เกร็ดประวัติศาสตร์เบื้องหลังสฤษดิ์ยึดอำนาจ ๑๖ กันยา ๒๕๐๐ โดย ญาติวีระชน ๑๔ ตุลา
เกร็ดประวัติศาสตร์เบื้องหลังสฤษดิ์ยึดอำนาจ ๑๖ กันยา ๒๕๐๐
เกร็ดประวัติศาสตร์เบื้องหลังสฤษดิ์ยึดอำนาจ ๑๖ กันยา ๒๕๐๐
ส่วนจอมพล ป. มีมาดที่สุขุมกว่านี้ ต่อหน้าประชาชนแล้ว จอมพล ป. จะย้ำว่าตนจงรักภักดีกษัตริย์ แต่ในที่ลับนั้นจอมพล ป. ได้เตรียมการที่เปิดโปง รื้อฟื้นการพิจารณาคดีสวรรคตขึ้นมาใหม่(๑) ซึ่งสิ่งนี้รัชกาลที่ ๙ ทนไม่ได้ จึงเปิดตัวออกมาเล่นการเมืองอย่างเปิดเผย ในวันที่ ๒๕ ม.ค. ๒๔๙๘ ทรงเริ่มปราศรัยในวันกองทัพบกว่าทหารไม่ควรเล่นการเมือง รัฐบาลจึงได้นำเอาบทความของ ดร.หยุด แสงอุทัย ออกอากาศทางวิทยุ แสดงความเห็นว่า “องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดที่เป็นปัญหาหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมือง หรือทางสังคมของประเทศโดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ...” เพื่อเป็นการโต้ตอบ พวกศักดินาเคียดแค้นบทความนี้มาก พากันโจมตีเป็นการใหญ่ รัชกาลที่ ๙ ฉวยโอกาสที่มีประชาชนไม่พอใจนโยบายเผด็จการของจอมพล ป. กันมากเป็นเครื่องมือรุกทางการเมือง โดยไม่ยอมลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งส.ส. ประเภท ๒ ตามที่รัฐบาลจอมพล ป. เสนอไป ในขณะเดียวกันก็พยายามทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสฤษดิ์ ธนะรัชต์กับตนเองกระชับมากขึ้น และแล้วสฤษดิ์ก็ร่วมมือกับรัชกาลที่ ๙ ด้วยการพาเอาพรรคพวกลาออกจากการเป็น ส.ส.ประเภท ๒ เป็นจำนวนมาก และไม่ยอมสนับสนุนจอมพล ป. อีกต่อไป
แปลกเป็นชื่อตัวของจอมพลหลวงพิบูลสงคราม ผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในการประฏิวัติประชาธิปไตยศักดินาเมื่อ 2475 พล ตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นอดีดอธิบดีกรมตำรวจและเป็นอดีดเลขาธิการพรรคเสรีมนังคสิลาซึ่งมีแปลก เป็นหัวหน้า ผิน
ชุณหวันเป็นพลเอกและเป็นอดีดผู้บัญชาการทหารบก
นอกจากนั้นยังมีอดีดผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอกหลวงยุทธศาสตร์โกสล
และอดีดผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก ฟื้นฤทธาณี ร่วมด้วยอย่างแข็งขัน
เรียกกันว่า ” กลุ่มของราชครู ” พลเอก ผิน ชุณหวัน
เป็นหัวหน้า ในการยึดอำนาจในปี ๒๔๙๐ ระบอบการปกครองประชาธิปไตยตามรัฐธรรม
๒๔๗๕
ที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญก็สิ้นสุดลงตั้งแต่บัดนั้นมาการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยได้เปลี่ยนมาเป็นระบอบราชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือรัฐ
ธรรมนูญแทน
รัฐบาล แปลก เผ่าทำการกวาดล้างนักการเมืองฝ่ายค้านอย่างรุนแรง คดีสยองขวัญเช่นการยิงทิ้งสี่อดีตรัฐมนตรีจากภาคอิสานที่ซานกรุงเทพ โดยอ้างว่าย้ายที่คุมขังจากคุกกลางเมืองไปไว้นอกเมือง และถูกโจรจีนมลายูแย่งตัวกลางทาง
นักการเมืองฝ่ายค้านหัวเห็ดคนหนึ่งจากภาคอิสานเช่นกันได้ถูกพาตัวจากกรุงเทพ
ไปช้อม ทารุณและถูกย่างสดในป่าห่างจากกรุงเทพไปทางตะวันตกประมาณ 100 กิโลเมตร
ก่อนที่ราชองครักษ์ 3 คนที่ถูกศาลตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยข้อหาว่าสมรู้ร่วมคิดในคดีฆาตกรรมยุวกษัตริย์อานันท์รัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นพีชายของกษัตริย์ภูมิพลนั้น คนหนึ่งได้ขอพบเผ่าเป็นส่วนตัวและได้พูดกับเผ่าตามลำพังประมาณ 10
นาที
เมื่อหนังสือพิมพ์ได้ถามหลังการประหารสามคนนั้นแล้วว่าได้คุยกันเรื่องอะไร
บ้าง เผ่าไม่ยอมตอบ แน่นอนเผ่าต้องรู้ว่าใครเป็นฆาตกรโหดในคดีดังกล่าว
และไม่เป็นที่น่าสงสัยอะไรเลยว่า เผ่าจะไม่ได้บอกเพื่อนสนิทให้รู้ความลับนี้ในจำนวนเหล่านั้นแน่ละมี แปลก สฤษดิ์ และประภาสรวมอยู่ด้วยเมื่อปี 2500 มีการเลือกตั้งทั่วไปพรรคเสรีมนังคสิลาโกงการเลือกตั้งทุกวิถีทาง โอกาสของ
กษัตริย์ภูมิพลที่คอยอยู่นานก็ได้มาถึง เมื่อประชาชนเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้งที่สกปรกนั้น
แน่ ละ ซี ไอ เอ เห็นท่าว่าจะไม่สู้ดีเท่าไหร่นักที่จะให้แปลกและเผ่าอยู่ในอำนาจต่อไป จอมพลสฤษดิ์ได้ออกมายืนอยู่แถวหน้าของขบวนประชาชนนำทหารออกมาตั้งแถวต้อนรับ ขบวนประท้วง โดยไม่ทำร้ายใครเหตุการณ์คราวนั้นทำให้สฤษดิ์กลายเป็นขวัญใจของประชาชน จากคำบอกเล่าของอดีตนายทหารคนสนิทคนหนึ่งของสฤษดิ์ กษัตริย์ยืนอยู่เบื้องหลังสฤษดิ์อย่างกระวนกระวายใจความขัดแย้งอย่างรุณแรง ระหว่างผู้นำตำรวจกับผู้นำทหารสมัยนั้นปรากฏเป็นข่าวอยู่บอ่ยๆโดยเฉพาะการ ค้าฝิ่นค้าของเถื่อนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีเครื่องมือและอุปกรณ์จากอเมริกาพอฟัดพอเหวี่ยงกันทั้งทางบกทางเรือและทางอากาสตลอดจนกำลังคน
เผ่าวางแผนจะทำรัฐประหารกลางเดือนกันยายน 2500 ความทะเยอทะยาน ของพลเอกเผ่าที่ยึดอำนาจนี้ก็เพื่อจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบ สาธารณะรัฐโดยจะเชิดให้ จอมพล ป. ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่งจอมพล ป.เองก็มีแนวคิดและแผนการณ์อย่างนั้นอยู่แล้วพอได้โอกาศ แปลก จึงได้ขอเข้าพบกษัตริย์ภูมิพลเพื่อแจ้งความประสงค์ว่าจะรื้อฟื้นคดีปรงพระชน ร. ๘ ขึ้นมาพิจารณาใหม่เพราะได้หลักฐานมาใหม่ ทำให้กษัตริย์ภูมิพลต้องนิ่งอึ้งพระพักตร์เปลี่ยนสีไปทันที่ เมื่อจอมพล ป.ได้แจ้งความประสงค์ให้กษัตริย์ทราบแล้วก็ลากลับออกจากพระราชวัง และ ในวันเดียวกันนั้นกษัตริย์ภูมิพลก็ได้เรียกให้สฤษดิ์เข้าพบและบอกว่า แปลกขอปลดสฤษดิ์ออกจากตำแหน่ง สฤษดิ์จึงชิงยึดอำนาจในวันเดียวกันก่อนเผ่าไม่กี่ชั่วโมง คือวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ เวลา ๑๙ นาฬิกา ซึ่งแผนกาณ์ยึดอำนาจของเผ่าเป็นเวลา ๒๑ นาฬิกาในวันเดียวกัน
นับ ว่ากษัตริย์ภูมิพลเอาตัวรอดมาได้อย่างหวุดหวิด ถ้าสฤษดิ์ไม่ชิงยึดอำนาจเสียก่อนปล่อยให้เผ่ามีโอกาศทำตามแผนการณ์ยึดอำนาจ ของเขาประวัติศาสตร์ชาติไทยคงเปลี่ยนเป็นอีกหน้าใหม่คงได้เป็นประเทศสาธารณะ รัฐตั้งแต่นั้นมา คดีสวรรคต ร. ๘ คงได้ถูกพิจารณาอย่างเป็นธรรมตามหลักฐานพะยานที่เป็นจริงตามตัวบทกฏหมาย ฆาตกรตัวจริงก็คงจะโดนถอดออกจากการเป็นกษัตริย์ คงจะต้องถูกศาลพิพากษาให้ติดคุกติดตะรางหรือถึงต้องประหารชีวิตให้ตกตายไป ตามกัน บัลลังก์ของกษัตริย์ภูมิพลก็คงสิ้นสลาย สิ้นสุดยุคของการปกครองระบอบราชาธิปไตย ประเทศไทยก็คง กลายเป็นประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยของประชาชน ไปแล้ว การชิงยึดอำนาจของสฤษดิ์จึงเป็นการต่ออายุให้แก่กษัตริย์ภูมิพล ทำให้กษัตริย์ภูมิพลได้มีโอกาศนั่งบัลลังก์สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นสฤษดิ์จึงมีบุญคุณต่อกษัตริย์ภูมิพลอย่างหาที่เปรียบมิได้ เมื่อสฤษดิ์ยึดอำนาจเสร็จภูมิพลก็แต่งตั้งให้สฤษดิ์ขึ้นเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในพระนคร เมื่อขึ้นมามีอำนาจถึงแม้สฤษดิ์จะโกงกินชาติบ้านเมืองอย่างไรจะมีเมียน้อยสัก กี่คนก็ตาม พระชนนีศรีสังวาลย์ ( นาง สังวาลย์ ) แม่ของกษัตริย์ภูมิพลยังได้เขียนคำปรารถไว้ในหนังสือที่ระลึกงานเผาศพของ สฤษดิ์ว่า “ จอมพลสฤษ์ดิ์ถึงแม้เขาจะโกงกินอย่างไรและมีเมียน้อยสักกี่คนก็ตาม เขาคือขุนพลคู่บัลลังก์ " ..
กษัตริย์ภูมิพลไปเยี่ยมสฤษดิ์ที่โรงพยาบาลก่อนสฤษดิ์เสียชีวิตในปี ๒๕๐๖
บางข่าวก็ว่าสฤษดิ์ตายเพราะถูกวางยาพิษจากกษัตริย์ภูมิพลเอง
ตามคำพังเพยที่ว่า " เสร็จนาฆ่า โคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล "
เพราะตอนหลังที่สฤษดิ์ขึ้นมามีอำนาจแล้วก็มีอิทธิพลมาก
ทำให้กษัตริย์ภูมิพลมีความหวาดระแวงและเกรงกลัวอิทธิพลของจอมพลสฤษดิ์
เพราะสฤษดิ์เองก็รู้ความลับของกษัตริย์ภูมิพลเกี่ยวกับการฆ่าพีชาย
คือ ร.๘... ในหลวงอานันท์
ในทางเปิดเผยสฤษดิ์ก็แสดงตัวว่าจงรักภักดีต่อกษัตริย์
แต่ในทางลับสฤษดิ์เองก็เคยพูดให้ทหารคนสนิทฟังเมื่อยามมืนเมาว่า "
ถ้ามึงจะเผด็จการมึงก็ต้องมีหุ่นบังหน้าชิวะไอ้โง่ เงินของกูเมื่อไหร่ "
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สฤษดิ์มาด่วนตายเสียก่อน
นับว่าโชคยังเข้าข้างกษัตริย์ภูมิพลอีกครั้งหนึ่ง ...
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar