lördag 26 januari 2019

เรื่องของ "เสี่ย" (และประยุทธ์)


เรื่องของ "เสี่ย" (และประยุทธ์)

ตอนนี้มีกระแสในหมู่ "ฝั่งประชาธิปไตย" "เสื้อแดง" ทำนองว่า ที่เกิดการ "หย่อน" ในแง่การปราบปรามของ คสช. เช่น มีการชุมนุม ไม่มีการจับ หรือมีการจับ ถึงศาล ก็ไม่โดนอะไรหนัก (ไม่มีการขัง ฯลฯ) เป็นเพราะ "เสี่ย ไม่เอา คสช. ไม่เอาประยุทธ์"
เรื่องนี้ไม่เป็นความจริงหรอกครับ "เสี่ย" น่ะยังเอา คสช. เอาประยุทธ์ ชอบ คสช. ชอบประยุทธ์ด้วยซ้ำ
แต่เรื่องที่มีมีการ "หย่อน" นี่ เกี่ยวกับ "เสี่ย" ไหม? ก็มีส่วนเกี่ยวอยู่ แต่ไม่ใช่อย่างกระแสที่เข้าใจกันข้างต้น คือต้องเข้าใจว่า

(ก) "เสี่ย" น่ะชอบประยุทธ์ ชอบ คสช. เพราะ "ขออะไรก็ได้หมดทุกอย่าง" อันที่จริง ถ้ามีวิธีว่า คสช.อยู่ยาว โดยไม่มีเลือกตั้งเลย โดยไม่มีคนมาโวยวาย หรือโดยไม่มีแรงกดดันให้ต้องเลือกตั้ง "เสี่ย" คงชอบ และคงเอา
ปัญหาคือ "เสี่ย" ก็คุมหรือห้ามไม่ให้มีกระแสดังกล่าวไม่ได้ และในระยะยาว ก็ห้ามไม่ให้มีเลือกตั้งเลยไม่ได้ - คสช.ก็ห้ามไม่ได้ ไม่มีใครห้ามได้

(ข) แต่ขณะเดียวกัน "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนัก เพราะยิ่งจะทำให้เป็นเรื่องเป็นราว ปวดขมอง "เสี่ย" เหมือนกัน ดังนั้น "เสี่ย" ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนักเหมือนกัน
สรุปคือ สำหรับ "เสี่ย" ถ้าไม่มีม็อบ ไม่มีเรื่องวุ่นวาย ก็จะชอบมากๆ แต่ถ้ามันมีม็อบ ก็อย่าให้มีการปราบหนัก ซึ่งจะมีความวุ่ยวายเหมือนกัน (นี่คือนัยยะที่ประยุทธ์ออกมาพูดวันก่อน)
ในระยะยาว "เสี่ย" ซึ่งถ้าสามารถให้ไม่มีเลือกตั้งเลย ให้ คสช.-ประยุทธ์ อยู่ยาวเลยได้ ก็ยิ่งดียิ่งชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถให้เป็นแบบนั้นได้ ดังนั้น ในระยะยาวออกไป ใครจะเป็นนายกฯ จะเป็นประเด็นสำคัญมากสำหรับ "เสี่ย" คือ "เสี่ย" จะต้อง "เม็กชัวร์" ว่า นายกฯคนต่อไป จะต้องเป็นคนที่เขาไว้ใจได้ ขออะไรก็ได้อีก ถ้าประยุทธ์ไม่สามารถกลับเข้ามาหลังเลือกตั้ง "เสี่ย" ก็ต้องเม็กชัวร์ว่า คนจะมาแทนหลังเลือกตั้ง ต้องเป็นคนที่เขาไว้ใจได้แบบประยุทธ์ ขออะไรก็ได้แบบประยุทธ์อีก (วังมโหฬารกลางเมืองที่เขาต้องการให้สร้าง ยังไม่ได้สร้าง ถึงเวลายังต้องการเงินมหึมาจากนายกฯคนใหม่อีก)
ในแง่นึง ก็เลยเป็น "ไดเล็มม่า" สำหรับ "เสี่ย" และสำหรับประยุทธ์ด้วย "เสี่ย" อยากให้ประยุทธ์อยู่ต่อ อยากได้นายกฯแบบประยุทธ์ ก็อยาก แต่จะให้อยู่ไปเรื่อยๆไม่ต้องมีเลือกตั้ง ก็ทำไม่ได้ เพราะมีแรงบีบให้ต้องมีเลือกตั้ง มีคนออกมาเรียกร้อง แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องการให้มีการปราบหนัก เพราะจะทำให้สถานการณ์ยิ่งเครียดสำหรับ "เสี่ย" ซึ่งเขาไม่ต้องการ (เขาเป็นคน "เครียด" ง่าย และไม่ชอบไม่อยาก "เครียด") .... สถานการณ์รวมๆมันเลยออกมาก้ำๆกึ่งๆอย่างที่เห็นแหละ
Somsak Jeamteerasakul

"เสี่ยสั่งมา" : รัชกาลนี้ต้องไม่มีประท้วง ต้องไม่มีเรื่องไม่ดีแบบรัชกาลก่อน ("เสี่ยดูอยู่นะ")
รายงานของ ไทยโพสต์ นี้น่าสนใจมาก (http://www.thaipost.net/main/detail/5591)
"....นายกฯ ได้หันไปถามประชาชนว่า “เคยไปทำเนียบฯ หรือเปล่า ไปประท้วง” ก่อนจะกล่าวต่ออีกว่า “ใครเขาชวนอย่าไปอีกเลย ไปแล้วอันตราย วันหน้าอย่าให้เกิดอีกนะ #รัชกาลนี้ต้องไม่มีนะ #พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงทอดพระเนตรอยู่ ท่านทรงทำไว้เยอะแยะแล้ว #รัชกาลนี้ต้องไม่มีเรื่องที่มันไม่ดีเกิดขึ้นอีก...."
ผมเช็คแล้ว ไทยโพสต์ อาจจะเอามาจาก "สยามรัฐ" (https://goo.gl/cWdUu1) เพราะอันหลังมีข้อความส่วนอื่นมากกว่าหน่อย (และลงก่อน 3 ชั่วโมง) ส่วน "บ้านเมือง" ซึ่งเป็นอีกฉบับที่ลง อาจจะมาจาก ไทยโพสต์ อีกที ฉบับอื่นเช็คแล้วไม่มีส่วนที่กล่าวถึงนี้ คลิปสปีชที่ไมค์ของประยุทธ์ที่เจอ ก็ไม่มี ประยุทธ์คงจะคุยกับชาวบ้านหลังพูดไมค์จบ
ที่น่าสนใจเพราะว่า ผมคิดว่า ไม่มีปัญหาเลยว่า วชิราลงกรณ์ได้แสดงความปรารภทำนองนี้กับประยุทธ์จริงๆ ("อย่าให้มีการประท้วง อย่าให้มีความวุ่นวายแบบในรัชกาลก่อน ในรัชกาลของฉัน" อะไรทำนองนั้น) ประยุทธ์มีประวัติของการเอาสิ่งที่คุยกับเจ้ามาเล่า (เช่นเคยเล่าเรื่องที่ถามราชินีว่าไปงานศพพันธมิตรทำไม)
ที่สำคัญเรื่องนี้ตรงกับที่ผมได้ยินๆมาเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 ในแง่เขาเป็นคนที่ชอบความมี "ระเบียบวินัย" แบบเป๊ะๆ ตามสไตล์เขา (นึกถึงเรื่องทรงผม "ขาวสามด้าน" หรือพวกสีเครื่องแบบตำรวจทุกคนต้องตรงกันเป๊ะ เรื่อง "ยกอกอึ๊บ" ฯลฯ)
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือตรงที่ประยุทธ์พูดด้วยว่า "ทรงทอดพระเนตรอยู่"
ความจริง ผมคิดๆมาสักพักว่า จะไลฟ์ "อัพเดต" เรื่องวชิราลงกรณ์ เพราะในระยะใกล้ๆนี้ มีข้อมูลเกี่ยวกับเขาที่รู้มากขึ้น ที่ทำให้รู้จักลักษณะบางอย่างที่น่าสนใจของเขามากขึ้น (เรื่องการพบสุลักษณ์และคนอื่นๆ เรื่อง "ส่งซิ้ก" เกี่ยวกับ 112 บางอย่าง ฯลฯ)
อย่างหนึ่งที่รู้มามากขึ้นคือ เขาคงติดตามเรื่องราวทางโซเชียลจริง (อาจจะมีเฟซบุ๊คของตัวเองหรือใช้เฟซบุ๊คคนอื่น "ส่อง" เรื่องราวทางเฟซบุ๊ค) รู้จัก "คนดัง" ทางโซเชียล (เช่น ประเภท "แฟรงค์-เนติวิทย์" หรือ แหะๆ ข้าพเจ้า เป็นต้น) ผมคิดว่า ไม่เป็นปัญหาเช่นกันว่า ที่ประยุทธ์พูดเรื่อง "ทรงทอดพระเนตรอยู่" เขามีภาพเรื่องวชิราลงกรณ์ติดตามข่าวคราว และสื่อโซเชียลอะไรพวกนี้อยู่ วชิราลงกรณ์ยังมีลักษณะอย่างหนึ่งที่ฝรั่งเรียกว่า ชอบสนใจและ micro-manage คือ เขาสนใจเรื่องเป็นจุดๆเล็กๆในระดับที่พ่อเขาไม่เคยเป็น (นึกภาพการลงโทษ ปลดทหารระดับล่างที่แต่งเครื่องแบบไม่ดี "กิริยาไม่ดี" ฯลฯ สมัยพ่อ ไม่เคยลงมา micro-manage เรื่องแบบนี้) เขาคอยสั่งประยุทธ์และรัฐบาลให้ทำโน่นนี่ มากกว่าสมัยพ่อ
เขามีกิจกรรมหลังฉาก ในแง่พบคนโน้นคนนี้หลายคนอยู่ เขาตามเหตุการณ์การเมืองมากกว่าที่ผมเคยประเมิน กรณีอย่างเจอสุลักษณ์อะไรเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง เขายังพบคนอีกจำนวนหนึ่ง
ประยุทธ์คงมีภาพเรื่องแบบนี้ในใจ เวลาพูดออกไปเช่นนั้น ("อย่าให้เกิดอีกนะ...ทรงทอดพระเนตรอยู่")
Image may contain: 5 people, people sitting

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar