lördag 28 juli 2018

การเกิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ *กรณีลอบปลงพระชนม์*

ย้อนรอยประวัติเก่า เรื่องเก่าเล่าใหม่
บท: ดารณี รวีโชติ

4 กรณีลอบปลงพระชนม์ : จากวิกฤตเป็นโอกาส

ในภาวะการณ์ที่ฝ่ายคณะราษฎรเกิดความแตกแยกกันระหว่างฝ่ายทหารจอมพล ป.พิบูลสงคราม กับฝ่ายของปรีดี พนมยงค์ แต่ด้วยนายปรีดีมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยและมีสายตาที่ยาวไกลกว่าจึง ได้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นก่อนเพื่อเตรียมการเคลื่อนมวลชนระดมสมาชิกเพื่อ
ปูทางสู่ชัยชนะในการเลือกที่นายปรีดีเตรียมการผลักดันให้สังคมไทยก้าวเข้า สู่ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ จึงถือเป็นพรรคการเมืองที่เป็นทางการเป็นครั้งแรกในนามพรรคสหชีพและส่งผู้ สมัคร ส.ส.ในนามพรรคในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 ฝ่ายเจ้าก็จัดตั้งพรรคการเมืองเข้าต่อสู้ในนามพรรคประชาธิปัตย์
(จัดตั้ง เมื่อ 6 เมษายน 2489 ซึ่งตรงกับวันจักรี) โดยมีแกนนำสำคัญคือ นายควง อภัยวงศ์ และพี่น้องราชสกุลปราโมช และในการก้าวเข้าสู่การเมืองของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้นก็ได้ประกาศนโยบายชัดแจ้งว่า “จะแอนตี้พวกผู้ก่อการ 2475 ทุกวิถีทาง”Ùและมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เองก็ได้ประกาศเจตนารมณ์ด้วยการเขียนบทความลงในหนังสือประชามิตร(12 ธันวาคม 2488) เรื่อง“ข้าพเจ้าเป็นรอยะลิสต์” โดยยอมรับว่าตนเองเป็นฝ่ายเจ้าและไม่พอใจพวกคณะราษฎร ดังนั้นการปรากฏตัวของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงการ ฟื้นอำนาจทางการเมืองของฝ่ายเจ้าที่ขยายเติบใหญ่ขึ้นอย่างเป็นระบบนับ
ตั้งแต่ต้องเพลี่ยงพล้ำจากการยึดอำนาจของกลุ่มสามัญชนที่ใช้นามว่า “คณะราษฎร” และเพียงสองเดือนหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดหมายมาก่อนคือ กรณีสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ด้วยพระแสงปืน(เมื่อเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน 2489)
ซึ่งกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นด้วยเพราะเป็นเงื่อนงำที่ยากแก่ การไขปริศนาในขณะนั้น และต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ว่าสาเหตุที่แท้จริงเป็นอุบัติเหตุหรือ การลอบปลงพระชนม์กันแน่ จากการวินิจฉัยเหตุการณ์ครั้งแรกในวันนั้น ระหว่างอธิบดีกรมตำรวจ
อธิบดีกรมการแพทย์ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีมหาดไทย พร้อมด้วยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เช่น กรมขุนชัยนาทนเรนทร พระราชชนนี พระราชอนุชา ต่างก็มีความเห็นว่ากรณีนี้เป็นอุบัติเหตุ ดังนั้นสำนักพระราชวังจึงเป็นผู้ออกแถลงการณ์เมื่อ 9 มิถุนายน 2489 มีข้อความว่า “
ได้ความสันนิษฐานว่าคงจะจับคลำพระแสงปืนตามพระราชอัฌชาศัยที่ทรงชอบ แล้วเกิดอุบัทวเหตุขึ้น”Ù แต่ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้กรณีนี้มาเป็นประเด็นการเมืองเพื่อทำลาย ศัตรูทางการเมืองของฝ่ายเจ้าคือ นายปรีดี พนมยงค์Ù บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2489
ไม่ต่างจากบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันที่ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องมือในการทำลายศัตรูทางการเมืองที่ตนไม่อาจเอาชนะทางการเมืองได้ คือกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในขณะนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้เหตุการณ์สวรรคตกล่าวโจมตีว่าเป็นเหตุการณ์ ลอบปลงพระชนม์
โดยตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์อิทธิพลของนายไถง สุวรรณทัต สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เป็นฉบับแรก และตามติดด้วยการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย หนังสือพิมพ์เสรีÙÙ และพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้ประเด็นนี้ขยายพลกลายมาเป็นการโจมตีรัฐบาลของนาย ปรีดี พนมยงค์
และนำประเด็นนี้ไปปราศรัยหาเสียงปลุกปั่นให้เป็นความรับผิดชอบของนายก รัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายเลียง ไชยกาล(ส.ส.ประชาธิปัตย์ในขณะนั้น) ได้ใช้ให้คนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง”Ù ในที่สุดจากแถลงการณ์สำนักพระราชวังว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุก็ได้กลายเป็น
กรณีลอบปลงพระชนม์โดยมีการจับตัวผู้ต้องสงสัยคือทหารมหาดเล็กในวังที่เฝ้า ห้องบรรทมและพรรคพวกขึ้นศาลสืบพยานและขยายผลเป็นประเด็นการเมือง ทำลายฐานการเมืองของฝ่ายปรีดี พนมยงค์ โดยพระพินิจชนคดี พี่เขยของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ปั้นพยานเท็จขึ้นโดยจ้างนายตี๋ ศรีสุวรรณ
เป็นผู้ยืนยันให้การว่าเห็นเหตุการณ์การวางแผนลอบปลงพระชนม์ของนายปรีดี พนมยงค์ และศาลได้ตัดสินประหารชีวิตมหาดเล็กที่เฝ้าห้องบรรทม 2 คน คือนายชิต สิงหเสนี, นายบุศย์ ปัทมศริน และบุคคลภายนอกคือ นายเฉลียว ปทุมรส ที่ถูกป้ายสีว่าเป็นผู้ใกล้ชิดนายปรีดี
ซึ่งต่อมาก่อนที่นายตี๋ ศรีสุวรรณ จะถึงแก่ความตายด้วยโรคชราก็เกรงกลัวบาปจึงได้ไปสารภาพผิดโดยทำบันทึกเป็น เอกสารต่อท่านปัญญานันทภิกขุ เจ้าอาวาสวัดชลประทาน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2522 โดยสารภาพว่าพระพินิจชนคดี(อธิบดีกรมตำรวจและเป็นพี่เขยของมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช)ได้เกลี่ยกล่อมว่าจะให้เงินเลี้ยงนายตี๋จนตาย โดยจะให้เงินจำนวน 20,000 บาท แต่เมื่อให้การแล้ว พระพินิจได้ให้เงินเพียง 500-600 บาท และให้นายตี๋กินอยู่หลับนอนอยู่ที่สันติบาลประมาณสองปีเศษÙ
.................................................................................

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar