เรียกร้องว่าไม่ควรนำสถาบันฯ มาเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมือง ก็เพราะเขามองเห็นสิ่งนี้ เห็นความไม่ปลอดภัยในการใช้พระราชดำรัสเพื่อสนับสนุนจุดยืนทางการเมือง" ดร. อิสระกล่าว

เมื่อความรู้สึก = ความมั่นคง

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าการใช้ถ้อยคำสื่อสารความคิดของนักศึกษาและนักกิจกรรมการเมืองบางส่วน ได้นำไปสู่การตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

หลายกรณี ดร. อิสระเห็นว่าเป็นการแจ้งข้อกล่าวหา "ตามความรู้สึก" ด้วยเพราะมาตรา 112 ถูกจัดให้อยู่ในหมวดความมั่นคงรัฐ ใคร ๆ ก็ไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษได้ และผู้แจ้งความคือผู้ประเมินว่าถ้อยคำนั้นเข้าข่ายผิดมาตรา 112 หรือไม่ ซึ่งในการประเมินย่อมอิงอยู่กับความรู้สึกเคารพนับถือสถาบันฯ และทำให้เกิดคดีโดยไม่จำเป็น

"มีการมองกันว่าอะไรก็ตามที่เป็นการสั่นคลอนสถาบันฯ มันส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ดังนั้นความรู้สึกของประชาชนก็เลยกลายเป็นเรื่องความมั่นคงไปด้วย"

ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ความมั่นคง" ถือเป็น "ภาษาของการกระทำ" ที่รัฐใช้ควบคุม-ปิดกั้นการโต้เถียง-โต้แย้งในประเด็นที่ไม่ต้องการให้เกิดข้อถกเถียงในสังคม

ดร. อิสระ ชูศรี เป็นพยานคดี 112 รวม 4 คดี ในจำนวนนี้มี "คดีโพสต์เหรียญกษาปณ์" และ "คดีจ้า" ของแม่จ่านิวด้วย
คำบรรยายภาพ,

ดร. อิสระ ชูศรี เป็นพยานคดี 112 ของฝ่ายจำเลยรวม 4 คดี ในจำนวนนี้มี "คดีโพสต์ขายเหรียญกษาปณ์" และ "คดีจ้า" ของแม่จ่านิวด้วย

ในฐานะพยานฝ่ายจำเลยคดี 112 ซึ่งเกิดขึ้นหลังรัฐประหารปี 2557 อย่างน้อย 4 คดี เขาพบว่าคำกริยาที่ฝ่ายอนุรักษนิยมใช้กล่าวหาฝ่ายที่แสดงออกเกี่ยวกับสถาบันฯ ไปไกลกว่าข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย โดยอ้างถึงการ "จาบจ้วง หมิ่นพระเกียรติ ลบหลู่ ล้อเลียน เสียดสี" ซ้ำยังตีความขยายขอบเขตการคุ้มครองเกินกว่า 3 บุคคล ไม่เช่นนั้นคงไม่เกิด "คดีหมิ่นสุนัขทรงเลี้ยง" หรือ "คดีโพสต์ขายเหรียญกษาปณ์"

มาตรา 112 ระบุว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"

การหวนกลับมาของคดี 112 ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 จึงอาจมองได้ว่า ผู้ใดใช้ภาษา "ประทุษร้ายความรู้สึก" ของฝ่ายอนุรักษนิยม ก็สุ่มเสี่ยงต่อการตกที่นั่งผู้ถูกกล่าวหา-ผู้ต้องหา-จำเลย

"ใช่ ๆ" อาจารย์อิสระพยักหน้าสนับสนุน ก่อนโยนคำถามกลับมาว่า หากมองในทางกลับกัน ถ้าผู้จงรักภักดีไม่พยายามดึงเอาสถาบันฯ มาสนับสนุนตัวเองตลอดเวลา ถามว่ามันจะเกิดเรื่องนี้ไหม ตกลงไก่เกิดก่อนไข่ หรือไข่เกิดก่อนไก่

royalist

"ฝ่ายที่แจ้งความต้องการลงโทษ แค่ทำให้เป็นคดีก็เหมือนเป็นการลงโทษแล้ว ทำให้อีกฝ่ายต้องสูญเสีย ต้องลำบาก ต้องถูกจับกุม ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ทำให้ปัญหาทางการเมืองถูกแก้โดยกฎหมาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีเยอะขนาดนี้"

จึงไม่แปลกหากฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 ขณะที่อีกฝ่ายล่าชื่อประชาชนให้คงไว้

คำหยาบสร้างความเท่าเทียม เป็นการมองที่ผลลัพธ์

ความขัดแย้งทางสังคม-การเมืองได้นำไปสู่ความขัดแย้งเชิงภาษาอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง ในขณะที่ "คนรุ่นใหม่" ปลดปล่อยอารมณ์หลากหลายในพื้นที่ชุมนุม ซึ่ง ดร. อิสระย้ำว่าการใช้ภาษาแสดงความรู้สึกเป็นมาตรฐานใหม่ของการปราศรัยและสื่อสารทางการเมืองเมื่อปีก่อน "พอมีมิติอารมณ์ความรู้สึกเพิ่มขึ้น คำหยาบคายย่อมเพิ่มขึ้น" แต่นั่นได้ทำให้ "คนรุ่นก่อน" บางส่วนรู้สึกแสลงหู พร้อมเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมลดความเกรี้ยวกราด ก้าวร้าว รุนแรง สุดโต่ง แล้วหันมาชี้แจงแสดงเหตุผลสนับสนุนข้อเรียกร้องทางการเมืองแทน

"มีความพยายามอธิบายว่าการใช้ภาษาหยาบคายเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม ผมมองว่านั่นก็เป็นการมองที่ผลมากกว่า สมมติเราใช้คำหยาบคายกับคนที่ปกติเราควรให้เกียรติ แปลว่าเราไม่ให้เกียรติเขาต่อไป เราดึงเขามาอยู่ในฐานะที่ต่ำลงมา แต่ถามว่าเราทำอย่างนั้นเพราะอะไร ทีแรกอาจไม่ได้คิดถึงความเท่าเทียมก็ได้ คือโกรธ ไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจก็ด่า ก็ว่า ก็ใช้คำที่ไม่ให้เกียรติอีกต่อไป ผลลัพธ์คือเราไม่ให้ความนับถือในฐานะเดิมของเขาอีกต่อไป ดังนั้นคนที่บอกว่ามันทำลายช่วงชั้นทางสังคมก็คือการมองที่ผลลัพธ์" เขาบอก

อย่างไรก็ตามการให้เกียรติ-ไม่ให้เกียรติใครถือเป็นทัศนะส่วนบุคคล หาได้ทำลายความรู้สึกเชื่อถือศรัทธาของคนที่อยู่ "นอกวงม็อบ" ไม่ แต่ทันทีที่คนกลุ่มหนึ่งแสดงอาการไม่ยอมรับผู้มีสถานะสูง สังคมก็เข้าสู่ภาวะไร้ฉันทามติ

pm

"สมมติว่าคนในสังคมเดิมมองว่าคนที่อยู่ในตำแหน่งนายกฯ หรือประธานสภาควรถูกกล่าวถึงด้วยคำสุภาพเพื่อสะท้อนการให้เกียรติในตำแหน่งทางการ แต่ถ้าคนกลุ่มหนึ่งไม่ทำแบบนั้น ฉันทามติก็หายไป ทีนี้มันจะหายไปถาวรหรือไม่ ก็ขึ้นกับปริมาณของคนที่เห็นไปในทางใดทางหนึ่ง" นักภาษาศาสตร์กล่าว

ขยายแนวร่วมทางอุดมการณ์ ต้องเพิ่มข้อมูล นอกจากอารมณ์

หากถามว่าคำศัพท์ที่ปรากฏในการชุมนุมของเยาวชนมีส่วน "รื้อคิดความเป็นไทย" และ "ด้อยค่าชนชั้นนำ" มากน้อยแค่ไหน

นักวิชาการด้านภาษาตอบว่า มุมมองต่อสถาบันทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม เปลี่ยนไปนานแล้ว ภาษาเป็นแค่ตัวบ่งชี้เฉย ๆ เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ได้มองผู้ใหญ่ ครู ผู้ปกครอง ด้วยสายตาคู่เดิมอีกต่อไป และความนับถือก็ไม่ได้มาพร้อมความอาวุโส

"เขาอาจยังนับถือผู้ใหญ่บางคน แต่ความนับถือนั้นไม่ได้มาโดยอัตโนมัติเหมือนอย่างสมัยก่อน เขาอาจรู้สึกว่าถูกหลอกลวง เอารัดเอาเปรียบ ปล้นอนาคต ดังนั้นแทนที่จะยอมรับนับถือผู้ใหญ่ กลับรู้สึกว่าถูกหักหลัง ผู้ใหญ่ไม่ทำสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำ ผู้ใหญ่ทำอะไรอยู่" อาจารย์อิสระวิเคราะห์

นี่อาจเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาแสดงบทบาททางการเมืองบนท้องถนน เพื่อชำระสะสางสารพัดปัญหาตามคำขวัญที่ว่า "ให้มันจบที่รุ่นเรา"

"ถ้าคนเป็นผู้ใหญ่รู้สึกไม่โอเค อาจจะตั้งธงใหม่ว่าการเมืองสำหรับคนอีกกลุ่มอาจไม่เหมือนเราก็ได้.. ผมอาจไม่คุ้นกับภาษาเยาวชน แต่ก็เพราะเขาโกรธอยู่ไง คนที่โกรธก็ต้องใช้ภาษาแบบนี้ สิ่งควรคิดคือทำไมเขาถึงโกรธมากกว่า" ชายวัย 52 ปีซึ่งเป็นทั้ง "ครู" และ "พ่อ" ชี้ชวนให้คนรุ่นเขาลองมองอีกมุม

studeant activist
คำบรรยายภาพ,

ดร. อิสระบอกว่า การสื่อสารของกลุ่ม "นักเรียนเลว" เข้าถึงเขาดีที่สุด และรู้สึกสนใจการเลือกใช้วิธีดีเบต มากกว่าการร้องขอผู้ใหญ่ให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้

ท่ามกลางวิกฤตการเมืองที่ทำให้ใครหลายคนรู้สึกถึงการ "อยู่ยาก" ดร. อิสระเห็นว่าอารมณ์ขบขันจะทำให้เรา "อยู่ได้" และเห็นว่าอารมณ์โกรธจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แต่ในจังหวะที่กลุ่มราษฎรจำเป็นต้องขยายแนวร่วมทางอุดมการณ์ออกไป เขาเห็นความจำเป็นในการเพิ่มจุดเน้นด้านความคิด ข้อเท็จจริง ข้อมูล นอกเหนือจากการปลดปล่อยอารมณ์

"หากเรามีความสนใจร่วม จุดยืนร่วม ความคิดร่วมกัน การไปเน้นอารมณ์ความรู้สึกอาจไม่ได้มีผลกับเรา ประสิทธิผลขึ้นกับว่าการสื่อสารนั้นไปทำให้เกิดการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามไปด้วยหรือเปล่า" เขาให้ข้อสังเกตทิ้งท้าย