lördag 28 september 2019

Update.. ความรู้สึกจงรักภักดีของชนชั้นกลางในเมืองต่อในหลวงภูมิพล ส่วนสำคัญมาจาก need ของการมีความรู้สึกเชิงคุณธรรมกับตัวเอง




ความรู้สึกจงรักภักดีของชนชั้นกลางในเมืองต่อในหลวงภูมิพล ส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งมาจาก need หรือ "ความต้องการ" ของการมีความรู้สึกเชิงคุณธรรม ความรู้สึกเชิง "อัตลักษณ์" ให้กับตัวเอง (อันที่จริง ผมอยากทับศัพท์ need เพราะในภาษาอังกฤษ มีเซ้นซ์ที่ต่างและเข้มข้นกว่าคำว่า "ต้องการ" ในภาษาไทยอยู่) เรื่องนี้ค่อนข้างอธิบายให้เข้าใจยากสักหน่อย แต่ลองนึกแบบง่ายๆว่า เราทุกคนมี need ที่จะ "รู้สึกดี" ต่อตัวเอง และต่อชุมชน สังคม และประเทศที่ตัวเองอยู่

วิธีการ (ที่ทำโดยไม่รู้ตัว) สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่เรา identify หรือ "โยง" ตัวเองเข้ากับอะไรบางอย่างที่ดูสูง pure (บริสุทธิ์) มีความดี ความงาม ยิ่งกว่าสิ่งที่เราเจอในชีวิตปกติประจำวัน (ซึ่งเต็มไปด้วยความอัปลักษณ์ ความยุ่งเหยิง ฯลฯ) โดยที่สิ่งนั้น ไม่ได้จำเป็นว่าต้องมีคุณสมบัติที่ว่าอยู่จริงๆ - นั่นคือเป็นอะไรที่บางอย่างที่เรา "สร้าง" หรือ "สมมุติ" ขึ้นมาเองให้มีคุณสมบัติสูงส่ง ฯลฯ แล้ว "โยง" ตัวเราเข้ากับสิ่งที่มีความสูงส่ง ฯลฯ ที่เราสร้างเองนั้น
นี่เป็น need หรือแรงผลักดันอย่างเดียวกับที่ทำให้เกิดไอเดียทำนองเรื่อง nation (ชาติ) และ God (พระเจ้า)
และด้วยความที่
(ก) ชนชั้นกลางในเมืองของไทย มี "ราก" จากคนจีนเสียเยอะ หลังจากผ่านเวลายาวนานหลายทศวรรษ ความเป็น "จีน" ก็หายไป และมาถึงระดับลูกหลาน ก็กลาย "เป็นคนไทยไปหมด" แต่ขณะเดียวกัน ปัญหาที่ตามมาคือ การขาด "เอกลักษณ์" ของตัวเอง จะโยงกับความเป็นจีนก็ไม่ได้ เพราะไกลเกิน (ทั้งในแง่เวลาและระยะทาง)
(ข) ระบบทางคุณธรรมในสังคมไทย คือ ศาสนาพุทธ ความจริงก็อ่อนแอในแง่คำสอนและในแง่ความเป็นองค์กร ("สังฆะ") มาก
นี่คือ "ฐาน" ของการชูในหลวงภูมิพล อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ซึี่งเป็นอะไรที่ใหม่ เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ประมาณครึ่งหลังของทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้น แค่ย้อนไปที่ทศวรรษ 2520 ก็ยังไม่มีกระแสชูในหลวงภูมิพลในชนชั้นกลางในเมืองแบบนี้

need หรือ ความต้องการจะ "รู้สึกดี" ต้องการมี "เอกลักษณ์" หรือ identify ตัวเอง เข้ากับบางอย่างที่ใหญ่กว่า สูงส่งกว่า บริสุทธิ์กว่า ดังกล่าว ทำให้เกิดการ projection - ผมหาคำแปลไทยที่ถูกใจไม่ได้ ประมาณว่า "ฉาย" บางสิ่งบางอย่างที่ทำให้ "รู้สึกดี" #จากความรู้สึกส่วนลึกของตัวเอง #ไปหาสิ่งอื่น - ในกรณีนี้ คือในหลวงภูมิพล - คือการ "สร้าง" "ภาพปฏิมา" บางอย่างขึ้นมา แล้ว identify หรือ "โยง" ตัวเอง เข้ากับ "ภาพปฏิมา" นั้น
(เรื่อง "ในหลวงทรงงานหนัก" ฯลฯ จริงๆแล้วก็เป็น "ตีม" ที่ "เพิ่งสร้าง" และเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ว่านี้)
ปรากฏการณ์สำคัญที่มีให้เห็นอย่างกว้างขวางในยุคนี้ คือการ "เขียนเรื่อง" ในหลวงภูมิพลที่ไม่ได้มีอยู่จริง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ "รู้สึกดี" และเมื่อเรา "โยง" หรือ identify ตัวเองเข้ากับเรื่องดังกล่าว - เข้ากับ "ในหลวงภูมิพล" ในฐานะ "ข้ารองพระบาท" - ก็ทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง
สารพัดเรื่องตั้งแต่ "36 ขั้นบันไดชีวิต" "ในหลวงทรงขับรถ ยอมติดไฟแดง แวะซื้อโอเลี้ยง" "ในหลวงทรงร้องไห้" ฯลฯ
และ กรณี "จดหมายจากในหลวงถึงพระเทพ"
ซึ่งคุณ Piracha Krewkrajang นำมาเผยแพร่อีกไม่กี่วันนี้ - ดูภาพประกอบแรก ตัวกระทู้จริงอยู่ที่นี่ ขณะนี้มีคนไลค์กว่า 3 หมื่น 2 พัน และแชร์กว่า 5 หมื่น 3 พัน https://www.facebook.com/jajar16666/posts/1528759347172006

ใครที่เคยติดตามที่ผมเขียนตั้งแต่สมัยเว็บบอร์ดเมื่อสิบปีก่อน อาจจะจำได้ว่า "จดหมาย" ที่ว่า ไม่ใช่พระราชหัตถเลขาจริงๆ แต่มีผู้เขียนขึ้นในปี 2547 (ผู้เขียนใช้นามว่า "ว.แหวน" - ดูภาพประกอบที่สอง) แล้วมีการนำไปเผยแพร่กันต่อๆไป โดยเข้าใจผิดว่าเป็นพระราชหัตถเลขา ซึ่งเรื่องนี้ก็มีคนเคยไปสืบค้น และแจ้งให้ทราบกันทางบอร์ดพันทิพ ตั้งแต่เมื่อปี 2549 แล้ว (ดูภาพประกอบที่สาม)

Image may contain: 2 people, people standing and text Image may contain: 1 person
Image may contain: textImage may contain: 2 people, people smiling

พิธีถวายบังคมพระบรมรูป ร.5-6 ของจุฬา เป็น "ประเพณีประดิษฐ์" (invented tradition ศัพท์ของนักวิชาการฝรั่ง หมายถึง ไม่ใช่อะไรที่เก่าแก่มากมาย - ไม่ใช่ "ประเพณี" จริงๆ - แต่เป็นอะไรที่ถูก "ประดิษฐ์" ขึ้น invented ขึ้นมา ให้มีลักษณะเหมือนเป็น "ประเพณี")
เพิ่งเกิดขึ้นในปี 2540 ภายใต้ปริบททางประวัติศาสตร์ของช่วงที่มีปรากฏการณ์ที่ผมเรียกว่า The Rise of King Bhumibol (การขึ้นสู่อำนาจนำของในหลวงภูมิพล) ซึ่งมีช่วง "พีค" จากกลางทศวรรษ 2530 ถึงกลางทศวรรษ 2540 นี่เป็นอะไรที่ "ใหม่" ซึ่งต้องการการศึกษาโดยละเอียดต่อไป เสียดายนักวิชาการหลายคน ยังนับเวลาการเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกกันวา hyper-royalism กลับไปที่ 14 ตุลา - ความจริง สถานะของในหลวงภูมิพลและสถาบันกษัตริย์ และลักษณะรอยัลลิสม์อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางในเมืองที่มีพื้นฐานจากลูกหลานคนจีน เป็นอะไรที่เกิดขึ้นหลัง 14 ตุลานับ 20 ปี ปัจจัยสำคัญมากที่ยังดำรงอยู่จนถึงกลางทศวรรษ 2520 คือขบวนการและวัฒนธรรมฝ่ายซ้ายแบบ พคท. และการที่สังคมยังมีลักษณะทางวัฒนธรรมค่านิยมแบบแบ่ง "คนจีน-คนไทย" (ลูกหลานจีนยังไม่ถูกนับเป็น "คนไทย" เต็มที่) และเศรษฐกิจไทยยังไม่ก้าวกระโดดเข้าสู่ความเป็นเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมเต็มตัวซึ่งเพิ่งเริ่มในช่วงสิ้นสุดทศวรรษ 2520
ข้อเสนอของผมคือ หลังจากสูญหายไปของขบวนการและวัฒนธรรมแบบฝ่ายซ้าย (ทั้งในทางสากลและในประเทศ) และการผสมกลมกลืนของอดีตลูกหลานจีนเหล่านี้ จนถูกถือว่าเป็น "คนไทย" (ความเป็นลูกจีน ไม่ใช่ "ปมด้อย" อีกต่อไป อันที่จริง กลายเป็น "ปมเด่น" ด้วยซ้ำ - ดูที่ความนิยมหน้าตาดาราหรือคนในวงการบันเทิง ที่เปลี่ยนจากแบบ "ไทยๆ" กลายมาเป็นแบบ "ตี๋ๆหมวยๆ" เป็นต้น)
แต่ชนชั้นกลางลูกหลานจีนเหล่านี้ เป็นคนที่ "ไม่มีราก" ไม่มีเอกลักษณ์รวมหมู่ (collective identity) ของตัวเอง คือจะใช้วัฒนธรรมหรือเอกลัษณ์แบบจีนของบรรพบุรุษก็ไม่ได้ เพราะห่างไกลเกินไป จึงหันไป adopt หรือ "รับ" วัฒนธรรมแบบเจ้า #หรือแบบที่คิดว่าเป็นแบบเจ้า นี่คือความหมายของ "ประเพณีประดิษฐ์" เช่นกรณีพิธีถวายบังคมฯจุฬา คือ เป็นอะไรที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่ให้ความรู้สึกราวกับว่าเป็นอะไรที่มีมาช้านาน "เป็นประเพณี"
ดังที่ผมเคยเสนอไปแล้วว่า ในหลวงภูมิพลจึงเป็นเสมือน "เอกลักษณ์ทดแทน" (substitute identity) "ความเป็นชาติหรือชาตินิยมทดแทน" (substitute nationalism) กระทั่งเป็นเสมือนพุทธศาสนาทดแทน หรือ พระพุทธเจ้าทดแทน (substitute Bhudhism, substitute Budha) ของชนชั้นในเมืองอดีตลูกหลานจีนเหล่านี้
ภาพสไลด์ประกอบกระทู้ ซึ่งแน่นอน มีข้อจำกัดไม่สามารถใส่ข้อมูลได้มาก ทำขึ้นเพียงเพื่อแสดงให้เห็นปริบทของการเกิด "ประเพณี" อย่างพิธีถวายบังคมฯดังกล่าว ในท่ามกลางกระบวนการ "ขึ้นสู่อำนาจนำของในหลวงภูมิพล"
2535 - ในหลวงภูมิพลออกมา "ห้ามทัพ" ระหว่างสุจินดากับจำลองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ภาพนี้ได้กลายเป็น "ไอคอน" ของการเป็น "ผู้แก้วิกฤติ" เป็น "ศูนย์รวมทางจิตใจ" ของในหลวงภูมิพล ซึ่งในสมัย 14 ตุลา ไม่เคยมี (คนยุคหลังมักจะ "ฉายภาพย้อนหลัง" หรือ project ภาพ "ห้ามทัพ" ปี 2535 นี้ ย้อนกลับไปที่ 14 ตุลา ซึ่งต่างกันมาก - เคยมีอีเมล์ฉบับหนึ่งในปี 2549 เขียนลักษณะนี้)
2538 - ในหลวงภูมิพลออกมาพูดวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในขณะนั้น ในเรื่องการจัดการจราจร กับ การจัดการน้ำ ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ที่กษัตริย์จะออกมาแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการนโยบายของรัฐบาล
2537-2547 - การปรากฏตัวของในหลวงภูมิพลในฐานะ "นักเขียน" หรือ author (และโดยนัยยะคือเป็น "นักคิด" "นักปรัชญา") ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ก่อนหน้านั้นหลายสิบปี เคยมีแต่การยกย่องในฐานะนักแต่งเพลง, วาดภาพ, นักกีฬา, ถ่ายภาพ
2540 - ในหลวงภูมิพลในฐานะผู้เสนอแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ("ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" - ซึ่งต่อมาถูกบรรจุไว้เป็นรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนที่จะมีการเสนอว่า กษัตริย์เป็น "ผู้นำความคิด" หรือชี้นำวิถีชีวิตของสังคมในลักษณะนี้)
"การปฏิรูปการเมือง" ที่นำไปสู่ "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540" ก็เริ่มต้นโดยอาศัยการอ้างอิงพระราชอำนาจในหลวงภูมิพล (ซึ่งตอนนั้นได้รับการเชียร์จากนักวิชาการอย่างเป็นเอกฉันท์)
2540s - "ตลาด" หรือ mass market เต็มไปด้วย "สินค้า" (mass products) ในหลวงภูมิพล
.........................
แน่นอน ดังที่เห็นกัน อำนาจนำของในหลวงภูมิพลที่ปรากฏขึ้นในช่วงทศวรรษ 2530-2540 นี้ ได้เริ่มแตกสลายลงในทศวรรษที่ผ่านมาพร้อมๆกับวิกฤติการเมืองปัจจุบัน และตอนนี้ในหลวงภูมิพลก็ไม่อยู่แล้ว และลูกชายที่เป็นกษัตริย์ขณะนี้ ก็ไม่มีวี่แววจะสามารถเข้าแทนที่เป็น "เอกลักษณ์รวมหมู่" ของชนชั้นกลางในเมืองได้
ปัญหาอย่างกรณีพิธีถวายบังคมฯจุฬา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนปัญหาที่ใหญ่ขึ้นไปกว่านั้นอีกว่า จะสร้างเอกลักษณ์รวมหมู่ใหม่ ฉันทามติใหม่ ระบบคุณค่าแบบใหม่ อะไรมาแทนที่ และอย่างไร.....
Image may contain: text and outdoor


 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar