fredag 25 augusti 2017

."นายกฯยิ่งลักษณ์" ฟ้องโลกที่มองโกเลีย ...ขอบคุณนายกยิ่งลักษณ์......ที่ทำหน้าที่ได้สมศักดิ์ศรีของผู้นำประเทศที่มีหัวใจเป็นประชาธิปไตย กล้านำความจริงมาพูดชี้แจงให้ทั่วโลกได้รับรู้....วันเวลาที่ทุกคนรอคอยที่ประเทศจะมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้เริ่มต้นเป็นความจริงขึ้นแล้ว......


วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

"นายกฯยิ่งลักษณ์" ฟ้องโลก "พี่ชายตนถูกรัฐประหาร-ประชาชนถูกยิงด้วยสไนเปอร์" ยืนยันวันนี้พร้อมลุกสู้!

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 เฟซบุ๊คของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เผยแพร่ ปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย ดังนี้

คำแปลปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย 29 เมษายน 2013
โดย Yingluck Shinawatra (บันทึก) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 เวลา 8:47 น.

ท่านประธาน,
ท่านผู้มีเกียรติ,
ท่านผู้เข้าร่วมประชุม,

ดิฉันขอเริ่มด้วยการขอบคุณท่านประธานาธิบดีแห่งมองโกเลียที่ได้เชิญให้ดิฉันมาปาฐกถาณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้

ดิฉันได้ตอบรับเชิญไม่เพียงเพราะดิฉันต้องการที่จะได้มีโอกาสเยือนมองโกเลียประเทศที่ประสบความสำเร็จในความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้มาเพียงที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแต่ดิฉันเดินทางมาที่นี่เพราะความเป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อดิฉันอย่างมากและที่สำคัญยิ่งกว่าคือความไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศบ้านเกิดของดิฉันประเทศไทยที่ดิฉันรัก

ประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เป็นแนวคิดอุดมการณ์ใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายาวนานแนวทางประชาธิปไตยได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าและความหวังสำหรับผู้คนจำนวนมากและในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวนมากได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาและสร้างความเป็นประชาธิปไตย

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ได้ได้มาฟรีๆ สิทธิ เสรีภาพและความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีความเท่าเทียมกันนั้นได้มาด้วยการต่อสู้และที่น่าเศร้าใจคือ ทำให้ต้องมีผู้เสียชีวิต

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรือ?ก็เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยในโลกนี้ที่ไม่เชื่อในแนวคิดประชาธิปไตย คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้ได้มาด้วยอำนาจและด้วยการกดขี่การมีเสรีภาพนั่นหมายความว่าพวกเขาพร้อมที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เขาไม่เคารพสิทธิมนุษยชนหรือความเสรีภาพพวกเขาพร้อมจะใช้กำลังเพื่อกดขี่ให้คนอยู่ใต้อำนาจ และยังใช้อำนาจในทางที่ผิด สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงท้าทายเราทุกคนในปัจจุบัน

มีหลายประเทศที่ความเป็นประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและเป็นความรู้สึกสดชื่นที่ได้เห็นกระแสประชาธิปไตยที่นำความเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศต่างๆจากปรากฏการณ์อาหรับสปริงค์ถึงช่วงผ่านเปลี่ยนในเมียนมาร์ภายใต้ผลักดันของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของดิฉัน ด้วยพลังของประชาชนคนไทยที่ทำให้ดิฉันมายืนอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

ในระดับภูมิภาคหลักการสำคัญๆในปฏิญญาอาเซียนก็ยึดมั่นในหลักนิติธรรม, ประชาธิปไตยและรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนต้องระมัดระวังว่าแรงปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยไม่เคยที่จะถดถอยลดน้อยลงดิฉันขอยกเรื่องของดิฉันเองเป็นอุทาหรณ์

ในปี1997 ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งร่างขึ้นโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วม เราทุกคนคิดว่ายุคใหม่ของประชาธิปไตยไทยมาถึงแล้วและจะเป็นยุคสมัยที่ไร้การรัฐประหาร

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งถึงสองครั้งสองหนด้วยเสียงส่วนใหญ่ถูกล้มลงในปี 2006 ประเทศไทยเสมือนรถไฟตกรางและประชาชนคนไทยใช้เวลาเกือบ10 ปีกว่าที่จะได้เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยกลับคืนมา

หลายคนที่อยู่ในที่ประชุมแห่งนี้รู้ว่ารัฐบาลที่ดิฉันพูดถึงคือรัฐบาลที่พี่ชายของดิฉันพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคนที่ไม่รู้จักดิฉันอาจบอกว่า เธอจะบ่นไปทำไม? เป็นเรื่องปกติในกระบวนการการเมืองที่รัฐบาลมาแล้วก็ไปซึ่งหากตัวดิฉันและครอบครัวของดิฉันต้องเจ็บปวดแต่ฝ่ายเดียว ดิฉันก็คงจะปล่อยวาง

แต่นั่นก็ไม่ใช่ความเป็นไปที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารประเทศไทยต้องถอยหลังและสูญเสียความน่าเชื่อถือต่อนานาชาติหลักนิติธรรมและกระบวนการกฎหมายถูกทำลาย โครงการและแผนงานที่พี่ชายของดิฉันริเริ่มตามที่ประชาชนต้องการถูกยกเลิกประชาชนเกิดความรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพของเขาถูกปล้นไป

คำว่า“ไทย” หมายความว่า “อิสระ” และประชาชนคนไทยก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้เสรีภาพคืนมาแต่ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมของผู้เรียกร้องกลุ่มคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง91 คนในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

คนบริสุทธิ์ถูกลอบยิงโดยสไนป์เปอร์แกนนำการชุมนุมต้องติดคุกหรือหลบหนีไปต่างประเทศ และแม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่

ประชาชนคนไทยไม่ท้อถอยและยืนยันที่จะเดินไปข้างหน้าจนในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยที่เชื่อว่าจะบริหารจัดการและบิดเบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตยได้ต่อแต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธความต้องการของประชาชนได้ดิฉันได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ขอประเทศ แต่เรื่องราวนั้นยังไม่จบ

มีความชัดเจนว่าผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยยังคงอยู่รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในรัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ใส่กลไกที่ตีกรอบเพื่อจำกัดความเป็นประชาธิปไตย

ตัวอย่างหนึ่งที่ดีในประเด็นนี้จะเห็นได้จากที่จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาไทยมาจากการเลือกตั้ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับได้รับการแต่งตั้งโดยกลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่งยิ่งกว่านั้น กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริงเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม

นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันดิฉันนั้นต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทยและประชาธิปไตยของไทยพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลักนิติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายที่แข็งแรงมีขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใสและเมื่อนั้นทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รับการดูแลที่ยุติธรรมเจตจำนงนี้ ดิฉันได้แสดงออกโดยประกาศเป็นนโยบายต่อที่ประชุมของรัฐสภาก่อนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ความมีประชาธิปไตยทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองเกิดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุน นำมาสู่การสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญดิฉันเชื่อว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งการลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนจนคนรวย

นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าเราจะต้องเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาสร้างโอกาสด้วยความรู้ และปลูกฝังวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของประชาชน

เมื่อประชาชนมีความรู้ประชาชนจะสามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถปกป้องความเชื่อของตนจากผู้ที่ต้องการกดขี่และนี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยสนับสนุนข้อเสนอของมองโกเลียในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและประชาธิปไตย

การลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนก็สำคัญเช่นกันมนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสที่เท่าเทียมกันเราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างประชาธิปไตยของประเทศ

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาลต้องริเริ่มนโยบายที่จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสร้างชีวิตที่ดีกว่าและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ดิฉันได้เริ่มต้นไว้หลายโครงการ รวมถึงการสร้างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และวิสาหกิจขนดกลางขนาดย่อม ในขณะที่ได้กำหนดมาตรการยกระดับรายได้ของเกษตรกร

และดิฉันเชื่อว่าเราต้องการการนำที่มีประสิทธิภาพและมีความสร้างสรรค์ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมตลอดจนความสร้างสรรค์ในการหาทางออกที่สันติในการแก้ไขปัญหาของประชาชน

เราต้องการการนำที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในซีกรัฐบาลแต่ในฝ่ายค้านและประชาชนทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องเคารพกฎหมายและช่วยกันสร้างประชาธิปไตย

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ,

อีกบทเรียนที่ได้เรียนรู้คือเพื่อนในต่างประเทศมีความสำคัญการกดดันจากนานาชาติที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยคงอยู่ได้การคว่ำบาตรและการไม่ยอมรับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะหยุดกระบวนการปฏิกิริยาที่ต่อต้านประชาธิปไตย

เวทีนานาชาติอย่างประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้มีบทบาทที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยยืนหยัดอยู่ได้การส่งเสริมและปกป้องประชาธิปไตยด้วยการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์และสร้างความร่วมมือหากประเทศใดก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทุกคนต้องร่วมกันกดกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

ดิฉันขอยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเวที่นี้เวทีนี้และการดำเนินงานของสภาบริหาร( GoverningCouncil ) เพื่อจะได้ช่วยให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นทั่วโลกนอกจากนี้ดิฉันขอชื่นชมประธานาธิบดีมองโกเลียสำหรับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเอเชียเพื่อประชาธิปไตย( Asian Partnership Initiative for Democracy ) และทางรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในส่วนนี้

ท่านผู้มีเกียรติ,

ดิฉันขอปิดท้ายด้วยการประกาศว่าดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม2553 ต้องเผชิญจะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักษ์รักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆไป

ขอบคุณค่ะ

Mr. Chairman,
Excellencies,
Delegates to the Conference,
Ladies and Gentlemen,
I wish to begin by expressing my appreciation to His Excellency the President of Mongolia for inviting me to speak at this Conference of the Community of Democracies.
I accepted this invitation not only because I wanted to visit a country that has made many achievements regarding democracy, or to exchange ideas and views on democracy. But I am here also because democracy is so important to me, and more importantly, to the people of my beloved home, Thailand.
Democracy is not a new concept. Over the years, It has brought progress and hope to a lot of people. At the same time, many people have sacrificed their blood and lives in order to protect and build a democracy.
A government of the people, by the people and for the people does not come without a price. Rights, liberties and the belief that all men and women are created equal have to be fought, and sadly, died for.
Why? This is because there are people in this world who do not believe in democracy. They are ready to grab power and wealth through suppression of freedom. This means that they are willing to take advantage of other people without respecting human rights and liberties. They use force to gain submission and abuse the power. This happened in the past and still posed challenges for all of us in the present.
In many countries, democracy has taken a firm root. And it is definitely refreshing to see another wave of democracy in modern times, from Arab Spring to the successful transition in Myanmar through the efforts of President Thein Sein, and also the changes in my own country where the people power in Thailand has brought me here today.
At the regional level, the key principles in the ASEAN Charter are the commitment to rule of law, democracy and constitutional government. However, we must always beware that anti-democratic forces never subside. Let me share my story.
In 1997, Thailand had a new constitution that was created through the participation from the people. Because of this, we all thought a new era of democracy has finally arrived, an era without the cycle of coups d’?tat.
It was not to be. An elected government which won two elections with a majority was overthrown in 2006. Thailand lost track and the people spent almost a decade to regain their democratic freedom.
Many of you here know that the government I am talking about was the one with my brother, Thaksin Shinawatra, as the rightfully elected Prime Minister.
Many who don’t know me say that why complain? It is a normal process that governments come and go. And if I and my family were the only ones suffering, I might just let it be.
But it was not. Thailand suffered a setback and lost international credibility. Rule of law in the country was destroyed. Projects and programmes started by my brother’s government that came from the people’s wishes were removed. The people felt their rights and liberties were wrongly taken away.
Thai means free, and the people of Thailand fought back for their freedom. In May 2010, a crackdown on the protestors, the Red Shirts Movement, led to 91 deaths in the heart of the commercial district of Bangkok.
Many innocent people were shot dead by snipers, and the movement crushed with the leaders jailed or fled abroad. Even today, many political victims remain in jail.
However, the people pushed on, and finally the government then had to call for an election, which they thought could be manipulated. In the end, the will of people cannot be denied. I was elected with an absolute majority.
But the story is not over. It is clear that elements of anti-democratic regime still exist. The new constitution, drafted under the coup leaders led government, put in mechanisms to restrict democracy.
A good example of this is that half of the Thai Senate is elected, but the other half is appointed by a small group of people. In addition, the so called independent agencies have abused the power that should belong to the people, for the benefit of the few rather than to the Thai society at large.
This is the challenge of Thai democracy. I would like to see reconciliation and democracy gaining strength. This can only be achieved through strengthening of the rule of law and due process. Only then will every person from all walks of life can feel confident that they will be treated fairly. I announced this as part of the government policy at Parliament before I fully assumed my duties as Prime Minister.
Moreover, democracy will also promote political stability, providing an environment for investments, creating more jobs and income. And most importantly, I believe political freedom addresses long term social disparities by opening economic opportunities that would lead to reducing the income gap between the rich and the poor.
That is why it is so important to strengthen the grassroots. We can achieve this through education reforms. Education creates opportunities through knowledge, and democratic culture built into the ways of life of the people.
Only then will the people have the knowledge to be able to make informed choices and defend their beliefs from those wishing to suppress them. That is why Thailand supported Mongolia’s timely UNGA resolution on education for democracy.
Also important is closing gaps between rich and poor. Everyone should be given opportunities and no one should be left behind. This will allow the people to become an active stakeholder in building the country’s economy and democracy.
That is why my Government initiated policies to provide the people with the opportunities to make their own living and contribute to the development of our society. Some of these include creating the Women Development Fund, supporting local products and SMEs as well as help raising income for the farmers.
And I believe you need effective and innovative leadership. Effective in implementing rule of law fairly. Innovative in finding creative peaceful solutions to address the problems of the people.
You need leadership not only on the part of governments but also on the part of the opposition and all stakeholders. All must respect the rule of law and contribute to democracy.
Ladies and Gentlemen,
Another important lesson we have learnt was that international friends matter. Pressure from countries who value democracy kept democratic forces in Thailand alive. Sanctions and non-recognition are essential mechanisms to stop anti-democratic regimes.
An international forum like Community of Democracies helps sustain democracy, seeking to promote and protect democracy through dialogue and cooperation. More importantly, if any country took the wrong turn against the principle of democracy, all of us here need to unite to pressure for change and return freedom to the people.
I will always support the Community of Democracies and the work of the Governing Council. I also welcome the President’s Asian Partnership Initiative for Democracy and will explore how to extend our cooperation with it.
Ladies and Gentlemen,
I would like to end my statement by declaring that, I hope that the sufferings of my family, the families of the political victims, and the families of the 91 people, who lost their lives in defending democracy during the bloodshed in May 2010, will be the last.
Let us continue to support democracy so that the rights and liberties of all human beings will be protected for future generations to come!
Thank you.

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar