ข้อสังเกตเล็กๆ เกี่ยวกับ "สปีชสด-เสียงจริง" ของวชิราลงกรณ์วันนี้
https://goo.gl/J35U4u
ข่าวสองทุ่มคืนนี้ มีการเผยแพร่ "สปีชสด-เสียงจริง" ของวชิราลงกรณ์ที่กล่าวกับ รมต.ที่เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ ความยาว 3 นาทีกว่า (อยู่ระหว่างนาที 3:45-7:28 ในคลิปตามข่าวนี้ http://news.ch7.com/detail/259495)
เนื้อหาก็ไม่มีอะไรเท่าไร ปกติรัชกาลที่ 9 ตอนรับ ครม.เข้าเฝ้าปฏิญาณก็จะไม่ได้พูดอะไรมาก ที่พูดประจำคือทำนอง "ให้ทุกท่านทำตามคำปฏิญญาณ" วชิราลงกรณ์เองก็พูดแบบนี้นิดหน่อย
แต่สิ่งที่สะดุดใจผม ในฐานะคนศึกษาสปีชของ ร.9 มานาน (55 ผมเชื่อว่าผมรู้จักและคุ้นเคยสปีชและข้อเขียนของ ร.9 มากกว่าคนรักเจ้าส่วนใหญ่ที่สุด) มีความต่างอย่างหนึี่งในสปีชของวชิราลงกรณ์
คือ ปกติ ร.9 จะไม่เคยพูดพาดพิงถึง "สามสถาบัน" (ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริิย์) อันนี้ หลายคนอาจจะไม่สังเกต แต่ผมสังเกตมานาน และเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ ร.9 ผ่านมาคิด-ฝึก-และจงใจ เพราะถ้าพูดในลักษณะ "ให้ช่วยกันรักษาสามสถาบัน" หรือพูดยกย่อง "สามสถาบัน" ก็จะมีลักษณะทำนอง "เข้าตัวเอง" ในแง่ ให้คนมารักษาปกป้องตัวเอง เชิดชูตัวเอง ("สถาบันกษัตริย์") อะไรแบบนั้น ซึ่งจะกลายเป็นดูไม่งามไป คำที่ ร.9 ใช้ประจำจึงเป็น "ชาติ" "ประเทศชาติ" "บ้านเมือง" - แน่นอน ในคำถวายสัตย์ รมต. มีการพูดว่าจะปกป้องเทิดทูนสถาบันกษัตริย์อะไรแบบนั้นอยู่ และการที่ ร.9 พูดให้ "ทำตามคำปฏิญาณ" ก็เท่ากับเป็นการให้คนถวายสัตย์มาปกป้องเชิดชูตัวเองด้วย แต่มันมีความต่างกันอยู่ ระหว่างการพูดอ้อมแบบนี้ กับการพูดยก "สามสถาบัน" โดยตรง - ผมสังเกตมานานว่า ร.9 จะหลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะให้ดูเหมือนว่า เรียกร้องให้คนมาปกป้อง-เชิดชูตัวเอง (คนเกลียดเจ้า ย่อมพูดได้ว่า นั่นเป็นการ "เนียน" - ประเด็นที่ผมสนใจในการศึกษาสปีชของ ร.9 คือ เขาระมัดระวังเรื่องพวกนี้ และคงผ่านการคิดเรื่องพวกนี้มา)
แต่ในสปีช 3 นาทีกว่าของวชริาลงกรณ์ พาดพิงถึง "สามสถาบัน" ถึง 3 ครั้่ง
"สถาบันอันสูงสุดต่างๆของชาติ"
"สถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามสถาบัน ได้คุ้มประเทศมาตลอด"
"สถาบันอันสูงสุดต่างๆของชาติ"
ในแง่นึงก็ขำๆดี คือ วชิราลงกรณ์พูด "เป็นสูตร" ("สามสถาบัน") แบบเดียวกับคนไทยที่ได้ฟังการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องนี้มานาน ทั้งที่ตัวเองเป็นหนึ่งใน "สามสถาบัน" นั้นโดยตรงแล้ว (ในขณะที่ ร.9 พูด โดย conscious ในฐานะที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นกษัตริย์ และพยายามเลี่ยงไม่ให้ดูเหมือน "ยกย่องตัวเอง")
ทั้งหมดนี้ ผมคิดว่า มาจากความ "มือใหม่" (พูดเป็นสูตร ไม่ได้คิดอะไรมากมาย) ของวชิราลงกรณ์
ข่าวสองทุ่มคืนนี้ มีการเผยแพร่ "สปีชสด-เสียงจริง" ของวชิราลงกรณ์ที่กล่าวกับ รมต.ที่เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณ ความยาว 3 นาทีกว่า (อยู่ระหว่างนาที 3:45-7:28 ในคลิปตามข่าวนี้ http://news.ch7.com/detail/259495)
เนื้อหาก็ไม่มีอะไรเท่าไร ปกติรัชกาลที่ 9 ตอนรับ ครม.เข้าเฝ้าปฏิญาณก็จะไม่ได้พูดอะไรมาก ที่พูดประจำคือทำนอง "ให้ทุกท่านทำตามคำปฏิญญาณ" วชิราลงกรณ์เองก็พูดแบบนี้นิดหน่อย
แต่สิ่งที่สะดุดใจผม ในฐานะคนศึกษาสปีชของ ร.9 มานาน (55 ผมเชื่อว่าผมรู้จักและคุ้นเคยสปีชและข้อเขียนของ ร.9 มากกว่าคนรักเจ้าส่วนใหญ่ที่สุด) มีความต่างอย่างหนึี่งในสปีชของวชิราลงกรณ์
คือ ปกติ ร.9 จะไม่เคยพูดพาดพิงถึง "สามสถาบัน" (ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริิย์) อันนี้ หลายคนอาจจะไม่สังเกต แต่ผมสังเกตมานาน และเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ ร.9 ผ่านมาคิด-ฝึก-และจงใจ เพราะถ้าพูดในลักษณะ "ให้ช่วยกันรักษาสามสถาบัน" หรือพูดยกย่อง "สามสถาบัน" ก็จะมีลักษณะทำนอง "เข้าตัวเอง" ในแง่ ให้คนมารักษาปกป้องตัวเอง เชิดชูตัวเอง ("สถาบันกษัตริย์") อะไรแบบนั้น ซึ่งจะกลายเป็นดูไม่งามไป คำที่ ร.9 ใช้ประจำจึงเป็น "ชาติ" "ประเทศชาติ" "บ้านเมือง" - แน่นอน ในคำถวายสัตย์ รมต. มีการพูดว่าจะปกป้องเทิดทูนสถาบันกษัตริย์อะไรแบบนั้นอยู่ และการที่ ร.9 พูดให้ "ทำตามคำปฏิญาณ" ก็เท่ากับเป็นการให้คนถวายสัตย์มาปกป้องเชิดชูตัวเองด้วย แต่มันมีความต่างกันอยู่ ระหว่างการพูดอ้อมแบบนี้ กับการพูดยก "สามสถาบัน" โดยตรง - ผมสังเกตมานานว่า ร.9 จะหลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะให้ดูเหมือนว่า เรียกร้องให้คนมาปกป้อง-เชิดชูตัวเอง (คนเกลียดเจ้า ย่อมพูดได้ว่า นั่นเป็นการ "เนียน" - ประเด็นที่ผมสนใจในการศึกษาสปีชของ ร.9 คือ เขาระมัดระวังเรื่องพวกนี้ และคงผ่านการคิดเรื่องพวกนี้มา)
แต่ในสปีช 3 นาทีกว่าของวชริาลงกรณ์ พาดพิงถึง "สามสถาบัน" ถึง 3 ครั้่ง
"สถาบันอันสูงสุดต่างๆของชาติ"
"สถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสามสถาบัน ได้คุ้มประเทศมาตลอด"
"สถาบันอันสูงสุดต่างๆของชาติ"
ในแง่นึงก็ขำๆดี คือ วชิราลงกรณ์พูด "เป็นสูตร" ("สามสถาบัน") แบบเดียวกับคนไทยที่ได้ฟังการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องนี้มานาน ทั้งที่ตัวเองเป็นหนึ่งใน "สามสถาบัน" นั้นโดยตรงแล้ว (ในขณะที่ ร.9 พูด โดย conscious ในฐานะที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นกษัตริย์ และพยายามเลี่ยงไม่ให้ดูเหมือน "ยกย่องตัวเอง")
ทั้งหมดนี้ ผมคิดว่า มาจากความ "มือใหม่" (พูดเป็นสูตร ไม่ได้คิดอะไรมากมาย) ของวชิราลงกรณ์
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar