torsdag 19 juli 2018

สฤษดิ์ใหญ่หรือสฤษดิ์น้อยก็เกิดมาจากกษัตริย์เป็นผู้สร้างขึ้นทั้งนั้น

 สฤษดิ์ใหญ่หรือสฤษดิ์น้อยก็เกิดมาจากกษัตริย์เป็นผู้สร้างขึ้นทั้งนั้น
 

ไม่ว่าจะเป็นจอมพล สฤษดิ์ ธนรัตน์ ( สฤษดิ์ใหญ่ ) หรือ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ( สฤษดิ์น้อย ) รากเหง้าของที่มาของระบอบเผด็จการก็คือกษัตริย์เป็นผู้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ภูมิพลสนับสนุนให้สฤษดิ์ยึดอำนาจ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยา ๒๕๐๐ แล้วภูมิพลก็แต่งตั้งให้สฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ใช้ม. 17 ปกครองประเทศแบบเผด็จการมาจนวันตายเพื่อต่ออายุให้ระบอบกษัตริย์เผด็จการภูมิพลได้ดำรงคงอยู่ต่อไป ต่อมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ถูกประยุทธ์ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22  พ.ค. 2557  ก็โดยคำสั่งของ วชิลาลงกรณ์ ขณะที่ภูมิพลกำลังจะสิ้นใจตาย แล้วแต่งตั้งให้ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีใช้ระบอบเผด็จการปกครองประเทศโดย ม. 44  อยู่ในเวลานี้  ประยุทธ์เองเขายังพูดว่า "  ถ้าท่านสั่งให้ผมยึดอำนาจผมก็ต้องทำ " แล้วใครสั่งประยุทธ์ได้ ? ถ้าไม่ใช่กษัตริย์  !
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสฤษดิ์น้อยหรือสฤษดิ์ใหญ่ก็มีที่มาจากรากเหง้าอันเดียวกันคือกษัตริย์นั้นเองที่เป็นผู้มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายอยู่ในประเทศนี้  แม้แต่ในเวลานี้วชิราลงกรณ์ก็อาจจะมองหาเด็กรับใช้ตัวใหม่เพื่อขึ้นมาแทนประยุทธ์เพื่อรักษาอำนาจเผด็จการของระบอบกษัตริย์เอาไว้จากตัวอย่างในบทความของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล " เอนก กำลังพยายามสร้าง "ฉันทามติวชิราลงกรณ์"
Somsak Jeamteerasakul
เอนก กำลังพยายามสร้าง "ฉันทามติวชิราลงกรณ์" goo.gl/Ez9Ua8

เอนก กำลังพยายามสร้าง "ฉันทามติวชิราลงกรณ์"

เขาพยายามมาสักระยะหนึ่งแล้ว ความสำคัญของเรื่องนี้ จะต้องไม่ประเมินต่ำ
เช่นเดียวกับที่ไม่ควรประเมินต่ำไป ถึงศักยภาพของสถานะของเขาในขณะนี้ ถ้าการเลือกตั้งครั้งหน้า ลงเอยที่ไม่สามารถหานายกฯจากพรรคใหญ่ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด รวมถึงเหตุผลว่า "ข้างบน" ต้องการเห็น "ความสามัคคี ไม่แตกแยกเป็นฝักฝ่ายอีก" เอนกต้องจัดเป็น "แคนดิเดตอันดับหนึ่ง" ของความเป็น "นายกฯคนกลาง" ในขณะนี้ นี่นับเฉพาะความเป็น "คนกลาง" ไม่ได้นับเรื่องความเป็น "คนนอก" ด้วย ถ้านับเรื่อง "คนนอก" ด้วย ประยุทธ์เป็นอันดับหนึ่ง คือมีทั้งความเป็น "คนนอก" และ "คนกลาง" แต่ประยุทธ์มีปัญหาเยอะมาก ดังนั้น ถ้าไม่นับประยุทธ์ เอนกก็มีศักยภาพของความเป็น "ทางเลือก" อันดับหนึ่งของ "ข้างบน" ภายใต้ข้ออ้างของสถานการณ์ "ทุกฝ่ายสามัคคีกัน หลีกเลี่ยงความแตกแยกที่ผ่านมา" ("ข้างบน" ไม่ชอบอภิสิทธิ์ และก็อาจจะเห็นว่า ถ้าให้เพื่อไทยเป็น ก็จะนำมาซึ่งปัญหายุ่งยากอีก)
นี่พูดในแง่การเมืองเฉพาะหน้า แต่เรื่อง "สร้างฉันทมติวชิราลงกรณ์" ที่เอนกพยายามทำ เป็นอะไรที่มีความสำคัญและความหมายกว้างกว่านั้นอีก "
ดังนั้นประชาชนไม่ควรหลงประเด็นจากเหตุผลและตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าธาตุแท้ของปัญหาที่ทำให้ประเทศชาติและประชาชนถูกกดขี่ขูดรีดเงินทองทรัพย์สินของชาติถูกปล้น สิทธิเสรีภาพ ความเป็นธรรมและประชาธิปไตยในสังคมไม่มีในเวลานี้มีสาเหตุมาจากกษัตริย์ทรราชและเครือข่ายของเขานั้นเอง เราจำเป็นจึงต้องโค่นล้มระบอบป่าเถื่อนของพวกกาฝากสังคมนี้ลงให้ได้เพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติและความอยู่ดีกินดีของพี่น้องชาวไทยทุกคน.
 

 (บทความข่างล่างชี้ให้เห็นถึงภูมิพลสนับสนุนให้สฤษดิ์ยึดอำนาจ)

เกร็ดประวัติศาสตร์เบื้องหลังสฤษดิ์ยึดอำนาจ ๑๖ กันยา ๒๕๐๐
โดย  ญาติวีระชน ๑๔ ตุลา
 

แม้รัชกาลที่ ๙ ได้เป็นกษัตริย์แล้วแต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจมากที่สุดในช่วงก่อนหน้าปี ๒๕๐๐ ทั้งนี้เพราะจอมพล ป. รู้เช่นเห็นชาติพระองค์เป็นอย่างดี จึงมิได้มีความเคารพนับถือแม้แต่น้อย ยิ่งเป็นเผ่า ศรียานนท์ด้วยแล้ว ถึงกับขู่ว่าจะเปิดโปง “กรณีสวรรคต” โดยการจ้างนายสง่า เนื่องนิยม นักไฮปาร์ก สมญา “ช้างงาแดง” ป่าวประกาศกึกก้องกลางสนามหลวงหน้าพระบรมมหาราชวังที่ประดิษฐานของพระเศวตฉัตรว่า จะเปิดเผยตัวผู้ฆ่ารัชกาลที่ ๘ เมื่อมีประชาชนมารอฟังนายสง่า เนื่องนิยมจำนวนมาก นายสง่าก็ปีนขึ้นไปยืนบนที่สูงกลางท้องสนามหลวง ในวันที่ ๒๔ มิ.ย. ๒๕๐๐ และร้องก้องว่า“ผู้ฆ่ารัชกาลที่ ๘ คือ.”...” แล้วเอาแว่นตาขึ้นมาสวมทำท่าประหลาด เพื่อบอกใบ้ให้คนดูรู้ว่าฆาตกรคือ รัชกาลที่ ๙ โดยไม่พูดอะไรอีก แม้นายสง่าแสดงกิริยาเช่นนี้ ตำรวจของเผ่าก็มิได้จับตัวนายสง่าไปลงโทษแต่อย่างใด (นายสง่าถูกจับตัวไปลงโทษภายหลังในสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์)
ส่วนจอมพล ป. มีมาดที่สุขุมกว่านี้ ต่อหน้าประชาชนแล้ว จอมพล ป. จะย้ำว่าตนจงรักภักดีกษัตริย์ แต่ในที่ลับนั้นจอมพล ป. ได้เตรียมการที่เปิดโปง รื้อฟื้นการพิจารณาคดีสวรรคตขึ้นมาใหม่(๑) ซึ่งสิ่งนี้รัชกาลที่ ๙ ทนไม่ได้ จึงเปิดตัวออกมาเล่นการเมืองอย่างเปิดเผย ในวันที่ ๒๕ ม.ค. ๒๔๙๘ ทรงเริ่มปราศรัยในวันกองทัพบกว่าทหารไม่ควรเล่นการเมือง รัฐบาลจึงได้นำเอาบทความของ ดร.หยุด แสงอุทัย ออกอากาศทางวิทยุ แสดงความเห็นว่า “องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดที่เป็นปัญหาหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมือง หรือทางสังคมของประเทศโดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ...”    เพื่อเป็นการโต้ตอบ พวกศักดินาเคียดแค้นบทความนี้มาก พากันโจมตีเป็นการใหญ่ รัชกาลที่ ๙ ฉวยโอกาสที่มีประชาชนไม่พอใจนโยบายเผด็จการของจอมพล ป. กันมากเป็นเครื่องมือรุกทางการเมือง โดยไม่ยอมลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งส.ส. ประเภท ๒ ตามที่รัฐบาลจอมพล ป. เสนอไป ในขณะเดียวกันก็พยายามทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสฤษดิ์ ธนะรัชต์กับตนเองกระชับมากขึ้น และแล้วสฤษดิ์ก็ร่วมมือกับรัชกาลที่ ๙ ด้วยการพาเอาพรรคพวกลาออกจากการเป็น ส.ส.ประเภท ๒ เป็นจำนวนมาก และไม่ยอมสนับสนุนจอมพล ป. อีกต่อไป
แปลกเป็นชื่อตัวของจอมพลหลวงพิบูลสงคราม  ผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในการประฏิวัติประชาธิปไตยศักดินาเมื่อ 2475   พล ตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นอดีดอธิบดีกรมตำรวจและเป็นอดีดเลขาธิการพรรคเสรีมนังคสิลาซึ่งมีแปลก เป็นหัวหน้า  ผิน ชุณหวันเป็นพลเอกและเป็นอดีดผู้บัญชาการทหารบก นอกจากนั้นยังมีอดีดผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอกหลวงยุทธศาสตร์โกสล และอดีดผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก ฟื้นฤทธาณี ร่วมด้วยอย่างแข็งขัน เรียกกันว่า ” กลุ่มของราชครู ” พลเอก ผิน ชุณหวัน เป็นหัวหน้า ในการยึดอำนาจในปี ๒๔๙๐ ระบอบการปกครองประชาธิปไตยตามรัฐธรรม ๒๔๗๕ ที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญก็สิ้นสุดลงตั้งแต่บัดนั้นมาการปกครองแบบ ประชาธิปไตยได้เปลี่ยนมาเป็นระบอบราชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือรัฐ ธรรมนูญแทน
รัฐบาล แปลก เผ่าทำการกวาดล้างนักการเมืองฝ่ายค้านอย่างรุนแรง คดีสยองขวัญเช่นการยิงทิ้งสี่อดีตรัฐมนตรีจากภาคอิสานที่ซานกรุงเทพ  โดยอ้างว่าย้ายที่คุมขังจากคุกกลางเมืองไปไว้นอกเมือง และถูกโจรจีนมลายูแย่งตัวกลางทาง  นักการเมืองฝ่ายค้านหัวเห็ดคนหนึ่งจากภาคอิสานเช่นกันได้ถูกพาตัวจากกรุงเทพ ไปช้อม ทารุณและถูกย่างสดในป่าห่างจากกรุงเทพไปทางตะวันตกประมาณ 100 กิโลเมตร

ก่อนที่ราชองครักษ์ 3 คนที่ถูกศาลตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยข้อหาว่าสมรู้ร่วมคิดในคดีฆาตกรรมยุวกษัตริย์อานันท์รัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นพีชายของกษัตริย์ภูมิพลนั้น  คนหนึ่งได้ขอพบเผ่าเป็นส่วนตัวและได้พูดกับเผ่าตามลำพังประมาณ 10 นาที เมื่อหนังสือพิมพ์ได้ถามหลังการประหารสามคนนั้นแล้วว่าได้คุยกันเรื่องอะไร บ้าง เผ่าไม่ยอมตอบ แน่นอนเผ่าต้องรู้ว่าใครเป็นฆาตกรโหดในคดีดังกล่าว และไม่เป็นที่น่าสงสัยอะไรเลยว่า   เผ่าจะไม่ได้บอกเพื่อนสนิทให้รู้ความลับนี้ในจำนวนเหล่านั้นแน่ละมี แปลก สฤษดิ์ และประภาสรวมอยู่ด้วย
เมื่อปี 2500 มีการเลือกตั้งทั่วไปพรรคเสรีมนังคสิลาโกงการเลือกตั้งทุกวิถีทาง  โอกาสของ

กษัตริย์ภูมิพลที่คอยอยู่นานก็ได้มาถึง  เมื่อประชาชนเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งที่สกปรกนั้น
แน่ ละ ซี ไอ เอ เห็นท่าว่าจะไม่สู้ดีเท่าไหร่นักที่จะให้แปลกและเผ่าอยู่ในอำนาจต่อไป  จอมพลสฤษดิ์ได้ออกมายืนอยู่แถวหน้าของขบวนประชาชนนำทหารออกมาตั้งแถวต้อนรับ ขบวนประท้วง โดยไม่ทำร้ายใครเหตุการณ์คราวนั้นทำให้สฤษดิ์กลายเป็นขวัญใจของประชาชน  จากคำบอกเล่าของอดีตนายทหารคนสนิทคนหนึ่งของสฤษดิ์  กษัตริย์ยืนอยู่เบื้องหลังสฤษดิ์อย่างกระวนกระวายใจความขัดแย้งอย่างรุณแรง ระหว่างผู้นำตำรวจกับผู้นำทหารสมัยนั้นปรากฏเป็นข่าวอยู่บอ่ยๆโดยเฉพาะการ ค้าฝิ่นค้าของเถื่อนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นๆ  ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีเครื่องมือและอุปกรณ์จากอเมริกาพอฟัดพอเหวี่ยงกันทั้งทางบกทางเรือและทางอากาสตลอดจนกำลังคน
เผ่าวางแผนจะทำรัฐประหารกลางเดือนกันยายน 2500 ความทะเยอทะยาน ของพลเอกเผ่าที่ยึดอำนาจนี้ก็เพื่อจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบ สาธารณะรัฐโดยจะเชิดให้ จอมพล ป. ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่งจอมพล ป.เองก็มีแนวคิดและแผนการณ์อย่างนั้นอยู่แล้วพอได้โอกาศ แปลก จึงได้ขอเข้าพบกษัตริย์ภูมิพลเพื่อแจ้งความประสงค์ว่าจะรื้อฟื้นคดีปรงพระชน ร. ๘ ขึ้นมาพิจารณาใหม่เพราะได้หลักฐานมาใหม่ ทำให้กษัตริย์ภูมิพลต้องนิ่งอึ้งพระพักตร์เปลี่ยนสีไปทันที่  เมื่อจอมพล ป.ได้แจ้งความประสงค์ให้กษัตริย์ทราบแล้วก็ลากลับออกจากพระราชวัง   และ ในวันเดียวกันนั้นกษัตริย์ภูมิพลก็ได้เรียกให้สฤษดิ์เข้าพบและบอกว่า แปลกขอปลดสฤษดิ์ออกจากตำแหน่ง สฤษดิ์จึงชิงยึดอำนาจในวันเดียวกันก่อนเผ่าไม่กี่ชั่วโมง คือวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ เวลา ๑๙ นาฬิกา  ซึ่งแผนกาณ์ยึดอำนาจของเผ่าเป็นเวลา ๒๑ นาฬิกาในวันเดียวกัน

นับ ว่ากษัตริย์ภูมิพลเอาตัวรอดมาได้อย่างหวุดหวิด   ถ้าสฤษดิ์ไม่ชิงยึดอำนาจเสียก่อนปล่อยให้เผ่ามีโอกาศทำตามแผนการณ์ยึดอำนาจ ของเขาประวัติศาสตร์ชาติไทยคงเปลี่ยนเป็นอีกหน้าใหม่คงได้เป็นประเทศสาธารณะ รัฐตั้งแต่นั้นมา  คดีสวรรคต ร. ๘ คงได้ถูกพิจารณาอย่างเป็นธรรมตามหลักฐานพะยานที่เป็นจริงตามตัวบทกฏหมาย ฆาตกรตัวจริงก็คงจะโดนถอดออกจากการเป็นกษัตริย์ คงจะต้องถูกศาลพิพากษาให้ติดคุกติดตะรางหรือถึงต้องประหารชีวิตให้ตกตายไป ตามกัน บัลลังก์ของกษัตริย์ภูมิพลก็คงสิ้นสลาย สิ้นสุดยุคของการปกครองระบอบราชาธิปไตย ประเทศไทยก็คง กลายเป็นประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยของประชาชน ไปแล้ว การชิงยึดอำนาจของสฤษดิ์จึงเป็นการต่ออายุให้แก่กษัตริย์ภูมิพล ทำให้กษัตริย์ภูมิพลได้มีโอกาศนั่งบัลลังก์สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้  ดังนั้นสฤษดิ์จึงมีบุญคุณต่อกษัตริย์ภูมิพลอย่างหาที่เปรียบมิได้  เมื่อสฤษดิ์ยึดอำนาจเสร็จภูมิพลก็แต่งตั้งให้สฤษดิ์ขึ้นเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในพระนคร  เมื่อขึ้นมามีอำนาจถึงแม้สฤษดิ์จะโกงกินชาติบ้านเมืองอย่างไรจะมีเมียน้อยสัก กี่คนก็ตาม  พระชนนีศรีสังวาลย์  ( นาง สังวาลย์ ) แม่ของกษัตริย์ภูมิพลยังได้เขียนคำปรารถไว้ในหนังสือที่ระลึกงานเผาศพของ สฤษดิ์ว่า “ จอมพลสฤษ์ดิ์ถึงแม้เขาจะโกงกินอย่างไรและมีเมียน้อยสักกี่คนก็ตาม เขาคือขุนพลคู่บัลลังก์ " ..



กษัตริย์ภูมิพลไปเยี่ยมสฤษดิ์ที่โรงพยาบาลก่อนสฤษดิ์เสียชีวิตในปี ๒๕๐๖  บางข่าวก็ว่าสฤษดิ์ตายเพราะถูกวางยาพิษจากกษัตริย์ภูมิพลเอง  ตามคำพังเพยที่ว่า " เสร็จนาฆ่า โคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล " เพราะตอนหลังที่สฤษดิ์ขึ้นมามีอำนาจแล้วก็มีอิทธิพลมาก   ทำให้กษัตริย์ภูมิพลมีความหวาดระแวงและเกรงกลัวอิทธิพลของจอมพลสฤษดิ์        เพราะสฤษดิ์เองก็รู้ความลับของกษัตริย์ภูมิพลเกี่ยวกับการฆ่าพีชาย คือ ร.๘... ในหลวงอานันท์     ในทางเปิดเผยสฤษดิ์ก็แสดงตัวว่าจงรักภักดีต่อกษัตริย์   แต่ในทางลับสฤษดิ์เองก็เคยพูดให้ทหารคนสนิทฟังเมื่อยามมืนเมาว่า  " ถ้ามึงจะเผด็จการมึงก็ต้องมีหุ่นบังหน้าชิวะไอ้โง่ เงินของกูเมื่อไหร่ "   แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สฤษดิ์มาด่วนตายเสียก่อน   นับว่าโชคยังเข้าข้างกษัตริย์ภูมิพลอีกครั้งหนึ่ง ...

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar