เห็นข่าว อ.สุรินทร์ ถึงแก่กรรมด้วยความตกใจ เพราะนึกไม่ถึงว่า จะถึงแก่กรรมกระทันหันแบบนี้
สุรินทร์เป็นคนรุ่นเดียวกับ "เสก" เกิดปีเดียวกัน (2492) ธีรยุทธ อ่อนกว่าสองคนนี้ปีหนึ่ง ในขณะที่จรัล แก่กว่าสุรินทร์-เสก 2 ปี - พูดอีกอย่างคือ เขาเป็นคน "รุ่น 14 ตุลา" เหมือนกัน ต่างกับเสก(ซึ่งสุรินทร์เคยเป็นเพื่อนสมัยอยู่ธรรมศาสตร์) สุรินทร์เรียนธรรมศาสตร์ได้เพียง 2 ปี ก็ไปเรียนต่อและจบทั้ง ตรี-โท-เอก ที่สหรัฐเลย
ผมรู้จัก อ.สุรินทร์ หลังผมออกจากคุกคดี 6 ตุลา และกลับมาเรียนธรรมศาสตร์ใหม่ในปี 2522 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ อ.สุรินทร์จบจากฮาร์วาร์ด และเริ่มงานที่ธรรมศาสตร์เต็มตัวพอดี สมัยนั้น ยังจำได้ว่า อ.สุรินทร์ "ดัง" ไม่น้อยทีเดียว เพราะมีท่าทางเป็นอาจารย์รุ่นใหม่ ไฟแรง (รูปหล่ออีกต่างหาก) เห็นว่าเป็นที่ชื่นชมและเป็นมิตรกับนักกิจกรรมที่คณะไม่น้อย
เช่นเดียวกับอดีตนักวิชาการ-อาจารย์หลายคน ที่ผมรู้จักสมัยยังเป็นหนุ่ม (สุขุมพันธ์, องอาจ, ฯลฯ) อ.สุรินทร์ พอเข้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว กลับไม่มีบทบาทอะไรน่าประทับใจอย่างที่คาดหวัง และในทางการเมือง ก็มีแนวโน้มแย่ลงๆ กรณีอ.สุรินทร์นี้ ถ้าดูจากแบ๊คกราวน์ก่อนจะเข้าไป เป็นอะไรที่ผมผิดหวังอยู่ไม่น้อย ยังเคยพูดบ่นๆกับหลายคนเรื่องนี้
(ผมจำได้อยู่เรื่องว่าสมัยที่อาจารย์เป็น รมต.ต่างประเทศ ได้รับการชมเชยจากต่างประเทศ แมดเดอรีน ออลไบรท์ ถึงกับเอ่ยปากชม เป็นต้น แต่ผมไม่คิดว่า แม้แต่ในด้านต่างประเทศเอง จะมีอะไรที่เป็นผลงานฝากไว้ยืนยาว ที่สำคัญผมคิดในแง่การเมืองในประเทศ ในพรรค ปชป.เป็นหลัก)
นี่เป็นอะไรที่ผมยังเสียดายมาจนทุกวันนี้ ครั้งหลังสุด ไม่กี่ปีก่อน ที่มีข่าวลือๆออกมาว่า อ.สุรินทร์จะ challenge ตำแหน่งหัวหน้าพรรคของอภิสิทธิ์ ผมยังนึกแวบขึ้นมานิดหน่อยว่า หรือ "ไฟ" บางอย่างของอาจารย์จะกลับมา? แม้ว่าการเมืองของอาจารย์ในหลายปีหลัง เป็นอะไรที่ไม่ทำให้ผมหวังอะไรแล้ว แต่ก็ยังอดลุ้นนิดหน่อยไม่ได้ว่า อย่างน้อยถ้ามีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค อาจจะทำให้เกิดการขยับเขยื้อนในทางที่ดีขึ้นบ้าง แต่ไม่ทันไร ข่าวนี้ก็ถูกทำให้เงียบไป
(ในหลายปีหลังนี้ ผมหันมามองด้วยความสนใจ ลูกชายของอาจารย์มากกว่า - คุณฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ซึ่งกำลังทำปริญญาเอกที่ฮาวาร์ด อ่านบทความและบทสัมภาษณ์ของเขา 2-3 ชิ้น นับว่าน่าสนใจมาก และความคิดบางอย่างก็ดีด้วย)
ในฐานะคนเคยรู้จักชอบพอ ก็ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว อ.สุรินทร์
ขอให้อาจารย์ไปสู่สุขคติ
สุรินทร์เป็นคนรุ่นเดียวกับ "เสก" เกิดปีเดียวกัน (2492) ธีรยุทธ อ่อนกว่าสองคนนี้ปีหนึ่ง ในขณะที่จรัล แก่กว่าสุรินทร์-เสก 2 ปี - พูดอีกอย่างคือ เขาเป็นคน "รุ่น 14 ตุลา" เหมือนกัน ต่างกับเสก(ซึ่งสุรินทร์เคยเป็นเพื่อนสมัยอยู่ธรรมศาสตร์) สุรินทร์เรียนธรรมศาสตร์ได้เพียง 2 ปี ก็ไปเรียนต่อและจบทั้ง ตรี-โท-เอก ที่สหรัฐเลย
ผมรู้จัก อ.สุรินทร์ หลังผมออกจากคุกคดี 6 ตุลา และกลับมาเรียนธรรมศาสตร์ใหม่ในปี 2522 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ อ.สุรินทร์จบจากฮาร์วาร์ด และเริ่มงานที่ธรรมศาสตร์เต็มตัวพอดี สมัยนั้น ยังจำได้ว่า อ.สุรินทร์ "ดัง" ไม่น้อยทีเดียว เพราะมีท่าทางเป็นอาจารย์รุ่นใหม่ ไฟแรง (รูปหล่ออีกต่างหาก) เห็นว่าเป็นที่ชื่นชมและเป็นมิตรกับนักกิจกรรมที่คณะไม่น้อย
เช่นเดียวกับอดีตนักวิชาการ-อาจารย์หลายคน ที่ผมรู้จักสมัยยังเป็นหนุ่ม (สุขุมพันธ์, องอาจ, ฯลฯ) อ.สุรินทร์ พอเข้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว กลับไม่มีบทบาทอะไรน่าประทับใจอย่างที่คาดหวัง และในทางการเมือง ก็มีแนวโน้มแย่ลงๆ กรณีอ.สุรินทร์นี้ ถ้าดูจากแบ๊คกราวน์ก่อนจะเข้าไป เป็นอะไรที่ผมผิดหวังอยู่ไม่น้อย ยังเคยพูดบ่นๆกับหลายคนเรื่องนี้
(ผมจำได้อยู่เรื่องว่าสมัยที่อาจารย์เป็น รมต.ต่างประเทศ ได้รับการชมเชยจากต่างประเทศ แมดเดอรีน ออลไบรท์ ถึงกับเอ่ยปากชม เป็นต้น แต่ผมไม่คิดว่า แม้แต่ในด้านต่างประเทศเอง จะมีอะไรที่เป็นผลงานฝากไว้ยืนยาว ที่สำคัญผมคิดในแง่การเมืองในประเทศ ในพรรค ปชป.เป็นหลัก)
นี่เป็นอะไรที่ผมยังเสียดายมาจนทุกวันนี้ ครั้งหลังสุด ไม่กี่ปีก่อน ที่มีข่าวลือๆออกมาว่า อ.สุรินทร์จะ challenge ตำแหน่งหัวหน้าพรรคของอภิสิทธิ์ ผมยังนึกแวบขึ้นมานิดหน่อยว่า หรือ "ไฟ" บางอย่างของอาจารย์จะกลับมา? แม้ว่าการเมืองของอาจารย์ในหลายปีหลัง เป็นอะไรที่ไม่ทำให้ผมหวังอะไรแล้ว แต่ก็ยังอดลุ้นนิดหน่อยไม่ได้ว่า อย่างน้อยถ้ามีการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค อาจจะทำให้เกิดการขยับเขยื้อนในทางที่ดีขึ้นบ้าง แต่ไม่ทันไร ข่าวนี้ก็ถูกทำให้เงียบไป
(ในหลายปีหลังนี้ ผมหันมามองด้วยความสนใจ ลูกชายของอาจารย์มากกว่า - คุณฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ซึ่งกำลังทำปริญญาเอกที่ฮาวาร์ด อ่านบทความและบทสัมภาษณ์ของเขา 2-3 ชิ้น นับว่าน่าสนใจมาก และความคิดบางอย่างก็ดีด้วย)
ในฐานะคนเคยรู้จักชอบพอ ก็ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว อ.สุรินทร์
ขอให้อาจารย์ไปสู่สุขคติ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar