onsdag 15 oktober 2014

ข่าวจาก มิลาน ประเทศอิตาลี... มุมมองจากต่างชาติกับการที่รัฐบาลเผด็จการทหารไทย เข้าร่วมประชุม (ASEM 10) เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี...

ข่าวThaiE- News
ภาคประชาสังคมเอเซีย-ยุโรป ประณามรัฐประหารไทยอย่างรุนแรง

รายงานโดย แอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย




การรัฐประหารไทยถูกประณามที่การประชุมภาคประชาสังคมเอเชีย-ยุโรป


เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2557 เวลา 14.30 – 18.00 น. เวทีภาคประชาสังคมเอเชียยุโรป ครั้งที่ 10 (ASEM 10) เมืองมิลาน มีการจัดสัมมนาทางวิชาการ ที่ต่างประเทศครั้งแรกเกี่ยวกับเมืองไทย หลังรัฐประหาร 22พฤษาคม 2557 ในหัวข้อ “หลังรัฐประหาร: การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและปกป้องสิทธิมนุษยชน ในประเทศไทย (After the Coup: Defending Democracy and Human Rights in Thailand)”

ในการจัดการประชุมครั้งนี้ ได้เกริ่นถึงเหตุผลของการจัดเวทีวิชาการครั้งนี้ขึ้นมาว่า “การทำรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นการก้าวถอยหลังครั้งสำคัญของประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ภายใต้กฎอัยการศึก เสรีภาพในการพูดและสิทธิในการชุมนุมถูกปิดกั้น นักกิจกรรมหลายร้อยคนถูกจับและถูกคุมขัง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร ได้แต่งตั้งตัวเองขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลที่ประกอบไปด้วยทหารและคนรักเจ้า คณะรัฐประหารได้พุ่งเป้าการปราบปรามไปยังขบวนการคนเสื้อแดง ที่เริ่มก่อตัวขึ้นหลังจากรัฐประหาร 2549 มีการออกบทบัญญัติใหม่ รวมทั้งร่างหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ เพื่อใช้บีบบังคับคนไทยให้ต้องรักชาติ และยอมสยบอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของทหาร พร้อมอ้างว่านี่คือคุณสมบัติของความเป็น “ไทย”

ณ เวทีการประชุมประชาชนเอเชีย-ยุโรปที่มิลาน ครั้งนี้ จึงได้จัดให้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับมุมมองของขบวนการประชาชนต่อสถานการณ์ปัจจุบันของการเมืองในประเทศไทย ทั้งนี้ คณะผู้จัดงานหวังว่า การประชุมครั้งนี้ จะส่งผลสู่การวางแผนกิจกรรมต่างๆ ที่ภาคประชาสังคมทั้งในยุโรปและเอเชีย หรือในภูมิภาคอื่นๆ จะสามารถกระทำได้ เพื่อสนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย”

ผู้ร่วมนำเสวนาได้แก่  จรรยา ยิ้มประเสริฐ, ACT4DEM, อดีตผู้อำนวยการโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย, ศักดิ์สิทธิ์ ไสยสมบัติ, นักข่าวและบล็อกเกอร์การเมือง, Claudio Sopranzetti, มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด, พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, คอลัมนิสต์ และนักวิเคราะห์การเมือง, ดำเนินรายการโดย Oliver Pye, Asienhaus

ต้องขอบคุณองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในเอเชีย และยุโรป ที่ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ขึ้นมา ทั้ง เอเชียเฮาท์ (Asienhaus) ประเทศเยอรมันนี. กลุ่มนานาชาติเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย (International Solidarity Group for Democracy and Human Rights in Thailand) และองค์กร LEMS – Laboratorio di Etnografia dei Movimenti Sociali (Italy) จากประเทศอิตาลี

ประเด็นรัฐประหารไทยถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่ต่อเนื่อง ในหลายเวทีการอภิปราย ตลอดช่วงเวลาสามวันของการประชุม

ในระหว่างรอเทปการเสวนาที่จะเผยแพร่ในเวลาอีกไม่นาน ขอนำเสนอถึงผลสรุปของการประชุมแห่งนี้ ที่ส่งผลให้มีการออกแถลงการณ์จากที่ประชุมภาคประชาสังคมเอเชียยุโรป ต่อกรณีประเทศไทย และจะเป็นข้อแถลงการณ์ที่จะถูกนำเสนอต่อคณะรัฐบาล 53 ประเทศ ที่เข้าร่วมประชุม ASEM ครั้งนี้ ที่มีการอ่านประกาศให้ที่ประชุมรับรองอย่างกึกก้องว่า



“ประเทศไทย

AEPF 10 การประชุมภาคประชาสังคมเอเชียยุโรป ครั้งที่ 10 ขอประณามอย่างรุนแรงต่อการทำรัฐประหาและการสถาปนารัฐบาลเผด็จการทหารในประเทศไทย พวกเราห่วงใยเป็นพิเศษต่อการละเมิดสิทธิมนุษยขน การจับกุมและการคุกคามโดยเผด็จการทหาร ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องรายวัน รวมทั้งความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นของการเซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสาร และการข่มขู่คุกคามประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหาร

พวกเราขอเสนอแนะถึงมาตรการแรกที่ต้องกระทำอย่างเร่งด่วน ต่อรัฐบาลประชาธิปไตยทั้งหลาย คือ การรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยทางการเมือง ให้แก่ประชาชนคนไทยทุกคน ที่อยู่ภายใต้การคุกคามและถูกดำเนินคดีในประเทศไทย

ASEM คือกระบวนการของรัฐบาลพลเรือน กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และรัฐบาลประชาธิปไตยทุกประเทศที่ร่วมในการเจรจา ASEM จำเป็นต้องยึดมั่นในการดำรงหลักการแห่งรัฐบาลพลเรือนนี้ไว้ รัฐบาลทั้งหลายจะต้องไม่ยอมให้เผด็จการทหารเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุม ASEM10 ของพวกเขา”

สำหรับบรรยากาศในการเสวนากว่า 3 ชั่วโมง เข้มข้นทั้งบนเวที และการแลกเปลี่ยนจากผู้ร่วมเสวนา

นักกิจกรรมจากมาเลเชียให้ความสำคัญกับเรื่องรัฐประหารไทยมาก ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ถูกผลักดันเรื่องสิทธิและเสรีภาพในประเทศของตัวเอง โดยได้แลกเปลี่ยนถึงหลายวิธีแห่งการฝ่าความกลัว และการต่อต้านอย่างสร้างสรรค์ที่กฎหมายก็ไม่อาจจะนำมาใช้จัดการกับประชาชนได้

ศาสตราจารย์วอลเดน เบลโล สมาชิกรัฐสภาฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในนักการเมืองในภูมิภาคอาเซียน ที่เล่งเห็นอันตรายยิ่งต่อภูมิภาคอาเซียน ถ้าหากปล่อยให้วิถีเผด็จการทหารเข้ามาปกครองเมืองไทย และได้พูดถึงความรุนแรงและหายนะของรัฐประหารไทยหลายครั้งในเวทีภาคประชาสังคมเอเชียยุโรปครั้งนี้ และในที่ประชุม “หลังรัฐประหาร: การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและปกป้องสิทธิมนุษยชน ในประเทศไทย” ศ. วอลเดน ก็มาเข้าฟังการเสวนา และแลกเปลี่ยน โดยพูดย้ำให้สังคมประชาธิปไตย ตระหนักถึงภาวะคุกคามที่คณะรัฐประหารไทยต่อเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และการปักมุดหมายการเมืองที่ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการทำรัฐประหารที่เมืองไทย ในปี 2557 เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางเสถียรภาพของวิถีประชาธิปไตยของทั้งภูมิภาคอาเซียน เพราะมันหมายถึงโอกาสที่ลัทธิเผด็จการทหาร จะหวนคืนสู่การคืนสู่อำนาจในประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอีกด้วย

ขณะนี้ นักกิจกรรม นักศึกษา และภาคประชาสังคมที่เมืองมิลาน เริ่มให้ความสนใจต่อกรณีที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ จะเดินทางมาประชุม ASEM ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม และกำลังมีการนัดหมายเตรียมการประท้วงเผด็จการประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 16 ตุลาคม

ทั้งนี้ มีข่าวว่า มวลชน กปปส. จากสวิสเซอร์แลนด์ จะเดินทางมาต้อนรับเผด็จการทหารประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มิลาน ซึ่งคนไทยที่มาหนุนเผด็จการทหาร คงจะต้องหาเหตุผลอย่างหนักพกติดตัวกันมาด้วยว่า เพราะอะไรถึงเดินทางมาสนับสนุนเผด็จการทหาร ที่มีพฤติกรรมการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศมากมาย ทั้งการออกคำสั่งให้มีการสังหารประชาชนที่ชุมนุมโดยสงบจนบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก ทั้งทำการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง และที่สำคัญการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศในทุกด้านอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ทำรัฐประหาร 22 พฤษภาคม ในขณะนี้ให้ได้

สำหรับคนไทยที่จะเดินทางมาร่วมสมทบกับประชาชนอิตาลี เพื่อต้านรัฐประหาร ซึ่งกำหนดการประท้วงในวันที่ 16 ตุลาคม องค์กรนักศึกษาที่มิลาน มีที่พักรับรอง

......................................
สำหรับผู้ที่สนใจ....อยากไปร่วมกิจกรรม.
เบอร์ติดต่อที่มิลาน +39 348 89871 87

You do not represent Thai people.
Stickers, the Thai junta is not welcome is posted in front of his hotel and around the Duomo commercial center!
สหายชาวอิตาลี พาติดสติกเกอร์ "ที่นี่ไม่ต้อนรับมึง" และ "ประยุทธ์ไม่ใช่ตัวแทนคนไทย" ที่บริเวณโรงแรมที่ประยุทธ์และคณะเข้าพัก และทั่วย่านการค้าหลักของมิลาน เดินไปทางไหนก็เจอสติกเกอร์ต้านประยุทธ์ ...




Inga kommentarer:

Skicka en kommentar